Share
![cover art for ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข [6806-6t]](https://open-images.acast.com/shows/637609d5c54c93001104ab43/show-cover.jpg?height=750)
6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก
ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข [6806-6t]
“สมาธิ” คือเครื่องอยู่ที่จะทำให้เกิด “ความผาสุก” เป็นความสุขอีกประเภทที่เหนือกว่าสุขเวทนาและทุกขเวทนา
ผาสุวิหารสูตร #ข้อ 94 ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่ให้เกิดความผาสุก คือ สมาธิในขั้นที่ 1-4 (รูปฌาน) เป็นความพ้นจากกิเลสที่อาจจะยังกลับกำเริบได้ อุปไมยเหมือนหินทับหญ้า แต่ถ้าประกอบด้วยเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ คือไม่เร่าร้อนไปตามอำนาจกิเลส เป็นความสิ้นไปแห่งอาสวะนั่นเอง
อกุปปสูตร #ข้อ 95 ผู้มีธรรมไม่กลับกำเริบ คือ ปฏิสัมภิทา 4 ปัญญาแตกฉานในอรรถ (เข้าใจความหมายได้หลายนัยยะ) ธัมมนิรุตติ (เข้าใจภาษาได้ลึกซึ้ง) ปฏิภาณ (ไหวพริบถาม-ตอบปัญหา) และการพิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้วในแต่ละขั้น ฝึกสังเกตเห็นการเกิด-ดับ เสริมปัญญาให้ถึงธรรมะที่ไม่กลับกำเริบได้
#ข้อ 96-98 ธรรม 5ประการนี้ เมื่อทำอานาปานสติก็จะบรรลุธรรมได้ไม่นานนัก มีไส้ในที่เหมือนกันอยู่ 4 ประการ คือมีธุระน้อย ไม่เห็นแก่ปากแก่ท้อง นอนน้อย พิจารณาจิตตามที่หลุดพ้นแล้ว ส่วนที่แตกต่างใน สุตธรสูตร #ข้อ 96 คือ เป็นพหูสูต ฟังธรรมมาก ส่วนใน กถาสูตร #ข้อ 97 คือ กถาวัตถุ 10 ทำให้จิตเปิดโล่ง มาคิดในทางที่จะทำให้เกิดการบรรลุธรรม และ อารัญญกสูตร #ข้อ 98 คือ อยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท
สีหสูตร #ข้อ 99 การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าที่เปรียบเทียบไว้ว่าเหมือน “ราชสีห์ บรรลือสีหนาท” คือ เป็นผู้หนักในธรรม เมื่อจะแสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และปุถุชน ก็จะแสดงโดยเคารพในธรรม
พระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 14 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต กกุธวรรค
More episodes
View all episodes
16. ศีลอุโบสถ [6816-6t]
57:31||Season 68, Ep. 16“อุโบสถ” หมายถึง กาลเป็นที่เข้าจำ (คือกาลเป็นที่เข้าไปอยู่โดยการถือศีล) และคำว่า “ศีลอุโบสถ” จึงหมายถึง การเข้าจำรักษาศีล 8 ของอุบาสกและอุบาสิกาในวันขึ้นและแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำของทุกเดือน หรือที่เรียกกันว่า “รักษาอุโบสถศีล”ใน อุโปสถวรรค หมวดว่าด้วยอุโบสถ โดยพระสูตรที่ 41-45 คือใน 5 พระสูตรนี้ กล่าวถึงหลักธรรม 8 ประการที่เหมือนกัน ก็คือศีล 8 โดยปรารภคุณของพระอรหันต์ คือพระอรหันต์ย่อมละเว้นขาดจาก 1. การฆ่าสัตว์ 2. การลักทรัพย์3. เมถุนธรรม4. การพูดเท็จ5. เสพของมึนเมา6. การฉัน (บริโภค) ตอนกลางคืน7. การละเล่นและดูการละเล่น การประดับตกแต่งร่างกาย และเครื่องประทินผิว8. การนอนที่นอนสูงใหญ่แต่ละพระสูตรนั้นจะมีรายละเอียดในเรื่องของสถานที่ บุคคล และผลอานิสงส์ที่เหมือนและต่างกันออกไป *ศีล 8 แตกต่างจากศีล 5 คือ ศีล 8 เป็นศีลที่เป็นไปเพื่อการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อการหลีกออกจากกาม แต่ศีล 5 ยังเกี่ยวเนื่องด้วยกามอยู่ข้อที่ #41_สังขิตตุโปสถสูตร ว่าด้วยอุโบสถโดยย่อ กล่าวถึง การรักษาศีล 8 ย่อมมีผลมีอานิสงส์มาก โดยตรัสกับภิกษุทั้งหลายที่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถีข้อที่ #42_ตถตุโปสถสูตร ว่าด้วยอุโบสถโดยพิสดาร โดยได้เปรียบเทียบอานิสงส์ของการรักษาศีล 8 ไว้กับความสุขของมนุษย์ เช่น พระราชายังมีความสุขไม่ถึงเสี้ยวของผู้ที่รักษาศีล 8 โดยได้เปรียบเทียบสุขของมนุษย์ (เป็นของเล็กน้อย) ไว้กับสุขอันเป็นทิพย์ไว้ดังนี้• 50 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นจาตุมหาราช (มีอายุ 500 ปีทิพย์)• 100 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นดาวดึงส์ (มีอายุ 1000 ปีทิพย์)• 200 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นยามา (มีอายุ 2,000 ปีทิพย์)• 400 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นดุสิต (มีอายุ 4,000 ปีทิพย์)• 800 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นนิมมานรดี (มีอายุ 8,000 ปีทิพย์)• 1,600 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1วันของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (มีอายุ 16,000 ปีทิพย์)ในพระคาถาท้ายพระสูตรได้กล่าวถึงอานิสงส์ของผู้ที่รักษาอุโบสถศีล (ศีล 8) ว่า “ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์”ข้อที่ #43_วิสาขาสูตร ว่าด้วยทรงแสดงอุโบสถแก่นางวิสาขา กล่าวถึงอานิสงส์ของการรักษาศีล 8 ซึ่งเหมือนกับตถตุโปสถสูตร แต่พระสูตรนี้ทรงตรัสกับ “นางวิสาขามิคารมาตา” ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถีข้อที่ #44_วาเสฏฐสูตร ว่าด้วยอุบาสกชื่อว่าวาเสฏฐะ เหมือนกันกั วิสาขาสูตร แต่ทรงตรัสกับอุบาสกชื่อว่า “วาเสฏฐะ” ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี โดยกล่าวเสริมในตอนท้ายว่า เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ข้อที่ #45_โพชฌาสูตร ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อว่าโพชฌา เหมือนกันกับวิสาขาสูตร แต่ทรงตรัสกับอุบาสิกาชื่อว่า “โพชฌา”พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต อุโปสถวรรค15. บุคคลผู้มีศีล [6815-6t]
54:20||Season 68, Ep. 15ข้อที่ #11_จรสูตร ว่าด้วยอิริยาบถเดิน กล่าวถึงผู้ที่ปล่อยให้อกุศลวิตก 3 คือ ความคิดตริตรึกไปในทางกาม พยาบาท เบียดเบียน เกิดขึ้นในขณะที่อยู่ในอิริยาบถ 4 คือ เดิน ยืน นั่ง หรือนอน (ตื่นอยู่) และไม่พยายามละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป กล่าวได้ว่า “ผู้นั้นเป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อน” ส่วนผู้ใดพยายามละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ผู้นั้นเป็น “ผู้ปรารภความเพียร” *ข้อสังเกต แม้มีอกุศลวิตกเกิดขึ้น แต่ไม่เพลิน ไม่ปล่อยใจให้ตกไปในอกุศล พยายามละ บรรเทาให้เบาบาง ถึงแม้ว่าจะทำอกุศลนั้นให้หมดสิ้นไปเลยยังไม่ได้ แต่ขึ้นชื่อว่า “เป็นผู้มีสติ ปรารภความเพียรอยู่” แม้ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดที่ไหนก็สามารถทำได้ข้อที่ #12_สีลสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มีศีล กล่าวถึงบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะ สำรวมระวัง มีความเพียรในการรักษาศีลให้เต็มบริบูรณ์ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง หรือนอน ก็ตาม สามารถที่จะทำจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐานทำให้จิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิก็สามารถละนิวรณ์ 5 ได้ *ประเด็น ศีลบริบูรณ์ย่อมยังสมาธิให้บริบูรณ์ขึ้นมาได้ คือ สามารถทำสมาธิได้ในทุกอิริยาบถข้อที่ #13_ปธานสูตร ว่าด้วยสัมมัปปธาน “สัมมัปปธาน” คือ ความกล้าความเพียรที่ทำจริงแน่วแน่จริง แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ส่วนที่เป็นกุศล ถ้ายังไม่มีควรทำให้มี ที่มีอยู่แล้วให้ทำให้เจริญ และฝ่ายอกุศลที่มีอยู่เดิมให้ละ ที่ยังไม่มีอย่าให้เข้ามาข้อที่ #14_สังวรสูตร ว่าด้วยสังวรปธาน เป็นพระสูตรที่มีความเกี่ยวเนื่องสอดคล้องกับปธานสูตร เพราะกล่าวถึงวิธีในการละ ป้องกัน รักษา และทำให้เจริญ ไว้ดังนี้สังวรปธาน คือ การสำรวมอินทรีย์ไม่ให้อกุศลใหม่เข้ามา ปหานปธาน คือ เพียรด้วยการละ ภาวนาปธาน คือ การพัฒนาโพชฌงค์ 7 อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษาสมาธินิมิตในการเห็นอสุภสัญญา เห็นอสุภแล้วยังรักษาสมาธิได้ นั่นคือรักษาได้พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จรวรรค14. ห้วงแห่งบุญกุศล [6814-6t]
57:18||Season 68, Ep. 14ข้อที่ #38_ สัปปุริสสูตร ว่าด้วยคุณประโยชน์ของสัตบุรุษ สัตบุรุษ (คนดี) ย่อมเกิดมาเพี่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก กล่าวคือเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มารดาบิดา บุตรภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้ มิตรและอำมาตย์ (เพื่อนสนิท) ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว พระราชา เหล่าเทวดา และสมณพราหมณ์ข้อที่ #39_อภิสันทสูตร ว่าด้วยห้วงบุญกุศล "ห้วงบุญกุศล" ในที่นี้หมายถึงผลแห่งบุญกุศลซึ่งหลั่งไหลนำความสุขมาสู่ผู้บำเพ็ญอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล มีผัสสะใดมากระทบก็อารมณ์ดีได้เพราะจิตอยู่ในห้วงของบุญ เป็นลักษณะอารมณ์ของฌาน 2 (ปิติสุข) ห้วงบุญกุศล 8 ประการนี้ ได้แก่อะไรบ้าง คือ เป็นผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะและเป็นผู้มีมหาทาน (คือ มีศีล 5) ข้อที่ #40_ทุจจริตวิปากสูตร ว่าด้วยวิบากแห่งทุจริต ผลแห่งการกระทำที่ไม่ดี ทุจริต 8 ประการนี้ ย่อมมีผลทำให้เกิดในนรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรตวิสัย และส่งผลวิบากอย่างเบาซึ่งได้แก่ ผลจากการฆ่าสัตว์ - ทำให้เป็นผู้มีอายุน้อย, การลักทรัพย์ - ทำให้เป็นผู้เสื่อมโภคทรัพย์, การประพฤติผิดในกาม - เป็นผู้มีศัตรูและเป็นผู้มีเวร, การพูดเท็จ - ถูกกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง, การพูดส่อเสียด - แตกจากมิตร, การพูดหยาบคาย - ให้ได้ฟังเรื่องที่ไม่น่าพอใจ, การพูดเพ้อเจ้อ - มีวาจาที่ไม่น่าเชื่อถือ, การดื่มสุราและเมรัย -ให้เป็นผู้วิกลจริตพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ทานวรรค13. บุคคลผู้ไปตามกระแส [6813-6t]
55:00||Season 68, Ep. 13ข้อที่ #5_อนุโสตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ไปตามกระแส กล่าวถึงการไปตามกระแสของตัณหาหรือไม่ ของบุคคล 4 ประเภท คือ 1) ผู้ไปตามกระแส คือ ไปตามกามจนถึงทำบาปกรรม 2) ผู้ทวนกระแส คือบวชแล้ว และใช้ความพยายามอย่างมาก ในการหลีกออกจากกาม 3) ผู้มีภาวะตั้งมั่น หมายถึงอนาคามี และ 4๗ ผู้ข้ามพ้นฝั่ง คืออรหันต์ ข้อที่ #6_อัปปัสสุตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มีสุตะน้อย เอาคำว่ามีสุตะมากหรือน้อยกับการเข้าถึงหรือไม่เข้าถึงสุตะ ต่อให้คุณมีสุตะน้อย แต่ถ้ามีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั่นคือการเข้าถึงสุตะที่แท้จริง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ สามารถพัฒนาให้มีเพิ่มคู่กันไปได้ ข้อที่ #7_โสภณสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ทำหมู่ให้งาม พูดถึงพุทธบริษัท 4 แต่ละประเภทที่ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถทำหมู่ให้งามได้ด้วยคุณธรรม ความเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับคำแนะนำดี แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมข้อที่ #8_เวสารัชชสูตร ว่าด้วยญาณเป็นเหตุให้แกล้วกล้า คือ ญาณอันเป็นเหตุให้แกล้วกล้าของพระพุทธเจ้า คือความมั่นใจว่าศัตรูหมดไปแล้วจริง ๆ ญาณเหล่านี้เราสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตได้ เพราะเมื่อมีแล้วจะไม่มีความประหม่าเกรงกลัวใด ๆ ข้อที่ #9_ตัณหุปปาทสูตร ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งตัณหา ตัณหาเมื่อจะเกิดย่อมเกิดเพราะปัจจัย 4 เป็นเหตุข้อที่ #10_โยคสูตร ว่าด้วยโยคะ คือ กิเลสที่ผูกมัดไว้ในภพ ได้แก่ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ การพรากจากโยคะจะเกิดได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ภัณฑคามวรรค12. บุญกิริยาวัตถุ [6812-6t]
58:15||Season 68, Ep. 12ข้อที่ #35_ทานูปปัตติสูตร ว่าด้วยผลที่เกิดจากการให้ทาน บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานเพราะหวังสิ่งตอบแทน คือหวังการไปเกิดเป็นมนุษย์ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณ 5 หวังการไปเกิดเป็นเทวดาในชั้นต่าง ๆ ทั้ง 6 ชั้น และหวังการไปเกิดเป็นพรหมในชั้นพรหมกายิกา แล้วด้วยเขาเหล่านั้นเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ จึงได้ตามที่ปรารถนาไว้ แต่ความปรารถนานั้นยังเป็นไปในทางต่ำ กล่าวคือมีความพอใจ มีความข้องอยู่ในภพนั้น จึงไม่อาจเห็นสิ่งที่จะเจริญกว่าหรือพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้นไปได้ *ข้อสังเกต ผู้ที่หวังไปเกิดในชั้นพรหมกายิกา คือนอกจากจะเป็นผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์แล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่ปราศจากราคะด้วย ในที่นี้ราคะถูกข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน (สมถะ) มิใช่ด้วยปัญญาข้อที่ #36_ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ว่าด้วยบุญกิริยาวัตถุ คือการบำเพ็ญบุญอันเป็นเหตุให้เกิดอานิสงส์ แบ่งเป็น 3 ประการ คือ บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน ศีล และภาวนา แล้วนำมาอธิบายได้ 8 นัยยะ โดยทั้ง 8 นัยยะนั้นไม่มีบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จได้ด้วยการภาวนาเลย โดยนัยยะแรกบุญที่เกิดจากทำทานและมีศีลนิดหน่อย ทำให้ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ผู้โชคร้ายไม่มีอันจะกิน และนัยยะที่ 2 บุญที่สำเร็จได้ด้วยทานและศีลพอประมาณ ทำให้ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ผู้โชคดี และนัยยะที่ 3-8 บุญที่สำเร็จได้ด้วยทานและศีลอันยิ่ง ทำให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ทั้ง 6 ชั้นและได้ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยฐานะ 10 ประการในสวรรค์ชั้นนั้น ๆ**ข้อสังเกต การภาวนา คือการพัฒนาหรือการทำให้เจริญ เราสามารถทำทานของเราให้มีอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ได้ด้วยการให้ทานเพราะเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ให้จิตเกิดความนุ่มนวลอ่อนเหมาะในการเจริญสมถะและวิปัสสนาเพื่อให้เข้าถึงปัญญาอันสูงสุดข้อที่ #37_สัปปุริสทานสูตร ว่าด้วยสัปปุริสทาน คือทานของสัตบุรุษ มีลักษณะ 8 ประการด้วยกันให้ของสะอาดให้ของประณีตให้เหมาะกาล ให้ถูกเวลาให้ของสมควร ให้ของที่ควรแก่เขา ซึ่งเขาจะใช้ได้พิจารณาเลือกให้ ให้ด้วยวิจารณญาณ เลือกของ เลือกคนที่จะให้ ให้เกิดผลเกิดประโยชน์มากให้เนืองนิตย์ ให้ประจำ หรือสม่ำเสมอเมื่อให้ ทำจิตผ่องใสให้แล้วเบิกบานใจพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ทานวรรค11. การตรัสรู้ธรรมเป็นเหตุสิ้นภพ [6811-6t]
55:14||Season 68, Ep. 11จตุกกนิบาต ภัณฑคามวรรค หมวดธรรม 4 ประการ ว่าด้วยพุทธกิจในภัณฑคาม เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านภัณฑคาม แคว้นวัชชีอนุพุทธสูตร ว่าด้วยการตรัสรู้ธรรมเป็นเหตุสิ้นภพ ของพระพุทธเจ้าและอนุพุทธะ เพราะการไม่รู้ซึ่งศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุต จึงทำให้ต้องเร่ร่อนท่องเที่ยวไป เกิดแล้วเกิดอีก เจอทุกข์แล้วเจอทุกข์อีก วนไป จะไม่เกิดก็ด้วยการรู้ธรรมทั้ง 4 ประการนี้ ปปติตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ที่ตกหล่นจากธรรมวินัย ก็คือผู้ที่ออกนอกอริยมรรคและวิมุต วิมุตในที่นี้หมายถึงผล นั่นเอง การดับทุกข์ได้เป็นข้อ ๆ เพราะความสมบรูณ์ในข้อนั้น ๆ แล้วค่อยพัฒนาไปตามลำดับ จะเจอแบบทดสอบที่ต่างกันไปในแต่ละข้อ ปฐมขตสูตรและทุติยขตสูตร ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกกำจัด หัวข้อมีความเหมือนกันแต่ต่างกันในรายละเอียด ในปฐมขตสูตร คือ การไม่พิจารณาไม่ไตร่ตรอง ไม่เลื่อมใส หรือเลื่อมใสในบุคคลให้ถูกต้อง เป็นเหตุให้ประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญ ผู้รู้ติเตียน ส่วนในทุติยขตสูตรเหตุที่จะทำให้ตนถูกกำจัด คือ การปฏิบัติผิดในมารดา บิดา ตถาคต และสาวกของตถาคตพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 13 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ภัณฑคามวรรค10. ว่าด้วยทาน 8 ประการ [6810-6t]
55:55||Season 68, Ep. 10ข้อที่ 31 ปฐมทานสูตร เกี่ยวกับลักษณะของการให้ทาน 8 ประการ บางคนให้เมื่อประสบเข้า บางคนให้เพราะกลัวคำตำหนิหรือกลัวนรก บางคนให้เพราะเขาให้แล้วแก่เรา บางคนให้เพราะเขาน่าจะให้เรา บางคนให้เพราะการให้ทานเป็นการดี บางคนให้เพราะเราหุงหาอาหารกินเองได้แต่ชนเหล่านั้นไม่สามารถทำได้ บางคนให้ด้วยคิดว่ากิตติศัพท์อันงามจะขจรไป บางคนให้ด้วยเป็นเครื่องประดับจิตในการเจริญสมถะและวิปัสสนา ผลของการให้เรียงจากน้อยมามากตามลำดับข้อที่ 32 ทุติยทานสูตร พูดถึงทานที่เป็นกุศล มี 3 ลักษณะ คือ ศรัทธา หิริ และทานที่เป็นกุศลอันสัตบุรุษดำเนินการแล้ว ทำแล้วได้ไปเทวโลก ที่น่าสังเกตคือมีเพียงสามไม่ใช่แปด จึงน่าจะมาจากคาถาท้ายพระสูตรนั่นเองข้อที่ 33 ทานวัตถุสูตร ว่าด้วยทานวัตถุ คือเหตุแห่งการให้ทาน คือบางคนให้เพระรัก เพราะชัง เพราะหลง เพราะกลัว เหล่านี้คืออคติ4 บางคนให้เพราะปู่พ่อเคยให้ บางคนให้เพราะตายแล้วได้ไปสวรรค์ บางคนให้เพราะเกิดความชื่นชมโสมนัส บางคนให้เพราะเป็นเครื่องปรุงแต่งจิตข้อที่ 34 เขตตสูตร ว่าด้วยนาดีและนาไม่ดี มีอุปมาอุปไมยที่เหมือนและต่างกันคู่กัน ลักษณะพื้นที่มีความสำคัญต่อผลผลิต เช่นเดียวกันการให้ทานในสมณะที่ดีหรือไม่ดีย่อมมีผลแตกต่างกัน เปรียบมาตามมิจฉามรรคและสัมมามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกายอัฏฐกนิบาต คหปติวรรค9. ความเลื่อมใสเฉพาะบุคคล [6809-6t]
54:05||Season 68, Ep. 9ความเลื่อมใส (ศรัทธา )ที่เรามีอย่างถูกต้องในคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ แม้จะมีเหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม เราก็ย่อมทำการปฏิบัติของเราให้เจริญและงดงามได้ เพราะด้วยศรัทธาที่เราตั้งไว้อย่างถูกต้องแล้ว#ข้อ241-#244 สูตร 1 เป็นธรรมคู่ตรงข้าม ว่าด้วย โทษของทุจริต ทางกาย วาจา และ ใจ (อกุศลกรรมบถ 10) มีโทษ คือ 1) แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ 2) ผู้รู้ย่อมติเตียน 3) กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป 4) หลงลืมสติตาย 5) ตายแล้วไปเกิดในอบาย นรก#ข้อ245-#248 สูตร 2 จะมีไส้ในเหมือนกับสูตร 1 แต่มีความแตกต่างในตอนท้าย คือไส้ในของข้อที่ 4 เสื่อมจากสัทธรรม และข้อที่ 5 ตั้งอยู่ในอสัทธรรม#ข้อ249_สีวถิกสูตร ว่าด้วยป่าช้า เป็นธรรมที่อุปมาอุปไมยป่าช้ากับคน คือ บุคคลที่ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ 10 ย่อมไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น (ชื่อเสีย) มีภัย (ไม่อยากอยู่ด้วย) เป็นที่อยู่ของอมนุษย์ (คนไม่ดีมาอยู่รวมกัน) เป็นที่คร่ำครวญของคนหมู่มาก (หมดอาลัย)#ข้อ250_ปุคคลัปปสาทสูตร ว่าด้วยความเลื่อมใสเฉพาะบุคคล เมื่อความเลื่อมใสเกิดขึ้นกับเฉพาะบุคคลย่อมมีโทษ คือ เมื่อบุคลที่เราเลื่อมใสถูกยกวัตร ถูกสั่งให้นั่งท้าย ย้ายไปที่อื่น ลาสิกขา หรือทำกาละ จึงไม่เลื่อมใส ไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ได้ฟังธรรม เป็นเหตุให้เสื่อมจากพระสัทธรรมพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 14 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุจจริตวรรค8. ขณะที่ไม่สมควรอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ [6808-6t]
59:30||Season 68, Ep. 8ข้อที่ #28_ทุติยพลสูตร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรถึงกำลังแห่งญาณของภิกษุขีณาสพว่า “ภิกษุขีณาสพมีกำลังเท่าไร จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว” ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า..ภิกษุขีณาสพเห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า... สังขารทั้งปวงมีสภาวะไม่เที่ยง... กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงจิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไปตั้งอยู่ในวิเวก(นิพพาน) ยินดีในเนกขัมมะ ปราศจากเงื่อนธรรม(ปราศจากตัณหาไม่มีความยึดถือ)สติปัฏฐาน 4 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้วอิทธิบาท 4 ...ฯอินทรีย์ 5 ... ฯโพชฌงค์ 7 ... ฯอริยมรรคมีองค์ 8 ... ฯ ข้อที่ #29_อักขณสูตร กาลที่ไม่ใช่ขณะ (ไม่ใช่โอกาส) ไม่ใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ 8 ประการ คือ...ต่อให้มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้นและพระธรรมคำสอนยังมีอยู่ แต่ถ้าบุคคลนั้น... ตกอยู่ในนรก ก็ไม่ใช่ขณะ(ไม่ใช่โอกาส)ที่จะประพฤติพรหมจรรย์ได้ ... กำเนิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน...ฯ... เข้าถึงเปรตวิสัย...ฯ... เข้าถึงเทพนิกายเป็นอสัญญีสัตว์(พรหมลูกฟัก ไม่มีรูป ไม่มีสัญญา)...ฯ... เกิดในปัจจันตชนบท (คำสอนไปไม่ถึง)...ฯ... เกิดในมัชฌิมชนบท (มีภิกษุสงฆ์ มีคำสอน) แต่เป็นมิจฉาทิฏฐิ...ฯ... เกิดในมัชฌิมชนบทแต่เป็นคนมีปัญญาทราม ไม่สามารถจะรู้เนื้อความแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้...ฯต่อให้ไม่มีพระพุทธเจ้าไม่มีพระธรรมแม้จะเกิดในมัชฌิมชนบทมีปัญญาดี ก็ไม่ใช่ขณะ(ไม่ใช่โอกาส)ที่จะประพฤติพรหมจรรย์ได้**แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ควรแก่การประพฤติพรหมจรรย์มีประการเดียวเท่านั้นคือ ช่วงที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น มีพระธรรมที่ได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ได้อัตภาพความเป็นมนุษย์มีปัญญาเป็นสัมมาทิฎฐิและอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ยังมีคำสอนอยู่(ยังมีสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี)ข้อที่ #30_อนุรุทธมหาวิตักกสูตร สมัยหนึ่งพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดในป่าจีนวังสทายวัน ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธเกิดความคิดอย่างนี้ว่า นี้เป็นธรรม 4 ของบุคคลผู้มักน้อย (มักน้อยในปัจจัย, การบรรลุ, ปริยัตติ, ธุดงค์) ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรม... ผู้ไม่สันโดษ ... ผู้สงัด ไม่ใช่ธรรม... ผู้ยินดีในการคลุกคลี... ผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรม... ผู้เกียจคร้าน ... ผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรม... ผู้หลงลืมสติ ... ผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรม... ผู้มีใจไม่ตั้งมั่น ... ผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทรามพระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดของท่านพระอนุรุทธะด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายจากที่เภสกฬามิคทายวันไปปรากฏต่อหน้าท่านพระอนุรุทธะที่ปาจีนวังสทายวัน ทรงรับรองมหาปุริสวิตกทั้ง 7 ข้อ และทรงบอกเพิ่มมหาปุริสวิตกข้อที่ 8 คือ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม (ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ตัณหา, มานะ, และทิฏฐิ) เมื่อตรึกในธรรมทั้ง 8 ประการนี้แล้ว มีฌานทั้ง 4 เป็นที่หวังได้ จะเป็นผู้ที่อยู่อย่างผาสุกในปัจจัย 4 คือ การใช้ปัจจัย 4 เป็นบาทฐานแห่งการบรรลุธรรมพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกายอัฏฐกนิบาต คหปติวรรค