Latest episode
1. พระพุทธเจ้าทรงแก้ข้อสงสัยของเวรัญชพราหมณ์ [6801-6t]
53:36||Season 68, Ep. 1เรื่องราวทั้ง 2 พระสูตรนี้ เป็นรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงได้กล่าวแก้ถ้อยคำที่ถูกกล่าวหาจากพวกอัญเดียรถีย์ โดยได้ทรงแสดงไว้ กับเวรัญชพราหมณ์ใน เวรัญชสูตร และสีหเสนาบดีใน สีหสูตร ซึ่งมีเนื้อหาถึง 8 ประการด้วยกันโดยในข้อที่ #11_เวรัญชสูตร เวรัญชพราหมณ์ได้เข้ามากราบทูลถามถึงข้อสงสัยในแต่ละประเด็นและพระองค์ก็ได้ทรงตรัสแก้ข้อสงสัยเหล่านั้นแก่เวรัญชพราหมณ์ โดยมีประเด็นที่กล่าวถึงดังนี้1. พระพุทธเจ้าเป็นคนไม่มีรส (สัมมาคารวะ) ทรงตรัสแก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราละรสคือรูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะได้หมดสิ้น”2. ไม่มีสมบัติ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะตถาคตละสมบัติคือรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะได้หมดสิ้น”3. สอนไม่ให้ทำ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราสอนไม่ให้ทำกาย-วาจา-ใจทุจริต และไม่ให้ทำบาปอกุศลธรรมต่างๆ”4. สอนให้ทำลาย ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราสอนให้ทำลายราคะ โทสะ โมหะ และบาปอกุศลธรรมต่างๆ”5. ช่างรังเกียจ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราช่างรังเกียจกาย-วาจา-ใจทุจริต และรังเกียจบาปอกุศลธรรมต่างๆ”6. ช่างกำจัด ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ และบาปอกุศลธรรมต่างๆ”7. ช่างเผาผลาญ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเรากล่าวถึงบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ กาย-วาจา-ใจทุจริตว่าเป็นสิ่งที่ควรเผาผลาญ”8. เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราเรียกคนที่ละการอยู่ในครรภ์ และการเกิดใหม่ได้หมดสิ้นว่า เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด”ข้อที่ #12_สีหสูตร สีหเสนาบดีได้ยินคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จากพวกเจ้าลิจฉวีจึงปราถนาจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และเพราะตนเป็นสาวกของพวกนิครนถ์ จึงถูกนิครนถ์ นาฏบุตรห้ามไว้ถึง 2 ครั้ง และในครั้งที่ 3 ก็ไปเข้าเฝ้าได้สำเร็จ จึงได้สอบถามถึงข้อสงสัยที่ว่า “ พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ มีข้อเท็จจริงอย่างไร ? ”แล้วพระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงแสดงธรรมตรัสแก้ข้อกล่าวหาที่มีนัยยะใกล้เคียงกับเวรัญชสูตรแต่แตกต่างกันอยู่ 2 ประการ แล้วหลังจากที่สีหเสนาบดีได้ฟังธรรมแล้วก็ได้ประกาศตนเป็นอุบาสกแต่ด้วยตนเป็นบุคคลมีชื่อเสียงพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงให้สีหเสนาบดีคิดทบทวนให้ดีเสียก่อน แต่ด้วยความปลื้มปิติที่มีจึงได้ประกาศตนถึง 3 ครั้งด้วยกัน และพระองค์ก็ได้ทรงแสดงอนุปุพพีกถาและสามุกกังสิกเทศนา(อริยสัจ 4)แก่สีหเสนาบดีจนได้บรรลุเป็นโสดาบันพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต มหาวรรค
More episodes
View all episodes
52. ส่งท้ายปี 67- นำธรรมมาทบทวน [6752-6t]
58:30||Season 67, Ep. 52ทบทวนหมวดธรรม 7 ประการ (สัตตกนิบาต) ในปี 2567 #15_อุทกูปมาสูตร อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบคนตกน้ำกับบุคคล 7 จำพวก โดยไล่ตามลำดับตั้งแต่ปุถุชนไปจนถึงอริยบุคคลประเภทต่างๆ#16_อนิจจานุปัสสีสูตร กล่าวถึงอนาคามี 7 ประเภท#วัชชิสัตตกวรรค เป็นเรื่องราวของชาวเมืองวัชชี (พวกเจ้าลิจฉวี) ในกรุงเวสาลี และพระเจ้าอชาตศัตรูกับวัสสการพราหมณ์ในแคว้นมคธ โดยได้กล่าวถึงหลักธรรมที่ชาวเมืองวัชชีถือปฏิบัติกันมาได้แก่ อปริหานิยธรรม คือธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญโดยส่วนเดียว โดยได้แสดงไว้หลายนัยยะด้วยกัน#30_วิปัตติสูตร_#31_ปราภวสูตร ว่าด้วยวิบัติและสมบัติของอุบาสก ความวิบัติหรือสมบัตินี้หมายถึงความเสื่อมหรือความเจริญของคุณธรรมนั่นเอง#36_#37_ปฐม_ทุติยมิตตสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมิตร-เพื่อนที่ควรเสพคบหามี 7 ประการ#40_#41_ปฐม_ทุติยวสสูตร ธรรมที่เป็นเหตุให้มีอำนาจเหนือจิต ไม่ให้จิตไปตามอำนาจของผัสสะที่มากระทบ การฝึกจิตให้มีกำลังด้วยการทำสมาธิให้มีความชำนาญในขั้นต่างๆ#44_สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร ว่าด้วยวิญญาณฐิติ 7 ประการ (ฐานที่ตั้งแห่งวิญญาณ) และ #45_สมาธิปริกขารสูตร ว่าด้วยบริขารแห่งสมาธิ (มรรค 7 ประการแรก) เมื่อสมาธิมีกำลังจะสามารถแยกจิตออกจากรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณได้#46_#47_ปฐม_ทุติยอัคคิสูตร ไฟ และ การบูชายัญ#48_#49_ปฐม_ทุติยสัญญาสูตร สัญญา 7 ประการที่ทำให้จิตหลุดพ้นได้#50_เมถุนสูตร ว่าด้วยเมถุนสังโยค ปรารภเพศตรงข้าม / #52_ทานมหัปผลสูตร ทานที่ให้ผลมาก#53_นันทมาตาสูตร / #57_สีหเสนาปติสูตร / #61_ปลายมานสูตร ว่าด้วยอุบายแก้ความง่วง #63_ภริยาสูตร ภรรยา 7 จำพวก / #64_โกธนสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ / #66_ สัตตสุริยสูตร ว่าด้วยดวงอาทิตย์ 7 ดวง / #67_นคโรปมสูตร ว่าด้วยธรรมเปรียบด้วยเครื่องป้องกันนคร / #71_ภาวนาสูตร ว่าด้วยภาวนา / #72_อัคคิกขันโธปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยกองไฟพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต51. สมณะแกลบ [6751-6t]
55:41||Season 67, Ep. 51#9_นันทสูตร_ว่าด้วยพระนันทะ พระนันทเถระ มีศักดิ์เป็นน้องชายต่างมารดาของพระพุทธเจ้า ท่านออกบวชในวันที่ท่านจะอภิเษกสมรสกับนางชนบทกัลยาณี ท่านบวชเพราะความจำใจ จึงไม่ได้มีความตั้งใจในการที่ปฏิบัติธรรมและมีความกระสันใคร่อยากจะลาสิกขาอยู่เสมอ แต่ด้วยอุบายของพระพุทธเจ้าและความละอายต่อคำว่า “บวชเพราะรับจ้าง” ท่านจึงได้สติแล้วตั้งใจบำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระอรหันต์และได้รับการยกย่องเป็นเอตทัคคะในด้าน “ผู้ทรงอินทรีย์สังวร”ในนันทสูตรนี้ได้ยกถึงสมญานามของท่านนันทะไว้ 4 อย่าง ได้แก่ กุลบุตร (ชาติตระกูลดี), ผู้มีกำลัง, ผู้น่ารัก (รูปงาม), ผู้มีราคะจัด และได้ยกถึงหลักธรรม 4 ประการที่เมื่อพระนันทะปฏิบัติแล้วจะเข้าถึงบริสุทธิ์บริบูรณ์แห่งพรหมจรรย์ได้ หลักธรรม 4 ประการได้แก่ การสำรวมอินทรีย์ (ในบริบทนี้ให้ดูทิศ), การรู้ประมาณในการบริโภค, ประกอบความเพียรเครื่องตื่น (ดับนิวรณ์), มีสติสัมปชัญญะ (เห็นการเกิด-ดับในเวทนา สัญญา และสังขาร) “เรือนที่มุงไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดได้ฉันใด จิตที่ยังมิได้อบรมให้ดี ก็ฉันนั้น ราคะย่อมเสียดแทงได้ ส่วนเรือนที่มุงดี ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ฉันใด จิตที่อบรมดีแล้วก็ฉันนั้น ราคะย่อมเสียดแทงไม่ได้” #10_การัณฑวสูตร_ว่าด้วยสมณะหยากเยื่อ การกล่าวถึงวิธีการที่จะปฏิบัติกับภิกษุผู้ปกปิดอาบัติของตน (วิธีการที่พระใช้ลงโทษพระ) โดยได้อุปมาอุปไมยเปรียบด้วย หญ้าที่ทำลายต้นข้าว, การฝัดข้าวเปลือกเม็ดลีบ, ต้นไม้ที่เป็นโพลงเสียโดยให้กำจัดออกเสีย เปรียบเทียบกับภิกษุเมื่อทำผิดก็ต้องรับผิดไปตามบทวินัยเพื่อรักษาหมู่ภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและความเจริญงดงามแห่งพระศาสนา พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เมตตาวรรค50. อยู่เหนือโลกธรรมแปด [6750-6t]
54:52||Season 67, Ep. 50โลกธรรม 8 เป็นสิ่งที่มีปรากฎอยู่บนโลกและอยู่คู่กับโลกเป็นธรรมดา มีลักษณะครอบงำสัตว์โลกให้ยินดีหรือยินร้ายไปตามกระแสของโลก ประกอบด้วย 8 ประการ ได้แก่ 1) ลาภ 2) เสื่อมลาภ 3) ยศ 4) เสื่อมยศ 5) นินทา 6) สรรเสริญ 7) สุข 8) ทุกข์ โดยใน #5_ปฐมโลกธัมมสูตร_ว่าด้วยโลกธรรม สูตรที่ 1 ในคาถาท้ายพระสูตรได้กล่าวถึง โลกธรรม 8 เป็นสิ่งธรรมดาที่มีอยู่ในมนุษย์ ล้วนมีความไม่เที่ยง ผู้ใดมีปัญญาเห็นตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมไม่ยึดถือหรือยินดียินร้ายไปตาม จิตจึงไม่ถูกโลกธรรมย่ำยี่หรือครอบงำ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน #6_ทุติยโลกธัมมสูตร_ว่าด้วยโลกธรรม สูตรที่ 2 มีความหมายเดียวกันกับพระสูตรที่ 1 แต่ได้ยกอธิบายความแตกต่างระหว่างปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับและอริยสาวกผู้ได้สดับซึ่งจิตของอริยสาวกผู้ได้สดับจะรู้ชัดตามความเป็นจริงจิตจึงไม่ถูกครอบงำด้วยโลกธรรม 8 #7_เทวทัตตวิปัตติสูตร_ว่าด้วยวิบัติของพระเทวทัต ได้ปรารภเทวทัตถูกอสัทธรรม 8 ประการครอบงำจิต จึงต้องไปเกิดในอบาย นรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ เพราะทำสงฆ์ให้แตกกันเป็นอนันตริยกรรม อสัทธรรม 8 ประการได้แก่ ถูกลาภ-ความเสื่อมลาภ ยศ-ความเสื่อมยศ การสักการะ-เสื่อมสักการะ ปรารถนาชั่วและมีมิตรชั่วครอบงำจิต #8_อุตตรวิปัตติสูตร_ว่าด้วยพระอุตตระแสดงธรรมเรื่องวิบัติ ข้อธรรมเหมือนกับเทวทัตตวิปัตติสูตร แต่เป็นเรื่องราวของท่านพระอุตตระได้แสดงธรรมถึงความวิบัติและสมบัติโดยได้ยกเคสของพระเทวทัตที่วิบัติเพราะถูกอสัทธรรม 8 ประการครอบงำจิต*ประเด็น ความวิบัติหรือสมบัติไม่ได้ดูจาก สุข หรือ ทุกข์ แต่ดูได้จากเมื่ออยู่กับโลกธรรมแล้วเห็นตามความเป็นจริงได้หรือไม่ คือ เห็นสุขหรือทุกข์เป็นของไม่เที่ยง แล้ววางความยึดถือในโลกธรรมนั้น จิตจะพ้นจะอยู่เหนือโลกธรรม พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เมตตาวรรค49. เหตุให้เป็นที่รัก [6749-6t]
57:24||Season 67, Ep. 49#1_เมตตาสูตร_ว่าด้วยอานิสงส์แห่งเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้วซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติ (หมายถึง เมตตาที่เกิดจากจิตที่มีอารมณ์เป็นสมาธิของฌาน 3-4 และมีความพ้นจากนิวรณ์ 5 ประการ) และทำให้เป็นดุจยานแล้ว (ชำนาญ) ย่อมได้อานิสงส์ 8 ประการ คือ หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้ายเป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ เทวดารักษา ไฟ ยาพิษ หรือศัสตราไม่กล้ำกราย เมื่อยังไม่ถึงอรหัตตผลย่อมเข้าถึงพรหมโลก #2_ปัญญาสูตร_ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่ให้ได้ปัญญา เหตุ 8 ประการที่จะทำให้ได้ปัญญาถึงความเจริญแห่งปัญญา (คำว่า ปัญญา ในที่นี้หมายถึง วิปัสสนา) คือ บุคคลเมื่ออาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีแล้วตั้งผู้นั้นไว้ในฐานะครู มีความรักและเคารพอย่างแรงกล้า ทำให้เกิดหิริโอตตัปปะ และได้มีโอกาสเข้าไปเพื่อสอบถามธรรมกับท่านเหล่านั้น เมื่อได้ฟังธรรมแล้วย่อมทำให้เกิดความสงบกายและใจ ถึงความเป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต ทรงสุตะ ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม ไม่พูดติรัจฉานกถา (คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์หรือนิพพาน) และเห็นความเกิดขึ้นและดับไปในอุปาทานขันธ์ 5 #3-4_ปฐม-ทุติยอัปปิยสูตร_ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก ทั้ง 2 พระสูตรนี้ ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ที่รัก เคารพ ยกย่อง ในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ มีข้อธรรมที่สรุปลงเหมือนกันได้ 14 ข้อ คือ ไม่สรรเสริญและไม่ติเตียนผู้เป็นที่รัก ไม่มุ่งหวังลาภสักการะ มีหิริโอตตัปปะ มีความมักน้อย เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่มุ่งชื่อเสียง รู้จักกาล รู้จักประมาณ เป็นคนสะอาด ไม่พูดมาก ไม่ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี และธรรมที่ทำให้ไม่เป็นที่รัก ฯ มีนัยยะตรงกันข้ามกันกับที่กล่าวมา พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เมตตาวรรค48. กิเลสในลาภสักการะ [6748-6t]
57:11||Season 67, Ep. 48รูปสูตร คนเราจะเลือกเลื่อมใสใครมาจากเหตุ 4 อย่างนี้ คือ รูป เสียง ความเศร้าหมอง และธรรมะ แต่ไม่ควรจะตัดสินใจจากสิ่งที่เห็นภายนอกเพียงอย่างเดียว ดูให้รู้ถึงคุณธรรมภายในด้วย สารคสูตร บุคคลที่มีราคะ โทสะ โมหะ มานะ นับว่าไม่ดี เมื่อเป็นอริยบุคคลแม้ขั้นโสดาบันสิ่งเหล่านี้ก็จะเบาบางลง อหิราชสูตร เกี่ยวกับการแผ่เมตตาให้ 4 ตระกูลของพญางูเพื่อความอยู่เป็นสุข เทวทัตตสูตร ชี้ให้เห็นถึงลาภสักการะที่เกิดขึ้นนั้นฆ่าตัวพระเทวทัตเอง มาจากกิเลสในใจ ดุจการเกิดขึ้นของขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ปลีกล้วยฆ่าต้นกล้วย ลูกม้าอาชาไนยฆ่าแม่ม้าอัสดร และดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ ควรรักษาตนไม่ให้มีรอยแผลที่จะถูกตำหนิได้ และการเสพสุขโดยธรรมสามารถทำได้ ปธานสูตร ว่าด้วยความเพียร 4 ประการ คือ สำรวม ละ เจริญ และรักษา อธัมมิกสูตร ธรรม 4 ข้อที่จะเกิดจากเหตุ 13 ประการของผู้ที่ตั้ง และไม่ตั้งอยู่ในธรรม47. บุรุษอาชาไนย [6747-6t]
56:34||Season 67, Ep. 47#107_มูสิกสูตร เปรียบบุคคลไว้กับหนู 4 จำพวก โดยเปรียบการ “ขุดรู” ของหนู คือการศึกษาเล่าเรียนปริยัติ และ เปรียบการ “อยู่” ของหนู คือการรู้แจ้งในอริยสัจ 4 ซึ่งบุคคลศึกษาดีแต่ไม่รู้(แจ้ง)ในอริยสัจก็มี และบางประเภทศึกษาน้อยแต่แจ้งในอริยสัจ แล้วมีทั้งที่ศึกษาแล้วทำให้แจ้งอริยสัจด้วยก็มี #108_พลิวัททสูตร เปรียบบุคคลไว้กับโคที่ชอบข่มเหง หรือไม่ข่มเหงต่อฝูงของตน หรือฝูงตัวอื่น คือ การทำให้กลุ่มชนหวาดกลัว หรือไม่หวาดกลัวนั่นเอง #109_รุกขสูตร เปรียบบุคคลไว้กับต้นไม้เนื้ออ่อนและต้นไม้เนื้อแข็ง ซึ่งไม้เนื้อแข็งเป็นไม้มีแก่นเปรียบไว้กับคนมีศีล และไม้เนื้ออ่อนเป็นไม้ไม่มีแก่นเปรียบกับคนไม่มีศีล เราเป็นคนประเภทไหน และแวดล้อมด้วยไม้ชนิดใด #110_อาสีวิสสูตร เปรียบบุคคลเหมือนอสรพิษ เอาประเภทของพิษมาเป็นตัวแบ่ง พิษแล่น คือ ซึมซาบได้เร็วหรือช้า เปรียบดั่งความโกรธง่ายหรือยาก พิษร้าย คือ พิษร้ายมากน้อย เปรียบดั่งความคงอยู่ของความโกรธว่าหายเร็วหรือช้า #111_เกสิสูตร เปรียบเทียบขั้นตอนของการฝึกม้าจากนายเกสิกับการฝึกสาวกของพระพุทธเจ้า มีขั้นตอนเหมือนกัน ที่น่าสนใจ คือ ม้าหรือบุคคลที่ฝึกไม่ได้มีการฆ่าที่แตกต่างกัน การฆ่าในธรรมวินัยนี้ คือ การไม่บอกสอนหรือเห็นว่าบุคคลนี้ไม่สามารถบอกสอนได้อีกต่อไป ไม่ใช่การหมายเอาชีวิต เพราะการฝึกนี้ไม่ใช้ทั้งอาชญาและศาสตรา ให้ย้อนกลับมาดูว่าเราพัฒนาแก้ปัญหาในกลุ่มคนอย่างไร ใช้ธรรมะล้วน ๆ หรือไม่ และการฆ่าไม่ใช่ไม่บอกสอนตลอดไปแค่พักรอจังหวะ เพราะคนเราเปลี่ยนแปลงได้ เช่น พระเทวฑัตและพระฉันนะ ให้มีเมตตากรุณาอย่าอุเบกขาอย่างเดียว #112_ชวสูตร คุณสมบัติของม้ากับของภิกษุที่คู่ควร ซื่อตรง คือ ศรัทธา ว่องไว คือ รู้อริยสัจชั้นโสดาบัน อดทนต่อทุกขเวทนา สงบเสงี่ยม คือ มีฌาน 4 #113_ปโตทสูตร ม้าดีแต่มีความต่างกันต่อปฏักอยู่ 4 ระดับ คือ เห็นเงา แทงขน แทงผิว แทงกระดูก เปรียบดั่งการได้ยินได้รู้การตายของบุคคลในระดับต่าง ๆ จนถึงการตายของตนเอง #114_นาคสูตร คุณสมบัติช้างที่ดีในหนึ่งตัวมีครบสี่ กับบุคคลที่ถ้ามีครบก็เป็นอริยบุคคล รู้ฟัง: ใครกล่าวธรรมเงี่ยโสตฟัง รู้ประหาร: รู้จักละอกุศล รู้อดทน: อดทนต่อทุกขเวทนา รู้ไป: ไปนิพพาน ทิศที่ไม่เคยไปตลอดกาลอันยาวนาน