Share

cover art for บุญกิริยาวัตถุ [6812-6t]

6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก

บุญกิริยาวัตถุ [6812-6t]

Season 68, Ep. 12

ข้อที่ #35_ทานูปปัตติสูตร ว่าด้วยผลที่เกิดจากการให้ทาน บุคคลบางคนในโลกนี้ให้ทานเพราะหวังสิ่งตอบแทน คือหวังการไปเกิดเป็นมนุษย์ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมไปด้วยกามคุณ 5 หวังการไปเกิดเป็นเทวดาในชั้นต่าง ๆ ทั้ง 6 ชั้น และหวังการไปเกิดเป็นพรหมในชั้นพรหมกายิกา แล้วด้วยเขาเหล่านั้นเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ จึงได้ตามที่ปรารถนาไว้ แต่ความปรารถนานั้นยังเป็นไปในทางต่ำ กล่าวคือมีความพอใจ มีความข้องอยู่ในภพนั้น จึงไม่อาจเห็นสิ่งที่จะเจริญกว่าหรือพัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้นไปได้ 


*ข้อสังเกต ผู้ที่หวังไปเกิดในชั้นพรหมกายิกา คือนอกจากจะเป็นผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์แล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่ปราศจากราคะด้วย ในที่นี้ราคะถูกข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน (สมถะ) มิใช่ด้วยปัญญา


ข้อที่ #36_ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ว่าด้วยบุญกิริยาวัตถุ คือการบำเพ็ญบุญอันเป็นเหตุให้เกิดอานิสงส์ แบ่งเป็น 3 ประการ คือ บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยทาน ศีล และภาวนา แล้วนำมาอธิบายได้ 8 นัยยะ โดยทั้ง 8 นัยยะนั้นไม่มีบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จได้ด้วยการภาวนาเลย โดยนัยยะแรกบุญที่เกิดจากทำทานและมีศีลนิดหน่อย ทำให้ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ผู้โชคร้ายไม่มีอันจะกิน และนัยยะที่ 2 บุญที่สำเร็จได้ด้วยทานและศีลพอประมาณ ทำให้ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ผู้โชคดี และนัยยะที่ 3-8 บุญที่สำเร็จได้ด้วยทานและศีลอันยิ่ง ทำให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ทั้ง 6 ชั้นและได้ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยฐานะ 10 ประการในสวรรค์ชั้นนั้น ๆ


**ข้อสังเกต การภาวนา คือการพัฒนาหรือการทำให้เจริญ เราสามารถทำทานของเราให้มีอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่ได้ด้วยการให้ทานเพราะเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ให้จิตเกิดความนุ่มนวลอ่อนเหมาะในการเจริญสมถะและวิปัสสนาเพื่อให้เข้าถึงปัญญาอันสูงสุด


ข้อที่ #37_สัปปุริสทานสูตร ว่าด้วยสัปปุริสทาน คือทานของสัตบุรุษ มีลักษณะ 8 ประการด้วยกัน

  1. ให้ของสะอาด
  2. ให้ของประณีต
  3. ให้เหมาะกาล ให้ถูกเวลา
  4. ให้ของสมควร ให้ของที่ควรแก่เขา ซึ่งเขาจะใช้ได้
  5. พิจารณาเลือกให้ ให้ด้วยวิจารณญาณ เลือกของ เลือกคนที่จะให้ ให้เกิดผลเกิดประโยชน์มาก
  6. ให้เนืองนิตย์ ให้ประจำ หรือสม่ำเสมอ
  7. เมื่อให้ ทำจิตผ่องใส
  8. ให้แล้วเบิกบานใจ


พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ทานวรรค

More episodes

View all episodes

  • 16. ศีลอุโบสถ [6816-6t]

    57:31||Season 68, Ep. 16
    “อุโบสถ” หมายถึง กาลเป็นที่เข้าจำ (คือกาลเป็นที่เข้าไปอยู่โดยการถือศีล) และคำว่า “ศีลอุโบสถ” จึงหมายถึง การเข้าจำรักษาศีล 8 ของอุบาสกและอุบาสิกาในวันขึ้นและแรม 8 ค่ำ 15 ค่ำของทุกเดือน หรือที่เรียกกันว่า “รักษาอุโบสถศีล”ใน อุโปสถวรรค หมวดว่าด้วยอุโบสถ โดยพระสูตรที่ 41-45 คือใน 5 พระสูตรนี้ กล่าวถึงหลักธรรม 8 ประการที่เหมือนกัน ก็คือศีล 8 โดยปรารภคุณของพระอรหันต์ คือพระอรหันต์ย่อมละเว้นขาดจาก 1.    การฆ่าสัตว์ 2.    การลักทรัพย์3.    เมถุนธรรม4.    การพูดเท็จ5.    เสพของมึนเมา6.    การฉัน (บริโภค) ตอนกลางคืน7.    การละเล่นและดูการละเล่น การประดับตกแต่งร่างกาย และเครื่องประทินผิว8.    การนอนที่นอนสูงใหญ่แต่ละพระสูตรนั้นจะมีรายละเอียดในเรื่องของสถานที่ บุคคล และผลอานิสงส์ที่เหมือนและต่างกันออกไป *ศีล 8 แตกต่างจากศีล 5 คือ ศีล 8 เป็นศีลที่เป็นไปเพื่อการประพฤติพรหมจรรย์เพื่อการหลีกออกจากกาม แต่ศีล 5 ยังเกี่ยวเนื่องด้วยกามอยู่ข้อที่ #41_สังขิตตุโปสถสูตร ว่าด้วยอุโบสถโดยย่อ กล่าวถึง การรักษาศีล 8 ย่อมมีผลมีอานิสงส์มาก โดยตรัสกับภิกษุทั้งหลายที่พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถีข้อที่ #42_ตถตุโปสถสูตร ว่าด้วยอุโบสถโดยพิสดาร โดยได้เปรียบเทียบอานิสงส์ของการรักษาศีล 8 ไว้กับความสุขของมนุษย์ เช่น พระราชายังมีความสุขไม่ถึงเสี้ยวของผู้ที่รักษาศีล 8 โดยได้เปรียบเทียบสุขของมนุษย์ (เป็นของเล็กน้อย) ไว้กับสุขอันเป็นทิพย์ไว้ดังนี้•    50 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นจาตุมหาราช (มีอายุ 500 ปีทิพย์)•    100 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นดาวดึงส์ (มีอายุ 1000 ปีทิพย์)•    200 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นยามา (มีอายุ 2,000 ปีทิพย์)•    400 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นดุสิต (มีอายุ 4,000 ปีทิพย์)•    800 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1 วันของเทวดาชั้นนิมมานรดี (มีอายุ 8,000 ปีทิพย์)•    1,600 ปีของมนุษย์เท่ากับ 1วันของเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (มีอายุ 16,000 ปีทิพย์)ในพระคาถาท้ายพระสูตรได้กล่าวถึงอานิสงส์ของผู้ที่รักษาอุโบสถศีล (ศีล 8) ว่า “ทำบุญที่มีสุขเป็นกำไร ไม่ถูกนินทา ย่อมเข้าถึงสวรรค์”ข้อที่ #43_วิสาขาสูตร ว่าด้วยทรงแสดงอุโบสถแก่นางวิสาขา กล่าวถึงอานิสงส์ของการรักษาศีล 8 ซึ่งเหมือนกับตถตุโปสถสูตร แต่พระสูตรนี้ทรงตรัสกับ “นางวิสาขามิคารมาตา” ในบุพพาราม เขตกรุงสาวัตถีข้อที่ #44_วาเสฏฐสูตร ว่าด้วยอุบาสกชื่อว่าวาเสฏฐะ เหมือนกันกั วิสาขาสูตร แต่ทรงตรัสกับอุบาสกชื่อว่า “วาเสฏฐะ” ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตกรุงเวสาลี โดยกล่าวเสริมในตอนท้ายว่า เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ข้อที่ #45_โพชฌาสูตร ว่าด้วยอุบาสิกาชื่อว่าโพชฌา เหมือนกันกับวิสาขาสูตร แต่ทรงตรัสกับอุบาสิกาชื่อว่า “โพชฌา”พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต อุโปสถวรรค
  • 15. บุคคลผู้มีศีล [6815-6t]

    54:20||Season 68, Ep. 15
    ข้อที่ #11_จรสูตร ว่าด้วยอิริยาบถเดิน กล่าวถึงผู้ที่ปล่อยให้อกุศลวิตก 3 คือ ความคิดตริตรึกไปในทางกาม พยาบาท เบียดเบียน เกิดขึ้นในขณะที่อยู่ในอิริยาบถ 4 คือ เดิน ยืน นั่ง หรือนอน (ตื่นอยู่) และไม่พยายามละ ไม่บรรเทา ไม่ทำให้หมดสิ้นไป กล่าวได้ว่า “ผู้นั้นเป็นผู้เกียจคร้าน มีความเพียรย่อหย่อน” ส่วนผู้ใดพยายามละ บรรเทา ทำให้หมดสิ้นไป ผู้นั้นเป็น “ผู้ปรารภความเพียร” *ข้อสังเกต แม้มีอกุศลวิตกเกิดขึ้น แต่ไม่เพลิน ไม่ปล่อยใจให้ตกไปในอกุศล พยายามละ บรรเทาให้เบาบาง ถึงแม้ว่าจะทำอกุศลนั้นให้หมดสิ้นไปเลยยังไม่ได้ แต่ขึ้นชื่อว่า “เป็นผู้มีสติ ปรารภความเพียรอยู่” แม้ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดที่ไหนก็สามารถทำได้ข้อที่ #12_สีลสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มีศีล กล่าวถึงบุคคลผู้มีสติสัมปชัญญะ สำรวมระวัง มีความเพียรในการรักษาศีลให้เต็มบริบูรณ์ ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถ เดิน ยืน นั่ง หรือนอน ก็ตาม สามารถที่จะทำจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ เพราะศีลย่อมเป็นบาทฐานทำให้จิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิก็สามารถละนิวรณ์ 5 ได้ *ประเด็น ศีลบริบูรณ์ย่อมยังสมาธิให้บริบูรณ์ขึ้นมาได้ คือ สามารถทำสมาธิได้ในทุกอิริยาบถข้อที่ #13_ปธานสูตร ว่าด้วยสัมมัปปธาน “สัมมัปปธาน” คือ ความกล้าความเพียรที่ทำจริงแน่วแน่จริง แบ่งเป็น 2 ฝั่ง คือ ส่วนที่เป็นกุศล ถ้ายังไม่มีควรทำให้มี ที่มีอยู่แล้วให้ทำให้เจริญ และฝ่ายอกุศลที่มีอยู่เดิมให้ละ ที่ยังไม่มีอย่าให้เข้ามาข้อที่ #14_สังวรสูตร ว่าด้วยสังวรปธาน เป็นพระสูตรที่มีความเกี่ยวเนื่องสอดคล้องกับปธานสูตร เพราะกล่าวถึงวิธีในการละ ป้องกัน รักษา และทำให้เจริญ ไว้ดังนี้สังวรปธาน คือ การสำรวมอินทรีย์ไม่ให้อกุศลใหม่เข้ามา ปหานปธาน คือ เพียรด้วยการละ ภาวนาปธาน คือ การพัฒนาโพชฌงค์ 7 อนุรักขนาปธาน คือ เพียรรักษาสมาธินิมิตในการเห็นอสุภสัญญา เห็นอสุภแล้วยังรักษาสมาธิได้ นั่นคือรักษาได้พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จรวรรค
  • 14. ห้วงแห่งบุญกุศล [6814-6t]

    57:18||Season 68, Ep. 14
    ข้อที่ #38_ สัปปุริสสูตร ว่าด้วยคุณประโยชน์ของสัตบุรุษ สัตบุรุษ (คนดี) ย่อมเกิดมาเพี่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก กล่าวคือเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มารดาบิดา บุตรภรรยา ทาส กรรมกร คนใช้ มิตรและอำมาตย์ (เพื่อนสนิท) ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว พระราชา เหล่าเทวดา และสมณพราหมณ์ข้อที่ #39_อภิสันทสูตร ว่าด้วยห้วงบุญกุศล "ห้วงบุญกุศล" ในที่นี้หมายถึงผลแห่งบุญกุศลซึ่งหลั่งไหลนำความสุขมาสู่ผู้บำเพ็ญอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เป็นไปเพื่อให้ได้อารมณ์ดี มีสุขเป็นผล มีผัสสะใดมากระทบก็อารมณ์ดีได้เพราะจิตอยู่ในห้วงของบุญ เป็นลักษณะอารมณ์ของฌาน 2 (ปิติสุข) ห้วงบุญกุศล 8 ประการนี้ ได้แก่อะไรบ้าง คือ เป็นผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะและเป็นผู้มีมหาทาน (คือ มีศีล 5) ข้อที่ #40_ทุจจริตวิปากสูตร ว่าด้วยวิบากแห่งทุจริต ผลแห่งการกระทำที่ไม่ดี ทุจริต 8 ประการนี้ ย่อมมีผลทำให้เกิดในนรก สัตว์ดิรัจฉาน เปรตวิสัย และส่งผลวิบากอย่างเบาซึ่งได้แก่ ผลจากการฆ่าสัตว์ - ทำให้เป็นผู้มีอายุน้อย, การลักทรัพย์ - ทำให้เป็นผู้เสื่อมโภคทรัพย์, การประพฤติผิดในกาม - เป็นผู้มีศัตรูและเป็นผู้มีเวร, การพูดเท็จ - ถูกกล่าวตู่ด้วยคำไม่จริง, การพูดส่อเสียด - แตกจากมิตร, การพูดหยาบคาย - ให้ได้ฟังเรื่องที่ไม่น่าพอใจ, การพูดเพ้อเจ้อ - มีวาจาที่ไม่น่าเชื่อถือ, การดื่มสุราและเมรัย -ให้เป็นผู้วิกลจริตพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต ทานวรรค 
  • 13. บุคคลผู้ไปตามกระแส [6813-6t]

    55:00||Season 68, Ep. 13
    ข้อที่ #5_อนุโสตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ไปตามกระแส กล่าวถึงการไปตามกระแสของตัณหาหรือไม่ ของบุคคล 4 ประเภท คือ 1) ผู้ไปตามกระแส คือ ไปตามกามจนถึงทำบาปกรรม 2) ผู้ทวนกระแส คือบวชแล้ว และใช้ความพยายามอย่างมาก ในการหลีกออกจากกาม 3) ผู้มีภาวะตั้งมั่น หมายถึงอนาคามี และ 4๗ ผู้ข้ามพ้นฝั่ง คืออรหันต์ ข้อที่ #6_อัปปัสสุตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มีสุตะน้อย เอาคำว่ามีสุตะมากหรือน้อยกับการเข้าถึงหรือไม่เข้าถึงสุตะ ต่อให้คุณมีสุตะน้อย แต่ถ้ามีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม นั่นคือการเข้าถึงสุตะที่แท้จริง ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ สามารถพัฒนาให้มีเพิ่มคู่กันไปได้ ข้อที่ #7_โสภณสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ทำหมู่ให้งาม พูดถึงพุทธบริษัท 4 แต่ละประเภทที่ไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็สามารถทำหมู่ให้งามได้ด้วยคุณธรรม ความเป็นผู้เฉียบแหลม ได้รับคำแนะนำดี แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมข้อที่ #8_เวสารัชชสูตร ว่าด้วยญาณเป็นเหตุให้แกล้วกล้า คือ ญาณอันเป็นเหตุให้แกล้วกล้าของพระพุทธเจ้า คือความมั่นใจว่าศัตรูหมดไปแล้วจริง ๆ ญาณเหล่านี้เราสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตได้ เพราะเมื่อมีแล้วจะไม่มีความประหม่าเกรงกลัวใด ๆ ข้อที่ #9_ตัณหุปปาทสูตร ว่าด้วยเหตุเกิดแห่งตัณหา ตัณหาเมื่อจะเกิดย่อมเกิดเพราะปัจจัย 4 เป็นเหตุข้อที่ #10_โยคสูตร ว่าด้วยโยคะ คือ กิเลสที่ผูกมัดไว้ในภพ ได้แก่ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ การพรากจากโยคะจะเกิดได้ ก็ด้วยการปฏิบัติตามมรรค 8 พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ภัณฑคามวรรค
  • 11. การตรัสรู้ธรรมเป็นเหตุสิ้นภพ [6811-6t]

    55:14||Season 68, Ep. 11
    จตุกกนิบาต ภัณฑคามวรรค หมวดธรรม 4 ประการ ว่าด้วยพุทธกิจในภัณฑคาม เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านภัณฑคาม แคว้นวัชชีอนุพุทธสูตร ว่าด้วยการตรัสรู้ธรรมเป็นเหตุสิ้นภพ ของพระพุทธเจ้าและอนุพุทธะ เพราะการไม่รู้ซึ่งศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุต จึงทำให้ต้องเร่ร่อนท่องเที่ยวไป เกิดแล้วเกิดอีก เจอทุกข์แล้วเจอทุกข์อีก วนไป จะไม่เกิดก็ด้วยการรู้ธรรมทั้ง 4 ประการนี้ ปปติตสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้ที่ตกหล่นจากธรรมวินัย ก็คือผู้ที่ออกนอกอริยมรรคและวิมุต วิมุตในที่นี้หมายถึงผล นั่นเอง การดับทุกข์ได้เป็นข้อ ๆ เพราะความสมบรูณ์ในข้อนั้น ๆ แล้วค่อยพัฒนาไปตามลำดับ จะเจอแบบทดสอบที่ต่างกันไปในแต่ละข้อ ปฐมขตสูตรและทุติยขตสูตร ว่าด้วยเหตุให้ตนถูกกำจัด หัวข้อมีความเหมือนกันแต่ต่างกันในรายละเอียด ในปฐมขตสูตร คือ การไม่พิจารณาไม่ไตร่ตรอง ไม่เลื่อมใส หรือเลื่อมใสในบุคคลให้ถูกต้อง เป็นเหตุให้ประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญ ผู้รู้ติเตียน ส่วนในทุติยขตสูตรเหตุที่จะทำให้ตนถูกกำจัด คือ การปฏิบัติผิดในมารดา บิดา ตถาคต และสาวกของตถาคตพระไตรปิฎกเล่มที่ 21 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 13 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ภัณฑคามวรรค
  • 10. ว่าด้วยทาน 8 ประการ [6810-6t]

    55:55||Season 68, Ep. 10
    ข้อที่ 31 ปฐมทานสูตร เกี่ยวกับลักษณะของการให้ทาน 8 ประการ บางคนให้เมื่อประสบเข้า บางคนให้เพราะกลัวคำตำหนิหรือกลัวนรก บางคนให้เพราะเขาให้แล้วแก่เรา บางคนให้เพราะเขาน่าจะให้เรา บางคนให้เพราะการให้ทานเป็นการดี บางคนให้เพราะเราหุงหาอาหารกินเองได้แต่ชนเหล่านั้นไม่สามารถทำได้ บางคนให้ด้วยคิดว่ากิตติศัพท์อันงามจะขจรไป บางคนให้ด้วยเป็นเครื่องประดับจิตในการเจริญสมถะและวิปัสสนา ผลของการให้เรียงจากน้อยมามากตามลำดับข้อที่ 32 ทุติยทานสูตร พูดถึงทานที่เป็นกุศล มี 3 ลักษณะ คือ ศรัทธา หิริ และทานที่เป็นกุศลอันสัตบุรุษดำเนินการแล้ว ทำแล้วได้ไปเทวโลก ที่น่าสังเกตคือมีเพียงสามไม่ใช่แปด จึงน่าจะมาจากคาถาท้ายพระสูตรนั่นเองข้อที่ 33 ทานวัตถุสูตร ว่าด้วยทานวัตถุ คือเหตุแห่งการให้ทาน คือบางคนให้เพระรัก เพราะชัง เพราะหลง เพราะกลัว เหล่านี้คืออคติ4 บางคนให้เพราะปู่พ่อเคยให้ บางคนให้เพราะตายแล้วได้ไปสวรรค์ บางคนให้เพราะเกิดความชื่นชมโสมนัส บางคนให้เพราะเป็นเครื่องปรุงแต่งจิตข้อที่ 34 เขตตสูตร ว่าด้วยนาดีและนาไม่ดี มีอุปมาอุปไมยที่เหมือนและต่างกันคู่กัน ลักษณะพื้นที่มีความสำคัญต่อผลผลิต เช่นเดียวกันการให้ทานในสมณะที่ดีหรือไม่ดีย่อมมีผลแตกต่างกัน เปรียบมาตามมิจฉามรรคและสัมมามรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกายอัฏฐกนิบาต คหปติวรรค
  • 9. ความเลื่อมใสเฉพาะบุคคล [6809-6t]

    54:05||Season 68, Ep. 9
    ความเลื่อมใส (ศรัทธา )ที่เรามีอย่างถูกต้องในคุณของพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ แม้จะมีเหตุปัจจัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตาม เราก็ย่อมทำการปฏิบัติของเราให้เจริญและงดงามได้ เพราะด้วยศรัทธาที่เราตั้งไว้อย่างถูกต้องแล้ว#ข้อ241-#244 สูตร 1 เป็นธรรมคู่ตรงข้าม ว่าด้วย โทษของทุจริต ทางกาย วาจา และ ใจ (อกุศลกรรมบถ 10) มีโทษ คือ 1) แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ 2) ผู้รู้ย่อมติเตียน 3) กิตติศัพท์อันชั่วย่อมกระฉ่อนไป 4) หลงลืมสติตาย 5) ตายแล้วไปเกิดในอบาย นรก#ข้อ245-#248 สูตร 2 จะมีไส้ในเหมือนกับสูตร 1 แต่มีความแตกต่างในตอนท้าย คือไส้ในของข้อที่ 4 เสื่อมจากสัทธรรม และข้อที่ 5 ตั้งอยู่ในอสัทธรรม#ข้อ249_สีวถิกสูตร ว่าด้วยป่าช้า เป็นธรรมที่อุปมาอุปไมยป่าช้ากับคน คือ บุคคลที่ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ 10 ย่อมไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น (ชื่อเสีย) มีภัย (ไม่อยากอยู่ด้วย) เป็นที่อยู่ของอมนุษย์ (คนไม่ดีมาอยู่รวมกัน) เป็นที่คร่ำครวญของคนหมู่มาก (หมดอาลัย)#ข้อ250_ปุคคลัปปสาทสูตร ว่าด้วยความเลื่อมใสเฉพาะบุคคล เมื่อความเลื่อมใสเกิดขึ้นกับเฉพาะบุคคลย่อมมีโทษ คือ เมื่อบุคลที่เราเลื่อมใสถูกยกวัตร ถูกสั่งให้นั่งท้าย ย้ายไปที่อื่น ลาสิกขา หรือทำกาละ จึงไม่เลื่อมใส ไม่คบภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ได้ฟังธรรม เป็นเหตุให้เสื่อมจากพระสัทธรรมพระไตรปิฎกเล่มที่ 22 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 14 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต ทุจจริตวรรค
  • 8. ขณะที่ไม่สมควรอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ [6808-6t]

    59:30||Season 68, Ep. 8
    ข้อที่ #28_ทุติยพลสูตร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรถึงกำลังแห่งญาณของภิกษุขีณาสพว่า “ภิกษุขีณาสพมีกำลังเท่าไร จึงปฏิญญาความสิ้นอาสวะทั้งหลายว่า อาสวะของเราสิ้นแล้ว” ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า..ภิกษุขีณาสพเห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า... สังขารทั้งปวงมีสภาวะไม่เที่ยง... กามทั้งหลายเปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิงจิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติน้อมไปตั้งอยู่ในวิเวก(นิพพาน) ยินดีในเนกขัมมะ ปราศจากเงื่อนธรรม(ปราศจากตัณหาไม่มีความยึดถือ)สติปัฏฐาน 4 เป็นธรรมที่ภิกษุขีณาสพเจริญอบรมดีแล้วอิทธิบาท 4 ...ฯอินทรีย์ 5 ... ฯโพชฌงค์ 7 ... ฯอริยมรรคมีองค์ 8 ... ฯ ข้อที่ #29_อักขณสูตร กาลที่ไม่ใช่ขณะ (ไม่ใช่โอกาส) ไม่ใช่สมัยที่จะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ 8 ประการ คือ...ต่อให้มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้นและพระธรรมคำสอนยังมีอยู่ แต่ถ้าบุคคลนั้น... ตกอยู่ในนรก ก็ไม่ใช่ขณะ(ไม่ใช่โอกาส)ที่จะประพฤติพรหมจรรย์ได้ ... กำเนิดเป็นสัตว์ดิรัจฉาน...ฯ... เข้าถึงเปรตวิสัย...ฯ... เข้าถึงเทพนิกายเป็นอสัญญีสัตว์(พรหมลูกฟัก ไม่มีรูป ไม่มีสัญญา)...ฯ... เกิดในปัจจันตชนบท (คำสอนไปไม่ถึง)...ฯ... เกิดในมัชฌิมชนบท (มีภิกษุสงฆ์ มีคำสอน) แต่เป็นมิจฉาทิฏฐิ...ฯ... เกิดในมัชฌิมชนบทแต่เป็นคนมีปัญญาทราม ไม่สามารถจะรู้เนื้อความแห่งสุภาษิตและทุพภาษิตได้...ฯต่อให้ไม่มีพระพุทธเจ้าไม่มีพระธรรมแม้จะเกิดในมัชฌิมชนบทมีปัญญาดี ก็ไม่ใช่ขณะ(ไม่ใช่โอกาส)ที่จะประพฤติพรหมจรรย์ได้**แต่ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ควรแก่การประพฤติพรหมจรรย์มีประการเดียวเท่านั้นคือ ช่วงที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น มีพระธรรมที่ได้ทรงแสดงไว้ดีแล้ว ได้อัตภาพความเป็นมนุษย์มีปัญญาเป็นสัมมาทิฎฐิและอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ยังมีคำสอนอยู่(ยังมีสงฆ์ผู้ปฏิบัติดี)ข้อที่ #30_อนุรุทธมหาวิตักกสูตร สมัยหนึ่งพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ในที่สงัดในป่าจีนวังสทายวัน ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธเกิดความคิดอย่างนี้ว่า นี้เป็นธรรม 4 ของบุคคลผู้มักน้อย (มักน้อยในปัจจัย, การบรรลุ, ปริยัตติ, ธุดงค์) ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มักมาก  นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้สันโดษ ไม่ใช่ธรรม... ผู้ไม่สันโดษ  ... ผู้สงัด ไม่ใช่ธรรม... ผู้ยินดีในการคลุกคลี... ผู้ปรารภความเพียร ไม่ใช่ธรรม... ผู้เกียจคร้าน  ... ผู้มีสติตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรม... ผู้หลงลืมสติ  ... ผู้มีใจตั้งมั่น ไม่ใช่ธรรม... ผู้มีใจไม่ตั้งมั่น   ... ผู้มีปัญญา ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้มีปัญญาทรามพระผู้มีพระภาคทรงทราบความคิดของท่านพระอนุรุทธะด้วยพระทัยแล้ว ทรงหายจากที่เภสกฬามิคทายวันไปปรากฏต่อหน้าท่านพระอนุรุทธะที่ปาจีนวังสทายวัน ทรงรับรองมหาปุริสวิตกทั้ง 7 ข้อ และทรงบอกเพิ่มมหาปุริสวิตกข้อที่ 8 คือ นี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ยินดีในนิปปปัญจธรรม ไม่ใช่ธรรมของบุคคลผู้ยินดีในปปัญจธรรม (ธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า ตัณหา, มานะ, และทิฏฐิ) เมื่อตรึกในธรรมทั้ง 8 ประการนี้แล้ว มีฌานทั้ง 4 เป็นที่หวังได้ จะเป็นผู้ที่อยู่อย่างผาสุกในปัจจัย 4 คือ การใช้ปัจจัย 4 เป็นบาทฐานแห่งการบรรลุธรรมพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกายอัฏฐกนิบาต คหปติวรรค