Share

cover art for กิจจญาณ : กิจที่ควรทำในอริยสัจ4 [6726-3d]

3 ใต้ร่มโพธิบท

กิจจญาณ : กิจที่ควรทำในอริยสัจ4 [6726-3d]

Season 67, Ep. 26

ความจริงโดยทั่วๆ ไปที่เป็นข้อเท็จจริง ตามสมมุติของโลกนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขปัจจัยตามบริบทของสังคมหรือเวลา เช่น ข่าว งานวิจัย สิ่งของ เสื้อผ้า ที่สมมุติเรียกตามบริบทของเวลานั้น แต่อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 อย่างนี้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แสดงถึง สัจธรรมความจริง ที่ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยเวลา

กิจในอริยสัจ 4 (กิจญาณ) คือ หน้าที่ที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ

1. ทุกข์ คือ ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หน้าที่คือ “ปริญญา” ควรรอบรู้ เข้าใจ ยอมรับมัน

2. สมุทัย คือ ตัณหา หน้าที่คือ “ปหานะ” ควรละ กำจัด ขว้างทิ้ง ไม่ถือเอา

3. นิโรธ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ หน้าที่คือ “สัจฉิกิริยา” ควรทำให้แจ้ง

4. มรรค คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ หน้าที่คือ “ภาวนา” ควรเจริญ พัฒนา ทำให้มาก

การแยกแยะสิ่งต่างๆ ตามหลักอริยสัจ 4 คือ เมื่อเราเจอสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตของเรา ให้เรารู้จักแยกแยะสิ่งนั้นก่อนว่าคืออะไรในอริยสัจ 4 เมื่อแยกแยะแล้วก็ทำกิจให้ถูกต้อง กระบวนการแยกแยะนี้ เมื่อทำให้เกิดขึ้นได้อยู่บ่อยๆ จะทำให้เกิดญาณหยั่งรู้หรือญาณทัสสนะ (สัจจญาณ, กิจจญาณ, กตญาณ)

More episodes

View all episodes

  • 47. ขันธ์ 5 โดยรวม (ตอนที่1) [6747-3d]

    57:59||Season 67, Ep. 47
    “ทุกขอริยสัจ” ความจริงอันประเสริฐ คือ “ทุกข์” อุปาทาน (ความยึดถือ) ในขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นสุข หรือ ทุกข์ ต่างอาศัยเหตุเกิด ย่อมเป็นทุกข์ เพราะมีความไม่เที่ยง เป็นอนัตตาขันธ์ 5 คือ กองทุกข์ แบ่งออกได้เป็น 5 กอง ได้แก่“รูป” คือ สิ่งที่แตกสลายได้ เปรียบเหมือนก้อนฟองน้ำ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้“เวทนา” คือ ความรู้สึกที่เกิดจากผัสสะ เปรียบเหมือนต่อมนํ้าเกิดขึ้นและแตกกระจายอยู่บนผิวน้ำ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้“สัญญา” คือ ความจำได้หมายรู้ เปรียบเหมือนพยับแดดย่อมไหวยิบยับ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นสารมิได้“สังขาร” คือ การปรุงแต่งให้สำเร็จรูป เปรียบเหมือนการหาแก่นไม้ในต้นกล้วย ไม่พบแม้แต่กระพี้ จะพบแก่นได้อย่างไร“วิญญาณ” คือ การรับรู้ เปรียบเหมือนนักแสดงกล กลนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ Time stamp 6747-3d:(00:35) ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ(08:40) ขันธ์ 5(09:37) "ทุกข์"(18:10) แจกแจงทุกข์(20:46) รูปขันธ์(21:52) กองที่หนึ่ง รูป(22:02) กองที่สอง เวทนา(23:05) กองที่สาม สัญญา(26:18) อธิบาย อุปาทานขันธ์ 5
  • 46. ฐานะที่พึงรู้ได้ [6746-3d]

    56:28||Season 67, Ep. 46
    การที่เราจะรู้จักใครสักคนอย่างดีพอนั้น… ไม่ใช่จากคำบอกเล่าของบุคคลอื่น หรือ จากสิ่งที่เราได้ยินได้เห็นเพียงแค่ในช่วงเวลาสั้นๆ นั้น แต่ต้องอาศัยเวลาในการอยู่ร่วมกันนานพอสมควร รวมถึงการทำไว้ในใจโดยแยบคาย และปัญญาฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่พึงรู้ด้วยฐานะ เราจะรู้ได้ว่าบุคคลนั้น มีศีล สมาธิ และปัญญาจะพิจารณาได้จาก“ศีล” คือความปกติ พึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน กล่าวคือ เมื่ออยู่ร่วมกันแล้วจะรู้ถึงความมีศีลเป็นปกติหรือมีศีลด่างพร้อยของบุคคลนั้น“ความบริสุทธิ์” คือความสะอาดในการดำเนินชีวิตในการอยู่ร่วมกันกับคนอื่น พึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ กล่าวคือ เมื่อมีการสนทนาพูดคุยตัวต่อตัว สอง-สามคนบ้าง..ฯ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ถ้อยคำพูดคราวหลังก็ไม่ต่างจากพูดคราวก่อน“กำลังใจ” คือสมาธิคือจิตที่มีพลัง พึงรู้ได้ในคราวมีอันตราย กล่าวคือ เมื่อประสบกับโลกธรรม 8 แล้ว มีปัญญาเห็นสภาวะทุกข์นั้นตามความเป็นจริง“ปัญญา” พึงรู้ได้ด้วยการสนทนา กล่าวคือ เมื่อสนทนากันแล้วรู้ว่า ท่านผู้นี้มีการตระเตรียมปัญหาที่ตนปรารถนาจะรู้ และสามารถที่จะบอก แสดง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้นทั้งโดยย่อหรือโดยพิสดาร
  • 45. เหตุให้อายุยืน [6745-3d]

    55:47||Season 67, Ep. 45
    เหตุให้อายุยืน ได้แก่1. รู้จักทำความสบายแก่ตนเอง คือรู้จักสิ่งที่เป็นสัปปายะ รู้จักสิ่งที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตน2. รู้จักประมาณในสิ่งที่สบาย 3. บริโภคอาหารที่ย่อยง่าย รวมถึงการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดด้วย4. ประพฤติเหมาะสมในเรื่องเวลา คือ ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับเวลาอย่างสม่ำเสมอ เช่น นอนให้เป็นเวลา ตื่นเป็นเวลา ออกกำลังให้สม่ำเสมอเป็นเวลา 5. ประพฤติพรหมจรรย์ สามารถทำให้อายุยืนได้เพราะเป็นการฝึกจิตคือจิตใจเมื่อเว้นจาการเสพเมถุน ไม่ได้หาความสุขจากตา หู ลิ้นและกายแล้ว ก็ให้มาหาความสุขทางใจ ความสุขที่เกิดจากการสงบระงับ ความสุขจากนิพพาน จะเป็นความสุขที่นิ่งๆเย็นๆ สุขแบบนี้จะมีผลให้อายุยืนได้6. มีศีล ผู้ที่มีศีลถือว่าเป็นผู้ไม่ประมาท จะลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่างๆลงได้7. มีกัลยาณมิตร การมีมิตรดีจะช่วยดูแลอันตรายต่างๆให้แก่กัน พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงเหตุปัจจัยอีกอย่างที่จะทำให้บุคคลอายุยืน คือ การเจริญอิทธิบาท4 นอกจากนี้ยังมีธรรมะอีกอย่างที่จะทำให้อายุยืนคือ อารยวัฒิ 5 (ธรรมแห่งความเจริญ 5 ประการ)ประกอบด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาการสร้างเหตุปัจจัยเหล่านี้ให้เกิดขึ้นในชีวิตของเราจะทำให้เราเป็นผู้มีอายุยืน มีความสุขและสุขภาพแข็งแรง
  • 44. นิวรณ์ 5 [6744-3d]

    56:52||Season 67, Ep. 44
    “นิวรณ์ 5” กิเลสที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม เกิดขึ้นในช่องทางใจระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นเครื่องขวางกั้น ทำให้จิตขุ่นมัว ไม่เป็นสมาธิประกอบด้วย 5 อย่างดังนี้ 1. กามฉันทะ คือ ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ 2. พยาบาท คือ ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ 3. ถีนมิทธะ คือ ความง่วงเหงาความซบเซาเซื่องซึม, ความหดหู่ 4. อุทธัจจกุกกุจจะ คือความฟุ้งซ่านรำคาญใจ, ความกระวนกระวายคิดไปในกาม พยาบาทเบียดเบียน 5. วิจิกิจฉา คือความลังเลสงสัย ความเคลือบแคลงเห็นแย้ง การจะระงับนิวรณ์ได้ สิ่งสำคัญที่สุด คือ “การมีสติ” ระลึกรู้ถึงนิวรณ์ที่เกิดขึ้น และการใช้ “กำลังของสติ” ไม่ให้จิตน้อมไปตามความคิดเหล่านั้น นั่นจะทำให้นิวรณ์อ่อนกำลังและดับไป นอกจากนี้ การไม่ตั้งความพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเจริญพรหมวิหาร 4 รวมถึงการเจริญโพชฌงค์ 7 ก็ทำให้นิวรณ์ระงับได้ เช่นเดียวกันทั้งนี้ ในการเจริญสมาธิภาวนา เราอาจใช้นิวรณ์เป็นกรอบนิมิตได้ว่า สมาธิช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อให้จิตสงบ หรือช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อการพิจารณาให้เกิดปัญญา ได้อีกด้วยTime stamp 6744-3d:(00:38) ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ(10:27) ความหมายของนิวรณ์(12:42) กามฉันทะ(23:35) ความพยาบาท(31:25) ถีนมิทธะ(37:15) อุทธัจจะ กุกกุจจะ(41:12) วิจิกิจฉา(44:47) วิธีแก้ นิวรณ์ 5(53:50) โพชฌงค์ 7 ระงับ นิวรณ์ 5 ได้
  • 43. นาถกรณธรรม 10 ประการ [6743-3d]

    57:19||Season 67, Ep. 43
    ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่าให้พึ่งตน พึ่งธรรมนั้น หมายถึง พึ่งธรรมของพระองค์ในตอนนี้จึงจะยกธรรมเป็นที่พึ่ง หรือคุณธรรมที่ทำให้ตนเป็นที่พึ่งของตนได้ คือนาถกรณธรรม 10 ประการ มากล่าว ดังนี้ ศีล คือ ความประพฤติดีงามสุจริต รักษาระเบียบวินัย ผู้มีศีลถือว่าเป็นผู้มีที่พึ่งแล้วพาหุสัจจะ คือ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก มีความรู้ความเข้าใจลึกซึ้งในธรรมกัลยาณมิตตตา คือ ความมีกัลยาณมิตร, การคบเพื่อนดี หากแม้หาเพื่อนที่ดีไม่ได้ มรรค8 เป็นกัลยาณมิตรได้โสวจัสสตา ความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย รับฟังเหตุผล กิงกรณีเยสุ ทักขตา ความเอาใจใส่ช่วยขวนขวายในกิจใหญ่น้อยทุกอย่างของเพื่อนร่วมหมู่คณะ รู้จักพิจารณาไตร่ตรอง สามารถจัดทำให้สำเร็จเรียบร้อยธัมมกามตา ความเป็นผู้ใคร่ธรรม คือ รักธรรม ใฝ่ความรู้ใฝ่ความจริง รู้จักพูดรู้จักฟัง ทำให้เกิดความพอใจ น่าร่วมปรึกษาสนทนา ชอบศึกษา ยินดีพอใจมีความปราโมทย์ในหลักธรรมหลักวินัยที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปวิริยารัมภะ ความขยันหมั่นเพียร คือ เพียรละความชั่ว ประกอบความดีมีใจแกล้วกล้าที่จะทำความดี กล้าที่จะลงมือทำในสิ่งดีๆ ปรารภความเพียรและไม่ทอดทิ้งธุระสันตุฏฐี ความสันโดษ คือ ยินดี มีความสุขความพอใจด้วยปัจจัย 4 ที่หามาได้ด้วยความเพียรอันชอบธรรมของตน มีลักษณะ 3 อย่างคือ ยถาลาภสันโดษ คือความสันโดษตามมีตามได้ ได้มาอย่างไรก็พอใจอย่างนั้น , ยถาพลสันโดษคือความสันโดษตามกำลังในสิ่งที่ควรจะใช้, ยถาสารุปปสันโดษคือ รู้จักพอเป็น อิ่มเป็น และแบ่งปันส่วนที่เกินเลยไปเอื้อเฟื้อผู้อื่นตามสมควรสติ คือเป็นผู้ความมีสติ เป็นผู้ระลึกการที่ทำคำที่พูดไว้แม้นานได้ คือไม่ให้เพลินไป ไม่ให้เผลอไป ไม่ประมาทไป ตามผัสสะต่างๆที่มากระทบ ปัญญา ความมีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล รู้จักคิดพิจารณา มีปัญญาที่จะกำจัดกิเลส เข้าใจภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง นาถกรณธรรมนี้ เป็นธรรมมีอุปการะมาก เพราะเป็นกำลังหนุนในการบำเพ็ญคุณธรรมต่างๆ ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จได้อย่างกว้างขวางTime stamp 6743-3d:(00:34) ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ(05:10) นาถกรณธรรม 10 ประการ(10:34) ศีล ความประพฤติดีงามสุจริต(12:36) พาหุสัจจะ(18:35) กัลยาณมิตตตา(22:17) โสวจัสสตา(28:40) กิงกรณีเยสุ ทักขตา(29:32) วิริยารัมภะ(35:30) ธัมมกาโม(39:38) สันตุฏฐี(48:15) สติ(50:54) ปัญญา
  • 42. ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุก [6742-3d]

    58:11||Season 67, Ep. 42
    ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกในที่นี้จะกล่าวไว้ 2 กรณีคือ กรณีที่ 1 คือผู้ที่อยู่คนเดียวจะอยู่อย่างไรให้ผาสุกอยู่ได้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็น 2 นัยยะ ได้แก่นัยยะที่ตรัสไว้กับภิกษุทั้งหลายว่า ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกคือ ฌาน 1/ ฌาน 2/ ฌาน3/ ฌาน4 / การทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ ส่วนนัยยะที่ 2 ได้ปรารภในคหบดีเจาะจงสำหรับผู้ครองเรือนไว้ คือโสตาปัตติยังคะ 4 เป็นธรรมที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติตามแล้วหยั่งลงสู่อมตะธรรมได้ ได้แก่ มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระพุทธเจ้า /มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระธรรม / มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระสงฆ์ / มีศีลสมบูรณ์ โดยทั้ง 2 นัยยะนี้ พระพุทธเจ้าหมายถึงตัวเราเองเท่านั้นกรณีที่ 2 คือธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกของผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ คือ ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข 5 ประการ ได้แก่ เข้าไปตั้งกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง / เข้าไปตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง/ เข้าไปตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง/เป็นผู้มีศีลที่สมบูรณ์ไม่ทะลุด่างพร้อยเป็นศีลที่เสมอกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง/เป็นผู้มีทิฏฐิอันเป็นอริยะหมายถึงความเห็นที่ประเสริฐให้เสมอกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
  • 41. วิธีพิจารณาหลักธรรมคำสอนเพื่อสุขในปัจจุบัน [6741-3d]

    58:13||Season 67, Ep. 41
    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมะไว้อย่างดีและรัดกุมรอบคอบไม่ละหลวม ในที่นี้จะนำธรรมมะที่กล่าวถึงวิธีคิดวิธีไตร่ตรองพิจารณาในแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อนำทางแห่งความสุขในปัจจุบัน โดยจะนำธรรมะหลายหัวข้อมากล่าวดังนี้ประการแรก “โคตรมีสูตร” เป็นธรรมง่ายๆย่อๆที่พระพุทธเจ้าบอกแก่นางโคตรมี ที่ได้ขอข้อธรรมที่จะนำไปปฏิบัติเมื่ออยู่คนเดียว หลักเกณฑ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้คือ 1.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด 2.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อคลายความยึดถือ 3.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความมักน้อย 4.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความสันโดษ 5.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความสงัด 6.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความเพียร 7.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย 8.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่ายลักษณะคำสอนของพระพุทธเจ้าต้องมีทั้ง 8 ประการนี้เป็นเกณฑ์ แต่ต้องไม่ยึดถือในหลักเกณฑ์ พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่ชาวกลามโคตร ใน “เกสปุตตสูตร” ไว้ว่าอย่าได้ยึดถือโดยได้ยินได้ฟังมา, โดยอ้างตำรา, โดยคาดคะเน, โดยความตรึกตามอาการ... แต่หลักการที่ถูกต้องดูว่า กุศลเพิ่ม อกุศลลด หรือไม่ประการที่สอง กล่าวถึงการพิจารณาถึงพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ควร-ไม่ทำ โดยจะนำ “เตวิชชสูตร” มากล่าวโดยกล่าวถึงข้อปฏิบัติของพราหมณ์ที่จะให้ได้ไปอยู่กับพรหม ให้พิจารณาว่าพิธีกรรมที่ทำนั้นเป็นไปอย่างไร เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวร้อยรัดหรือไม่ จองเวรหรือไม่ เบียดเบียนผู้อื่นหรือไม่ เศร้าหมองหรือไม่ ฟุ้งซ่านหรือไม่ หากพิธีกรรมต่างๆเป็นไปเพื่อสิ่งเหล่านี้ก็ต้องเว้นการปฏิบัติเสียประการที่สาม ข้อปฏิบัติอันใดที่เราควร-ไม่ควรกระทำ สูตรที่จะนำมากล่าวคือ “อนุมานสูตร” กล่าวถึงอุปกิเลส 16 ประการ ที่มาประกอบในการพิจารณาที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ พิจารณาถึงคนอื่น ว่าหากเราทำสิ่งไม่ดีกับบุคคลอื่น เขาคงจะไม่ชอบ แล้วมองกลับกันว่าหากเขาทำสิ่งนี้กับเรา เราก็คงจะไม่พอใจ ดังนั้นเราก็ต้องพิจารณาว่าเราไม่ควรทำอย่างนั้นกับคนอื่น พิจารณาที่ตัวเองว่าเรามีอกุศลธรรมเกิดขึ้นในใจตนหรือไม่ หากมีแล้วจะทำสิ่งที่เป็นอกุศลนั้นกับคนอื่น ก็จงรีบละมันเสียประการที่สี่ วัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ควร-ไม่ควรทำ นำหลักธรรมจาก สาเลยกสูตร มาพิจารณาเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวกับชาวบ้านสาเลยกะ เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติทาง กาย วาจา ใจ จะทำให้เข้าถึง อาบาย ทุคติ วินิบาตนรกหรือสุคติโลกสวรรค์ เกณฑ์ที่ท่านได้นำมาพิจารณาคือใช้เกณฑ์ความดีของวิญญูชน คนดีทั่ว ๆ ไปที่เขาเป็นกัน โดยนำเรื่องศีล ทิฏฐิความเห็นต่างมาพิจารณา ว่าสิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ
  • 40. คู่ธรรมต่างทิศ [6740-3d]

    56:18||Season 67, Ep. 40
    บางครั้ง..คนเรานั้น ก็มักจะสับสนในธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กัน คล้ายๆ กัน จนแยกไม่ออกว่า “ ผลผลิตของธรรมนั้นจะให้ผลออกมาอย่างไร ”จึงขอยกธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กันขึ้นมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างในความหมาย และคุณลักษณะของธรรมนั้นๆ อย่างแยบคาย และเพื่อก่อให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฎฐิไปสู่พระนิพพานได้โดยธรรมที่หยิบยกมานี้ เมื่อพิจารณาแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายกุศลธรรม และ ฝ่ายอกุศลลธรรม เช่น ฉันทะ / ตัณหา, ความเพียร / ความโลภ, ความเมตตา / ความรัก, ปล่อยวาง / ขี้เกียจ, อุเบกขา / ความเฉยเมย, พูดตรงจริงใจรู้กาล / พูดตรงไม่มีมารยาท, ความเห็นอกเห็นใจ / ความเศร้าเสียใจ
  • 39. ภัยอันตรายที่พึงพิจารณา [6739-3d]

    57:05||Season 67, Ep. 39
    พระพุทธเจ้าได้ทรงแบ่งภัยในโลกนี้ไว้ 2 อย่างคือ ภัยที่ช่วยเหลือกันได้ และภัยที่ช่วยกันไม่ได้ 1.ภัยที่พอช่วยเหลือกันได้ ได้แก่ 1.ภัยน้ำท่วม 2.ภัยเกิดจากไฟไหม้ 3.ภัยเกิดจากโจรขโมยและสงคราม ภัยเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วยังพอช่วยเหลือให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้บ้าง มากบ้างน้อยบ้าง ตามสถานการณ์2.ภัยที่ช่วยกันไม่ได้ ถึงแม้จะเป็น พ่อ แม่ ลูก ที่รักและห่วงใยกันแค่ไหนก็ไม่สามารถช่วยกันได้เลย ได้แก่ 1. ภัยจากความแก่(ชราภัย) 2.ภัยจากความเจ็บไข้(พยาธิภัย) 3. ภัยจากความตาย(มรณะภัย) ภัยเหล่านี้เป็นภัยที่หากเกิดขึ้นแก่ผู้แล้วไม่มีใครที่จะสามารถช่วยแบ่งเบา หรือรับเอาภัยนั้นมาแทนกันได้เลย พระพุทธองค์ทรงชี้ทางออกไว้ให้ว่าหากผู้ใดเป็นผู้ที่มีอริยมรรคมีองค์ 8 ประกอบอยู่ในจิตของตน ผู้นั้นก็จะสามารถพ้นจากภัยอันตรายที่เกิดขึ้นจาก ความแก่ ความเจ็บ และความตายในอนาคตได้อย่างแน่นอน โดยอริยมรรคมีองค์ 8 นี้ได้แก่ 1.ศีล คือสัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ,สัมมาอาชีวะ 2.สมาธิ คือสัมมาวายามะ,สัมมาสติ,สัมมาสมาธิ 3.ปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะภัยต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประสบภัยนั้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในที่นี้จะกล่าวถึงหมวดธรรมที่ทำให้เห็นว่าสุข-ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นสิ่งใดทำให้เกิด โดยจะกล่าวหมวดธรรม 3 ข้อที่เป็นมิจฉาทิฐิ ได้แก่1.สุข ทุกข์ เกิดจากผู้อื่นทำให้ 2.สุข ทุกข์ เกิดจาก กรรมเก่า 3.สุข ทุกข์ เกิดจาก ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย หากผู้ใดมีมิจฉาทิฐิทั้ง 3 ข้อนี้ ก็จะเป็นผู้ที่ไม่ได้ทำสิ่งที่ควรทำ ไม่ได้ละในสิ่งที่ควรละ จะทำให้อกุศลเกิดขึ้นในจิตใจได้ และเมื่อใดก็ตามที่อกุศลเกิด แต่กุศลไม่เกิดในจิตใจ เมื่อนั้นก็จะทำให้เกิดความทุกข์ขึ้น