Share

cover art for คู่ธรรมต่างทิศ [6740-3d]

3 ใต้ร่มโพธิบท

คู่ธรรมต่างทิศ [6740-3d]

Season 67, Ep. 40

บางครั้ง..คนเรานั้น ก็มักจะสับสนในธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กัน คล้ายๆ กัน จนแยกไม่ออกว่า “ ผลผลิตของธรรมนั้นจะให้ผลออกมาอย่างไร ”

จึงขอยกธรรมที่ดูจะเหมือนๆ กันขึ้นมาเปรียบเทียบกันเพื่อให้เห็นถึงความแตกต่างในความหมาย และคุณลักษณะของธรรมนั้นๆ อย่างแยบคาย และเพื่อก่อให้เกิดความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฎฐิไปสู่พระนิพพานได้

โดยธรรมที่หยิบยกมานี้ เมื่อพิจารณาแล้วจะแบ่งได้เป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายกุศลธรรม และ ฝ่ายอกุศลลธรรม เช่น ฉันทะ / ตัณหา, ความเพียร / ความโลภ, ความเมตตา / ความรัก, ปล่อยวาง / ขี้เกียจ, อุเบกขา / ความเฉยเมย, พูดตรงจริงใจรู้กาล / พูดตรงไม่มีมารยาท, ความเห็นอกเห็นใจ / ความเศร้าเสียใจ

More episodes

View all episodes

  • 42. ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุก [6742-3d]

    58:11||Season 67, Ep. 42
    ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกในที่นี้จะกล่าวไว้ 2 กรณีคือ กรณีที่ 1 คือผู้ที่อยู่คนเดียวจะอยู่อย่างไรให้ผาสุกอยู่ได้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เป็น 2 นัยยะ ได้แก่นัยยะที่ตรัสไว้กับภิกษุทั้งหลายว่า ธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกคือ ฌาน 1/ ฌาน 2/ ฌาน3/ ฌาน4 / การทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติ ส่วนนัยยะที่ 2 ได้ปรารภในคหบดีเจาะจงสำหรับผู้ครองเรือนไว้ คือโสตาปัตติยังคะ 4 เป็นธรรมที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติตามแล้วหยั่งลงสู่อมตะธรรมได้ ได้แก่ มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระพุทธเจ้า /มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระธรรม / มีศรัทธาอันหยั่งลงมั่นด้วยปัญญาในพระสงฆ์ / มีศีลสมบูรณ์ โดยทั้ง 2 นัยยะนี้ พระพุทธเจ้าหมายถึงตัวเราเองเท่านั้นกรณีที่ 2 คือธรรมเครื่องอยู่อย่างผาสุกของผู้อยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะ คือ ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข 5 ประการ ได้แก่ เข้าไปตั้งกายกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง / เข้าไปตั้งวจีกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง/ เข้าไปตั้งมโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งต่อหน้าและลับหลัง/เป็นผู้มีศีลที่สมบูรณ์ไม่ทะลุด่างพร้อยเป็นศีลที่เสมอกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง/เป็นผู้มีทิฏฐิอันเป็นอริยะหมายถึงความเห็นที่ประเสริฐให้เสมอกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
  • 41. วิธีพิจารณาหลักธรรมคำสอนเพื่อสุขในปัจจุบัน [6741-3d]

    58:13||Season 67, Ep. 41
    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมะไว้อย่างดีและรัดกุมรอบคอบไม่ละหลวม ในที่นี้จะนำธรรมมะที่กล่าวถึงวิธีคิดวิธีไตร่ตรองพิจารณาในแนวทางคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อนำทางแห่งความสุขในปัจจุบัน โดยจะนำธรรมะหลายหัวข้อมากล่าวดังนี้ประการแรก “โคตรมีสูตร” เป็นธรรมง่ายๆย่อๆที่พระพุทธเจ้าบอกแก่นางโคตรมี ที่ได้ขอข้อธรรมที่จะนำไปปฏิบัติเมื่ออยู่คนเดียว หลักเกณฑ์ที่พระพุทธเจ้าให้ไว้คือ 1.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด 2.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อคลายความยึดถือ 3.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความมักน้อย 4.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความสันโดษ 5.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความสงัด 6.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความเพียร 7.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย 8.ธรรมคำสอนเป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่ายลักษณะคำสอนของพระพุทธเจ้าต้องมีทั้ง 8 ประการนี้เป็นเกณฑ์ แต่ต้องไม่ยึดถือในหลักเกณฑ์ พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่ชาวกลามโคตร ใน “เกสปุตตสูตร” ไว้ว่าอย่าได้ยึดถือโดยได้ยินได้ฟังมา, โดยอ้างตำรา, โดยคาดคะเน, โดยความตรึกตามอาการ... แต่หลักการที่ถูกต้องดูว่า กุศลเพิ่ม อกุศลลด หรือไม่ประการที่สอง กล่าวถึงการพิจารณาถึงพิธีกรรมต่าง ๆ ที่ควร-ไม่ทำ โดยจะนำ “เตวิชชสูตร” มากล่าวโดยกล่าวถึงข้อปฏิบัติของพราหมณ์ที่จะให้ได้ไปอยู่กับพรหม ให้พิจารณาว่าพิธีกรรมที่ทำนั้นเป็นไปอย่างไร เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวร้อยรัดหรือไม่ จองเวรหรือไม่ เบียดเบียนผู้อื่นหรือไม่ เศร้าหมองหรือไม่ ฟุ้งซ่านหรือไม่ หากพิธีกรรมต่างๆเป็นไปเพื่อสิ่งเหล่านี้ก็ต้องเว้นการปฏิบัติเสียประการที่สาม ข้อปฏิบัติอันใดที่เราควร-ไม่ควรกระทำ สูตรที่จะนำมากล่าวคือ “อนุมานสูตร” กล่าวถึงอุปกิเลส 16 ประการ ที่มาประกอบในการพิจารณาที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ พิจารณาถึงคนอื่น ว่าหากเราทำสิ่งไม่ดีกับบุคคลอื่น เขาคงจะไม่ชอบ แล้วมองกลับกันว่าหากเขาทำสิ่งนี้กับเรา เราก็คงจะไม่พอใจ ดังนั้นเราก็ต้องพิจารณาว่าเราไม่ควรทำอย่างนั้นกับคนอื่น พิจารณาที่ตัวเองว่าเรามีอกุศลธรรมเกิดขึ้นในใจตนหรือไม่ หากมีแล้วจะทำสิ่งที่เป็นอกุศลนั้นกับคนอื่น ก็จงรีบละมันเสียประการที่สี่ วัฒนธรรมต่าง ๆ ที่ควร-ไม่ควรทำ นำหลักธรรมจาก สาเลยกสูตร มาพิจารณาเป็นพระสูตรที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวกับชาวบ้านสาเลยกะ เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติทาง กาย วาจา ใจ จะทำให้เข้าถึง อาบาย ทุคติ วินิบาตนรกหรือสุคติโลกสวรรค์ เกณฑ์ที่ท่านได้นำมาพิจารณาคือใช้เกณฑ์ความดีของวิญญูชน คนดีทั่ว ๆ ไปที่เขาเป็นกัน โดยนำเรื่องศีล ทิฏฐิความเห็นต่างมาพิจารณา ว่าสิ่งใดควรทำสิ่งใดไม่ควรทำ
  • 39. ภัยอันตรายที่พึงพิจารณา [6739-3d]

    57:05||Season 67, Ep. 39
    พระพุทธเจ้าได้ทรงแบ่งภัยในโลกนี้ไว้ 2 อย่างคือ ภัยที่ช่วยเหลือกันได้ และภัยที่ช่วยกันไม่ได้ 1.ภัยที่พอช่วยเหลือกันได้ ได้แก่ 1.ภัยน้ำท่วม 2.ภัยเกิดจากไฟไหม้ 3.ภัยเกิดจากโจรขโมยและสงคราม ภัยเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วยังพอช่วยเหลือให้ผ่อนหนักเป็นเบาได้บ้าง มากบ้างน้อยบ้าง ตามสถานการณ์2.ภัยที่ช่วยกันไม่ได้ ถึงแม้จะเป็น พ่อ แม่ ลูก ที่รักและห่วงใยกันแค่ไหนก็ไม่สามารถช่วยกันได้เลย ได้แก่ 1. ภัยจากความแก่(ชราภัย) 2.ภัยจากความเจ็บไข้(พยาธิภัย) 3. ภัยจากความตาย(มรณะภัย) ภัยเหล่านี้เป็นภัยที่หากเกิดขึ้นแก่ผู้แล้วไม่มีใครที่จะสามารถช่วยแบ่งเบา หรือรับเอาภัยนั้นมาแทนกันได้เลย พระพุทธองค์ทรงชี้ทางออกไว้ให้ว่าหากผู้ใดเป็นผู้ที่มีอริยมรรคมีองค์ 8 ประกอบอยู่ในจิตของตน ผู้นั้นก็จะสามารถพ้นจากภัยอันตรายที่เกิดขึ้นจาก ความแก่ ความเจ็บ และความตายในอนาคตได้อย่างแน่นอน โดยอริยมรรคมีองค์ 8 นี้ได้แก่ 1.ศีล คือสัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ,สัมมาอาชีวะ 2.สมาธิ คือสัมมาวายามะ,สัมมาสติ,สัมมาสมาธิ 3.ปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะภัยต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนก่อให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประสบภัยนั้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ในที่นี้จะกล่าวถึงหมวดธรรมที่ทำให้เห็นว่าสุข-ทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นสิ่งใดทำให้เกิด โดยจะกล่าวหมวดธรรม 3 ข้อที่เป็นมิจฉาทิฐิ ได้แก่1.สุข ทุกข์ เกิดจากผู้อื่นทำให้ 2.สุข ทุกข์ เกิดจาก กรรมเก่า 3.สุข ทุกข์ เกิดจาก ไม่มีอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย หากผู้ใดมีมิจฉาทิฐิทั้ง 3 ข้อนี้ ก็จะเป็นผู้ที่ไม่ได้ทำสิ่งที่ควรทำ ไม่ได้ละในสิ่งที่ควรละ จะทำให้อกุศลเกิดขึ้นในจิตใจได้ และเมื่อใดก็ตามที่อกุศลเกิด แต่กุศลไม่เกิดในจิตใจ เมื่อนั้นก็จะทำให้เกิดความทุกข์ขึ้น
  • 38. สังคหวัตถุ 4 [6738-3d]

    58:47||Season 67, Ep. 38
    ธรรมะที่ช่วยประสานประโยชน์ให้เกิดความสามัคคี ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นเครื่องช่วยขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ทำให้คนอยู่ร่วมกันด้วยความรัก ให้เกิดความสงเคราะห์กัน เข้าใจกันลงกันได้ สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่ระดับครอบครัวจนถึงระดับสังคม หมวดธรรมที่ว่านี้นั่นก็คือ “สังคหวัตถุ 4” อันประกอบไปด้วย1. ทาน คือ การรู้จักให้ รู้จักเสียสละ การเผื่อแผ่ แบ่งปัน ให้ความช่วยเหลือสงเคราะห์2. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะ อ่อนหวาน ไม่พูดหยาบคาย และมีความจริงใจ ไม่โกหกเสแสร้ง ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้เตกร้าว พูดแต่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์3. อัตถจริยา คือ การทำประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น4. สมานัตตตา คือ การวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย หนักแน่น ให้ความเสมอภาคกับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เอารัดเอาเปรียบ
  • 37. เบญจศีลและเบญจธรรม [6737-3d]

    57:14||Season 67, Ep. 37
    พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง หลักคำสอนและวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ สรุปเป็นใจความสำคัญว่าไว้ 3 ขั้น คือ ให้ละเว้นความชั่ว ให้ทำความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ นี่คือเส้นทางที่จะนำไปสู่ทางหลุดพ้นได้ ซึ่งในครั้งนี้จะกล่าวถึงหลักธรรมที่เป็นขั้นของการชี้แนวทางแห่งโลกุตระ นั่นคือเบญจศีลและเบญจธรรมเบญจศีลและเบญจธรรม เป็นธรรมคู่กัน คนที่มีเบญจธรรมจึงจะเป็นผู้มีเบญจศีล ซึ่งหากคนมีศีลและธรรมดังกล่าวแล้ว จะเว้นจากการทำความชั่ว รู้จักควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น และประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ เบญจศีล คือ ศีล 5 ข้อ เป็นการรักษาเจตนาที่จะควบคุมกายและวาจาให้เป็นปกติ คือ ไม่ทำบาป โดยการละเว้น 5 ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักขโมย ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ละเว้นจากการพูดปด ละเว้นจากการเสพสุราเบญจธรรม เป็นหลักธรรมที่ควรปฏิบัติ มี 5 ประการ ได้แก่เมตตากรุณา คือ บุคคลใดที่มีเมตตาย่อมไม่ฆ่า หรือเบียดเบียนสัตว์ เมตตากรุณาจึงเป็นจิตที่สามารถเพิ่มพูนพัฒนาได้จากการเว้นจากการฆ่า สัมมาอาชีวะ คือ ประกอบอาชีพที่สุจริต มีรายได้ รู้จักใช้จ่าย และที่สำคัญรู้จักคำว่าพอดี และมีหิริโอตตัปปะ คือ ความละอาย และเกรงกลัวต่อผลของบาป จึงทำให้ไม่ลักขโมยของผู้อื่นกามสังวร คือ ความสำรวมอินทรีย์ ระมัดระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ทำให้ ความใคร่ในกามคุณ คือ การติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลดน้อยลง เมื่อความสำรวมเกิดขึ้น จึงทำให้ไม่ประพฤติผิดในกามสัจจะ คือ การพูดความจริง เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่เกิดการมุสาวาท สติสัมปชัญญะ คือ การรู้สึกตัว การไม่ประมาท เพราะรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว ทำให้ไม่เกลือกกลั้วกับสิ่งที่จะทำให้ชีวิตตกต่ำ เช่น สุราที่เมื่อคนดื่มกินก็ทำให้มึนเมาและขาดสติ 
  • 36. กถาวัตถุ 10 ประการ [6736-3d]

    58:44||Season 67, Ep. 36
    คำพูดเป็นสิ่งสำคัญ พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงบัญญัติไว้ถึง ‘กถาวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ควรพูด นอกเหนือจาก คำพูดที่เว้นขาดจากการพูดโกหก ส่อเสียด หยาบคาย และพูดเพ้อเจ้อและ ‘อักโกสวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ไม่ควรพูด เพราะไม่มีประโยชน์ และทำความเจ็บช้ำน้ำใจแก่ผู้อื่น ได้แก่ ชาติกำเนิด ชื่อ โคตร อาชีพ ศิลปะ (ฝีมือ) โรค รูปพรรณสัณฐาน กิเลส อาบัติ และคำสบประมาทอื่น ๆส่วน ‘กถาวัตถุ 10’ เรื่องที่สมควรพูด ได้แก่ ถ้อยคำให้เกิดความมักน้อย คือ ไม่โอ้อวด ความสันโดษ เกิดความสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร ให้ตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะซึ่งการพูด ‘กถาวัตถุ 10’ ให้ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลาได้นั้น นอกจากจะเป็นสัมมาวาจาแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างสัมมาสติ สัมมาวายามะ และสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ ไปตามทางมรรค 8 พร้อมกันอีกด้วย
  • 35. ปัจจัย 24 ประการ [6735-3d]

    59:01||Season 67, Ep. 35
    คัมภีร์มหาปัฏฐาน เป็น 1 ใน 7 คัมภีร์ที่ใช้สวดในงานศพ ได้แก่ 1.ธัมมสังคณี 2.วิภังคปกรณ์ 3.ธาตุกถา 4. ปุคคลบัญญัติ 5. กถาวัตถุ 6.ยมกปกรณ์ และ 7.มหาปัฏฐาน โดยบทสวดมหาปัฏฐาน เป็นบทสวดที่กล่าวถึง ปัจจัย 24 ประการที่แสดงความเป็นไปของสภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน หรือเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุ หรือเป็นเงื่อนไขให้สิ่งอื่น หรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้น คงอยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยปัจจัย 24 ประการได้แก่ 1.เหตุปัจจะโย (ปัจจัยโดยเหตุ) 2.อารัมมะณะปัจจะโย( ปัจจัยโดยเป็นอารมณ์) 3.อธิปะติปัจจะโย (ปัจจัยความเป็นใหญ่) 4.อนันตะระปัจจะโย (ปัจจัยโดยความต่อเนื่อง) 5.สะมะนันตะระปัจจะโย( ปัจจัยเป็นภาวะต่อเนื่องทันที ) 6.สะหะชาตะปัจจะโย( ปัจจัยที่เกิดร่วมกัน) 7.อัญญะมัญญะปัจจะโย (ปัจจัยที่อาศัยซึ่งกันและกัน) 8.นิสสะยะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นที่อาศัย) อาศัยอะไรจีงจะดีหรือชั่วขึ้นมาได้ 9.อุปะนิสสะยะปัจจะโย (ปัจจัยโดยเเป็นเครื่องหนุนให้เกิดอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า) 10.ปุเรชาตะปัจจะโย (ปัจจัยที่เกิดก่อน) 11.ปัจฉาชาตะปัจจะโย (ปัจจัยที่เกิดทีหลัง) 12.อาเสวะนะปัจจะโย (ปัจจัยโดยการซ้ำบ่อยหรือทำให้ชิน) 13.กัมมะปัจจะโย (ปัจจัยโดยเป็นกรรมคือเจตจำนง) 14.วิปากาปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นวิบาก) 15.อาหาระปัจจะโย (ปัจจัยโดยเป็นอาหาร) คือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง 16.อินทริยะปัจจะโย (ปัจจัยโดยเป็นเจ้าของการเป็นใหญ่) 17.ฌานะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นภาวะจิตที่เป็นฌาน) 18.มัคคะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นมรรค) 19.สัมปะยุตตะปัจจะโย (ปัจจัยโดยประกอบกัน) เช่นความคิด อารมณ์ 20.วิปปะยุตตะปัจจะโย (ปัจจัยโดยแยกกันแตกต่างกัน) เช่นนามกับรูป 21.อัตถิปัจจะโย ( ปัจจัยโดยความมีอยู่ ) 22.นัตถิปัจจะโย ( ปัจจัยโดยความไม่มีอยู่) 23.วิคะตะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยปราศไปคือสิ้นไป) 24.อะวิคะตะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยไม่ปราศไปคือไม่สิ้นไปยังมีเชื้ออยู่)
  • 34. อธิษฐาน4 พละ4 [6734-3d]

    58:09||Season 67, Ep. 34
    การจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดความสำเร็จขึ้นได้ ต้องอาศัยความตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้า ในทีฆนิกาย กล่าวถึง ‘อธิษฐาน’ ซึ่งไม่ใช่การร้องขอ แต่หมายถึง ธรรม 4 ประการ ที่ควรตั้งมั่นไว้ในใจ ได้แก่ ปัญญา (ใช้พิจารณา) สัจจะ (ทำให้เกิดขึ้นจริง) จาคะ (สละความเคยชินที่ไม่ดีออก) และอุปสมะ (ความสงบ) ซึ่งสัมพันธ์กับหมวดธรรมในอังคุตรนิกาย ที่กล่าวถึง ‘พละ 4’ คือ กำลัง ได้แก่ ปัญญาพละ (ปัญญา) วิริยพละ (ความเพียร) อนวัชชพละ (กรรมที่ไม่มีโทษ) และสังคหพละ (การสงเคราะห์)กล่าวคือ ‘อธิษฐาน 4’ และ ‘พละ 4’ นั้น เริ่มจากปัญญาเหมือนกัน อาทิ เห็นสิ่งที่เป็นกุศล-อกุศล คุณ-โทษ เกิด-ดับ เป็นต้น โดยสามารถตั้ง ‘อธิษฐาน’ เป็นวิริยพละ หรือนำ ‘พละ’ ไปเกื้อหนุนอธิษฐานในการทำสิ่งนั้น ที่เป็นกุศลด้วยกาย วาจา และใจ ให้สำเร็จเป็นจริงขึ้นมาได้ ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่มีพละ 4 นี้ จะทำให้ไม่หวั่นไหวต่อภัย 5 ประการในการดำเนินชีวิตอีกด้วย