Share

cover art for อปริหานิยธรรม : ธรรมะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม  [6724-3d]

3 ใต้ร่มโพธิบท

อปริหานิยธรรม : ธรรมะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม [6724-3d]

Season 67, Ep. 24

อปริหานิยธรรม คือธรรมะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นธรรมที่อาศัยการรักษาเหตุปัจจัยแห่งความไม่เสื่อมและเหตุปัจจัยแห่งความเจริญ โดยแบ่งเป็นหลายนัยยะได้แก่

นัยยะแรก

1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์

2. พร้อมเพรียงกันประชุม

3. ศึกษาและไม่ล้มล้างสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้

4. เคารพภิกษุผู้เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก

5. ไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้น

6. ยินดีในเสนาสนะป่า

7. ตั้งสติระลึกไว้ในใจว่า เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลงาม ซึ่งยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่ผาสุก

นัยยะที่ 2 คือคุณธรรมในตนเองจะเจริญขึ้นหรือถอยลงด้วย 7 ประการนี้ คือ ไม่ยินดีการงาน ไม่ยินดีการคุย ไม่ยินดีความหลับ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่คบมิตรชั่ว ไม่ถึงความท้อถอยในระหว่างที่บรรลุคุณวิเศษเพียงเล็กน้อย

นัยยะที่ 3 อริยะทรัพย์ 7 ประการได้แก่ เป็นผู้มีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีหิริ เป็นผู้มีโอตตัปปะ เป็นพหุสูต ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีปัญญา

นัยยะที่ 4 เจริญโพชฌงค์ 7ได้แก่ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์

นัยยะที่ 5 เจริญสัญญา 7 ประการ ได้แก่ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา จวิราคสัญญา นิโรธสัญญา

นัยยะที่ 6 คือเจริญสาราณียธรรม 6 ประการ

นี่คือนัยยะต่างๆของ อปริหานิยธรรม ถ้าเรามีเหตุเงื่อนไขปัจจัยเหล่านี้แล้ว จะมีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว ความเสื่อมจะไม่ปรากฎขึ้นเลย

More episodes

View all episodes

  • 26. กิจจญาณ : กิจที่ควรทำในอริยสัจ4 [6726-3d]

    55:00
    ความจริงโดยทั่วๆ ไปที่เป็นข้อเท็จจริง ตามสมมุติของโลกนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขปัจจัยตามบริบทของสังคมหรือเวลา เช่น ข่าว งานวิจัย สิ่งของ เสื้อผ้า ที่สมมุติเรียกตามบริบทของเวลานั้น แต่อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 อย่างนี้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แสดงถึง สัจธรรมความจริง ที่ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยเวลากิจในอริยสัจ 4 (กิจญาณ) คือ หน้าที่ที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ1. ทุกข์ คือ ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หน้าที่คือ “ปริญญา” ควรรอบรู้ เข้าใจ ยอมรับมัน2. สมุทัย คือ ตัณหา หน้าที่คือ “ปหานะ” ควรละ กำจัด ขว้างทิ้ง ไม่ถือเอา3. นิโรธ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ หน้าที่คือ “สัจฉิกิริยา” ควรทำให้แจ้ง4. มรรค คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ หน้าที่คือ “ภาวนา” ควรเจริญ พัฒนา ทำให้มากการแยกแยะสิ่งต่างๆ ตามหลักอริยสัจ 4 คือ เมื่อเราเจอสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตของเรา ให้เรารู้จักแยกแยะสิ่งนั้นก่อนว่าคืออะไรในอริยสัจ 4 เมื่อแยกแยะแล้วก็ทำกิจให้ถูกต้อง กระบวนการแยกแยะนี้ เมื่อทำให้เกิดขึ้นได้อยู่บ่อยๆ จะทำให้เกิดญาณหยั่งรู้หรือญาณทัสสนะ (สัจจญาณ, กิจจญาณ, กตญาณ)
  • 25. ธรรมเพื่อการพัฒนาตนเอง [6725-3d]

    56:36
    ภาวนา คือ การพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นทุกด้าน คนเราต้องมีการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้า ให้เจริญงอกงาม หมวดธรรมะที่จะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตนเองที่จะนำมากล่าวในที่นี้ได้แก่วุฑฒิธรรม 4 : ธรรมเป็นเครื่องเจริญงอกงามแห่งปัญญา 4 ประการ1.สัปปุริสังเสวะ: การคบหาสัตบุรุษ2.สัทธัมมัสสวนะ: ฟังสัทธรรม,เอาใจใส่เล่าเรียน3.โยนิโสมนสิการ: การทำในใจโดยแยบคาย4.ธัมมานุธัมมปฏิบัติ: ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมวัฒนมุข 6 ธรรมอันเป็นประตูแห่งประโยชน์ที่จะเปิดออกไปให้ก้าวหน้าสู่ความเจริญงอกงามของชีวิต ที่พระพุทธเจ้าได้เคยกล่าวไว้ในครั้งที่เป็นโพธิสัตว์ ได้แก่ 1.อาโรคยะ : ความไม่มีโรค2.ศีล : ความมีระเบียบวินัย3.พุทธานุมัต : ศึกษาแนวทางแบบอย่างจากผู้เป็นบัณฑิต4.สุตะ : การใฝ่ฟังศึกษาหาความรู้5.ธรรมานุวัติ : การดำเนินชีวิตในทางชอบธรรม6.อลีนตา : ความเพียรพยายามไม่ย่อหย่อนอธิษฐานธรรม 4 คือ ธรรมเป็นฐานที่มั่นคงของบุคคล เป็นธรรมที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จสูงสุดที่หมายไว้ได้ ได้แก่1.ปัญญา : หยั่งรู้ชัดในเหตุผล2.สัจจะ : พูดอย่างไรทำอย่างนั้น3.จาคะ : การสละความไม่ดีออก4.อุปสมะ: ความสงบธรรม 3 หมวดนี้เป็นธรรมที่เป็นไปในแนวเดียวกัน ที่เมื่อได้นำไปประพฤติปฏิบัติแล้วก็จะเกิดการพัฒนา ก้าวหน้า และนำไปสู่ความเจริญงอกงามในชีวิตได้
  • สาราณียธรรม [6723-3d]

    57:26
    บทสวด สาราณียะธัมมะสูตตัง เป็นบทที่กล่าวถึงสาราณียธรรม6 ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นไปเพื่อความระลึกถึงกันและกัน คือธรรมแห่งการสร้างความสามัคคี เป็นบทสวดที่มาจากพระสูตรที่พระภิกษุจะมักสวดกันในวันเข้าพรรษา บทสวดนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับภิกษุไว้ที่เมืองสาวัตถี ณ วัดเชตวัน โดยกล่าวถึงธรรม 6 ประการ ที่เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วจะเป็นธรรมเครื่องก่อให้เกิดอานิสงส์ 7 ประการ คือ  1.สาราณียา(ระลึกถึงกัน)2.ปิยะกะระณา(เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รักกัน) 3.คะรุกะระณา(เป็นที่เคารพซึ่งกันและกัน) 4.สังคะหายะ(เป็นไปเพื่อ ความสงเคราะห์ เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล) 5.อะวิวาทายะ(ไม่วิวาทกัน) 6.สามัคคิยา(เกิดความพร้อมเพรียงกัน) 7.เอกีภาวายะ(ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)โดยองค์ประกอบของสาราณียธรรม 6 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงคือ1.เมตตาทางกายทั้งต่อหน้าและลับหลัง2.เมตตาทางวาจาทั้งต่อหน้าและลับหลัง3.เมตตาทางใจทั้งต่อหน้าและลับหลัง4.การแบ่งปันลาภที่ได้มาโดยธรรม5.มีศีลเสมอกัน ศีลไม่ทะลุไม่ด่างพร้อย 6.มีทิฏฐิอันประเสริฐ คือรู้เจาะจงในอริยสัจ 4
  • 22. ความฉลาดในธาตุ และอายตนะ [6722-3d]

    57:01
    การทำอะไรซ้ำๆ ย้ำๆ อยู่บ่อยๆ จะทำให้เราเกิดความชำนาญในสิ่งนั้น เช่นเดียวกับการพิจารณาใคร่ครวญธรรม ถ้าเราใคร่ครวญทำย้ำๆซ้ำๆ อยู่บ่อยๆ อยู่เรื่อยๆ จะทำให้เกิดปัญญา(ญาณ)รู้ชัดขึ้นมา เป็นผู้ฉลาดรู้แจ้งในธรรมนั้นวิธีการพิจารณาใคร่ครวญโดยความเป็นธาตุ คือ ธาตุ 6 โดยพิจารณาเจาะแยกลงไป แยกออกๆจนเหลือหน่วยเล็กที่สุดและพิจารณาประกอบกันเข้ามาแล้วจึงมีหน่วยใหญ่ขึ้นวิธีการพิจารณาใคร่ครวญโดยความเป็นอายตนะ คืออายตนะภายใน และภายนอกเชื่อมต่อกันทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น โดยพิจารณาจากการที่อาศัยเหตุปัจจัยอื่นปรุงแต่งแล้วจึงเกิดขึ้น มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์เมื่อพิจารณาใคร่ครวญอยู่บ่อยๆจะเกิด “กุสลตา”คือ ความฉลาดรู้แจ้งชัดซึ่งธาตุ และอายตนะ จะเป็นผลทำให้คลายกำหนัด และปล่อยวาง
  • 21. ฐานะที่พึงพิจารณาเพื่อการหลุดพ้น [6721-3d]

    56:24
    ปัญญาการรอบรู้ในทุกข์ของผู้ถึงซึ่งพระนิพพานหรือกล่าวอีกนัยยะหนึ่งได้ว่าเป็นปัญญาของพระอรหันต์นั่นเองโดยได้ยก “สัตตัฎฐานสูตร” ว่าด้วย ผู้มีปัญญาฉลาดรอบรู้ขันธ์ 5 ในฐานะ 7 ประการได้แก่1. รู้ชัดซึ่ง (รู้ลักษณะ) รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ2. รู้ถึงเหตุเกิดขึ้น ของ รูป...ฯ คืออาศัยเหตุเกิด3. รู้ถึงความดับ ของ รูป...ฯ คือ เมื่อเหตุดับ-ผลย่อมดับ4. วิธีข้อปฏิบัติให้ถึงความดับ ของ รูป..ฯ คือ มรรค 85. รู้ชัดซึ่งอัสสาทะ (รสอร่อย/ข้อดี) ของ รูป...ฯ คือ สุขที่เกิดขึ้น6. รู้ชัดซึ่งอาทีนวะ (โทษ/ข้อเสีย) ของ รูป...ฯ คือ ไม่เที่ยง7. รู้ชัดซึ่งนิสสรณะ (อุบายเครื่องสลัดออก) จาก รูป...ฯ คือ ปัญญาเห็นความไม่เที่ยง
  • 20. นิวรณ์ 5 [6720-3d]

    56:42
    “นิวรณ์ 5” ได้แก่ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา เป็นกิเลสประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่องทางใจระหว่างการปฏิบัติสมาธิภาวนา เป็นเครื่องขวางกั้น ทำให้จิตขุ่นมัว ไม่เป็นสมาธิการจะระงับนิวรณ์ได้ สิ่งสำคัญที่สุดคือ “การมีสติ” ระลึกรู้ถึงนิวรณ์ที่เกิดขึ้น และการใช้ “กำลังของสติ” ไม่ให้จิตน้อมไปตามความคิดเหล่านั้น นั่นจะทำให้นิวรณ์อ่อนกำลังและดับไป นอกจากนี้ การไม่ตั้งความพอใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การเจริญพรหมวิหาร4 รวมถึงการเจริญโพชฌงค์7 ก็ทำให้นิวรณ์ระงับได้เช่นเดียวกันทั้งนี้ในการเจริญสมาธิภาวนา เราอาจใช้นิวรณ์เป็นกรอบนิมิตได้ว่า สมาธิช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อจิตสงบ หรือช่วงไหนควรเป็นไปเพื่อการพิจารณาให้เกิดปัญญาได้อีกด้วย
  • 19. แก้ปัญหาด้วยสัญญา 7 ประการ [6719-3d]

    57:07
    ตัณหา ได้ชื่อว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ และเป็นที่มาของปัญหาต่างๆในชีวิตของคนเรา การมาเจริญภาวนาในสัญญา 7 ประการนี้ คือเมื่อมีการพิจารณาให้มากในสัญญาเหล่านี้ จิตจะไม่หวนกลับกำเริบและมีนิพพานเป็นที่สุดปัญหาของตัณหาและกิเลสแก้โดยสัญญา 7 ประการ ดังนี้ยินดีในเพศตรงข้าม(เมถุนธรรม) แก้โดย พิจารณา อสุภสัญญารักตัวกลัวตาย (รักชีวิต) แก้โดยพิจารณา มรณสัญญาติดในรสอาหาร แก้โดย พิจารณา อาหาเรปฏิกูลสัญญาความวิจิตรแห่งโลก แก้โดย พิจารณา สัพพโลเกอนภิรตสัญญาลาภสักการะ และความสรรเสริญ แก้โดย พิจารณา อนิจจสัญญาความเฉื่อยชา เกียจค้าน ท้อถอย ประมาท ไม่ประกอบความเพียร แก้โดย พิจารณา อนิจเจทุกขสัญญา (ความเห็นทุกข์เป็นสิ่งไม่เที่ยงทั้งหลาย)ทิฐิ และมานะ แก้โดย พิจารณา ทุกเขอนัตตสัญญา (เห็นความเป็นอนัตตาในความทุกข์นั้น)
  • 18. บทสวดธชัคคสูตร [6718-3d]

    47:17
    ธรรม 4 ประการที่เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป หรือ สัทธรรมปฏิรูป คือ1.บทพยัญชนะ อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี2. ภิกษุเป็นคนว่ายาก3.ผู้เป็นพหูสูต ไม่ถ่ายทอดสูตรแก่ทายาท4.พระเถระเป็นผู้เดินในทางทราม หากมีการสืบทอดบทพยัญชนะ กันมาอย่างดีคือจำเนื้อหาได้ถูกต้อง ออกเสียงอักขระชัดเจน รู้ความหมายอย่างถูกต้องก็จะทำให้พระสัทธรรมแท้ยังคงอยู่และเจริญขึ้นได้ โดยการกล่าวสวดบทพยัญชนะนี้จะต้องแม่นยำทั้งบท(ตัวหนังสือ) และพยัญชนะ(การออกเสียง) การสวดมนต์นี้จึงเป็นรูปแบบของการรักษาศาสนาอย่างหนึ่ง บทสวดธชัคคสูตร(ธะชัคคะสุตตัง) เป็นบทสวดที่กล่าวถึงวิธีระงับความกลัว โดย พระพุทธเจ้ากล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตนานมาแล้วที่เทวดารบกับอสูรโดยท้าวสักกะได้บอกกับเหล่าเทวดาว่า หากเกิดความกลัวหวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าขึ้น ให้มองไปที่ยอดธงของหัวหน้าเทวดาทั้ง 4 จะทำให้ความกลัวหายไป แต่พระพุทธเจ้ากล่าวว่าความกลัวของเหล่าเทวดาก็ยังมีอยู่ เหตุเพราะหัวหน้าเทวดาทั้ง 4 ยังมีราคะ โทสะ โมหะอยู่ พระพุทธเจ้าจึงกล่าวต่อภิกษุว่าหากภิกษุไปอยู่ป่า อยู่โคนไม้ อยู่เรือนว่าง หากระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ภัยความกลัว ความสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าจะไม่มี เหตุเพราะผู้มีกิเลสสิ้นไปแล้ว ก็จะไม่สะดุ้งหวาดกลัวภัยอันตรายใดๆเลย