Share

cover art for พุทธะ ธัมมะ สังฆะ สามสิ่งในสิ่งเดียว [6726-2m]

2 จิตตวิเวก

พุทธะ ธัมมะ สังฆะ สามสิ่งในสิ่งเดียว [6726-2m]

Season 67, Ep. 26

ระลึกถึงคุณของแก้วสามประการ คือพุทโธ ธัมโม สังโฆ จิดเป็นสมาธิเกิดสติ ทำสติให้มีกำลังและพัฒนาเกิดปัญญา

พุทโธแก้วประการที่1 คือผู้รู้ รู้วิธีกำจัดกิเลสออกไปจากใจ ไม่ถูกบีบคั้นด้วย ราคะ โทสะ โมหะ พุทโธมีสามระดับ คือ สัมมาสัมพุทโธ อนุพุทโธ ปัจเจกพุทโธ ธัมโมแก้วประการที่2 คือ ธรรมะที่ทำให้พ้นทุกข์ มีความงดงามในเบื้องต้น คือมีความชอบที่สอดคล้องกัน,ท่ามกลาง คือฟังแล้วทำตามได้ผล และในที่สุด ซึ่งเป็นปัญญา วิชชา กำจัดอวิชชากิเลสตัณหาไม่ต้องกลับมาเกิดอีก สังโฆแก้วประการที่3 ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า แก้วรัตนะ เป็นสายเส้นแห่งการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์แปด เกิดความรู้อริยสัจสี่

More episodes

View all episodes

  • 25. เห็นกายในกาย [6725-2m]

    57:20
    มีสติให้รู้ชัด ว่าหายใจเข้าหรือออก ไม่ต้องตามลม ให้ตั้งสติไว้จุดที่สัมผัสลมได้ การเห็นลมคือการเห็นกายอย่างนึง เป็นหนึ่งในที่ตั้งของสติ สติคือความไม่เผลอไม่เพลิน แต่เราต้องเห็นกายในกายให้ถูกต้อง คือเห็นด้วยสัมมาสติ เห็นกายเป็นของปฏิกูล ขั้นตอนที่หนึ่ง เห็นลมเราไม่ต้องตามลม ขั้นตอนที่สองไม่เผลอไม่เพลินไปตามสิ่งที่ได้รับรู้และสัมผัสต้องคิดเป็นระบบ เรียกว่าการพิจารณา พิจารณาด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เรียกว่า ทำวิปัสสนา พิจารณาไล่เรียงไปทีละส่วนก็ได้ พิจารณาเป็นของปฏิกูล เพื่อละความยึดถือ ให้เห็นตามความเป็นจริง ไม่ยึดถือก็ไม่ทุกข์ จิตที่ไม่เกิด ความตายก็ไม่เกิด ปัญญาเกิดขึ้น อวิชชาดับ ตัณหาก็ดับ ความยึดถือก็ดับไปด้วย ไม่มีการเกิดอีก ให้รักษาสภาวะ สมถะ วิปัสสนานี้ไว้ให้ดี
  • 24. ศึกษาฝึกฝนจากลมหายใจ [6724-2m]

    57:55
    เจริญอานาปานสติ เกิดความรู้ตัว พร้อมเฉพาะคือ มีสติ สัมปชัญญะรู้ลมหายใจ, ให้เห็น กาย เวทนา จิต ธรรม, โดยสังเกตุลมหายใจเข้า-ออกในกาย คือ เห็นกายในกาย, สังเกตุเวทนาในกาย เวทนาในจิตคือ เห็นเวทนาในเวทนา, จิตสงบตั้งมั่นจากสมาธิ คือเห็นจิตในจิต, เกิดปัญญา เห็นทุกขลักษณะ เห็นความไม่เที่ยงของจิต จึงวางความยึดถือในจิตว่าเป็นตัวตน เกิดความดับคือเห็นธรรมในธรรม เห็นอย่างนี้จะเกิดการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นแน่นอน.
  • 23. สติกับอนุสัย [6723-2m]

    55:28
    หายใจแรง ๆ สองสามครั้ง กำหนดรู้ถึงลมรับรู้ถึงสัมผัสได้ที่ตรงไหน เอาจิตมาจดจ่อตั้งเอาไว้ที่นี่และหายใจธรรมดา กำหนดอยู่กับลม ณ ตรงตำแหน่งที่เราสัมผัสได้ตอนแรก มีสติสัมปัญชัญญะ เมื่อสติมีกำลังมากขึ้นตามกระบวนการของการเจริญอานาปานสติ จิตจะมีกำลังมากขึ้น การรับรู้เกิดขึ้นได้แต่ไม่ตามไป รู้สึกพอใจก็เป็น ราคานุสัย รู้สึกไม่พอใจก็เป็นปฏิฆานุสัย กำจัดอนุสัยออกด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เกิดสติสัมปชัญญะเห็นตามความเป็นจริง มีวิชาเกิดปัญญา ละอวิชานุสัยได้ เห็นว่าไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้ สิ่งใดไม่เที่ยงไม่ควรไปยึดถือ นิโรธมีได้ความดับเกิดขึ้นได้
  • 22. การพิจารณาปัจจัยในภายใน [6722-2m]

    53:19
    เมื่อเกิดความพอใจ ไม่พอใจ ความหลง ความไม่รู้ ให้ใคร่ครวญธรรมโดยการพิจารณาปัจจัยในภายใน เข้าใจเหตุให้ถูกต้องจะสาวไปถึงปัจจัยต้นตอเงื่อนไขของมันได้ ตามระบบอริยสัจ4 และลงมือปฏิบัติตามมรรค8 ซึ่งมีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่างเป็นหลัก แต่ถ้าเราหลงไปยึดถือ เกิดความรู้สึกและตัณหามากมายรวมเรียกว่า อุปธิ ก็จะพาให้ทุกข์ จึงต้องมีสติตั้งไว้เสมอ ไม่ตามตัณหาไป เห็นในความเป็นอนัตตา เห็นโทษของมัน ใช้หลักธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน ใคร่ครวญให้ถูกทาง ต้องมาจบที่มรรค 8 และควรทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งเป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงในที่สุด
  • 21. อุบายในการนำออกจากขันธ์ทััง 5 [6721-2m]

    52:12
    สร้างฐานให้จิตด้วยการระลึกถึงพุทโธ คือเจริญพุทธานุสติซึ่งสงบชั่วคราว ดังนั้นพอจิตเป็นสมาธิแล้วก็มาเจริญธรรมานุสติด้วย โดยการพิจารณาขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีทั้งรสอร่อยและโทษ โทษจากความเพลิดเพลิน พอใจไปในรสอร่อยคือมีอุปทานขันธ์ และยึดเอาไว้ รู้แล้ววาง ไม่ยึดถือ เพราะไม่เที่ยง แปรปรวนเป็นทุกข์อุบายที่จะนำออกจากความยึดถือในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือ มรรค8 เป็นทางออกให้เห็นตามความเป็นจริง
  • 20. วิธีทำจิตให้สงบ [6720-2m]

    01:00:21
    หลักการที่ควรรู้ทำให้ละเอียดลงไปคือ เมื่อตริตรึกไปในอารมณ์ใดๆมาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ เมื่อเข้าใจหลักการนี้ ก็สามารถเริ่มวิธีการทำจิตให้สงบจากความฟุ้งซ่านได้ โดยผูกจิตไว้ที่สติดุจผูกสัตว์ทั้ง 6 ไว้ที่เสา ไม่ให้ไปตามช่องทางของสิ่งที่มากระตุ้น รับรู้แต่ไม่ตามไป ไม่เพลินไปตามทั้งในสิ่งที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ สติจะเป็นตัวแยกจิตออกจากการรับรู้ จิตไม่ใช่ความคิด ลิงกับป่าเป็นคนละอันกัน เมื่อมีสติย่อมไม่ลืมไม่เพลินไม่เผลอ ความรู้จะค่อยปรากฎขึ้นว่าจิตนี้ไม่ใช่ของเรา
  • 19. หยุดอวิชชาด้วยอนัตตา [6719-2m]

    58:12
    จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติคือเพื่อไม่ยึดถือ เริ่มการปฏิบัติได้โดยตั้งสติและมีศีลเป็นพื้นฐาน ตั้งสติเอาไว้ให้เห็นจิตในจิต เห็นการปรุงแต่งของจิต สติจะระงับจิตตสังขารลงเรื่อยๆ ทำจิตให้สงบด้วยสติ เมื่อจิตที่เป็นประภัสสร พบว่าแม้แต่จิตก็เปลี่ยนแปลงตามสิ่งต่างๆที่เร้าทั้งมรรคและสมุทัย เห็นตามความเป็นจริงช้อนี้คือเรื่องของไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำให้เกิดปัญญาเห็นความไม่เที่ยงเพราะการปรุงแต่ง เกิดวิชชาหยุดอวิชชาด้วยอนัตตาเป็นประตูสู่นิพพาน
  • 18. เห็นกายด้วยปัญญาผ่านลมหายใจ [6718-2m]

    57:54
    เห็นกายด้วยความน่าอัศจรรย์ผ่านลมหายใจ สังเกต ณ จุดเดียว นั่นคือกายคตาสติ ฝึกฝนให้ระงับการปรุงแต่งกายและใจที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลสโดยปฏิบัติตามมรรคแปด จิตลมสติอยู่ด้วยกันจะไกลจากกิเลสแต่เมื่อใดที่สติและสมาธิอ่อนกำลังลงจะไปยึดสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งที่เป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นอนัตตา จึงต้องทำปัญญาขั้นที่2 ได้แก่ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา เพื่อความหลุดพ้น