Share
![cover art for โทษของความโกรธ [6749-3d]](https://open-images.acast.com/shows/63760a658c890a00102a0b39/show-cover.jpg?height=750)
3 ใต้ร่มโพธิบท
โทษของความโกรธ [6749-3d]
ในมุมมองของคนที่มักโกรธ พอโกรธหรือไม่พอใจใครแล้ว ก็จะมองคน ๆ นั้นด้วยความเป็นศัตรูทันที เขาจึงเห็นว่าความโกรธมีเพื่อที่จะทำให้ตนเองรู้สึกดี เพราะเขาจะมีความมุ่งหมาย 7 ประการนี้แก่ผู้เป็นศัตรู คือ 1) หวังให้เขามีผิวพรรณทราม 2) หวังให้เขาเป็นทุกข์ 3) หวังให้เขาไม่มีความเจริญ 4) หวังให้เขาปราศจากโภคทรัพย์ 5) หวังให้เขาปราศจากยศตำแหน่ง 6) หวังให้เขาปราศจากเพื่อน และ 7) หวังให้เขาตกนรกโดยเร็ว
ก็แล้วทำไมคนที่มักโกรธจึงจะมีทุกข์มีปัญหา? พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจนใน “โกธนสูตร” ว่า บุคคลผู้มักโกรธนั้น มีผิวพรรณทราม นอนเป็นทุกข์ ได้ความเจริญแล้วก็ยังถึงความเสื่อม บุคคลผู้มักโกรธ ถูกความโกรธครอบงำ ทำการเข่นฆ่าทางกาย วาจา ย่อมประสบความเสื่อมทรัพย์ บุคคลผู้มัวเมาด้วยความมัวเมาเพราะโกรธ ย่อมถึงความเสื่อมยศ ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเว้นบุคคลผู้มักโกรธความโกรธก่อความเสียหาย ความโกรธทำจิตให้กำเริบ บุคคลผู้มักโกรธย่อมไม่รู้ภัยที่เกิดจากภายใน บุคคลผู้โกรธย่อมไม่รู้อรรถ บุคคลผู้โกรธย่อมไม่เห็นธรรม ความโกรธครอบงำนรชนในกาลใด ความมืดย่อมมีในกาลนั้น บุคคลผู้โกรธย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยากเหมือนทำได้ง่าย ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้ บุคคลผู้โกรธย่อมแสดงความเก้อยากก่อนเหมือนไฟแสดงควันก่อน ความโกรธเกิดขึ้นในกาลใด คนทั้งหลายย่อมโกรธในกาลนั้น บุคคลผู้โกรธไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ ไม่มีคำพูดที่น่าเคารพ บุคคลผู้ถูกความโกรธครอบงำไม่มีความสว่างแม้แต่น้อยฯ
เพื่อไม่ให้ได้รับโทษจากความโกรธนั้น เราก็ไม่ควรโกรธใคร ๆ เลย แม้จะมีเหตุผลที่น่าโกรธจริง ๆ ก็ไม่ควรโกรธอยู่ดี พระพุทธเจ้าท่านได้ทำเป็นตัวอย่างแล้ว ในจิตใจของท่านมองเห็นทุกคนด้วยความไม่เป็นศัตรู มองเห็นทุกคนด้วยความเป็นมิตร ไม่โกรธใครเลย แม้เขาจะทำไม่ดีก็ตาม ดังเช่น พระพุทธองค์ไม่โกรธพระเทวทัต แต่บอกอานิสงส์ที่ทำดีแล้วจะได้ผลดีอย่างนี้ ๆ บอกโทษของการทำไม่ดีแล้วจะได้ผลไม่ดีอย่างนี้ ๆ ท่านก็แสดงไปตามเหตุผล
ความโกรธเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? พระพุทธเจ้าตรัสบอกเอาไว้ใน “มหานิทานสูตร” ว่า ที่เรามาถึงจุดที่ลงมือลงไม้ด่าว่ากัน คิดประทุษร้ายกันได้ เหล่านี้ทั้งหมดนั้นเรียกว่า “เรื่องราวที่เกิดจากการหวงกั้น” ซึ่งอาศัยความตระหนี่จึงทำให้เกิดการหวงกั้น เพราะมีความยินดี รักใคร่ จับอกจับใจคือยึดติดแล้ว จึงมีความตระหนี่ได้ และเพราะความสยบมัวเมา ลุ่มหลง ปลงใจรัก ในสิ่งที่แสวงหา (ความอยากคือตัณหา) จิตเราจึงเป็นทาสของสิ่งนั้น ความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลินคือโมหะ จึงเป็นรากฐานของโทสะ ราคะ นั่นเอง สิ่งนี้จึงต้องระวัง แม้แต่ความดี เรายังโกรธเพราะการแสวงหาความดีได้ เป็นอุปัทวะ (อันตราย) คือถ้ามีคนทำไม่ดี ยังยึดติดในความดีนี้อยู่ไหม ในนามของความดี ฉันขอทำชั่ว ไปโกรธคนทำไม่ดีนั้น มันก็ไม่ได้เรื่อง
ไล่ลำดับขั้นของความโกรธในทางจิตใจ เริ่มจาก มีความยินดี (รติ) ความไม่ยินดี (อรติ) ---> ความไม่พอใจ ความขัดเคือง (ปฏิฆะ)---> แต่ถ้ายังหยุดไม่ได้ก็จะกลายเป็น ความโกรธ (โกธะ) ---> และเมื่อเพลินไปในความโกรธนั้น ก็จะนำไปสู่ โทสะ มันจึงเริ่มออกมาภายนอกเป็นการกระทำทางวาจา ทางกาย คิดประทุษร้ายลงมือลงไม้ เริ่มเป็นกรรมแล้ว ที่จะทำให้เกิดอาสวะ เป็นการผูกพยาบาทข้ามภพข้ามชาติได้ ดังนั้นถ้าเรามีเงื่อนไขของความสุขมาก มันก็จะทุกข์ทันที
More episodes
View all episodes
25. คุณสมบัติของผู้เป็นโจทก์ [6825-3d]
57:02||Season 68, Ep. 25การโจทก์ในทางพุทธศาสนา คือ การตั้งหัวข้อที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงให้อยู่ด้วยกันได้ การอยู่ร่วมกันนั้นต้องอยู่อย่างมีศีลและทิฏฐิที่เสมอกัน ในการปรับให้อยู่ด้วยกันนั้นต้องเป็นไปตามทางของมรรค โดยผู้โจทก์และผู้ถูกโจทก์ต้องมีคุณธรรมดังนี้การเป็นผู้โจทก์ต้องมีคุณธรรม 5 อย่าง คือ1.ต้องกล่าวในเวลาอันควรอย่ากล่าวในเวลาอันไม่ควร2.ต้องกล่าวด้วยถ้อยคำอันเป็นจริงไม่กล่าวด้วยถ้อยคำอันไม่จริง3.ต้องกล่าวด้วยถ้อยคำอ่อนหวานไม่กล่าวด้วยถ้อยคำหยาบคาย4.กล่าวด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ไม่กล่าวด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์5.ผู้กล่าวต้องกล่าวด้วยมีจิตเมตตากล่าวไม่กล่าวอย่าเพ่งโทษกล่าวส่วนผู้ถูกโจทก์ต้องมีคุณธรรม 2 อย่าง คือ1.ความจริง คือ เอาข้อเท็จจริงมาเป็นหลัก 2.ความไม่โกรธการนำคุณธรรมทั้ง 7 ข้อนี้มาใช้คือใช้ในเวลาที่เหมาะสม คุยด้วยเรื่องจริง ด้วยคำอ่อนหวาน ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ และด้วยเมตตาจิต หากคิดเห็นไม่ตรงกัน ก็เอาข้อเท็จจริงมาคุยกัน และหากมีการกระทบกันก็ไม่โกรธกัน ก็จะทำให้อยู่ร่วมกันได้24. คุณสมบัติของอุบาสกอุบาสิกา [6824-3d]
55:15||Season 68, Ep. 24อุบาสกหรืออุบาสิกา แปลว่า ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย หมายถึงผู้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ผู้นับถือศาสนาอย่างมั่นคง อุบาสกหรืออุบาสิกาในธรรมวินัยควรจะมีคุณสมบัติอย่างไรพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสเอาไว้มีอยู่หลายส่วนด้วยกันในตอนนี้จะนำส่วนที่ครูบาอาจารย์ได้รวบรวมไว้ใน อังคุตตรนิกาย ซึ่งอยู่ในธรรมหมวด 7 คือ หานิสูตร โดยพูดถึงความที่จะไม่เสื่อม ความที่จะก้าวหน้า ความที่จะเจริญงอกงามของอุบาสกอุบาสิกา โดยกล่าวเปรียบเทียบไว้เป็นคู่ดังนี้1. การเยี่ยมเยือนภิกษุ หรือขาดเยี่ยมเยือนภิกษุ 2. ละเลยการฟังธรรม หรือไม่ละเลยการฟังธรรม 3. การศึกษาอธิศีล หรือไม่ศึกษาอธิศีล 4. การปลูกความเลื่อมใสศรัทธา 5. การไม่ตั้งจิตติเตียนเพ่งโทษฟังธรรม 6. การไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา 7. การทำสักการะก่อนในเขตบุญของพระพุทธศาสนา หากเราปฏิบัติตามหลักธรรมทั้ง 7 อย่างนี้อย่างถูกต้องต่อเนื่องก็จะทำให้เป็นอุบาสกหรืออุบาสิกาแก้วนั่นเอง โดยคุณสมบัติของ อุบาสกอุบาสิกาแก้ว มี 5 ประการ คือ1. มีศรัทธา คือมีความเชื่อ มีความมั่นใจในพระรัตนตรัย ความเชื่อของเรานี้ต้องเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่ศรัทธางมงาย 2. มีศีล อย่างน้อยตั้งตนอยู่ในศีล5 ซึ่งจะทำให้มีชีวิตที่ดีงาม เป็นฐานสำหรับตนเองที่จะก้าวไปสู่การปฏิบัติเบื้องสูง พร้อมกันนั้น ก็เป็นเครื่องช่วยเหลือเกื้อกูลสังคม เพราะว่าผู้ถือศีล5 เป็นผู้ไม่เบียดเบียนคนอื่น แต่ดำรงชีวิตที่สุจริต ใครตั้งอยู่ในศีล 5 ก็ทำให้ที่นั้นมีความปลอดภัย3.ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือไม่มัวหวังผลจากความเชื่อถือนอกหลักพระพุทธศาสนา ที่เป็นความงมงาย ได้แต่หวังผลจากการดลบันดาลต่างๆ แต่ให้เชื่อกรรม คือเชื่อการกระทำที่เป็นไปตามเหตุผล ให้หวังผลจากการกระทำด้วยความเพียรพยายามของตน คุณสมบัติข้อนี้จะต้องให้เป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งของสังคมไทยของเรา4.ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา คือ เมื่อถือมงคลตื่นข่าว ไปเชื่อเรื่องไม่เข้าเรื่อง แล้วเขตบุญก็ย้ายออกจากพระพุทธศาสนาไปหาเขตบุญภายนอก ก็ยิ่งไปส่งเสริมให้ความเชื่อผิดปฏิบัติผิดแพร่หลายยิ่งขึ้น และแหล่งคำสอนที่ถูกต้อง คนก็ไม่เอาใจใส่ คนก็ยิ่งห่างจากหลักพระศาสนาออกไป ไม่รู้และไม่เอาใจใส่ในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า5. สนับสนุนพระพุทธศาสนา หมายความว่าทำการขวนขวาย ทะนุบำรุงอุปถัมภ์พระสงฆ์ และกิจการพระพุทธศาสนา ที่จะทำให้พระธรรมวินัยเจริญมั่นคง ช่วยกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นกุศลแท้จริง ที่เป็นเรื่องถูกทำนองคลองธรรม ที่จะทำให้ศีลธรรมเจริญงอกงาม23. เรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา [6823-3d]
57:31||Season 68, Ep. 23การศึกษาปฏิบัติธรรม เปรียบเสมือน ”การจับงูพิษ” ถ้าจับไม่ถูกต้อง ไม่ระมัดระวัง ก็อาจจะเกิดอันตรายกับตนเองและผู้อื่นได้ แทนที่จะละวางความยึดถือลงแต่กลับยึดถือขึ้นมาแทน“ธรรม” ที่ดูเหมือนจะเป็น “เรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดานี้” หมายถึง เรื่องพื้นฐานแต่มีความสำคัญ จึงต้องหยิบมาทำการศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างละเอียด โดยได้ยกพุทธพจน์ คำอุทาน พระสูตร มาประกอบ พอจะสรุปได้ดังนี้1. สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งหมดย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา2. สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลายจงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด3. ฐานะ 5 ประการ ที่ใครๆ ก็ไม่พึงได้ คือ ขอสิ่งที่มีความแก่- เจ็บ- ตาย- ความสิ้นไป-ฉิบหายไป ว่า อย่าแก่เลย…ฯ4. เราจะมาได้ตามความปรารถนาใน “สิ่งที่มีความแตกดับเป็นธรรมดา” ว่า อย่าเสื่อม อย่าสิ้นไป มันจะไม่ได้5. มาพิจารณาอยู่เนืองๆว่าเรามีความแก่ / ความเจ็บ / ความตาย / ความพลัดพราก / กรรมของตนการมาพิจารณาอยู่เนือง ๆ ให้เห็นตามความเป็นจริงในสังขารทั้งหลาย จะทำให้เราเกิดปัญญา วางความยึดถือด้วยเรื่องพื้นฐาน สูงขึ้นจนถึงระดับโลกุตระได้22. ว่าด้วยเรื่องของ "ลม" [6822-3d]
58:44||Season 68, Ep. 22วาโยธาตุ หรือที่เราเรียกว่า “ธาตุลม” เป็น 1 ใน มหาภูตรูป 4ธาตุลมประกอบไปด้วย :-ลมภายนอก คือ ธรรมชาติที่พัดไปมาอยู่นอกกาย เช่น ลมร้อน ลมหนาว ลมมีฝุ่น หรือ ลมไม่มีฝุ่น ลมตะวันออก..ฯลฯลมภายใน คือ ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกาย เช่น ลมในกระเพาะ ลมในลำไส้ ลมหายใจเข้า-ออกลมภายในแบ่งได้เป็น :-ลมปราณ คือ ลมหายใจเข้า-ออก1. ลมหายใจต่อกาย-ทิ้งกาย หมายถึง ลมทำหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงร่างกาย และทำลายร่างกายไปในกระบวนการเดียวกัน (มีการเผาผลาญในกาย)2. ลมหายใจต่อจิต (การมีสติสัมปชัญญะรู้ลมหายใจ) / ทิ้งจิต (ปล่อยสติเผลอเพลิน)ลมปาก คือ ลมที่ผ่านหลอดเสียง ที่ออกจากกายไปสู่ภายนอก เป็นลักษณะของสัญญาเปลี่ยนแปลงไปตามการปรุงแต่ง (สังขาร) และสื่อออกมาทางลมปาก ได้แก่1) ลมเหม็น (คูถภาณี) คือ ผู้มีวาจาภาษาพูดเหมือนคูถหรืออุจจาระ เกิดจากจิตที่เป็นอกุศลที่ปรุ่งแต่งออกมาทางวาจา เป็น “วจีทุจริต” ได้แก่ 1.1 การพูดเท็จ พูดปด พูดไม่จริง พูดบิดเบือน ไม่เกิดประโยชน์1.2 พูดส่อเสียด ยุยงให้แตกกัน บาดหมาง พูดใส่ร้าย-ป้ายสี1.3 พูดคำหยาบ ได้แก่ “คำหยาบคาย” คือ พูดทิ่มแทงให้เจ็บใจ แดกดัน เสียดสี เหน็บแนม / “คำหยาบโลน” คือ พูดภาษาใต้สะดือ ใช้สรรพนามของสัตว์แทนคน1.4 พูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ “พูดพล่าม” คือ คำพูดที่โปรยประโยชน์ทิ้ง ไร้สาระ หาประโยชน์ไม่ได้ (พูดเยอะแต่ไม่เกิดประโยชน์) / “พูดเหลวไหล” คือ คำพูดเลอะเทอะ ไม่มีหลักฐานอ้างอิง หาประโยชน์ไม่ได้ เช่น คำพูดมุกตลก2) ลมหอม (ปุปผภาณี) คือ ผู้มีวาจาพูดภาษาดอกไม้ ได้แก่ พูดคำจริง ไม่พูดเท็จ3) ลมหวาน (มธุภาณี) คือ ผู้มีวาจาพูดภาษาน้ำผึ้ง ได้แก่ พูดความจริงไพเราะจับใจ ประกอบไปด้วยพรหมวิหาร เป็นผู้ละเว้นคำหยาบ3.1 พูดจริง ดี มีประโยชน์ รู้กาลที่เหมาะสมแล้วจึงพูด / เว้นคำพูดจริงแต่ไม่มีประโยชน์ ไม่ประกอบด้วยกาล3.2 พูดสมานไมตรี ให้เกิดความสามัคคีกันมากยิ่งขึ้น3.3 พูดไพเราะ เป็นคำพูดที่ “อ่อนหวาน” สุภาพ มีถ้อยคำที่สละสลวย ฟังแล้วลื่นหู / “คำพูดดื่มด่ำดูดดื่ม” มีคติธรรม ฟังแล้วจับใจ3.4 พูดมีประโยชน์ มีหลักฐานอ้างอิง เป็นคำจริง ประกอบด้วยกาลเทศะ*ลักษณะคำพูดที่หอมหวานนั้นคือ เป็นมงคล เป็นวาจาสุภาษิต ฟังแล้วเกิดความรู้สึกซาบซึ้งเบิกบาน เป็นวาจาที่หาโทษมิได้21. ธรรมสมาธิ 5 ประการ [6821-3d]
53:22||Season 68, Ep. 21“ธรรมสมาธิ” คือ ธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นสนิทในธรรม เป็นธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง และกำจัดความสงสัยเสียได้ เมื่อเกิดความมั่นสนิทในธรรมแล้ว ก็จะเกิดจิตตสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิตตามมา ธรรมสมาธิมี 5 ประการ คือ1) ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจ ความร่าเริงสดใส เป็นความชื่นบานใจในธรรม ความร่าเริงสดใสในธรรม เป็นปราโมทย์ที่ไม่อาศัยอามิส2) ปีติ คือ ความอิ่มใจ ความปลื้มใจ เป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติธรรม มี 5 ระดับ คือ ขุททกาปีติ ขณิกาปีติ โอกกันติกาปีติ อุพเพงคาปีติ และผรณาปีติ 3) ปัสสัทธิ ความสงบระงับภายใน ความสงบเย็นกายเย็นใจ ความผ่อนคลายรื่นสบาย ไม่มีความเดือดร้อนกระวนกระวายใจมารบกวนให้หงุดหงิดรำคาญใจ 4) โสมนัส ความสุข ความสบาย ความรื่นใจไร้ความข้องขัด ปราศจากความทุกข์ร้อนใด ๆ ที่จะมารบกวนขัดขวางให้ไม่อยากปฏิบัติธรรม มีแต่ความสุขสบายกายและใจ ยินดีในการปฏิบัติธรรม5) สมาธิ ความสงบตั้งมั่นของจิต ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิไม่วอกแวก ไม่มีอารมณ์ภายนอกมารบกวนให้หงุดหงิดรำคาญใจธรรมทั้ง 5 ประการนี้ เป็นกระบวนการที่เป็นส่วนสนับสนุนให้บุคคลเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรม มีความแช่มชื่นยินดีในการปฏิบัติธรรมให้เกิดผลสำเร็จ เป็นธรรมหรือคุณสมบัติสำคัญของจิตใจที่ทุกคนควรทำให้เกิดมีอยู่เสมอ ธรรมสมาธิ 5 ประการนี้ จะเกิดขึ้นต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ การใคร่ควรโดยแยบคาย ซึ่งมีอยู่หลายแนวทาง ในตอนนี้จะยกเอาแนววิธีการที่ท่านพระอนุรุทธะได้ทำไว้มากล่าว และพระพุทธเจ้าทรงเรียกแนวทางนี้ว่า มหาปุริสวิตก 8 ประการ ได้แก่ธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้มักน้อย มิใช่ของผู้มักมากธรรมคำสอนนี้สำหรับของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของผู้ไม่สันโดษธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้สงัด มิใช่ของผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของผู้เกียจคร้านธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของผู้มีสติหลงลืมธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้มีจิตมั่นคงเป็นสมาธิ มิใช่ของผู้มีจิตไม่มั่นคงธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของผู้มีปัญญาทรามธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้ยินดีในธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า มิใช่ของผู้ยินดีในธรรม20. ตัณหา [6820-3d]
56:12||Season 68, Ep. 20ตัณหา เป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก มีความเป็นสภาวะขึ้นมา ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เพราะฉะนั้นต้องประกอบด้วยการเกิดอีกให้เป็นสภาวะขึ้นมา เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา มีความกำหนัด มีความเพลิน โดยนัยยะนี้ได้แบ่งตัณหาเป็น 3 อย่างดังนี้1.กามตัณหา คือความกำหนัดยินดีพอใจและความเพลินในรูปผ่านทางตา เสียงผ่านทางหู กลิ่นผ่านทางจมูก รสผ่านทางลิ้น และโผฏฐัพพะผ่านทางกาย และความอยากได้กามคุณคือสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า2.ภวตัณหา คือ ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ความอยากมี อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป3.วิภวตัณหา คือ ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา ความไม่อยากเป็น อยากดับสูญส่วนตัณหา 108 นั้นมาจากคำว่าตัณหาวิจริตคือความนึกที่แผ่ซ่านด้วยอำนาจของตัณหาคือความเพลินซ่านไปแผ่ไป โดยแผ่ซ่านกระจายไปในขันธ์อันเป็นภายใน 18 อย่าง ขันธ์อันเป็นภายนอกอีก18อย่าง ทั้ง 2 นี้ รวม 36 อย่าง 3 กาลคือ ปัจจุบัน อดีต และอนาคต จึงเป็นตัณหา 108 นั่นเอง19. เวทนากับทางไปแห่งจิต 36 ทาง [6819-3d]
56:32||Season 68, Ep. 19เวทนา หมายถึงการเสวยอารมณ์ ความรู้สึก คือความรู้สึกสุข(โสมนัส) ทุกข์(โทมนัส) หรือเฉยๆ(อุเบกขา)ที่เกิดขึ้นที่กายที่ใจ ในที่นี้จะกล่าวถึงเวทนาคือทางไปของจิต จิตของเรานั้นมักจะมีความยึดถือในสิ่งต่างๆ ในการยึดถือนั้นก็เพื่อจะให้เกิดสุขเวทนา หลีกหนีออกจากทุกขเวทนา กล่าวคือทางที่ไปแห่งจิตของสัตว์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเทวดา พรหม มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน หรือแม้แต่สัตว์นรก ก็เพื่อจะให้เกิดสุขเวทนา หลีกหนีออกจากทุกขเวทนาด้วยกันทั้งสิ้นพระพุทธเจ้าได้ทรงกล่าวถึงเวทนาทางไปแห่งจิตของสัตว์ 36 อย่าง ไว้ดังนี้เวทนาทางไปแห่งจิตที่เกี่ยวข้องกับเหย้าเรือน คือยังเกี่ยวข้องกับกามคุณอยู่ ได้แก่ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน 6 อย่าง คือสุขที่เนื่องด้วยสัมผัส ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน 6 อย่าง คือทุกข์ที่เนื่องด้วยสัมผัส ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน 6 อย่าง คือความวางเฉยที่เนื่องด้วยสัมผัส ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเวทนาทางไปของจิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหย้าเรือน คือหลีกออกจากกามคุณ ได้แก่ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน 6 อย่างคือสุขที่เกิดจากการมีปัญญาพิจารณาเห็น ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน 6 อย่างคือทุกข์เกิดจากการที่เข้าใจ ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และมีความตั้งใจ ขวนขวาย เพื่อที่จะให้มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง แต่ไม่สามารถบรรลุได้ ก็จึงเกิดความเสียใจ ทุกข์ใจ โทมนัส อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน 6 อย่าง คือเมื่อมีปัญญาพิจารณาเห็น ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วมีความวางเฉยในปัญญาที่เกิดขึ้นมานั้น18. วัดความก้าวหน้าทางธรรม [6818-3d]
57:48||Season 68, Ep. 18ธรรมที่วัดความก้าวหน้าสำหรับผู้บริโภคกาม ได้แก่กามโภคี 10 แบ่งกลุ่มตามตัวแปรคือ 1.การได้มาของทรัพย์นั้น 2. ได้ทรัพย์มาแล้วใช้จ่ายอย่างถูกต้องเหมาะสม 3. ต้องรู้จักใช้ทรัพย์นั้นในการทำความดีและบำเพ็ญบุญ เมื่อนำ3 เกณฑ์นี้มาจัดกลุ่มได้ ดังนี้กลุ่มที่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม 1.ได้ทรัพย์มาแล้วไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์ทำความดี 2.ได้ทรัพย์แล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุขแต่ไม่เผื่อแผ่จ่ายแบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 3. ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งเผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดี กลุ่มที่แสวงหาโดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง 4.ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 5.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขแต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 6.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งเผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดี กลุ่มที่แสวงหาโดยชอบธรรม7.ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ไม่เผื่อแผ่แบ่งและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 8.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข แต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 9. ได้ทรัพย์มาแล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุข เผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์ทำความดี แต่ยังติดยังหมกมุ่น กินใช้ทรัพย์สมบัติโดยไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะทำตนให้เป็นอิสระเป็นนายเหนือโภคทรัพย์ กลุ่มพิเศษ: แสวงหาชอบธรรม และกินใช้อย่างมีสติสัมปชัญญะ มิจิตใจเป็นอิสระ10.ผู้ที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม แล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุข เผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดีไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์สมบัติโดยรู้เท่าทัน เห็นคุณโทษทางดีทางเสียของมัน มีปัญญาทำตนให้เป็นอิสระ เป็นชาวบ้านชนิดที่เลิศ ประเสริฐ สูงสุด ธรรมที่วัดความก้าวหน้าสำหรับบรรพชิต คือ1) เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ 2)การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น 3)อากัปกิริยาอย่างอื่นอันเราควรทำมีอยู่ 4)เราย่อมติเตียนตนเองได้โดยศีลหรือไม่ 5)เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว ติเตียนเราได้โดยศีลหรือไม่ 6)เราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น 7) เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราจักทำกรรมใดดีหรือชั่วก็ตาม เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น 8)วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ 9)เราย่อมยินดีในเรือนว่างเปล่าหรือไม่ 10) คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่17. หิริ โอตตัปปะ : ธรรมคุ้มครองโลก [6817-3d]
57:21||Season 68, Ep. 17โลกบาล” เป็นหลักคุ้มครองรักษาโลก ที่ช่วยให้มนุษย์อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข อันประกอบด้วยหลักธรรม 2 ประการที่จะมาคู่กันเสมอในจิตใจ ที่จะทำให้บุคคลทำแต่ความดี คือหิริและโอตตัปปะ “หิริ” แปลว่าความละอายต่อบาป และ “โอตตัปปะ” แปลว่าความกลัวต่อบาปบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะ มีสติสัมปชัญญะ มีการสำรวมอินทรีย์ ศีลสมบูรณ์ เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงถึงพระนิพพานได้ในที่สุด