Share

cover art for เบญจศีลและเบญจธรรม [6737-3d]

3 ใต้ร่มโพธิบท

เบญจศีลและเบญจธรรม [6737-3d]

Season 67, Ep. 37

พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง หลักคำสอนและวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ สรุปเป็นใจความสำคัญว่าไว้ 3 ขั้น คือ ให้ละเว้นความชั่ว ให้ทำความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ นี่คือเส้นทางที่จะนำไปสู่ทางหลุดพ้นได้ ซึ่งในครั้งนี้จะกล่าวถึงหลักธรรมที่เป็นขั้นของการชี้แนวทางแห่งโลกุตระ นั่นคือเบญจศีลและเบญจธรรม


เบญจศีลและเบญจธรรม เป็นธรรมคู่กัน คนที่มีเบญจธรรมจึงจะเป็นผู้มีเบญจศีล ซึ่งหากคนมีศีลและธรรมดังกล่าวแล้ว จะเว้นจากการทำความชั่ว รู้จักควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความดี ไม่เบียดเบียนตนและคนอื่น และประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ 


เบญจศีล คือ ศีล 5 ข้อ เป็นการรักษาเจตนาที่จะควบคุมกายและวาจาให้เป็นปกติ คือ ไม่ทำบาป โดยการละเว้น 5 ประการ คือ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักขโมย ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ละเว้นจากการพูดปด ละเว้นจากการเสพสุรา


เบญจธรรม เป็นหลักธรรมที่ควรปฏิบัติ มี 5 ประการ ได้แก่

  1. เมตตากรุณา คือ บุคคลใดที่มีเมตตาย่อมไม่ฆ่า หรือเบียดเบียนสัตว์ เมตตากรุณาจึงเป็นจิตที่สามารถเพิ่มพูนพัฒนาได้จากการเว้นจากการฆ่า 
  2. สัมมาอาชีวะ คือ ประกอบอาชีพที่สุจริต มีรายได้ รู้จักใช้จ่าย และที่สำคัญรู้จักคำว่าพอดี และมีหิริโอตตัปปะ คือ ความละอาย และเกรงกลัวต่อผลของบาป จึงทำให้ไม่ลักขโมยของผู้อื่น
  3. กามสังวร คือ ความสำรวมอินทรีย์ ระมัดระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ทำให้ ความใคร่ในกามคุณ คือ การติดในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ลดน้อยลง เมื่อความสำรวมเกิดขึ้น จึงทำให้ไม่ประพฤติผิดในกาม
  4. สัจจะ คือ การพูดความจริง เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่เกิดการมุสาวาท 
  5. สติสัมปชัญญะ คือ การรู้สึกตัว การไม่ประมาท เพราะรู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว ทำให้ไม่เกลือกกลั้วกับสิ่งที่จะทำให้ชีวิตตกต่ำ เช่น สุราที่เมื่อคนดื่มกินก็ทำให้มึนเมาและขาดสติ 

More episodes

View all episodes

  • 12. โอกาส 8 ที่ทำให้ได้ประพฤติพรหมจรรย์ [6812-3d]

    56:40||Season 68, Ep. 12
    “โอกาส” หมายถึง สถานที่หรือเวลา เปรียบเทียบในทางธรรมะของพระพุทธเจ้าคือภพ แปลว่าความเป็นสภาวะการมีสภาวะใดสภาวะหนึ่งสถานที่และเวลาเป็นเรื่องสำคัญ การที่เรามีโอกาสที่เหมาะสมคือ อยู่ถูกที่ถูกเวลาแล้วเราไม่ปล่อยโอกาสให้ล่วงเลยไป ใช้โอกาสนั้นอย่างผู้ชาญฉลาด เราจะประสบความสำเร็จได้ หรือหากสร้างโอกาสให้ตัวเองก็ยิ่งดี ยกตัวอย่างตามนิทานชาดก เรื่องพ่อค้าทางเรือเดินทะเลโอกาสในทางโลกหรือขณะในทางโลกนั้นมันเล็กน้อยมาก แต่โอกาสที่เหมาะสมจริง ๆ ในการที่จะให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้นมีอยู่ ท่านได้กล่าวถึงสิ่งที่จะทำให้เราไม่ได้โอกาสไว้ใน อักขณสูตร ประกอบด้วย 3 ส่วนคือส่วนที่ 1 มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นส่วนที่ 2 มีคำสอนแสดงไว้ส่วนที่ 3 ตัวเรา อยู่ในสถานะ 8 ประการนี้ คืออยู่ในกำเนิดสัตว์นรกอยู่ในกำเนิดเดรัชฉานอยู่ในกำเนิดเปรตวิสัยอยู่ในกำเนิดอรูปพรหมอยู่ในกำเนิดมนุษย์แต่ไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ในกำเนิดมนุษย์ที่อยู่ในที่ที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าแต่มีมิจฉาทิฏฐิอยู่ในกำเนิดมนุษย์แต่ไม่มีปัญญาอยู่ในกำเนิดมนุษย์แต่มีคำสอนธรรมะไม่ละเอียดโอกาสที่ 3 สิ่งนี้จะเกิดขึ้นพร้อมกันคือ 1) มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น 2) มีคำสอนแสดงไว้อย่างละเอียด 3) ตัวเราได้กำเนิดเป็นมนุษย์ที่มีสัมมาทิฏฐิและมีปัญญาที่จะเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้า ถือว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากเมื่อเราได้โอกาสนี้แล้วจึงควรพยายามเร่งความเพียร ปฏิบัติอย่างแน่วแน่ เดินตามทางที่มีองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่างเพื่อไม่ให้ผู้ที่ต้องร้อนใจในภายหลัง
  • 11. “กรรม” ตอนที่3 (จบ) [6811-3d]

    57:55||Season 68, Ep. 11
    กรรม คือ เจตนาที่มีการปรุงแต่ง (สังขาร) ออกไปทางกาย วาจา ใจ เมื่อมีการปรุงแต่งกระทำออกไปแล้ว ย่อมมีผลหรือมีวิบากของกรรมนั้นอย่างแน่นอนเรื่องของกรรมเป็น “อจินไตย” คือ เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด เพราะถ้าคิดแล้วอาจจะทำให้เป็นบ้าได้ ในที่นี้หมายถึง เป็นสิ่งที่ไม่อาจเข้าใจได้ด้วยตรรกะสามัญของปุถุชน (ตามนัยยะ อจินติตสูตร) ตราบใดที่เมื่อยังมีการปรุงแต่งกรรมอยู่ การให้ผล (วิบาก) ของกรรมนั้น ก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยของกรรมนั้นเสมอ ผลของกรรมจึงมีการเปลี่ยนแปลงได้เสมอความคิดที่ว่า “ผลของกรรม เกิดจากรรมเก่าอย่างเดียวเท่านั้น” ความคิดอย่างนี้ยังไม่ถูกต้อง เพราะผลของกรรมไม่ได้เกิดจากกรรมเก่าอย่างเดียว แต่อาจเกิดขึ้นจากการปรุงแต่งของสังขารนาม-รูปในปัจจุบัน (ตามนัยยะ 8 อย่างใน สีวกสูตร)ประเภทผลของกรรม แบ่งออกเป็น 4 หมวด แต่ละหมวดแยกเป็น 4 ประเภท (รวม 16 ประเภท)1. แบ่งโดยหน้าที่ คือ กรรมที่ให้ไปเกิด (ยังวิบากให้เกิดขึ้น-มีสภาวะการเกิด) / อุปถัมภ์สนับสนุนให้กรรมนั้นมีพลังมากยิ่งขึ้น / เบียดเบียนกรรมนั้นให้อ่อนกำลังลง / ตัดรอนกรรมนั้นไม่ให้ส่งผล2. แบ่งตามลำดับการให้ผล คือ ให้ผลในลำดับแรกก่อน / ให้ผลเวลาใกล้ตาย / กรรมที่กระทำบ่อยๆ สั่งสมไว้ ให้ผลในชาติต่อมา / กรรมที่ผู้กระทำไม่มีเจตนา แต่ย่อมให้ผล (ในห้วงของสังสารวัฏ)3. แบ่งตามเวลา คือ ให้ผลรวดเร็วปัจจุบันทันด่วน / ให้ผลในชาติหน้า / ให้ผลในชาติต่อๆ มา / ไม่มีโอกาสให้ผล4. แบ่งตามฐานะการให้ผล คือ ให้ผลไปเกิดในอบายภูมิ / สุคติภูมิ / รูปพรหม / อรูปพรหมฟัง “เรื่องของ “กรรม” (ตอนที่ 2)-กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ”Time stamp 6811-3d: (00:32) ปฏิบัติภาวนา เจริญพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ(12:25) เรื่องของ “กรรม” ตอนที่ 3(15:45) เรื่องของกรรมเป็น “อจินไตย” (21:51) ทำกรรมอย่างไร ได้ผลของกรรมอย่างนั้น(26:54) สิวกสูตร ว่าด้วยสีวกปริพาชก(34:09) ประเภทของกรรม แบ่งเป็น 4 หมวด (รวม 16 ประเภท)(37:11) กรรมแบ่งตามหน้าที่ของกรรม(45:44) กรรมแบ่งตามเวลา(48:39) กรรมแบ่งตามลำดับการให้ผล(52:39) กรรมแบ่งตามฐานะการให้ผล
  • 10. “กรรม” (ตอนที่ 2) : กรรมคือสิ่งที่บุคคลควรทราบ [6810-3d]

    57:46||Season 68, Ep. 10
    “กรรม” (กัมมะ) คือ เจตนาของจิตที่เมื่อมีผัสสะมากระทบแล้วเกิดการปรุงแต่งออกไป ทางกาย (กายกรรม) วาจา (วจีกรรม) และใจ (มโนกรรม) เป็นอกุศลกรรมบ้างหรือกุศลกรรมบ้าง หรือเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม (อริยมรรคมีองค์ 8)กรรมเป็นสิ่งที่บุคคลควรทราบ – ทำความเข้าใจกรรมผ่าน “นิพเพธิกสูตร”เรากล่าวซึ่ง “เจตนา ว่าเป็นกรรม” เพราะว่าบุคคลเจตนาแล้ว ย่อมกระทำซึ่งกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ หมายถึง เจตนาที่อยู่ในจิตที่ประกอบไปด้วย ราคะ โทสะ และโมหะ (กิเลส) จากมากไปจนถึงเบาบาง (อกุศล-กุศล) หรือจนไม่เหลือ จึงพ้นจากกรรม คือ “สิ้นกิเลส สิ้นกรรม” ด้วย อริยมรรคมีองค์ 8เหตุเกิดแห่งกรรม คือ ผัสสะ (อาศัยผัสสะเป็นแดนเกิด)ความมีประมาณต่าง ๆ แห่งกรรม คือ กรรมที่ทำให้ไปเกิดในอบาย, มนุษยโลก, เทวโลก ได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 และกุศลกรรมบถ 10วิบาก คือ ผลแห่งกรรม มีระยะเวลาการให้ผล คือในปัจจุบันทันควัน / ในเวลาต่อมา / ในเวลาต่อ ๆ มาความดับไม่เหลือแห่งกรรม คือ ความดับแห่งผัสสะ (เมื่อมีผัสสะกระทบแล้วไม่เข้าถึงจิต)ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งกรรม คือ อริยมรรคมีองค์ 8การเข้าถึงกระบวนการสิ้นกรรม คือให้เราปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 จนครบจนเต็มรอบ ผลแห่งความสมบูรณ์ในการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 จะทำให้เราพ้นจากกรรมได้
  • 9. “กรรม” (ตอนที่1) [6809-3d]

    56:36||Season 68, Ep. 9
    “กรรม” คือ การกระทำที่เกิดจากเจตนาของจิตที่ถูกกระตุ้นผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ แล้วปรุงแต่งออกไป ทาง 3 ช่องทาง คือ 1. ทางกาย เป็น กายกรรม 2. ทางวาจา เป็น วจีกรรม 3. ทางใจ เป็น มโนกรรมทำความเข้าใจเรื่องของ “กรรม” ผ่านพุทธพจน์ที่ว่า..“เรามีกรรมเป็นของๆตน เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น” หมายถึง เมื่อมีเหตุแล้ว ย่อมมีผล“เรามีกรรมเป็นแดนเกิด เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธ์” คำว่า “เผ่าพันธ์” หมายถึง ผลของการกระทำนั้น“เรามีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้” คำว่า “ที่พึ่งอาศัย” หมายถึง ลักษณะที่สะสมอยู่ในจิต หรือ “อาสวะ”“เป็นกรรมดีก็ตาม เป็นกรรมชั่วก็ตาม” คือ กุศลกรรม หรือ อกุศลกรรม“เราจักต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น” คือ ได้รับผลของการกระทำนั้น“เราทั้งหลายพึงพิจารณาเนืองๆอย่างนี้แล” ผลของการพิจารณา คือ เกิดปัญญา และ มีอุเบกขากรรม 4 อย่างกรรมดำ มีวิบากดำ – กรรมชั่ว การปรุงแต่งไปในทางเบียดเบียน ผลคือ เข้าถึงความเป็นสัตว์นรกกรรมขาว มีวิบากขาว – กรรมดี ปรุงแต่งไปในทางไม่เบียดเบียน ผลคือ เข้าถึงสวรรค์กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว – ปรุงแต่งไปในทางเบียดเบียนบ้างไม่เบียดเบียนบ้าง เสวยเวทนาสุขและทุกข์เจือปน เช่น พวกมนุษย์ เทพบางพวกกรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม คือ อริยมรรคมีองค์ 8การทำที่สุดแห่งทุกข์ปรากฏขึ้นได้ เพราะการกระทำกรรมเรากำหนดได้จากการกระทำของเรา อยู่ที่ว่าจะตั้งเจตนาของจิตให้ปรุงแต่งไปในทางไหน ไปในทางสิ้นกรรม คือ ไม่มี ราคะ โทสะ และโมหะประกอบอยู่ในกรรม กรรมจึงอยู่ตรงที่เราเลือก เราจะอยู่เหนือกรรมได้ก็เพราะการกระทำของเราตรงนี้
  • 8. จรณะ 15 [6808-3d]

    58:06||Season 68, Ep. 8
    จรณะคือข้อปฏิบัติให้ถึงปัญญาข้อปฏิบัติที่ทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้ ข้อปฏิบัตินี้มี 15 อย่าง จรณะมีความหมายเดียวกันกับเสขะปฏิปทาคือข้อปฏิบัติของผู้ที่ยังต้องฝึกต้องปฏิบัติต่อ ข้อปฏิบัติของผู้ที่ยังไม่บรรลุธรรมขั้นสูง บุคคลที่ต้องการบรรลุธรรมจึงต้องปฏิบัติตามเสขะปฏิปทา ดังนั้นจรณะ15 ก็คือเสขะปฏิปทาที่มีเนื้อหาแจงออกเป็น 15 ประการ ตามนัยยะของเสขะปฏิปทาสูตร ประกอบด้วย 4 หมวดคือ ศีล1, อปัณณกปฏิปทา3,สัปปุริสัทธรรม 7 และฌาน4 ซึ่งแจกแจงได้ดังนี้1.ศีล ได้แก่ ศีล5 ศีล8 ศีล10 และศีล2272.อปัณณกปฏิปทา3 คือข้อปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม ได้แก่ 1.อินทรีสังวร(สำรวมอินทรีย์) 2.โภชเนมัตตันญุตา(รู้จักประมาณในการบริโภค) 3.ชาคริยานุโยค(การประกอบความเพียรอยู่ในธรรมอันเป็นเครื่องตื่น)3.สัปปุริสัทธรรม7 ได้แก่ 1.มีศรัทธา 2.มีหิริ 3.มีโอตตัปปะ 4.เป็นพหูสูต 5.มีความเพียรอันปรารภแล้ว 6.มีสติ7. มีปัญญา4.ฌาน4 คือการเพ่ง,สมาธิ ได้แก่ 1.ปฐมฌาน(วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา) 2.ทุติยฌาน(ปีติ สุข เอกัคคตา) 3.ตติยฌาน(สุข เอกัคคตา) 4.จตุตถฌาน(อุเบกขา เอกัคคตา)จรณะ 15 อย่าง คือข้อปฏิบัติที่เจาะจงลงมาสำหรับบุคคลที่ยังไม่บรรลุธรรม เมื่อนำธรรมนี้ไปประพฤติปฏิบัติก็จะสามารถทำวิชชาให้เกิดขึ้นได้
  • 7. ความประสงค์ 5 อย่างของบุคคล 6 ประเภท [6807-3d]

    56:46||Season 68, Ep. 7
    ได้นำเอา ขัตติยสูตร ที่ว่าด้วยความประสงค์ 5 อย่างของบุคคล 6 ประเภท มาอธิบายขยายความ เพื่อให้ทราบถึงความต้องการที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกันของบุคคลแต่ละประเภท เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาความเข้าใจ และสานสัมพันธภาพที่ดีในระหว่างบุคคลเริ่มจากความประสงค์เพื่อให้สมตามสิ่งที่ปรารถนา ในบุคคลแต่ละประเภทนั้น ย่อมมีความประสงค์ต้องการเพื่อให้สมความปรารถนาสูงสุด อย่างเช่นกษัตริย์ พราหมณ์ คหบดี มีความประสงค์โภคทรัพย์ และนิยมปัญญาเหมือนกัน แต่สิ่งที่เสริมกำลังความมั่นใจเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการ และให้ถึงความเป็นที่สุดแตกต่างกันสตรี นิยมประดับตกแต่งเพื่อประสงค์บุรุษ มีบุตรเป็นกำลัง และไม่ต้องการหญิงอื่นร่วมสามี มีความเป็นใหญ่ในบ้านเป็นที่สุดโจร นิยมที่เร้นลับเพื่อประสงค์ลักทรัพย์ มีอาวุธเป็นกำลัง และต้องการที่มืด ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นล่วงรู้สมณะ นิยมปัญญา มีความประสงค์ขันติ และโสรัจจะ มีศีลเป็นกำลัง และต้องการความไม่มีกิเลสเครื่องกังวล มีนิพพานเป็นที่สุดข้อสังเกต ความต้องการที่เป็นไปเพื่อดับความต้องการ มีความเป็นอิสระพ้นจากอำนาจกิเลสเครื่องร้อยรัดมีในบุคคลผู้ที่มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริงอ่าน “ขัตติยสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
  • การใช้งาน “พรหมวิหาร 4” [6806-3d]

    53:32|
    ในโลกปัจจุบันนี้มีเรื่องขัดแย้งวุ่นวายเกิดขึ้นหลายเรื่องราว บางเรื่องก็หาทางออกไม่ได้เหตุเพราะมีเรื่องราวที่เกิดจากการหวงกั้น การมีเรื่องราวที่เกิดจากการหวงกั้นขึ้นนั้นมีเหตุเริ่มมาจาก “ตัณหา” คือ เมื่อมีตัณหาจะทำให้เกิดการแสวงหา ทำให้มีการได้ เมื่อได้มาทำให้มีการปลงใจรัก แล้วก่อให้เกิดความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ ทำให้มีความสยบมัวเมาอย่างจับอกจับใจ จึงทำให้มีความตระหนี่ จึงทำให้มีการหวงกั้น แล้วจึงทำให้มีเรื่องราวจากการหวงกั้นนั้น ความขัดแย้งวุ่นวายต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้สามารถแก้ไขได้ด้วย พรหมวิหาร4พรหมวิหาร4 คือ คุณธรรมสำหรับเป็นที่อยู่ของจิตใจแห่งพรหม คือผู้ใหญ่หรือผู้ประเสริฐ ประกอบด้วย1.เมตตา : ความรักความปรารถนาดีให้ผู้อื่นมีความสุข 2.กรุณา : อยากให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์3.มุทิตา : ยินดีพอใจเมื่อผู้อื่นมีความสุข 4.อุเบกขา : วางเฉยในผัสสะที่น่าพอใจไม่น่าพอใจการใช้งานพรหมวิหาร 4 ในแก้ไขเรื่องราวที่เกิดจากการหวงกั้นนั้น ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ 3 ลักษณะคือ ต้องไม่มีเงื่อนไข ต้องไม่มีประมาณ และไม่มีการผูกเวรคือไม่เว้นใครไว้  การนำพรหมวิหาร4 มาใช้ในชีวิตประจำวันนั้นต้องแสดงออกให้เห็นในลักษณะที่คนอื่นเขาจะรับรู้ได้ คือต้องแสดงออกมาให้เห็น ทั้งทาง กาย วาจา และใจ 
  • 5. โพธิปักขิยธรรม องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ [6805-3d]

    54:44||Season 68, Ep. 5
    “โพธิปักขิยธรรม” คือองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ มี 7 หมวด 37 ประการได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 มรรคมีองค์8 องค์ธรรมทั้ง 7 หมวดนี้คือองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรมเหมือนกัน ในครั้งนี้จะกล่าวให้เห็นความเหมือนและต่างกันขององค์ธรรมเหล่านี้ คู่แรกคือ “อินทรีย์5” กับ “พละ5” เหมือนกันโดยองค์รวม คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แต่อธิบายคนละนัยยะ คือความเป็นใหญ่และความไม่หวั่นไหว พระพุทธเจ้าได้อุปมาธรรม 2 หมวดนี้ เปรียบเหมือนแม่น้ำสองสายที่แบ่งโดยเกาะกลางแต่ก็เป็นแม่น้ำสายเดียวกันและย่อมจะมาบรรจบกัน “สติปัฏฐาน”คือฐานที่ตั้งให้เกิดการระลึกถึงคือตั้งจิตเกาะติดไว้ให้มั่นที่กาย เวทนา จิต ธรรม ส่วน“สัมมัปปธาน”คือความเพียร เป็นลักษณะของการต้องขูดเกลาต้องพัฒนา กำจัดอกุศลธรรมรักษากุศลธรรมให้มีมากขึ้น สัมมัปปธานก็คือสัมมาวายามะ “อิทธิบาท” คือฐานที่ตั้งแห่งความสำเร็จ ได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา “ โพชฌงค์” ได้แก่ สติสัมโพชฌงค์ก็คือสติปัฏฐาน4 พอมีสติแล้วก็จะเห็นตามจริงทำให้เกิดธัมมวิจยะ ให้เกิดวิริยะ เกิดปิติ เกิดความสงบ เกิดสมาธินำสู่อุเบกขาได้ ทางทั้งหลายที่เดินมานี้ท่านเปรียบเหมือนรอยเท้าของสัตว์บกที่ใหญ่ที่สุดคือรอยเท้าช้าง เปรียบธรรมะทั้งหมดที่กล่าวมานี้อยู่ใน “มรรค8”ทั้งหมดเลย มรรค8คือ ศีล สมาธิ ปัญญานั่นเอง ดังนั้น โพธิปักขิยธรรม จึงเป็นธรรมะที่จะนำพาจิตของเราให้ไปสู่นิพพานได้
  • 4. การแสวงหา 2 อย่าง ด้วยตา 2 ข้าง [6804-3d]

    56:20||Season 68, Ep. 4
    ผู้ที่มีดวงตา ก็จะสามารถใช้ตามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ และจะสามารถแสวงหาสิ่งที่ต้องการได้ ในตอนนี้จะกล่าวถึง “การแสวงหา 2 อย่าง ด้วยตา 2 ข้าง” โดยจะกล่าวนัยยะการใช้ดวงตา มาแยกบุคคลได้ 4 จำพวกดังนี้1. คนตาบอด คือ บุคคลที่ไม่มีดวงตา (คือปัญญา) มองหาลู่ทางที่จะให้ได้ทรัพย์ที่ยังไม่ได้ มองไม่เห็นทางที่จะทำให้ทรัพย์ที่มีอยู่งอกเงยขึ้น และไม่มีดวงตา ที่เป็นเหตุจะให้รู้ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลและอกุศล อันมีโทษและไม่มีโทษ หยาบและละเอียด 2. คนมีตาข้างเดียว คือ บุคคลที่มองเห็นลู่ทางที่จะทำให้ได้ทรัพย์ที่ยังไม่ได้นั้นมา และมองเห็นลู่ทางที่จะทำให้ทรัพย์ที่มีอยู่งอกเงยขึ้น แต่ไม่มีดวงตาที่เป็นเหตุจะให้รู้ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลและอกุศล และอาจแสวงหาทรัพย์มาด้วยทางที่ไม่ดี3. คนมีตา 2 ข้าง คือ บุคคลที่มองเห็นลู่ทางที่จะทำให้ได้ทรัพย์ที่ยังไม่ได้นั้นมา และมองเห็นลู่ทางที่จะทำให้ทรัพย์ที่มีอยู่งอกเงยขึ้น และมีดวงตาที่เป็นเหตุจะให้รู้ธรรมเห็นธรรม4. คนที่มีตาที่ 3 คือ มีตาสมบูรณ์ คือ ดวงตาที่เห็นอริยสัจ 4 เห็นสิ่งที่เหนือบุญเหนือบาป การแสวงหา 2 อย่าง1. การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ (อนริยปริเยสนา ) คือการแสวงหาสิ่งที่ยังมี ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศกร่ำไรรำพัน นั่นคือแสวงหาทุกข์2. การแสวงหาที่ประเสริฐ (อริยปริเยสนา ) คือการแสวงหาทางที่จะทำให้พ้นจากความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความโศกร่ำไรรำพัน นั่นคือแสวงหาหนทางแห่งการหลุดพ้นจากทุกข์ลำดับขั้นที่นำไปสู่การแสวงหาตามนัยยะ สังยุตตนิกาย สนิทานสูตร คือ1. ธาตุ ความหมายรู้ในกาม บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามธาตุ 2. สัญญา ความดำริในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความหมายรู้ในกาม3. สังกัปปะ ความพอใจในกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความดำริในกาม4. ฉันทะ ความเร่าร้อนเพราะกามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความพอใจในกาม5.ปริราหะ การแสวงหากามบังเกิดขึ้นเพราะอาศัยความเร่าร้อน6. แสวงหา เมื่อแสวงหากาม ย่อมปฏิบัติผิดโดย ฐานะ 3 คือ กาย วาจา ใจทางอกุศลเกิดขึ้นอย่างไรในทางกุศลก็เกิดขึ้นอย่างนั้นเช่นกัน