Share

cover art for ธรรม 8 ประการที่เป็นเหตุให้ได้ปัญญา [6802-3d]

3 ใต้ร่มโพธิบท

ธรรม 8 ประการที่เป็นเหตุให้ได้ปัญญา [6802-3d]

Season 68, Ep. 2

“ปัญญา” ในความหมายของพุทธศาสนาคือ การตระหนักรู้หรือตระหนักรู้ถึงธรรมชาติที่แท้จริงของความเป็นจริงที่เหนือกว่าความเข้าใจทั่วไป คือสิ่งที่เมื่อเรารู้และเข้าใจแล้วจะทำความสุขอันยั่งยืนที่เหนือกว่าสุขเวทนา สุขที่ระงับ สุขที่เป็นความสงบเย็น พระพุทธเจ้าได้กล่าวถึงเหตุปัจจัยที่ให้ได้ปัญญาที่ยังไม่ได้และเพื่อความบริบูรณ์แห่งปัญญาที่ได้แล้วไว้ 8 ประการ ได้แก่

  1. มีครูบาอาจารย์ เข้าไปตั้งจิตไว้ซึ่งความละอาย ความเกรงกลัว ความรัก และความเคารพอย่างแรงกล้า โดยการพิจารณาคุณสมบัติของครูผู้เป็นกัลยาณมิตร 7 ประการ คือ 1) เป็นที่รักเป็นที่พอใจ 2) เป็นที่เคารพ 3) เป็นผู้ควรสรรเสริญ 4) เป็นนักพูด 5) เป็นผู้อดทนต่อถ้อยคำ 6) เป็นผู้พูดถ้อยคำลึกซึ้งได้ และ 7) ไม่ชักนำในทางไม่ดี
  2. เข้าไปหาแล้วไต่ถาม และรู้จักตั้งคำถาม โดยต้องมีศรัทธาและเข้าไปหาในเวลาที่เหมาะสม 
  3. ได้สงบกาย ความสงบใจ เมื่อฟังธรมนั้นแล้วต้องนำมาประพฤติปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ย่อมได้ความสงบ 2 อย่าง คือ ความสงบกายและความสงบจิตอย่างถึงพร้อม
  4. เป็นผู้มีศีล ศีลเป็นพื้นฐานของทุกสิ่ง ต้องสำรวมระวังในศีลให้ถึงพร้อม มีความปรกติเห็นภัยในโทษของการทุศีลแม้มีประมาณน้อย 
  5. เป็นผู้ทรงสุตะและสั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก จำไว้คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิซึ่งธรรมทั้งหลายอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด 
  6. ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เมื่อจิตเราเข้าใจในกุศลธรรมแล้วก็นำมาทบทวนซ้ำ ๆ เพื่อความพร้อมมูลแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมนั้น ๆ เมื่อกุศลธรรมเพิ่มขึ้นมากเท่าใด อกุศลธรรมก็จะลดลงเช่นกัน
  7. กล่าวเรื่องธรรมวินัย ไม่พูดเรื่องต่าง ๆ ที่ขวางหนทางธรรม ไม่ดูหมิ่นการนิ่งอย่างพระอริยเจ้า
  8. สามารถปล่อยวางขันธ์ 5 พิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ 5 คือเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 

More episodes

View all episodes

  • 25. คุณสมบัติของผู้เป็นโจทก์ [6825-3d]

    57:02||Season 68, Ep. 25
    การโจทก์ในทางพุทธศาสนา คือ การตั้งหัวข้อที่จะเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงให้อยู่ด้วยกันได้ การอยู่ร่วมกันนั้นต้องอยู่อย่างมีศีลและทิฏฐิที่เสมอกัน ในการปรับให้อยู่ด้วยกันนั้นต้องเป็นไปตามทางของมรรค โดยผู้โจทก์และผู้ถูกโจทก์ต้องมีคุณธรรมดังนี้การเป็นผู้โจทก์ต้องมีคุณธรรม 5 อย่าง คือ1.ต้องกล่าวในเวลาอันควรอย่ากล่าวในเวลาอันไม่ควร2.ต้องกล่าวด้วยถ้อยคำอันเป็นจริงไม่กล่าวด้วยถ้อยคำอันไม่จริง3.ต้องกล่าวด้วยถ้อยคำอ่อนหวานไม่กล่าวด้วยถ้อยคำหยาบคาย4.กล่าวด้วยถ้อยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ไม่กล่าวด้วยถ้อยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์5.ผู้กล่าวต้องกล่าวด้วยมีจิตเมตตากล่าวไม่กล่าวอย่าเพ่งโทษกล่าวส่วนผู้ถูกโจทก์ต้องมีคุณธรรม 2 อย่าง คือ1.ความจริง คือ เอาข้อเท็จจริงมาเป็นหลัก 2.ความไม่โกรธการนำคุณธรรมทั้ง 7 ข้อนี้มาใช้คือใช้ในเวลาที่เหมาะสม คุยด้วยเรื่องจริง ด้วยคำอ่อนหวาน ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ และด้วยเมตตาจิต หากคิดเห็นไม่ตรงกัน ก็เอาข้อเท็จจริงมาคุยกัน และหากมีการกระทบกันก็ไม่โกรธกัน ก็จะทำให้อยู่ร่วมกันได้
  • 24. คุณสมบัติของอุบาสกอุบาสิกา [6824-3d]

    55:15||Season 68, Ep. 24
    อุบาสกหรืออุบาสิกา แปลว่า ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย หมายถึงผู้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ผู้นับถือศาสนาอย่างมั่นคง อุบาสกหรืออุบาสิกาในธรรมวินัยควรจะมีคุณสมบัติอย่างไรพระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสเอาไว้มีอยู่หลายส่วนด้วยกันในตอนนี้จะนำส่วนที่ครูบาอาจารย์ได้รวบรวมไว้ใน อังคุตตรนิกาย ซึ่งอยู่ในธรรมหมวด 7 คือ หานิสูตร โดยพูดถึงความที่จะไม่เสื่อม ความที่จะก้าวหน้า ความที่จะเจริญงอกงามของอุบาสกอุบาสิกา โดยกล่าวเปรียบเทียบไว้เป็นคู่ดังนี้1. การเยี่ยมเยือนภิกษุ หรือขาดเยี่ยมเยือนภิกษุ 2. ละเลยการฟังธรรม หรือไม่ละเลยการฟังธรรม 3. การศึกษาอธิศีล หรือไม่ศึกษาอธิศีล 4. การปลูกความเลื่อมใสศรัทธา 5. การไม่ตั้งจิตติเตียนเพ่งโทษฟังธรรม 6. การไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา 7. การทำสักการะก่อนในเขตบุญของพระพุทธศาสนา หากเราปฏิบัติตามหลักธรรมทั้ง 7 อย่างนี้อย่างถูกต้องต่อเนื่องก็จะทำให้เป็นอุบาสกหรืออุบาสิกาแก้วนั่นเอง โดยคุณสมบัติของ อุบาสกอุบาสิกาแก้ว มี 5 ประการ คือ1. มีศรัทธา คือมีความเชื่อ มีความมั่นใจในพระรัตนตรัย ความเชื่อของเรานี้ต้องเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ใช่ศรัทธางมงาย 2. มีศีล อย่างน้อยตั้งตนอยู่ในศีล5 ซึ่งจะทำให้มีชีวิตที่ดีงาม เป็นฐานสำหรับตนเองที่จะก้าวไปสู่การปฏิบัติเบื้องสูง พร้อมกันนั้น ก็เป็นเครื่องช่วยเหลือเกื้อกูลสังคม เพราะว่าผู้ถือศีล5 เป็นผู้ไม่เบียดเบียนคนอื่น แต่ดำรงชีวิตที่สุจริต ใครตั้งอยู่ในศีล 5 ก็ทำให้ที่นั้นมีความปลอดภัย3.ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือไม่มัวหวังผลจากความเชื่อถือนอกหลักพระพุทธศาสนา ที่เป็นความงมงาย ได้แต่หวังผลจากการดลบันดาลต่างๆ แต่ให้เชื่อกรรม คือเชื่อการกระทำที่เป็นไปตามเหตุผล ให้หวังผลจากการกระทำด้วยความเพียรพยายามของตน คุณสมบัติข้อนี้จะต้องให้เป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่งของสังคมไทยของเรา4.ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา คือ เมื่อถือมงคลตื่นข่าว ไปเชื่อเรื่องไม่เข้าเรื่อง แล้วเขตบุญก็ย้ายออกจากพระพุทธศาสนาไปหาเขตบุญภายนอก ก็ยิ่งไปส่งเสริมให้ความเชื่อผิดปฏิบัติผิดแพร่หลายยิ่งขึ้น และแหล่งคำสอนที่ถูกต้อง คนก็ไม่เอาใจใส่ คนก็ยิ่งห่างจากหลักพระศาสนาออกไป ไม่รู้และไม่เอาใจใส่ในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า5. สนับสนุนพระพุทธศาสนา หมายความว่าทำการขวนขวาย ทะนุบำรุงอุปถัมภ์พระสงฆ์ และกิจการพระพุทธศาสนา ที่จะทำให้พระธรรมวินัยเจริญมั่นคง ช่วยกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นกุศลแท้จริง ที่เป็นเรื่องถูกทำนองคลองธรรม ที่จะทำให้ศีลธรรมเจริญงอกงาม
  • 23. เรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา [6823-3d]

    57:31||Season 68, Ep. 23
    การศึกษาปฏิบัติธรรม เปรียบเสมือน ”การจับงูพิษ” ถ้าจับไม่ถูกต้อง ไม่ระมัดระวัง ก็อาจจะเกิดอันตรายกับตนเองและผู้อื่นได้ แทนที่จะละวางความยึดถือลงแต่กลับยึดถือขึ้นมาแทน“ธรรม” ที่ดูเหมือนจะเป็น “เรื่องธรรมดา ที่ไม่ธรรมดานี้” หมายถึง เรื่องพื้นฐานแต่มีความสำคัญ จึงต้องหยิบมาทำการศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างละเอียด โดยได้ยกพุทธพจน์ คำอุทาน พระสูตร มาประกอบ พอจะสรุปได้ดังนี้1. สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งหมดย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา2. สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา พวกเธอทั้งหลายจงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด3. ฐานะ 5 ประการ ที่ใครๆ ก็ไม่พึงได้ คือ ขอสิ่งที่มีความแก่- เจ็บ- ตาย- ความสิ้นไป-ฉิบหายไป ว่า อย่าแก่เลย…ฯ4. เราจะมาได้ตามความปรารถนาใน “สิ่งที่มีความแตกดับเป็นธรรมดา” ว่า อย่าเสื่อม อย่าสิ้นไป มันจะไม่ได้5. มาพิจารณาอยู่เนืองๆว่าเรามีความแก่ / ความเจ็บ / ความตาย / ความพลัดพราก / กรรมของตนการมาพิจารณาอยู่เนือง ๆ ให้เห็นตามความเป็นจริงในสังขารทั้งหลาย จะทำให้เราเกิดปัญญา วางความยึดถือด้วยเรื่องพื้นฐาน สูงขึ้นจนถึงระดับโลกุตระได้
  • 22. ว่าด้วยเรื่องของ "ลม" [6822-3d]

    58:44||Season 68, Ep. 22
    วาโยธาตุ หรือที่เราเรียกว่า “ธาตุลม” เป็น 1 ใน มหาภูตรูป 4ธาตุลมประกอบไปด้วย :-ลมภายนอก คือ ธรรมชาติที่พัดไปมาอยู่นอกกาย เช่น ลมร้อน ลมหนาว ลมมีฝุ่น หรือ ลมไม่มีฝุ่น ลมตะวันออก..ฯลฯลมภายใน คือ ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกาย เช่น ลมในกระเพาะ ลมในลำไส้ ลมหายใจเข้า-ออกลมภายในแบ่งได้เป็น :-ลมปราณ คือ ลมหายใจเข้า-ออก1. ลมหายใจต่อกาย-ทิ้งกาย หมายถึง ลมทำหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงร่างกาย และทำลายร่างกายไปในกระบวนการเดียวกัน (มีการเผาผลาญในกาย)2. ลมหายใจต่อจิต (การมีสติสัมปชัญญะรู้ลมหายใจ) / ทิ้งจิต (ปล่อยสติเผลอเพลิน)ลมปาก คือ ลมที่ผ่านหลอดเสียง ที่ออกจากกายไปสู่ภายนอก เป็นลักษณะของสัญญาเปลี่ยนแปลงไปตามการปรุงแต่ง (สังขาร) และสื่อออกมาทางลมปาก ได้แก่1) ลมเหม็น (คูถภาณี) คือ ผู้มีวาจาภาษาพูดเหมือนคูถหรืออุจจาระ เกิดจากจิตที่เป็นอกุศลที่ปรุ่งแต่งออกมาทางวาจา เป็น “วจีทุจริต” ได้แก่ 1.1 การพูดเท็จ พูดปด พูดไม่จริง พูดบิดเบือน ไม่เกิดประโยชน์1.2 พูดส่อเสียด ยุยงให้แตกกัน บาดหมาง พูดใส่ร้าย-ป้ายสี1.3 พูดคำหยาบ ได้แก่ “คำหยาบคาย” คือ พูดทิ่มแทงให้เจ็บใจ แดกดัน เสียดสี เหน็บแนม / “คำหยาบโลน” คือ พูดภาษาใต้สะดือ ใช้สรรพนามของสัตว์แทนคน1.4 พูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ “พูดพล่าม” คือ คำพูดที่โปรยประโยชน์ทิ้ง ไร้สาระ หาประโยชน์ไม่ได้ (พูดเยอะแต่ไม่เกิดประโยชน์) / “พูดเหลวไหล” คือ คำพูดเลอะเทอะ ไม่มีหลักฐานอ้างอิง หาประโยชน์ไม่ได้ เช่น คำพูดมุกตลก2) ลมหอม (ปุปผภาณี) คือ ผู้มีวาจาพูดภาษาดอกไม้ ได้แก่ พูดคำจริง ไม่พูดเท็จ3) ลมหวาน (มธุภาณี) คือ ผู้มีวาจาพูดภาษาน้ำผึ้ง ได้แก่ พูดความจริงไพเราะจับใจ ประกอบไปด้วยพรหมวิหาร เป็นผู้ละเว้นคำหยาบ3.1 พูดจริง ดี มีประโยชน์ รู้กาลที่เหมาะสมแล้วจึงพูด / เว้นคำพูดจริงแต่ไม่มีประโยชน์ ไม่ประกอบด้วยกาล3.2 พูดสมานไมตรี ให้เกิดความสามัคคีกันมากยิ่งขึ้น3.3 พูดไพเราะ เป็นคำพูดที่ “อ่อนหวาน” สุภาพ มีถ้อยคำที่สละสลวย ฟังแล้วลื่นหู / “คำพูดดื่มด่ำดูดดื่ม” มีคติธรรม ฟังแล้วจับใจ3.4 พูดมีประโยชน์ มีหลักฐานอ้างอิง เป็นคำจริง ประกอบด้วยกาลเทศะ*ลักษณะคำพูดที่หอมหวานนั้นคือ เป็นมงคล เป็นวาจาสุภาษิต ฟังแล้วเกิดความรู้สึกซาบซึ้งเบิกบาน เป็นวาจาที่หาโทษมิได้
  • 21. ธรรมสมาธิ 5 ประการ [6821-3d]

    53:22||Season 68, Ep. 21
    “ธรรมสมาธิ” คือ ธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นสนิทในธรรม เป็นธรรมที่ทำให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้อง และกำจัดความสงสัยเสียได้ เมื่อเกิดความมั่นสนิทในธรรมแล้ว ก็จะเกิดจิตตสมาธิ คือความตั้งมั่นของจิตตามมา ธรรมสมาธิมี 5 ประการ คือ1) ปราโมทย์ คือ ความชื่นบานใจ ความร่าเริงสดใส เป็นความชื่นบานใจในธรรม ความร่าเริงสดใสในธรรม เป็นปราโมทย์ที่ไม่อาศัยอามิส2) ปีติ คือ ความอิ่มใจ ความปลื้มใจ เป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติธรรม มี 5 ระดับ คือ ขุททกาปีติ ขณิกาปีติ โอกกันติกาปีติ อุพเพงคาปีติ และผรณาปีติ 3) ปัสสัทธิ ความสงบระงับภายใน ความสงบเย็นกายเย็นใจ ความผ่อนคลายรื่นสบาย ไม่มีความเดือดร้อนกระวนกระวายใจมารบกวนให้หงุดหงิดรำคาญใจ 4) โสมนัส ความสุข ความสบาย ความรื่นใจไร้ความข้องขัด ปราศจากความทุกข์ร้อนใด ๆ ที่จะมารบกวนขัดขวางให้ไม่อยากปฏิบัติธรรม มีแต่ความสุขสบายกายและใจ ยินดีในการปฏิบัติธรรม5) สมาธิ ความสงบตั้งมั่นของจิต ไม่มีสิ่งรบกวนเร้าระคาย จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิไม่วอกแวก ไม่มีอารมณ์ภายนอกมารบกวนให้หงุดหงิดรำคาญใจธรรมทั้ง 5 ประการนี้ เป็นกระบวนการที่เป็นส่วนสนับสนุนให้บุคคลเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติธรรม มีความแช่มชื่นยินดีในการปฏิบัติธรรมให้เกิดผลสำเร็จ เป็นธรรมหรือคุณสมบัติสำคัญของจิตใจที่ทุกคนควรทำให้เกิดมีอยู่เสมอ ธรรมสมาธิ 5 ประการนี้ จะเกิดขึ้นต้องอาศัยโยนิโสมนสิการ การใคร่ควรโดยแยบคาย ซึ่งมีอยู่หลายแนวทาง ในตอนนี้จะยกเอาแนววิธีการที่ท่านพระอนุรุทธะได้ทำไว้มากล่าว และพระพุทธเจ้าทรงเรียกแนวทางนี้ว่า มหาปุริสวิตก 8 ประการ ได้แก่ธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้มักน้อย มิใช่ของผู้มักมากธรรมคำสอนนี้สำหรับของบุคคลผู้สันโดษ มิใช่ของผู้ไม่สันโดษธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้สงัด มิใช่ของผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้ปรารภความเพียร มิใช่ของผู้เกียจคร้านธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้มีสติตั้งมั่น มิใช่ของผู้มีสติหลงลืมธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้มีจิตมั่นคงเป็นสมาธิ มิใช่ของผู้มีจิตไม่มั่นคงธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้มีปัญญา มิใช่ของผู้มีปัญญาทรามธรรมคำสอนนี้สำหรับบุคคลผู้ยินดีในธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า มิใช่ของผู้ยินดีในธรรม
  • 20. ตัณหา [6820-3d]

    56:12||Season 68, Ep. 20
    ตัณหา เป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก มีความเป็นสภาวะขึ้นมา ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจแห่งความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ เพราะฉะนั้นต้องประกอบด้วยการเกิดอีกให้เป็นสภาวะขึ้นมา เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา มีความกำหนัด มีความเพลิน โดยนัยยะนี้ได้แบ่งตัณหาเป็น 3 อย่างดังนี้1.กามตัณหา คือความกำหนัดยินดีพอใจและความเพลินในรูปผ่านทางตา เสียงผ่านทางหู กลิ่นผ่านทางจมูก รสผ่านทางลิ้น และโผฏฐัพพะผ่านทางกาย และความอยากได้กามคุณคือสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า2.ภวตัณหา คือ ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ความอยากมี อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป3.วิภวตัณหา คือ ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา ความไม่อยากเป็น อยากดับสูญส่วนตัณหา 108 นั้นมาจากคำว่าตัณหาวิจริตคือความนึกที่แผ่ซ่านด้วยอำนาจของตัณหาคือความเพลินซ่านไปแผ่ไป โดยแผ่ซ่านกระจายไปในขันธ์อันเป็นภายใน 18 อย่าง ขันธ์อันเป็นภายนอกอีก18อย่าง ทั้ง 2 นี้ รวม 36 อย่าง 3 กาลคือ ปัจจุบัน อดีต และอนาคต จึงเป็นตัณหา 108 นั่นเอง
  • 19. เวทนากับทางไปแห่งจิต 36 ทาง [6819-3d]

    56:32||Season 68, Ep. 19
    เวทนา หมายถึงการเสวยอารมณ์ ความรู้สึก คือความรู้สึกสุข(โสมนัส) ทุกข์(โทมนัส) หรือเฉยๆ(อุเบกขา)ที่เกิดขึ้นที่กายที่ใจ ในที่นี้จะกล่าวถึงเวทนาคือทางไปของจิต จิตของเรานั้นมักจะมีความยึดถือในสิ่งต่างๆ ในการยึดถือนั้นก็เพื่อจะให้เกิดสุขเวทนา หลีกหนีออกจากทุกขเวทนา กล่าวคือทางที่ไปแห่งจิตของสัตว์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นเทวดา พรหม มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน หรือแม้แต่สัตว์นรก ก็เพื่อจะให้เกิดสุขเวทนา หลีกหนีออกจากทุกขเวทนาด้วยกันทั้งสิ้นพระพุทธเจ้าได้ทรงกล่าวถึงเวทนาทางไปแห่งจิตของสัตว์ 36 อย่าง ไว้ดังนี้เวทนาทางไปแห่งจิตที่เกี่ยวข้องกับเหย้าเรือน คือยังเกี่ยวข้องกับกามคุณอยู่ ได้แก่ความโสมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน 6 อย่าง คือสุขที่เนื่องด้วยสัมผัส ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจความโทมนัสเนื่องด้วยเหย้าเรือน 6 อย่าง คือทุกข์ที่เนื่องด้วยสัมผัส ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอุเบกขาเนื่องด้วยเหย้าเรือน 6 อย่าง คือความวางเฉยที่เนื่องด้วยสัมผัส ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเวทนาทางไปของจิตที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหย้าเรือน คือหลีกออกจากกามคุณ ได้แก่ความโสมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน 6 อย่างคือสุขที่เกิดจากการมีปัญญาพิจารณาเห็น ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจความโทมนัสเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน 6 อย่างคือทุกข์เกิดจากการที่เข้าใจ ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และมีความตั้งใจ ขวนขวาย เพื่อที่จะให้มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง แต่ไม่สามารถบรรลุได้ ก็จึงเกิดความเสียใจ ทุกข์ใจ โทมนัส อุเบกขาเนื่องด้วยการหลีกออกจากเหย้าเรือน 6 อย่าง คือเมื่อมีปัญญาพิจารณาเห็น ถึงความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ของตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แล้วมีความวางเฉยในปัญญาที่เกิดขึ้นมานั้น
  • 18. วัดความก้าวหน้าทางธรรม [6818-3d]

    57:48||Season 68, Ep. 18
    ธรรมที่วัดความก้าวหน้าสำหรับผู้บริโภคกาม ได้แก่กามโภคี 10 แบ่งกลุ่มตามตัวแปรคือ 1.การได้มาของทรัพย์นั้น 2. ได้ทรัพย์มาแล้วใช้จ่ายอย่างถูกต้องเหมาะสม 3. ต้องรู้จักใช้ทรัพย์นั้นในการทำความดีและบำเพ็ญบุญ เมื่อนำ3 เกณฑ์นี้มาจัดกลุ่มได้ ดังนี้กลุ่มที่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม 1.ได้ทรัพย์มาแล้วไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์ทำความดี  2.ได้ทรัพย์แล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุขแต่ไม่เผื่อแผ่จ่ายแบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี  3. ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งเผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดี  กลุ่มที่แสวงหาโดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง 4.ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี  5.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขแต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี  6.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งเผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดี กลุ่มที่แสวงหาโดยชอบธรรม7.ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ไม่เผื่อแผ่แบ่งและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี  8.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข แต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี  9. ได้ทรัพย์มาแล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุข เผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์ทำความดี แต่ยังติดยังหมกมุ่น กินใช้ทรัพย์สมบัติโดยไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะทำตนให้เป็นอิสระเป็นนายเหนือโภคทรัพย์   กลุ่มพิเศษ: แสวงหาชอบธรรม และกินใช้อย่างมีสติสัมปชัญญะ มิจิตใจเป็นอิสระ10.ผู้ที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม แล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุข เผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดีไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์สมบัติโดยรู้เท่าทัน เห็นคุณโทษทางดีทางเสียของมัน มีปัญญาทำตนให้เป็นอิสระ เป็นชาวบ้านชนิดที่เลิศ ประเสริฐ สูงสุด  ธรรมที่วัดความก้าวหน้าสำหรับบรรพชิต คือ1) เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์ 2)การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น  3)อากัปกิริยาอย่างอื่นอันเราควรทำมีอยู่ 4)เราย่อมติเตียนตนเองได้โดยศีลหรือไม่ 5)เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูชนพิจารณาแล้ว ติเตียนเราได้โดยศีลหรือไม่ 6)เราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น 7) เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราจักทำกรรมใดดีหรือชั่วก็ตาม เราจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น 8)วันคืนล่วงไป ๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่ 9)เราย่อมยินดีในเรือนว่างเปล่าหรือไม่ 10) คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่
  • 17. หิริ โอตตัปปะ : ธรรมคุ้มครองโลก [6817-3d]

    57:21||Season 68, Ep. 17
    โลกบาล” เป็นหลักคุ้มครองรักษาโลก ที่ช่วยให้มนุษย์อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข อันประกอบด้วยหลักธรรม 2 ประการที่จะมาคู่กันเสมอในจิตใจ ที่จะทำให้บุคคลทำแต่ความดี คือหิริและโอตตัปปะ “หิริ” แปลว่าความละอายต่อบาป และ “โอตตัปปะ” แปลว่าความกลัวต่อบาปบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะ มีสติสัมปชัญญะ มีการสำรวมอินทรีย์ ศีลสมบูรณ์ เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงถึงพระนิพพานได้ในที่สุด