Share

cover art for ธรรมคุณหก [6802-2m]

2 จิตตวิเวก

ธรรมคุณหก [6802-2m]

Season 68, Ep. 2

ระลึกถึงคุณพระธรรมทั้งหก ธัมมานุสสติ เพื่อความเจริญของจิต

๑.    สวากขาโต ภควตา ธัมโม คำสอนที่ท่านตรัสไว้ดีแล้ว คือ

๑.๑ ปฏิบัติได้ทั้ง เบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด 

๑.๒ เป็นเหตุและผล ถึงที่สุด ตรงถึงพระนิพพาน

๑.๓ มีการกำหนดบทคำอธิบายที่จับต้องได้

๑.๔ มีความบริสุทธิ์และบริบูรณ์ คือปริมาณมากพอ ให้ถึงนิพพานได้

๒.    สันทิฏฐิโก รู้ได้เฉพาะตน 

๓.    เอหิปัสสิโก สามารถตรวจสอบได้

๔.    อกาลิโก ปฏิบัติได้ทุกเวลา ธรรมะยังเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง

๕.    โอปนยิโก น้อมเข้ามาสู่จิตตน บรรลุเป็นขั้นๆได้

๖.    ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ พึงรู้ พึงทำแต่สิ่งที่ดี และจักรู้ได้เฉพาะตน

More episodes

View all episodes

  • 1. ส่งความสุขด้วยพุทธคุณ๙ [6801-2m]

    59:38||Season 68, Ep. 1
    ส่งความสุขโดยตั้งจิตระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า เพื่อรับกระแสความเมตตา กรุณา ปัญญา ให้เข้าไปถึงจิต ให้จิตชุ่ม อิ่มเอิบ ยินดี กับพุทธคุณเก้าเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบด้วยตนเอง ถึงพร้อมด้วยความรู้และข้อปฏิบัติในการไปถึงความรู้นั้น เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลกทุกอย่างแจ่มแจ้ง ฝึกทุกท่าน ไม่มียกเว้น ให้บรรลุธรรม ไกลกิเลส เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นภควา จำแนกสัตว์ สั่งสอนธรรม ได้อย่างแจ่มแจ้งทั้งหมดรวมลงอยู่ในพุทโธ มั่นใจลงใจ ปฏิบัติให้เป็นอนุพุทโธ, ตั้งพุทโธตลอดเวลาเพื่อส่งความสุขตลอดปี
  • 52. ปริญญาในขันธ์ทั้ง 5 [6752-2m]

    01:01:27||Season 67, Ep. 52
    พัฒนาจิตเพื่อให้เกิดปัญญาอันยิ่ง รอบรู้ กำหนดรู้ ขันธ์ทั้งห้า “รูป เวทนา สัญญา สังขารและ วิญญาณ” ว่า เป็นกองทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น แต่แท้จริงแล้วขันธ์ทั้งห้าไม่เที่ยง ไม่สามารถควบคุมได้ จึงเป็นทุกข์ หากแต่เมื่อเราพัฒนาจิตจนเกิดความรอบรู้ เกิดปริญญา กำหนดรู้ ว่าขันธ์ทั้งห้า ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่ควรที่จะยึดมั่น ถือมั่น, เกิดปัญญาอันยิ่งคือ อภิญญา ด้วยการปล่อย ไม่ยึดถือในขันธ์ทั้งห้า ด้วยการยอมรับทุกข์ “อยู่กับทุกข์โดยไม่ทุกข์ เราก็จะพ้นทุกข์”.
  • 51. จิตตภาวนาจากจิตประภัสสร [6751-2m]

    59:33||Season 67, Ep. 51
    จิตมีความเป็นประภัสสร เศร้าหมองหรือผ่องใสได้ตามสิ่งต่างๆที่จรเข้ามา หากแต่การมีสติ จะช่วยแยกแยะ จิต ออกจาก สิ่งที่เข้ามา, มีสติอย่างต่อเนื่อง จะเกิด สมาธิ, สมาธิจะทำให้จิตมีพลัง, จิตมีพลังจะสามารถเลือกให้จิตเป็นกุศล ไม่เพลินไปกับอารมณ์ต่างๆ ไกลจากกิเลสมากขึ้นๆ, นั่นคือการทำจิตตภาวนา คือการพัฒนาของจิต พัฒนาต่อเนื่องๆ จิตจะอ่อนเหมาะ ควรแก่การไปใช้งาน “ให้เห็นตามความเป็นจริง” ว่า ทั้งกายและจิตนี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีการเปลี่ยนแปลงตามเหตุ ตามปัจจัย ไม่ควรที่เราจะไปยึดว่าเป็นตัวตนของเรา ปัญญาจะเกิด และปล่อยวางได้ แล้วเราจะไม่ทุกข์.
  • 50. วินิจฉัยความสุขเพื่อเกิดปัญญา [6750-2m]

    59:21||Season 67, Ep. 50
    บุคคลควรรู้จักการวินิจฉัยในความสุข ควรประกอบความสุขชนิดที่เป็นในภายในเราต้องรู้จักวินิจฉัย ไตร่ตรอง ว่า ชีวิตเราจะเลือก ความสุขจากอะไรเป็นหลักความสุขมีสองแบบ อย่างแรกคือกามสุข สุขที่เกิดจาก กาม พยาบาท เบียดเบียน เป็นความสุขทั่วๆไปที่เราได้รับผ่านทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นสุขที่มีโทษมาก ประโยชน์น้อยเหมือน สุนัขแทะกระดูก ที่ไม่รู้จักอิ่มและไม่ใช่สุขที่แท้จริงหากแต่ความสุขอย่างที่สองคือ สุขที่เกิดจากในภายใน เป็นสุขที่ ไม่มีกาม พยาบาท เบียดเบียน เป็นสุขที่มีแต่กุศล มีแต่ความสงบ ระงับ อยู่เป็นสุขได้ โดยไม่ต้องอาศัยสิ่งภายนอก เป็นสุขที่ทำให้เกิดปัญญา และพ้นทุกข์ได้แล้วเราจะเลือกสุขแบบไหนให้ชีวิตเรา
  • 49. พรากกาย พรากจิต [6749-2m]

    56:51||Season 67, Ep. 49
    พรากกาย พรากจิต ดุจพระจันทน์บนฟ้า และ พระจันทน์บนผิวน้ำ เกี่ยวข้องกัน แต่ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน, แยกด้วยสติ โดยใช้ลมหายใจเป็นเครื่องมือ สงบระงับ จนจิตเป็นสมาธิ หากแต่เมื่อมีสิ่งมากระทบ กายและจิตกลับรวมกันเป็นสิ่งเดียวกันได้อีก เพราะอวิชชา ความไม่รู้ ยึดโยงอยู่กับตัณหา, สิ่งเดียวที่จะแยกกาย แยกจิตได้ อย่างต่อเนื่อง คือ ปัญญา, ปัญญาที่เกิดจาก การเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ของทั้งกายและจิต จึงวางทั้งกายและจิตลงได้.
  • 48. ชัยชนะอันไม่กลับแพ้ [6748-2m]

    57:55||Season 67, Ep. 48
    เกิดชัยชนะที่ไม่กลับแพ้ได้ ด้วยปัญญา พิจารณาว่า ทุกสิ่งใดๆในโลก ล้วนปรุงแต่ง มีความไม่เที่ยง เป็นอนัตตา ให้เห็นว่าทุกสิ่งเป็นสมมุติโดยเริ่มจาก มีสติ เกิดสมาธิ ทำจิตให้มีกำลัง เกิดปัญญา ใช้เป็นอาวุธ เพื่อตัด กิเลสตัณหา ที่เชื่อมยึดถือหรืออุปาทาน อยู่กับจิต โดยมี อวิชชาเป็นรากเหง้าอยู่ในจิต เมื่อเห็นตามความเป็นจริงในจิตว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง เป็นอนัตตา จะเกิดวิชชา อวิชชาดับ เกิดความดับเย็นคือนิพพานในจิตในใจ นั่นคือ ชัยชนะที่ไม่กลับแพ้แล้ว
  • 47. ทุกความคิดเป็นการภาวนา [6747-2m]

    01:00:19||Season 67, Ep. 47
    ทำไม ความคิดนึก จึงเป็นการภาวนาได้ เพราะมีสติ สัมปชัญญะ กำกับอยู่ในความคิดนั้น, ดังนั้นจิตจะถูกรักษา ให้คิดนึก ด้วยความระลึกรู้ คือมีสติ ด้วยความรู้ตัวรอบคอบคือมีสัมปชัญญะ นั่นคือมีปัญญาเกิดขึ้นแล้วคือ มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาสติ สัมมาวายามะ พร้อมกันทั้งสามสิ่ง, เกิด สัมมาสังกัปปะ ปราศจากกาม พยาบาท เบียดเบียน, นำไปสู่ สัมมากัมมันตะและสัมมาอาชีวะ ดำรงอยู่ในทางมรรคมีองค์แปดในชีวิตประจำวันได้
  • 46. คำสอนที่ทนต่อการเพ่งพิสูจน์ [6746-2m]

    01:00:05||Season 67, Ep. 46
    เราจะศรัทธา ปฏิบัติตามสิ่งใด สิ่งนั้นต้องตรวจสอบได้ ต้องพ้นทุกข์ได้จริง โดยต้องประกอบด้วยมรรคมีองค์แปด ตลอดทางที่ดำเนินไป คือ มีศีล สมาธิ ปัญญาเริ่มจาก มีศรัทธา พร้อมปัญญา ว่าสิ่งนั้นตรวจสอบได้ด้วยตนเอง เมื่อมั่นใจแล้ว ตั้งใจลงมือทำ ด้วยความเพียร มีสติ สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้น จะเห็นว่า ทุกๆสิ่ง ไม่เที่ยง มีเงื่อนไขปัจจัยเกิดขึ้น มีทุกข์ ไม่ควรยึดถือวาง ละ ทิ้งเสีย นั่นคือถึงที่หมายแล้ว.<<timestamp >> [00:00] ศรัทธาทำให้เกิด ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา[14:58] มรรคแปด ร่องรอยที่ตรวจสอบได้ [38:07] พิจารณาความไม่เที่ยง [56:56] ไม่ยึดถือ ละ วาง