Share

cover art for ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ [6704-3d]

3 ใต้ร่มโพธิบท

ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ [6704-3d]

Season 67, Ep. 4

ธรรมของสัตบุรุษ มีสัทธรรม 3 อย่างคือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ


ปริยัติ คือการศึกษาเล่าเรียนในระบบคำสอนที่เรารวบรวมมาโดยรอบแล้วนั่นคือคำสอนของพระศาสดามีองค์ 9 (นวังคสัตถุศาสน์)ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ าถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูติธรรม เวทัลละ


ปริยัติแบ่งตามรูปแบบการศึกษาได้ 3 อย่างดังนี้


1.อลคัททูปริยัติ การศึกษาแบบเป็นงูพิษคือศึกษาธรรมเพื่อลาภสักการะ เพื่อข่มผู้อื่น


2.นิสสรณัตถปริยัติ การศึกษาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการออกไปจากทุกข์ คือศึกษาเจาะจงลงไปในเรื่องที่จะออกจากทุกข์ได้


3.ภัณฑาคาริกปริยัติ การศึกษาแบบขุนคลังคือการศึกษาเพื่อที่จะเก็บรักษาองค์ความรู้เหล่านั้นไม่ให้เสื่อมสูญไป


ปฏิบัติ คือ นำความรู้มาลงมือทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้ได้ประโยชน์อย่างที่ต้องการ การลงมือทำนั้นต้องไม่ยกตนข่มผู้อื่น การปฏิบัตินั้นมีได้หลายรูปแบบ การปฏิบัติต้องถูกต้องกับสิ่งนั้น ๆ


ปฏิเวธ คือ การรู้ธรรมเป็นขั้นๆไป รู้ว่าธรรมนี้เป็นอย่างนี้ รู้แทงตลอดในธรรมเป็นขั้นเป็นขั้นขึ้นไป ในส่วนของปฏิเวธนี้ก็จะหมายถึงการบรรลุธรรมขั้นใดขั้นหนึ่งด้วย


ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธนี้ ต้องมาด้วยกันจะมีผลแทงตลอดได้จะต้องลงมือปฏิบัติจะปฏิบัติได้ต้องรู้วิธีการว่าต้องทำอย่างไรไม่ให้เกิดความข้องความกังวลผลที่จะเกิดขึ้นก็จะเป็นขั้น ๆ ไป หมุนวนไปแบบนี้

More episodes

View all episodes

  • 30. กามโภคีบุคคล : บุคคลผู้บริโภคกาม [6730-3d]

    58:07
    กามโภคีบุคคล:บุคคลผู้บริโภคกาม เป็นผู้ที่ยังอยู่ในกระแสโลกจะเป็นผู้ที่ถูกบีบคั้นด้วยกามเสมอ ในการกล่าวถึงเรื่องของทางโลกนั้นก็ใช้คำว่ากามมาอธิบายเป็นหลักโดยในที่นี้จะกล่าวถึง กาม 2 อย่าง กาม 5 อย่าง และกามโภคีบุคคล 10 อย่างกาม 2 อย่างได้แก่ 1.กิเลสกาม 2.วัตถุกาม กาม 5 อย่าง คือ กามคุณ 5 ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี 5 อย่างคือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจกามโภคี 10 แบ่งกลุ่มตามการแสวงหา ดังนี้กลุ่มที่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม 1.ได้ทรัพย์มาแล้วไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์ทำความดี 2.ได้ทรัพย์แล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุขแต่ไม่เผื่อแผ่จ่ายแบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 3. ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งเผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดี กลุ่มที่แสวงหาโดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง 4.ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 5.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขแต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 6.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งเผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดี กลุ่มที่แสวงหาโดยชอบธรรม7.ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ไม่เผื่อแผ่แบ่งและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 8.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข แต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 9. ได้ทรัพย์มาแล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุข เผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์ทำความดี แต่ยังติดยังหมกมุ่น กินใช้ทรัพย์สมบัติโดยไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะทำตนให้เป็นอิสระเป็นนายเหนือโภคทรัพย์ กลุ่มพิเศษ: แสวงหาชอบธรรม และกินใช้อย่างมีสติสัมปชัญญะ มิจิตใจเป็นอิสระ 10.ผู้ที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุข เผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดีไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์สมบัติโดยรู้เท่าทัน เห็นคุณโทษทางดีทางเสียของมัน มีปัญญาทำตนให้เป็นอิสระ เป็นชาวบ้านชนิดที่เลิศ ประเสริฐ สูงสุด
  • 29. กามโภคีสุข 4 : สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี [6729-3d]

    55:20
    สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมีหรือความสุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ คือ กามโภคีสุข 4 ได้แก่1.อัตถิสุข : ความสุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยชอบธรรม2.โภคสุข : ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงชีพ เลี้ยงผู้ควรเลี้ยง และบำเพ็ญประโยชน์3.อนณสุข : ความสุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนเป็นไท ไม่มีหนี้สินติดค้างใคร4.อนวัชชสุข : ความสุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียนไม่ได้ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจบรรดาความสุข 4 อย่างนี้ อนวัชชสุข มีค่ามากที่สุด การจะเกิดความสุขประการที่4 คืออนวัชชสุข นั้นมีธรรมอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ธรรมที่ว่าด้วยการค้าขายที่ไม่ควรค้าขาย 5 ประการตามนัยยะที่มาในวนิชชสูตร คือ 1.ค้าอาวุธ 2.ค้าสัตว์เป็น 3.ค้าเนื้อสัตว์ 4.ค้าสุรา 5.ค้ายาพิษ การค้าขาย 5 ประการนี้พระพุทธเจ้าบอกว่า เป็นอกรณียกิจ ไม่ควรทำนอกจากนี้ยังมีธรรมอีกหนึ่งหมวดที่นำมาปฏิบัติแล้วจะส่งเสริมให้เกิดสุขอันชอบธรรมแก่ผู้ครองเรือนได้ คือ กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 : หลักธรรมที่ทำให้ครอบครัวเจริญมั่งคั่งอยู่ได้นานได้แก่ 1.หาของที่หายไป 2.ซ่อมแซมของที่ชำรุดเสียหาย 3.ประมาณตนในการบริโภค 4.ดำรงชีพด้วยการมีศีลธรรม Time stamp [00:56] ปฏิบัติภาวนา อานาปานสติ และแผ่เมตตา[12:51] คฤหัสถ์ คือ ผู้ครองเรือน[13:29] กามโภคีสุข 4 : สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี[15:07] อัตถิสุข : สุขเกิดจากความมีทรัพย์[23:31] โภคสุข : สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์[29:05] อนณสุข : สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้[33:54] อนวัชชสุข : สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ[41:51] กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 : หลักธรรมที่ทำให้ครอบครัวเจริญมั่งคั่ง[49:19] เปรียบเทียบความสุขของ คฤหัสถ์ กับ นักบวช
  • 28. วิมุตติสู่นิพพาน [6728-3d]

    53:17
    การที่จะนำธรรมะมาปฏิบัติจนเกิดเป็นผลขึ้นทางปัญญาได้นั้น มีขั้นตอน และกระบวนการในการปฏิบัติ โดยได้ยกหัวข้อธรรม “วิมุตติสูตร” มาอธิบายประกอบการปฏิบัติ เพื่อให้เห็นขั้นตอน และกระบวนการในการหยั่งลงสู่อมตธรรมในวิมุตติสูตรนั้นจะประกอบไปด้วยธรรม 5 ข้อ ที่แตกต่างกัน แต่มีลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่จะให้เกิดผลเป็นวิมุตติสู่นิพพานได้เหมือนกัน ธรรม 5 ข้อนั้นได้แก่ 1. การได้ฟังธรรม 2. การอธิบายบอกสอน 3. การสัชฌายะ 4. การใคร่ครวญธรรม 5. การทำสมาธิกระบวนการสู่การหลุดพ้น มีอยู่ 6 ขั้นตอน เริ่มจาก เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม แทงตลอดด้วยดี -> เกิดปราโมทย์ -> เกิดปีติ -> กายสงบระงับ -> เสวยสุข -> จิตย่อมตั้งมั่น (ฌาน) และเมื่อมาถึง 6 ขั้นตอนนี้แล้วก็เข้าสู่วิมุตติ คือ ความพ้นจากผัสสะ พ้นจากกิเลส เกิดความรู้เป็นวิชชา และวิมุตติ มีปัญญาปล่อยวาง สู่นิพพานTimestamp[00.22] ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ จาคานุสสติ สีลานุสสติ เทวตานุสสติ[12.37] ความสำคัญของสมาธิ[14.38] เหตุ 5 ประการ สู่ความหลุดพ้น[14.45] การได้ฟังธรรมะ[17.39] การอธิบาย บอกสอนข้อธรรมะ[17.59] การสัชฌายะ[19.15] การได้ไตร่ตรองข้อธรรมะ[20.01] การทำสมาธิ[42.58] วิชา วิมุตติ[45.38] นิพพาน
  • 27. ธรรมเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า [6727-3d]

    57:17
    หมวดธรรม 4 ประการ 2 อย่าง ที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ได้แก่สัมปรายิกัตถสังวัตตนิกธรรม 4 คือ ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า1.สัทธาสัมปทา : ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือความมั่นใจในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์2.สีลสัมปทา : ความถึงพร้อมด้วยศีล คือศีล 5 ที่ตั้งขึ้นด้วยเจตนางดเว้น3.จาคสัมปทา : ความถึงพร้อมด้วยการเสียสละ คือสละสิ่งของ สละกิเลส4.ปัญญาสัมปทา : ความถึงพร้อมด้วยปัญญา คือปัญญาที่เข้าใจในความไม่เที่ยงของสิ่งต่างๆบางครั้งการจะพัฒนาจิตใจให้ก้าวหน้านั้นอาจต้องพบเจออุปสรรค มีธรรมอีกหมวดหนึ่งที่เรานำมาใช้ร่วมกันแล้วจะสนับสนุนให้ชีวิตเราเจริญ คือ อปัสเสนธรรม 4 คือธรรมดุจเป็นพนักพิง ธรรมเป็นที่พึ่งพิงอาศัย ได้แก่ 1.พิจารณาแล้วเสพ ได้แก่ สิ่งของปัจจัย 42.พิจารณาแล้วอดทน อดกลั้น ได้แก่ อนิฏฐารมณ์ต่างๆ มีหนาว ร้อน และทุกขเวทนาเป็นต้น3. พิจารณาแล้วเว้นเสีย ได้แก่ สิ่งที่เป็นโทษก่ออันตรายแก่ร่างกาย และ จิตใจ4. พิจารณาแล้วบรรเทาเสีย ได้แก่ สิ่งที่เป็นโทษและเกิดขึ้นแล้ว เช่น อกุศลวิตก มีกามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก เป็นต้นหมวดธรรม 4 ข้อ ของ 2 นัยยะที่ยกมานี้คือธรรมที่จะสนับสนุนเกื้อกูลให้การพัฒนาจิตของเรานั้นก้าวหน้าขึ้นมาได้
  • 26. กิจจญาณ : กิจที่ควรทำในอริยสัจ4 [6726-3d]

    55:00
    ความจริงโดยทั่วๆ ไปที่เป็นข้อเท็จจริง ตามสมมุติของโลกนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขปัจจัยตามบริบทของสังคมหรือเวลา เช่น ข่าว งานวิจัย สิ่งของ เสื้อผ้า ที่สมมุติเรียกตามบริบทของเวลานั้น แต่อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ 4 อย่างนี้ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค แสดงถึง สัจธรรมความจริง ที่ไม่เกี่ยวเนื่องด้วยเวลากิจในอริยสัจ 4 (กิจญาณ) คือ หน้าที่ที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ1. ทุกข์ คือ ขันธ์ 5 (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หน้าที่คือ “ปริญญา” ควรรอบรู้ เข้าใจ ยอมรับมัน2. สมุทัย คือ ตัณหา หน้าที่คือ “ปหานะ” ควรละ กำจัด ขว้างทิ้ง ไม่ถือเอา3. นิโรธ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ หน้าที่คือ “สัจฉิกิริยา” ควรทำให้แจ้ง4. มรรค คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ หน้าที่คือ “ภาวนา” ควรเจริญ พัฒนา ทำให้มากการแยกแยะสิ่งต่างๆ ตามหลักอริยสัจ 4 คือ เมื่อเราเจอสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิตของเรา ให้เรารู้จักแยกแยะสิ่งนั้นก่อนว่าคืออะไรในอริยสัจ 4 เมื่อแยกแยะแล้วก็ทำกิจให้ถูกต้อง กระบวนการแยกแยะนี้ เมื่อทำให้เกิดขึ้นได้อยู่บ่อยๆ จะทำให้เกิดญาณหยั่งรู้หรือญาณทัสสนะ (สัจจญาณ, กิจจญาณ, กตญาณ)
  • 25. ธรรมเพื่อการพัฒนาตนเอง [6725-3d]

    56:36
    ภาวนา คือ การพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นทุกด้าน คนเราต้องมีการพัฒนาตนเองให้ก้าวหน้า ให้เจริญงอกงาม หมวดธรรมะที่จะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาตนเองที่จะนำมากล่าวในที่นี้ได้แก่วุฑฒิธรรม 4 : ธรรมเป็นเครื่องเจริญงอกงามแห่งปัญญา 4 ประการ1.สัปปุริสังเสวะ: การคบหาสัตบุรุษ2.สัทธัมมัสสวนะ: ฟังสัทธรรม,เอาใจใส่เล่าเรียน3.โยนิโสมนสิการ: การทำในใจโดยแยบคาย4.ธัมมานุธัมมปฏิบัติ: ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมวัฒนมุข 6 ธรรมอันเป็นประตูแห่งประโยชน์ที่จะเปิดออกไปให้ก้าวหน้าสู่ความเจริญงอกงามของชีวิต ที่พระพุทธเจ้าได้เคยกล่าวไว้ในครั้งที่เป็นโพธิสัตว์ ได้แก่ 1.อาโรคยะ : ความไม่มีโรค2.ศีล : ความมีระเบียบวินัย3.พุทธานุมัต : ศึกษาแนวทางแบบอย่างจากผู้เป็นบัณฑิต4.สุตะ : การใฝ่ฟังศึกษาหาความรู้5.ธรรมานุวัติ : การดำเนินชีวิตในทางชอบธรรม6.อลีนตา : ความเพียรพยายามไม่ย่อหย่อนอธิษฐานธรรม 4 คือ ธรรมเป็นฐานที่มั่นคงของบุคคล เป็นธรรมที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จสูงสุดที่หมายไว้ได้ ได้แก่1.ปัญญา : หยั่งรู้ชัดในเหตุผล2.สัจจะ : พูดอย่างไรทำอย่างนั้น3.จาคะ : การสละความไม่ดีออก4.อุปสมะ: ความสงบธรรม 3 หมวดนี้เป็นธรรมที่เป็นไปในแนวเดียวกัน ที่เมื่อได้นำไปประพฤติปฏิบัติแล้วก็จะเกิดการพัฒนา ก้าวหน้า และนำไปสู่ความเจริญงอกงามในชีวิตได้
  • 24. อปริหานิยธรรม : ธรรมะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม [6724-3d]

    58:35
    อปริหานิยธรรม คือธรรมะอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นธรรมที่อาศัยการรักษาเหตุปัจจัยแห่งความไม่เสื่อมและเหตุปัจจัยแห่งความเจริญ โดยแบ่งเป็นหลายนัยยะได้แก่นัยยะแรก1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์2. พร้อมเพรียงกันประชุม3. ศึกษาและไม่ล้มล้างสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้4. เคารพภิกษุผู้เป็นสังฆบิดร เป็นสังฆปริณายก5. ไม่ลุอำนาจตัณหาคือความอยากที่เกิดขึ้น6. ยินดีในเสนาสนะป่า7. ตั้งสติระลึกไว้ในใจว่า เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลงาม ซึ่งยังไม่มา ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่ผาสุกนัยยะที่ 2 คือคุณธรรมในตนเองจะเจริญขึ้นหรือถอยลงด้วย 7 ประการนี้ คือ ไม่ยินดีการงาน ไม่ยินดีการคุย ไม่ยินดีความหลับ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่คบมิตรชั่ว ไม่ถึงความท้อถอยในระหว่างที่บรรลุคุณวิเศษเพียงเล็กน้อย นัยยะที่ 3 อริยะทรัพย์ 7 ประการได้แก่ เป็นผู้มีศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นผู้มีหิริ เป็นผู้มีโอตตัปปะ เป็นพหุสูต ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีปัญญานัยยะที่ 4 เจริญโพชฌงค์ 7ได้แก่ สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์นัยยะที่ 5 เจริญสัญญา 7 ประการ ได้แก่ อนิจจสัญญา อนัตตสัญญา อสุภสัญญา อาทีนวสัญญา ปหานสัญญา จวิราคสัญญา นิโรธสัญญานัยยะที่ 6 คือเจริญสาราณียธรรม 6 ประการนี่คือนัยยะต่างๆของ อปริหานิยธรรม ถ้าเรามีเหตุเงื่อนไขปัจจัยเหล่านี้แล้ว จะมีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว ความเสื่อมจะไม่ปรากฎขึ้นเลย
  • สาราณียธรรม [6723-3d]

    57:26
    บทสวด สาราณียะธัมมะสูตตัง เป็นบทที่กล่าวถึงสาราณียธรรม6 ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นไปเพื่อความระลึกถึงกันและกัน คือธรรมแห่งการสร้างความสามัคคี เป็นบทสวดที่มาจากพระสูตรที่พระภิกษุจะมักสวดกันในวันเข้าพรรษา บทสวดนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับภิกษุไว้ที่เมืองสาวัตถี ณ วัดเชตวัน โดยกล่าวถึงธรรม 6 ประการ ที่เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วจะเป็นธรรมเครื่องก่อให้เกิดอานิสงส์ 7 ประการ คือ  1.สาราณียา(ระลึกถึงกัน)2.ปิยะกะระณา(เป็นเครื่องกระทำให้เป็นที่รักกัน) 3.คะรุกะระณา(เป็นที่เคารพซึ่งกันและกัน) 4.สังคะหายะ(เป็นไปเพื่อ ความสงเคราะห์ เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล) 5.อะวิวาทายะ(ไม่วิวาทกัน) 6.สามัคคิยา(เกิดความพร้อมเพรียงกัน) 7.เอกีภาวายะ(ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน)โดยองค์ประกอบของสาราณียธรรม 6 ประการที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงคือ1.เมตตาทางกายทั้งต่อหน้าและลับหลัง2.เมตตาทางวาจาทั้งต่อหน้าและลับหลัง3.เมตตาทางใจทั้งต่อหน้าและลับหลัง4.การแบ่งปันลาภที่ได้มาโดยธรรม5.มีศีลเสมอกัน ศีลไม่ทะลุไม่ด่างพร้อย 6.มีทิฏฐิอันประเสริฐ คือรู้เจาะจงในอริยสัจ 4
  • 22. ความฉลาดในธาตุ และอายตนะ [6722-3d]

    57:01
    การทำอะไรซ้ำๆ ย้ำๆ อยู่บ่อยๆ จะทำให้เราเกิดความชำนาญในสิ่งนั้น เช่นเดียวกับการพิจารณาใคร่ครวญธรรม ถ้าเราใคร่ครวญทำย้ำๆซ้ำๆ อยู่บ่อยๆ อยู่เรื่อยๆ จะทำให้เกิดปัญญา(ญาณ)รู้ชัดขึ้นมา เป็นผู้ฉลาดรู้แจ้งในธรรมนั้นวิธีการพิจารณาใคร่ครวญโดยความเป็นธาตุ คือ ธาตุ 6 โดยพิจารณาเจาะแยกลงไป แยกออกๆจนเหลือหน่วยเล็กที่สุดและพิจารณาประกอบกันเข้ามาแล้วจึงมีหน่วยใหญ่ขึ้นวิธีการพิจารณาใคร่ครวญโดยความเป็นอายตนะ คืออายตนะภายใน และภายนอกเชื่อมต่อกันทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น โดยพิจารณาจากการที่อาศัยเหตุปัจจัยอื่นปรุงแต่งแล้วจึงเกิดขึ้น มีความไม่เที่ยงเป็นทุกข์เมื่อพิจารณาใคร่ครวญอยู่บ่อยๆจะเกิด “กุสลตา”คือ ความฉลาดรู้แจ้งชัดซึ่งธาตุ และอายตนะ จะเป็นผลทำให้คลายกำหนัด และปล่อยวาง