Share

cover art for ผู้ข้ามถึงฝั่ง [6714-2m]

2 จิตตวิเวก

ผู้ข้ามถึงฝั่ง [6714-2m]

Season 67, Ep. 14

การเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นธรรมในธรรม เราควรหนีจากงูพิษ ซึ่งคือธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม หนีจากเพชฌฆาตคืออุปทานขันธ์ 5 สิ่งใดมากระทบผ่านอายตนะทั้ง6

ก็เห็นด้วยปัญญาว่าเป็นความว่างเปล่า จะหนีจากงูพิษและเพชฌฆาตดังที่พระพุทธเจ้าและเหล่าอรหันต์ท่านได้นำไปก่อนแล้ว โดยปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปดด้วยความมั่นใจ เลื่อมใส

และใช้ความเพียรให้เป็นกำลังของเราตั้งสติไว้ จะข้ามสังสารวัฏนี้ไปให้ถึงนิพพาน พอไปถึงฝั่งโน้นแล้วก็ไม่ควรยึดสิ่งใดๆแล้ว

More episodes

View all episodes

  • 30. ธรรมสองอย่างที่เป็นส่วนแห่งวิชชา [6730-2M]

    59:32
    สมถะวิปัสสนาเป็นธรรมที่คู่กัน เจริญโดยใช้อานาปานสติ สมถะที่เมื่ออบรม ทำให้มากแล้วจิตจะเจริญ ไม่คล้อยเคลื่อนไปตามอารมณ์ ละราคะโทสะโมหะได้ แต่ก็ยังกำเริบได้ จิตต้องมีความเพียรต้องด้วยองค์ประกอบ 7 ประการ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาทิฏฐิ จึงมีกำลังขึ้น จิตเป็นสมาธิวิปัสสนาเกิดเริ่มจากการโยนิโสมนสิการคิดตามระบบของอริยสัจสี่ คือความเห็นที่ถูกต้อง และพิจารณาด้วยจิตที่เป็นสมาธิ มีความสงบทั้งขบวนการนี้เรียกว่าการทำวิปัสสนา ปัญญาจะเกิดที่จิตของเรา ปัญญาคือความรู้ให้เห็นความจริง ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ปัญญาเมื่อเจริญแล้วจะ ละอวิชชาได้ ทำนิพพานให้แจ้ง เห็นความไม่เที่ยง ตัดแม้กระทั่งราก วิชชาเกิด<< Timestamp >>[00:01]: จากลมหายใจสู่สมถะวิปัสสนา[09:43]: สมถะที่เมื่อเจริญแล้ว จิตจะเจริญ[14:24]: สมถะวิปัสสนา ธรรมที่มาคู่กัน ก่อเกิดมรรค[21:43]: วิปัสสนาที่เมื่อเจริญแล้ว ปัญญาจะเจริญ[40:07]: โยนิโสมนสิการคิดมาตามระบบแห่งความเห็นที่ถูกต้อง[44:27]: ปัญญาที่เมื่อเจริญแล้วจะทำนิพพานให้แจ้งได้
  • 29. รู้ทุกข์ด้วยปัญญาอันยิ่ง [6729-2m]

    55:50
    กำหนดรู้ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งจากทุกข์ นั่นคือขันธุ์ 5 ว่ามีสภาวะเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเงื่อนไขปัจจัย ไม่เที่ยง ให้ละเสีย ไม่ควรยึดถือ เริ่มจากวิญญาณการรับรู้ ไม่เพลินไปตามอารมณ์ มีสติ สังเกตและวิริยะ ดำเนินตามระบบแห่งความเข้าใจที่ถูกหลัก หมายถึงระบบของความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ทุกข์ที่เราต้องกำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแท้คืออภิญญา สมุทัยคือเหตุเกิดทุกข์ต้องละ นิโรธต้องทำให้แจ้ง และมรรคคือทางที่ทำให้เกิดความเข้าใจต้องทำให้เจริญ ด้วยความมีอภิญญาในจิตใจของเรา ความมีปัญญาอันยิ่ง รู้วาระจิตของตัวเอง ชนะตนเองจากความชั่วที่อยู่ในจิต จิตจะเกิดความสงบระงับ คืออุปสมายะ จิตมีความรู้ยิ่งคืออภิญญายะ จิตมีความรู้ดีมีความรู้พร้อมคือสัมโพธายะ และจิตมีความเย็น ความนุ่มนวลนั่นคือนิพพานายะ<< Timestamp >>[00:01]: กำหนดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เริ่มที่วิญญาณ[18:22]: ระบบแห่งความจริงอันประเสริฐ[27:07]: สังเกตดูเฉยๆ แยกแยะสามสิ่งที่ห่อหุ้มจิตได้ด้วยสติ[36:05]: สามสิ่งคือ ปรุงแต่งจิตเพื่อ อุปสมายะ อภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ[44:29]: ความรู้อันยิ่งในทุกข์ : ละความยึดถือในขันธ์ห้า
  • 28. จิตนี้ฝึกได้ [6728-2m]

    57:31
    การฝึกจิตซึ่งป็นนาม เป็นของว่าง ไม่มีตัวตน เป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์ โดยเริ่มจากใช้ลมหายใจเป็นฐานที่ตั้งของสติ ฝึกให้สติมีกำลังจะระลึกได้ ไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะมาทำให้เกิดโทษ จิตจะไม่เผลอไม่เพลิน รับรู้และเข้าใจธรรมชาติของทุกข์คือขันธ์5 ยอมรับและเข้าใจ สมุทัยคือตัณหา ให้กำจัดเสีย นิโรธคือความดับไม่เหลือของตัณหา ต้องทำให้แจ้งให้ดับ มรรคคือองค์ประกอบอันประเสริฐ8อย่าง ต้องมีและพัฒนาให้ดีขึ้น เริ่มจากสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ นี่เป็นส่วนของปัญญา เข้าใจทุกข์ให้ดี ทำชีวิตให้เป็นปกติ มีศีล สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ อยู่ในศีลธรรม รักษาศีลให้ดี ไปฝึกจิตให้มีกำลัง มีสัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ประกอบเข้าอยู่ในจิตของเรา ผนังความเป็นตัวตนของเราถูกทำลายเพราะตัณหาหมดไป จิตที่ฝึกดีแล้วด้วยมรรค8 ทำอริยสัจ4ให้เข้าไปในใจของเรา จะนำความสุขมาให้ นั่นคือนิพพาน
  • 27. เห็นธรรมในธรรม [6727-2m]

    57:50
    เห็นธรรมในธรรมโดยเห็นลมผ่านทางกาย ในความเหมือนกันของลมและกาย เห็นส่วนที่ต่างกันจากการปรุงแต่งของการเปลี่ยนแปลงของกายที่ทั้งเหมือนและต่าง เห็นวัฏจักรสู่ความระงับ ฝึกฝนโดยมีสติอยู่กับลม จิตจะสงบระงับเป็นอารมณ์อันเดียว เห็นธรรมชาติที่จิตนั้นปรุงแต่งได้แต่ปลดเปลี้อง และแยกกันคนละส่วน จะเกิดลักษณะของจิตที่จะน้อมเข้าไปเพื่อยึดกิเลสอีกแต่จะเบาบางลงคือการสละคืน ดังนั้นจิต ลม สติให้อยู่ด้วยกัน เห็นกายในกาย เห็นเวทนา เห็นจิต เห็นธรรม คือสติปัฏฐาน 4 ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ เห็นตามสภาพความเป็นจริง ไม่ยึดถือ อยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ คือเห็นอริยสัจ 4
  • 26. พุทธะ ธัมมะ สังฆะ สามสิ่งในสิ่งเดียว [6726-2m]

    58:10
    ระลึกถึงคุณของแก้วสามประการ คือพุทโธ ธัมโม สังโฆ จิดเป็นสมาธิเกิดสติ ทำสติให้มีกำลังและพัฒนาเกิดปัญญา พุทโธแก้วประการที่1 คือผู้รู้ รู้วิธีกำจัดกิเลสออกไปจากใจ ไม่ถูกบีบคั้นด้วย ราคะ โทสะ โมหะ พุทโธมีสามระดับ คือ สัมมาสัมพุทโธ อนุพุทโธ ปัจเจกพุทโธ ธัมโมแก้วประการที่2 คือ ธรรมะที่ทำให้พ้นทุกข์ มีความงดงามในเบื้องต้น คือมีความชอบที่สอดคล้องกัน,ท่ามกลาง คือฟังแล้วทำตามได้ผล และในที่สุด ซึ่งเป็นปัญญา วิชชา กำจัดอวิชชากิเลสตัณหาไม่ต้องกลับมาเกิดอีก สังโฆแก้วประการที่3 ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า แก้วรัตนะ เป็นสายเส้นแห่งการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์แปด เกิดความรู้อริยสัจสี่
  • 25. เห็นกายในกาย [6725-2m]

    57:20
    มีสติให้รู้ชัด ว่าหายใจเข้าหรือออก ไม่ต้องตามลม ให้ตั้งสติไว้จุดที่สัมผัสลมได้ การเห็นลมคือการเห็นกายอย่างนึง เป็นหนึ่งในที่ตั้งของสติ สติคือความไม่เผลอไม่เพลิน แต่เราต้องเห็นกายในกายให้ถูกต้อง คือเห็นด้วยสัมมาสติ เห็นกายเป็นของปฏิกูล ขั้นตอนที่หนึ่ง เห็นลมเราไม่ต้องตามลม ขั้นตอนที่สองไม่เผลอไม่เพลินไปตามสิ่งที่ได้รับรู้และสัมผัสต้องคิดเป็นระบบ เรียกว่าการพิจารณา พิจารณาด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เรียกว่า ทำวิปัสสนา พิจารณาไล่เรียงไปทีละส่วนก็ได้ พิจารณาเป็นของปฏิกูล เพื่อละความยึดถือ ให้เห็นตามความเป็นจริง ไม่ยึดถือก็ไม่ทุกข์ จิตที่ไม่เกิด ความตายก็ไม่เกิด ปัญญาเกิดขึ้น อวิชชาดับ ตัณหาก็ดับ ความยึดถือก็ดับไปด้วย ไม่มีการเกิดอีก ให้รักษาสภาวะ สมถะ วิปัสสนานี้ไว้ให้ดี
  • 24. ศึกษาฝึกฝนจากลมหายใจ [6724-2m]

    57:55
    เจริญอานาปานสติ เกิดความรู้ตัว พร้อมเฉพาะคือ มีสติ สัมปชัญญะรู้ลมหายใจ, ให้เห็น กาย เวทนา จิต ธรรม, โดยสังเกตุลมหายใจเข้า-ออกในกาย คือ เห็นกายในกาย, สังเกตุเวทนาในกาย เวทนาในจิตคือ เห็นเวทนาในเวทนา, จิตสงบตั้งมั่นจากสมาธิ คือเห็นจิตในจิต, เกิดปัญญา เห็นทุกขลักษณะ เห็นความไม่เที่ยงของจิต จึงวางความยึดถือในจิตว่าเป็นตัวตน เกิดความดับคือเห็นธรรมในธรรม เห็นอย่างนี้จะเกิดการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นแน่นอน.
  • 23. สติกับอนุสัย [6723-2m]

    55:28
    หายใจแรง ๆ สองสามครั้ง กำหนดรู้ถึงลมรับรู้ถึงสัมผัสได้ที่ตรงไหน เอาจิตมาจดจ่อตั้งเอาไว้ที่นี่และหายใจธรรมดา กำหนดอยู่กับลม ณ ตรงตำแหน่งที่เราสัมผัสได้ตอนแรก มีสติสัมปัญชัญญะ เมื่อสติมีกำลังมากขึ้นตามกระบวนการของการเจริญอานาปานสติ จิตจะมีกำลังมากขึ้น การรับรู้เกิดขึ้นได้แต่ไม่ตามไป รู้สึกพอใจก็เป็น ราคานุสัย รู้สึกไม่พอใจก็เป็นปฏิฆานุสัย กำจัดอนุสัยออกด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เกิดสติสัมปชัญญะเห็นตามความเป็นจริง มีวิชาเกิดปัญญา ละอวิชานุสัยได้ เห็นว่าไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้ สิ่งใดไม่เที่ยงไม่ควรไปยึดถือ นิโรธมีได้ความดับเกิดขึ้นได้
  • 22. การพิจารณาปัจจัยในภายใน [6722-2m]

    53:19
    เมื่อเกิดความพอใจ ไม่พอใจ ความหลง ความไม่รู้ ให้ใคร่ครวญธรรมโดยการพิจารณาปัจจัยในภายใน เข้าใจเหตุให้ถูกต้องจะสาวไปถึงปัจจัยต้นตอเงื่อนไขของมันได้ ตามระบบอริยสัจ4 และลงมือปฏิบัติตามมรรค8 ซึ่งมีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่างเป็นหลัก แต่ถ้าเราหลงไปยึดถือ เกิดความรู้สึกและตัณหามากมายรวมเรียกว่า อุปธิ ก็จะพาให้ทุกข์ จึงต้องมีสติตั้งไว้เสมอ ไม่ตามตัณหาไป เห็นในความเป็นอนัตตา เห็นโทษของมัน ใช้หลักธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน ใคร่ครวญให้ถูกทาง ต้องมาจบที่มรรค 8 และควรทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งเป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงในที่สุด