Share

cover art for ผู้เห็นจิตในจิต  [6701-2m]

2 จิตตวิเวก

ผู้เห็นจิตในจิต [6701-2m]

Season 67, Ep. 1

สู่โพชฌงค์เจ็ดด้วยการเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฎฐาน ซึ่งเป็นหนึ่งในสติปัฎฐานสี่ คือเห็นจิตในจิตจากการปรุงแต่ง หมายถึงสังเกตดูว่าจิตของเราเป็นอย่างไร เกิดเป็นสติที่ตั้งไว้

สังเกตทีละน้อยทีละน้อย และใช้ความรู้ที่เป็นกุศลในการแยกแยะจิตออกจากการปรุงแต่งของจิต ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อทำสติของเราให้มีกำลังเพิ่มขึ้น เกิดเป็นสมาธิซึ่งก็คือความที่จิตเป็นอารมณ์อันเดียว ตั้งมั่น เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์และเกิดปัญญาที่เป็นความรู้ความเข้าใจ เป็นสัมมาทิฎฐิในที่สุด


More episodes

View all episodes

  • 20. วิธีทำจิตให้สงบ [6720-2m]

    01:00:21
    หลักการที่ควรรู้ทำให้ละเอียดลงไปคือ เมื่อตริตรึกไปในอารมณ์ใดๆมาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ เมื่อเข้าใจหลักการนี้ ก็สามารถเริ่มวิธีการทำจิตให้สงบจากความฟุ้งซ่านได้ โดยผูกจิตไว้ที่สติดุจผูกสัตว์ทั้ง 6 ไว้ที่เสา ไม่ให้ไปตามช่องทางของสิ่งที่มากระตุ้น รับรู้แต่ไม่ตามไป ไม่เพลินไปตามทั้งในสิ่งที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ สติจะเป็นตัวแยกจิตออกจากการรับรู้ จิตไม่ใช่ความคิด ลิงกับป่าเป็นคนละอันกัน เมื่อมีสติย่อมไม่ลืมไม่เพลินไม่เผลอ ความรู้จะค่อยปรากฎขึ้นว่าจิตนี้ไม่ใช่ของเรา
  • 19. หยุดอวิชชาด้วยอนัตตา [6719-2m]

    58:12
    จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติคือเพื่อไม่ยึดถือ เริ่มการปฏิบัติได้โดยตั้งสติและมีศีลเป็นพื้นฐาน ตั้งสติเอาไว้ให้เห็นจิตในจิต เห็นการปรุงแต่งของจิต สติจะระงับจิตตสังขารลงเรื่อยๆ ทำจิตให้สงบด้วยสติ เมื่อจิตที่เป็นประภัสสร พบว่าแม้แต่จิตก็เปลี่ยนแปลงตามสิ่งต่างๆที่เร้าทั้งมรรคและสมุทัย เห็นตามความเป็นจริงช้อนี้คือเรื่องของไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำให้เกิดปัญญาเห็นความไม่เที่ยงเพราะการปรุงแต่ง เกิดวิชชาหยุดอวิชชาด้วยอนัตตาเป็นประตูสู่นิพพาน
  • 18. เห็นกายด้วยปัญญาผ่านลมหายใจ [6718-2m]

    57:54
    เห็นกายด้วยความน่าอัศจรรย์ผ่านลมหายใจ สังเกต ณ จุดเดียว นั่นคือกายคตาสติ ฝึกฝนให้ระงับการปรุงแต่งกายและใจที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลสโดยปฏิบัติตามมรรคแปด จิตลมสติอยู่ด้วยกันจะไกลจากกิเลสแต่เมื่อใดที่สติและสมาธิอ่อนกำลังลงจะไปยึดสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งที่เป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นอนัตตา จึงต้องทำปัญญาขั้นที่2 ได้แก่ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา เพื่อความหลุดพ้น
  • 17. อย่าเป็นผู้ร้อนใจในภายหลัง [6717-2m]

    54:49
    ตั้งจิตไว้ตรงจุดเมล็ดพันธุ์แห่งความดีเรียนรู้จากประสบการณ์ เจริญพุทธานุสติ กล้าเผชิญหน้ากับกิเลสซึ่งมีอยู่รอบทิศทาง ทำความเพียรอย่างเร่งด่วนจะเกิดกุศลธรรม มีสติสัมปชัญญะ เดินตามทางมรรคแปด จะไม่เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลัง ดังที่พระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวไว้ มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย
  • 16. นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร [6716-2m]

    58:08
    เจริญวิราคสัญญานิโรธสัญญา ผ่านพุทธานุสสติ จิตเป็นสมาธิ ละเอียดขึ้น ๆ จนเหลือแต่อุเบกขา ไม่มีวิตกวิจารณ์ ไม่มีปีติสุข ทำสมาธิให้มีความชำนาญจะเห็นอาพาธ ของวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข จึงปล่อย คลายกำหนัดสิ่งนั้นเสียนั่นคือวิราคสัญญา จึงนำมาซึ่งความดับคือนิโรธสัญญา เมื่อปล่อย คลายออก จึงเป็นความดับ เมื่อดับจึงเป็นสุข เป็นนิพพานได้อย่างนี้ ความไม่มี หรือมีน้อยลง น้อยลง จึงนำมาซึ่งความเจริญได้ อย่างนี้นั่นเอง
  • 15. ทางแห่งความพ้น [6715-2m]

    59:46
    เริ่มจากศรัทธาว่ามีทางที่จะพ้นทุกข์ได้ กำหนดสติอยู่กับลมหายใจเข้าออกด้วยความเพียร จิตจะรวมลงเป็นสมาธิซึ่งยังต้องอาศัยศีลเป็นตัวผลักดัน กิเลสจะลดลง ไม่ยึดถือขันธ์5 ยึดถือตรงไหนทุกข์อยู่ที่ตรงนั้น คิดเรื่องอะไรมากๆ จิตนั้นจ่อเข้าสิ่งนั้นมีพลังทันที เอาตรงนี้มาใช้ประโยชน์ โดยจดจ่ออยู่กับลมหายใจ สติเราก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้น เดินตามทางอันประเสริฐ8อย่าง ละความยึดถือได้ ดับเหตุแห่งทุกข์ ความเข้าใจเรื่องอริยสัจ 4 สุดทางนี้มันคือทางให้พ้นจากความทุกข์นั้นคือนิพพาน
  • 14. ผู้ข้ามถึงฝั่ง [6714-2m]

    57:45
    การเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นธรรมในธรรม เราควรหนีจากงูพิษ ซึ่งคือธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม หนีจากเพชฌฆาตคืออุปทานขันธ์ 5 สิ่งใดมากระทบผ่านอายตนะทั้ง6 ก็เห็นด้วยปัญญาว่าเป็นความว่างเปล่า จะหนีจากงูพิษและเพชฌฆาตดังที่พระพุทธเจ้าและเหล่าอรหันต์ท่านได้นำไปก่อนแล้ว โดยปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปดด้วยความมั่นใจ เลื่อมใสและใช้ความเพียรให้เป็นกำลังของเราตั้งสติไว้ จะข้ามสังสารวัฏนี้ไปให้ถึงนิพพาน พอไปถึงฝั่งโน้นแล้วก็ไม่ควรยึดสิ่งใดๆแล้ว
  • 13. สติปัฏฐานสี่หนทางแห่งการดับทุกข์ [6713-2m]

    53:13
    เจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คือระลึกถึงในความที่ท่านเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นผู้มีปัญญา มีความเพียร เป็นการเจริญสติปัฏฐานสี่ ไม่ว่าจะทำอะไรให้ระลึกถึงพุทโธ ทางนี้เป็นทางสายเอก เป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว เกิดสัมมาสติคือความระลึกชอบ เมื่อจิตไม่คล้อยไปตามอารมณ์ จิตเรามีพลัง จิตได้รับการรักษาด้วยสติ เกิดสัมมาสมาธิ ให้จิตอยู่เหนือ พ้นจากความทุกข์ได้ เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงในกาย เห็นความไม่เที่ยงได้
  • 12. ฉลาดในขันธ์ทั้ง 5 [6712-2m]

    56:14
    ต้องฉลาดในขันธ์ทั้งห้าในฐานะทั้งเจ็ด พิจารณาใคร่ครวญโดยวิธีทั้งสาม จากปัญญา 3 ระดับ ที่เมื่อใคร่ครวญให้เกิดปัญญาจากการภาวนาด้วยการเจริญอานาปานสติแล้ว จะให้ถึงความรู้ยิ่งรู้พร้อม คือความพ้นวิเศษได้ ต้องทำบ่อยๆ พิจารณาบ่อยๆ จนเกิดความคลายกำหนัดในขันธ์ทั้งห้า จึงจะเกิดความพ้นได้ จะสามารถทำปัญญาความรู้แจ้ง ความรู้ซึ้ง ความมีปัญญาหลากหลาย จะกระจายเราให้รู้ถึงความเป็นปฏิจจสมุปบาทได้ ทำให้เราพ้นจากความทุกข์ ถึงนิพพาน อันเป็นบรมสุข