Share

cover art for ศรัทธาเกิดได้ด้วยปัญญาสาม [6602-2m]

2 จิตตวิเวก

ศรัทธาเกิดได้ด้วยปัญญาสาม [6602-2m]

Season 66, Ep. 2

ศรัทธาของใครก็ตาม จะต้องเป็นศรัทธาที่มีทรรศนะ คือ มีความเห็น เห็นด้วยตา ด้วยปัญญาอย่างนี้ เป็นมูลเป็นเหตุอย่างนี้ จะเรียกว่า เป็นศรัทธาที่มั่นคง คือ “มีศรัทธาถึงพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว “

จะมีศรัทธาที่มั่นคง ไม่คลอนแคลนได้ ต้องเกิดจากปัญญาสามอย่าง คือ

  1. ปัญญาที่เกิดจากการฟังเรียกว่า สุตมยปัญญา คือ ควรเลือกฟังจากผู้เป็นกัลยาณมิตร หากแต่ความศรัทธายังคลอนแคลนอยู่ได้ จึงต้องเพิ่มในปัญญาที่สอง คือ
  2. ปัญญาที่เกิดจากการใคร่ครวญคิดพิจารณาเรียกว่า จินตามยปัญญา คือ มีวิมังสา ตรวจสอบ พิจารณาเหตุผลคือมีมูลราก แล้วให้เกิดศรัทธา คือ ความเชื่อ ความมั่นใจ ความเลื่อมใส ที่มั่นคงกว่าสุตมยปัญญา หากแต่ยังสามารถเลื่อนไหล ไม่มั่นคง จึงต้องเพิ่มในปัญญาที่สาม คือ
  3. ปัญญาที่เกิดจากการพัฒนา เห็นแจ้งด้วยตัวเองจริงๆ เรียกว่า ภาวนามยปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดจากการภาวนา มีวิริยะ ลงมือทำความเพียร คือ ปรารภกุศล ละอกุศล สติระลึกถึงแต่สิ่งที่เป็นกุศล เกิดโวสสัคคารมณ์ คือ จิตที่มีการปล่อยวางอารมณ์ เกิดสมาธิ จิตตั้งมั่น สามารถรู้ชัดได้ใน สังสารวัฏ เห็นการหมุนวนไปของสิ่งที่เกิดขึ้นและดับไป วนไป ภาวนาจนตัณหาจางคลายไป เป็นความคลายกำหนัด เป็นความเย็น คือนิพพาน คือ เห็นด้วยปัญญา รู้ได้ด้วยปัญญา เกิดความรู้ คือ วิชชาขึ้น เรียกว่าเป็นปัญญา เกิดที่จิตเรา

ศรัทธาที่เกิดแบบนี้เรียกว่า เป็นศรัทธาที่มั่นคง มีมูลรากแล้วลงมือทำ เกิดวิชชา เกิดปัญญา จาก “ภาวนามยปัญญา”

More episodes

View all episodes

  • 18. เห็นกายด้วยปัญญาผ่านลมหายใจ [6718-2m]

    57:54
    เห็นกายด้วยความน่าอัศจรรย์ผ่านลมหายใจ สังเกต ณ จุดเดียว นั่นคือกายคตาสติ ฝึกฝนให้ระงับการปรุงแต่งกายและใจที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลสโดยปฏิบัติตามมรรคแปด จิตลมสติอยู่ด้วยกันจะไกลจากกิเลสแต่เมื่อใดที่สติและสมาธิอ่อนกำลังลงจะไปยึดสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งที่เป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นอนัตตา จึงต้องทำปัญญาขั้นที่2 ได้แก่ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา เพื่อความหลุดพ้น
  • 17. อย่าเป็นผู้ร้อนใจในภายหลัง [6717-2m]

    54:49
    ตั้งจิตไว้ตรงจุดเมล็ดพันธุ์แห่งความดีเรียนรู้จากประสบการณ์ เจริญพุทธานุสติ กล้าเผชิญหน้ากับกิเลสซึ่งมีอยู่รอบทิศทาง ทำความเพียรอย่างเร่งด่วนจะเกิดกุศลธรรม มีสติสัมปชัญญะ เดินตามทางมรรคแปด จะไม่เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลัง ดังที่พระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวไว้ มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย
  • 16. นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร [6716-2m]

    58:08
    เจริญวิราคสัญญานิโรธสัญญา ผ่านพุทธานุสสติ จิตเป็นสมาธิ ละเอียดขึ้น ๆ จนเหลือแต่อุเบกขา ไม่มีวิตกวิจารณ์ ไม่มีปีติสุข ทำสมาธิให้มีความชำนาญจะเห็นอาพาธ ของวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข จึงปล่อย คลายกำหนัดสิ่งนั้นเสียนั่นคือวิราคสัญญา จึงนำมาซึ่งความดับคือนิโรธสัญญา เมื่อปล่อย คลายออก จึงเป็นความดับ เมื่อดับจึงเป็นสุข เป็นนิพพานได้อย่างนี้ ความไม่มี หรือมีน้อยลง น้อยลง จึงนำมาซึ่งความเจริญได้ อย่างนี้นั่นเอง
  • 15. ทางแห่งความพ้น [6715-2m]

    59:46
    เริ่มจากศรัทธาว่ามีทางที่จะพ้นทุกข์ได้ กำหนดสติอยู่กับลมหายใจเข้าออกด้วยความเพียร จิตจะรวมลงเป็นสมาธิซึ่งยังต้องอาศัยศีลเป็นตัวผลักดัน กิเลสจะลดลง ไม่ยึดถือขันธ์5 ยึดถือตรงไหนทุกข์อยู่ที่ตรงนั้น คิดเรื่องอะไรมากๆ จิตนั้นจ่อเข้าสิ่งนั้นมีพลังทันที เอาตรงนี้มาใช้ประโยชน์ โดยจดจ่ออยู่กับลมหายใจ สติเราก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้น เดินตามทางอันประเสริฐ8อย่าง ละความยึดถือได้ ดับเหตุแห่งทุกข์ ความเข้าใจเรื่องอริยสัจ 4 สุดทางนี้มันคือทางให้พ้นจากความทุกข์นั้นคือนิพพาน
  • 14. ผู้ข้ามถึงฝั่ง [6714-2m]

    57:45
    การเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นธรรมในธรรม เราควรหนีจากงูพิษ ซึ่งคือธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม หนีจากเพชฌฆาตคืออุปทานขันธ์ 5 สิ่งใดมากระทบผ่านอายตนะทั้ง6 ก็เห็นด้วยปัญญาว่าเป็นความว่างเปล่า จะหนีจากงูพิษและเพชฌฆาตดังที่พระพุทธเจ้าและเหล่าอรหันต์ท่านได้นำไปก่อนแล้ว โดยปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปดด้วยความมั่นใจ เลื่อมใสและใช้ความเพียรให้เป็นกำลังของเราตั้งสติไว้ จะข้ามสังสารวัฏนี้ไปให้ถึงนิพพาน พอไปถึงฝั่งโน้นแล้วก็ไม่ควรยึดสิ่งใดๆแล้ว
  • 13. สติปัฏฐานสี่หนทางแห่งการดับทุกข์ [6713-2m]

    53:13
    เจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คือระลึกถึงในความที่ท่านเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นผู้มีปัญญา มีความเพียร เป็นการเจริญสติปัฏฐานสี่ ไม่ว่าจะทำอะไรให้ระลึกถึงพุทโธ ทางนี้เป็นทางสายเอก เป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว เกิดสัมมาสติคือความระลึกชอบ เมื่อจิตไม่คล้อยไปตามอารมณ์ จิตเรามีพลัง จิตได้รับการรักษาด้วยสติ เกิดสัมมาสมาธิ ให้จิตอยู่เหนือ พ้นจากความทุกข์ได้ เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงในกาย เห็นความไม่เที่ยงได้
  • 12. ฉลาดในขันธ์ทั้ง 5 [6712-2m]

    56:14
    ต้องฉลาดในขันธ์ทั้งห้าในฐานะทั้งเจ็ด พิจารณาใคร่ครวญโดยวิธีทั้งสาม จากปัญญา 3 ระดับ ที่เมื่อใคร่ครวญให้เกิดปัญญาจากการภาวนาด้วยการเจริญอานาปานสติแล้ว จะให้ถึงความรู้ยิ่งรู้พร้อม คือความพ้นวิเศษได้ ต้องทำบ่อยๆ พิจารณาบ่อยๆ จนเกิดความคลายกำหนัดในขันธ์ทั้งห้า จึงจะเกิดความพ้นได้ จะสามารถทำปัญญาความรู้แจ้ง ความรู้ซึ้ง ความมีปัญญาหลากหลาย จะกระจายเราให้รู้ถึงความเป็นปฏิจจสมุปบาทได้ ทำให้เราพ้นจากความทุกข์ ถึงนิพพาน อันเป็นบรมสุข
  • 11. หนทางสู่ความสำเร็จ [6711-2m]

    59:38
    เมื่อเราพบปัญหา ความทุกข์ ความท้อใจ ความผิดหวัง นั่นแหละคือโอกาสให้เกิดความสุข กำลังใจ ความหวัง โดยการเจริญพุทธานุสติระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าในด้านความเพียรและการใช้ปัญญาบนพื้นฐานของสมาธิ มีศีลเป็นบาทฐานและหลักมัชฌิมาปฏิปทา เห็นอริยสัจ 4 นั่นคือหนทางสู่ความสำเร็จ โอกาสที่จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น และการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในช่วงที่ได้ฟังธรรมะคำสอนของพระองค์เป็นเรื่องยากมาก หากเราได้มีโอกาสพบความมหัศจรรย์ 3 อย่างนี้ หนทางความสำเร็จยังเปิดอยู่ ให้เร่งความเพียร ความสำเร็จเกิดได้ด้วยการมีศรัทธา วิริยะปฏิบัติตามแนวทางอริยมรรคมีองค์ 8 คือ ศีล สติสมาธิ ปัญญา ทางแห่งความสำเร็จเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน
  • 10. พิจารณากายด้วยสติปัญญา [6710-2m]

    53:18
    ร่างกายของเราประกอบด้วยธาตุทั้ง4 (ดินน้ำไฟลม) มีการรับรู้คือวิญญาณ ทำให้เราตอบสนองในรูปแบบการกระทำ ปรุงแต่งไปตามสิ่งที่มากระทบ ผ่านทางอินทรีย์ต่างๆเหล่านั้น เมื่อเกิดความเพลิน ความพอใจไปในสิ่งใดนั้นๆ เราจะยึด และทำให้เกิดทุกข์ แก้ไขด้วยการตั้งสติโดยเจริญกายคตาสติ ผ่านธาตุทั้งสี่คือ ลมไฟน้ำดิน เมื่อจิตเป็นสมาธิ จะเกิดปัญญาเห็นทางออกของปัญหา คือการไม่ยึดถือ ก็จะไม่ทุกข์ ดังนั้นเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐานให้มาก เป็นอานิสงส์ไพศาล เป็นความเคยชินที่เป็นกุศล สะสมเป็นอาสวะที่ดีงาม สู่เส้นทางนิพพาน