Share

cover art for การดับปปัญจสัญญา [6551-2m]

2 จิตตวิเวก

การดับปปัญจสัญญา [6551-2m]

Season 65, Ep. 51

เจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า ให้เกิดสติขึ้น เพื่อที่จะดับ ปปัญจสัญญา

ปปัญจสัญญา คือ อนุสัย หรือกิเลส อันเป็นเครื่องทำความเนิ่นช้า เป็นเครื่องครอบงำ อุปนิสัย สันดาน หรือความเคยชิน

  • ที่เกี่ยวเนื่องกับความชอบใจ คือ ราคานุสัย
  • ที่เกี่ยวเนื่องกับความขัดเคือง ไม่พอใจ คือ ปฏิฆานุสัย
  • ที่เกี่ยวเนื่องกับความคิดผิด คือ ทิฏฐานุสัย
  • ที่เกี่ยวเนื่องกับในลักษณะที่ตั้งคำถาม เคลือบแคลง ไม่ลงใจ คือ วิจิกิจฉานุสัย
  • ชนิดที่ถือตัว หมิ่นท่าน เรียกว่า มานานุสัย
  • ชนิดที่เป็นตัวตนขึ้นมา คือ ภวราคานุสัย คือ การกำหนัดติดในภพ การพอใจในฐานะ ตำแหน่ง
  • ความไม่รู้ ไม่เห็นจริงตามความเป็นจริงในสิ่งทั้งหลาย คือ อวิชชานุสัย

เมื่อมีผัสสะเข้ามาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะเกิด เวทนา และเกิดอนุสัย ความเคยชินต่างๆ ต่อเวทนานั้น ไม่ว่าเป็นความ พอใจ ไม่พอใจ ความถูก ความผิด ความขัดเคือง ความสงสัย เกิดความเป็นตัวตน เหล่านี้ ถือเป็น มิจฉา คือ มีกิเลสเพิ่มขึ้น จิตไม่สงบ “การดับปปัญจสัญญานี้ได้ ก็คือ ดับตามเหตุของมัน” นั่นเอง

คือ ต้องมี “สติ” ทีจะแยกแยะสิ่งที่มากระทบ ว่า เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน

เมื่อไม่เกิดเวทนาใดๆ เพราะเห็นตามความเป็นจริง ก็ไม่เกิดเวทนาที่จะไป เนิ่นช้า ไปแช่ให้ถูกครอบงำ อนุสัยก็ไม่เกิด ปปัญจสัญญาก็ดับ

ก็จะอยู่เหนือเวทนา เหนือสุข เหนือทุกข์ คือ พ้น หรือแยกจากกัน คือ วิมุตตินั่นเอง

More episodes

View all episodes

  • 20. วิธีทำจิตให้สงบ [6720-2m]

    01:00:21
    หลักการที่ควรรู้ทำให้ละเอียดลงไปคือ เมื่อตริตรึกไปในอารมณ์ใดๆมาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ เมื่อเข้าใจหลักการนี้ ก็สามารถเริ่มวิธีการทำจิตให้สงบจากความฟุ้งซ่านได้ โดยผูกจิตไว้ที่สติดุจผูกสัตว์ทั้ง 6 ไว้ที่เสา ไม่ให้ไปตามช่องทางของสิ่งที่มากระตุ้น รับรู้แต่ไม่ตามไป ไม่เพลินไปตามทั้งในสิ่งที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ สติจะเป็นตัวแยกจิตออกจากการรับรู้ จิตไม่ใช่ความคิด ลิงกับป่าเป็นคนละอันกัน เมื่อมีสติย่อมไม่ลืมไม่เพลินไม่เผลอ ความรู้จะค่อยปรากฎขึ้นว่าจิตนี้ไม่ใช่ของเรา
  • 19. หยุดอวิชชาด้วยอนัตตา [6719-2m]

    58:12
    จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติคือเพื่อไม่ยึดถือ เริ่มการปฏิบัติได้โดยตั้งสติและมีศีลเป็นพื้นฐาน ตั้งสติเอาไว้ให้เห็นจิตในจิต เห็นการปรุงแต่งของจิต สติจะระงับจิตตสังขารลงเรื่อยๆ ทำจิตให้สงบด้วยสติ เมื่อจิตที่เป็นประภัสสร พบว่าแม้แต่จิตก็เปลี่ยนแปลงตามสิ่งต่างๆที่เร้าทั้งมรรคและสมุทัย เห็นตามความเป็นจริงช้อนี้คือเรื่องของไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำให้เกิดปัญญาเห็นความไม่เที่ยงเพราะการปรุงแต่ง เกิดวิชชาหยุดอวิชชาด้วยอนัตตาเป็นประตูสู่นิพพาน
  • 18. เห็นกายด้วยปัญญาผ่านลมหายใจ [6718-2m]

    57:54
    เห็นกายด้วยความน่าอัศจรรย์ผ่านลมหายใจ สังเกต ณ จุดเดียว นั่นคือกายคตาสติ ฝึกฝนให้ระงับการปรุงแต่งกายและใจที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลสโดยปฏิบัติตามมรรคแปด จิตลมสติอยู่ด้วยกันจะไกลจากกิเลสแต่เมื่อใดที่สติและสมาธิอ่อนกำลังลงจะไปยึดสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งที่เป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นอนัตตา จึงต้องทำปัญญาขั้นที่2 ได้แก่ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา เพื่อความหลุดพ้น
  • 17. อย่าเป็นผู้ร้อนใจในภายหลัง [6717-2m]

    54:49
    ตั้งจิตไว้ตรงจุดเมล็ดพันธุ์แห่งความดีเรียนรู้จากประสบการณ์ เจริญพุทธานุสติ กล้าเผชิญหน้ากับกิเลสซึ่งมีอยู่รอบทิศทาง ทำความเพียรอย่างเร่งด่วนจะเกิดกุศลธรรม มีสติสัมปชัญญะ เดินตามทางมรรคแปด จะไม่เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลัง ดังที่พระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวไว้ มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย
  • 16. นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร [6716-2m]

    58:08
    เจริญวิราคสัญญานิโรธสัญญา ผ่านพุทธานุสสติ จิตเป็นสมาธิ ละเอียดขึ้น ๆ จนเหลือแต่อุเบกขา ไม่มีวิตกวิจารณ์ ไม่มีปีติสุข ทำสมาธิให้มีความชำนาญจะเห็นอาพาธ ของวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข จึงปล่อย คลายกำหนัดสิ่งนั้นเสียนั่นคือวิราคสัญญา จึงนำมาซึ่งความดับคือนิโรธสัญญา เมื่อปล่อย คลายออก จึงเป็นความดับ เมื่อดับจึงเป็นสุข เป็นนิพพานได้อย่างนี้ ความไม่มี หรือมีน้อยลง น้อยลง จึงนำมาซึ่งความเจริญได้ อย่างนี้นั่นเอง
  • 15. ทางแห่งความพ้น [6715-2m]

    59:46
    เริ่มจากศรัทธาว่ามีทางที่จะพ้นทุกข์ได้ กำหนดสติอยู่กับลมหายใจเข้าออกด้วยความเพียร จิตจะรวมลงเป็นสมาธิซึ่งยังต้องอาศัยศีลเป็นตัวผลักดัน กิเลสจะลดลง ไม่ยึดถือขันธ์5 ยึดถือตรงไหนทุกข์อยู่ที่ตรงนั้น คิดเรื่องอะไรมากๆ จิตนั้นจ่อเข้าสิ่งนั้นมีพลังทันที เอาตรงนี้มาใช้ประโยชน์ โดยจดจ่ออยู่กับลมหายใจ สติเราก็จะมีกำลังเพิ่มขึ้น เดินตามทางอันประเสริฐ8อย่าง ละความยึดถือได้ ดับเหตุแห่งทุกข์ ความเข้าใจเรื่องอริยสัจ 4 สุดทางนี้มันคือทางให้พ้นจากความทุกข์นั้นคือนิพพาน
  • 14. ผู้ข้ามถึงฝั่ง [6714-2m]

    57:45
    การเจริญธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นธรรมในธรรม เราควรหนีจากงูพิษ ซึ่งคือธาตุทั้ง 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม หนีจากเพชฌฆาตคืออุปทานขันธ์ 5 สิ่งใดมากระทบผ่านอายตนะทั้ง6 ก็เห็นด้วยปัญญาว่าเป็นความว่างเปล่า จะหนีจากงูพิษและเพชฌฆาตดังที่พระพุทธเจ้าและเหล่าอรหันต์ท่านได้นำไปก่อนแล้ว โดยปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปดด้วยความมั่นใจ เลื่อมใสและใช้ความเพียรให้เป็นกำลังของเราตั้งสติไว้ จะข้ามสังสารวัฏนี้ไปให้ถึงนิพพาน พอไปถึงฝั่งโน้นแล้วก็ไม่ควรยึดสิ่งใดๆแล้ว
  • 13. สติปัฏฐานสี่หนทางแห่งการดับทุกข์ [6713-2m]

    53:13
    เจริญพุทธานุสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า คือระลึกถึงในความที่ท่านเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นผู้มีปัญญา มีความเพียร เป็นการเจริญสติปัฏฐานสี่ ไม่ว่าจะทำอะไรให้ระลึกถึงพุทโธ ทางนี้เป็นทางสายเอก เป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว เกิดสัมมาสติคือความระลึกชอบ เมื่อจิตไม่คล้อยไปตามอารมณ์ จิตเรามีพลัง จิตได้รับการรักษาด้วยสติ เกิดสัมมาสมาธิ ให้จิตอยู่เหนือ พ้นจากความทุกข์ได้ เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงในกาย เห็นความไม่เที่ยงได้
  • 12. ฉลาดในขันธ์ทั้ง 5 [6712-2m]

    56:14
    ต้องฉลาดในขันธ์ทั้งห้าในฐานะทั้งเจ็ด พิจารณาใคร่ครวญโดยวิธีทั้งสาม จากปัญญา 3 ระดับ ที่เมื่อใคร่ครวญให้เกิดปัญญาจากการภาวนาด้วยการเจริญอานาปานสติแล้ว จะให้ถึงความรู้ยิ่งรู้พร้อม คือความพ้นวิเศษได้ ต้องทำบ่อยๆ พิจารณาบ่อยๆ จนเกิดความคลายกำหนัดในขันธ์ทั้งห้า จึงจะเกิดความพ้นได้ จะสามารถทำปัญญาความรู้แจ้ง ความรู้ซึ้ง ความมีปัญญาหลากหลาย จะกระจายเราให้รู้ถึงความเป็นปฏิจจสมุปบาทได้ ทำให้เราพ้นจากความทุกข์ ถึงนิพพาน อันเป็นบรมสุข