Share

cover art for อยู่เหนือโลกธรรมแปด [6750-6t]

6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก

อยู่เหนือโลกธรรมแปด [6750-6t]

Season 67, Ep. 50

โลกธรรม 8 เป็นสิ่งที่มีปรากฎอยู่บนโลกและอยู่คู่กับโลกเป็นธรรมดา มีลักษณะครอบงำสัตว์โลกให้ยินดีหรือยินร้ายไปตามกระแสของโลก ประกอบด้วย 8 ประการ ได้แก่ 1) ลาภ 2) เสื่อมลาภ 3) ยศ 4) เสื่อมยศ 5) นินทา 6) สรรเสริญ 7) สุข 8) ทุกข์ โดยใน

 

#5_ปฐมโลกธัมมสูตร_ว่าด้วยโลกธรรม สูตรที่ 1 ในคาถาท้ายพระสูตรได้กล่าวถึง โลกธรรม 8 เป็นสิ่งธรรมดาที่มีอยู่ในมนุษย์ ล้วนมีความไม่เที่ยง ผู้ใดมีปัญญาเห็นตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมไม่ยึดถือหรือยินดียินร้ายไปตาม จิตจึงไม่ถูกโลกธรรมย่ำยี่หรือครอบงำ เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งพระนิพพาน

 

#6_ทุติยโลกธัมมสูตร_ว่าด้วยโลกธรรม สูตรที่ 2 มีความหมายเดียวกันกับพระสูตรที่ 1 แต่ได้ยกอธิบายความแตกต่างระหว่างปุถุชนผู้ยังไม่ได้สดับและอริยสาวกผู้ได้สดับซึ่งจิตของอริยสาวกผู้ได้สดับจะรู้ชัดตามความเป็นจริงจิตจึงไม่ถูกครอบงำด้วยโลกธรรม 8

 

#7_เทวทัตตวิปัตติสูตร_ว่าด้วยวิบัติของพระเทวทัต ได้ปรารภเทวทัตถูกอสัทธรรม 8 ประการครอบงำจิต จึงต้องไปเกิดในอบาย นรก ดำรงอยู่ชั่วกัป แก้ไขไม่ได้ เพราะทำสงฆ์ให้แตกกันเป็นอนันตริยกรรม อสัทธรรม 8 ประการได้แก่ ถูกลาภ-ความเสื่อมลาภ ยศ-ความเสื่อมยศ การสักการะ-เสื่อมสักการะ ปรารถนาชั่วและมีมิตรชั่วครอบงำจิต

 

#8_อุตตรวิปัตติสูตร_ว่าด้วยพระอุตตระแสดงธรรมเรื่องวิบัติ ข้อธรรมเหมือนกับเทวทัตตวิปัตติสูตร แต่เป็นเรื่องราวของท่านพระอุตตระได้แสดงธรรมถึงความวิบัติและสมบัติโดยได้ยกเคสของพระเทวทัตที่วิบัติเพราะถูกอสัทธรรม 8 ประการครอบงำจิต


*ประเด็น ความวิบัติหรือสมบัติไม่ได้ดูจาก สุข หรือ ทุกข์ แต่ดูได้จากเมื่ออยู่กับโลกธรรมแล้วเห็นตามความเป็นจริงได้หรือไม่ คือ เห็นสุขหรือทุกข์เป็นของไม่เที่ยง แล้ววางความยึดถือในโลกธรรมนั้น จิตจะพ้นจะอยู่เหนือโลกธรรม

  

พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เมตตาวรรค

More episodes

View all episodes

  • 1. พระพุทธเจ้าทรงแก้ข้อสงสัยของเวรัญชพราหมณ์ [6801-6t]

    53:36||Season 68, Ep. 1
    เรื่องราวทั้ง 2 พระสูตรนี้ เป็นรื่องราวที่พระพุทธเจ้าทรงได้กล่าวแก้ถ้อยคำที่ถูกกล่าวหาจากพวกอัญเดียรถีย์ โดยได้ทรงแสดงไว้ กับเวรัญชพราหมณ์ใน เวรัญชสูตร และสีหเสนาบดีใน สีหสูตร ซึ่งมีเนื้อหาถึง 8 ประการด้วยกันโดยในข้อที่ #11_เวรัญชสูตร เวรัญชพราหมณ์ได้เข้ามากราบทูลถามถึงข้อสงสัยในแต่ละประเด็นและพระองค์ก็ได้ทรงตรัสแก้ข้อสงสัยเหล่านั้นแก่เวรัญชพราหมณ์ โดยมีประเด็นที่กล่าวถึงดังนี้1.    พระพุทธเจ้าเป็นคนไม่มีรส (สัมมาคารวะ) ทรงตรัสแก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราละรสคือรูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะได้หมดสิ้น”2.    ไม่มีสมบัติ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะตถาคตละสมบัติคือรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะได้หมดสิ้น”3.    สอนไม่ให้ทำ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราสอนไม่ให้ทำกาย-วาจา-ใจทุจริต และไม่ให้ทำบาปอกุศลธรรมต่างๆ”4.    สอนให้ทำลาย ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราสอนให้ทำลายราคะ โทสะ โมหะ และบาปอกุศลธรรมต่างๆ”5.    ช่างรังเกียจ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราช่างรังเกียจกาย-วาจา-ใจทุจริต และรังเกียจบาปอกุศลธรรมต่างๆ”6.    ช่างกำจัด ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราแสดงธรรมเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ และบาปอกุศลธรรมต่างๆ”7.    ช่างเผาผลาญ ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเรากล่าวถึงบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย คือ กาย-วาจา-ใจทุจริตว่าเป็นสิ่งที่ควรเผาผลาญ”8.    เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด ..แก้ว่า “จริงอยู่ เพราะเราเรียกคนที่ละการอยู่ในครรภ์ และการเกิดใหม่ได้หมดสิ้นว่า เป็นคนไม่ผุดไม่เกิด”ข้อที่ #12_สีหสูตร สีหเสนาบดีได้ยินคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จากพวกเจ้าลิจฉวีจึงปราถนาจะไปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และเพราะตนเป็นสาวกของพวกนิครนถ์ จึงถูกนิครนถ์ นาฏบุตรห้ามไว้ถึง 2 ครั้ง และในครั้งที่ 3 ก็ไปเข้าเฝ้าได้สำเร็จ จึงได้สอบถามถึงข้อสงสัยที่ว่า “ พระสมณโคดมเป็นผู้สอนไม่ให้ทำ มีข้อเท็จจริงอย่างไร ? ”แล้วพระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงแสดงธรรมตรัสแก้ข้อกล่าวหาที่มีนัยยะใกล้เคียงกับเวรัญชสูตรแต่แตกต่างกันอยู่ 2 ประการ แล้วหลังจากที่สีหเสนาบดีได้ฟังธรรมแล้วก็ได้ประกาศตนเป็นอุบาสกแต่ด้วยตนเป็นบุคคลมีชื่อเสียงพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงให้สีหเสนาบดีคิดทบทวนให้ดีเสียก่อน แต่ด้วยความปลื้มปิติที่มีจึงได้ประกาศตนถึง 3 ครั้งด้วยกัน และพระองค์ก็ได้ทรงแสดงอนุปุพพีกถาและสามุกกังสิกเทศนา(อริยสัจ 4)แก่สีหเสนาบดีจนได้บรรลุเป็นโสดาบันพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต มหาวรรค
  • 52. ส่งท้ายปี 67- นำธรรมมาทบทวน [6752-6t]

    58:30||Season 67, Ep. 52
    ทบทวนหมวดธรรม 7 ประการ (สัตตกนิบาต) ในปี 2567 #15_อุทกูปมาสูตร อุปมาอุปไมยเปรียบเทียบคนตกน้ำกับบุคคล 7 จำพวก โดยไล่ตามลำดับตั้งแต่ปุถุชนไปจนถึงอริยบุคคลประเภทต่างๆ#16_อนิจจานุปัสสีสูตร กล่าวถึงอนาคามี 7 ประเภท#วัชชิสัตตกวรรค เป็นเรื่องราวของชาวเมืองวัชชี (พวกเจ้าลิจฉวี) ในกรุงเวสาลี และพระเจ้าอชาตศัตรูกับวัสสการพราหมณ์ในแคว้นมคธ โดยได้กล่าวถึงหลักธรรมที่ชาวเมืองวัชชีถือปฏิบัติกันมาได้แก่ อปริหานิยธรรม คือธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความเจริญโดยส่วนเดียว โดยได้แสดงไว้หลายนัยยะด้วยกัน#30_วิปัตติสูตร_#31_ปราภวสูตร ว่าด้วยวิบัติและสมบัติของอุบาสก ความวิบัติหรือสมบัตินี้หมายถึงความเสื่อมหรือความเจริญของคุณธรรมนั่นเอง#36_#37_ปฐม_ทุติยมิตตสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมิตร-เพื่อนที่ควรเสพคบหามี 7 ประการ#40_#41_ปฐม_ทุติยวสสูตร ธรรมที่เป็นเหตุให้มีอำนาจเหนือจิต ไม่ให้จิตไปตามอำนาจของผัสสะที่มากระทบ การฝึกจิตให้มีกำลังด้วยการทำสมาธิให้มีความชำนาญในขั้นต่างๆ#44_สัตตวิญญาณัฏฐิติสูตร ว่าด้วยวิญญาณฐิติ 7 ประการ (ฐานที่ตั้งแห่งวิญญาณ) และ #45_สมาธิปริกขารสูตร ว่าด้วยบริขารแห่งสมาธิ (มรรค 7 ประการแรก) เมื่อสมาธิมีกำลังจะสามารถแยกจิตออกจากรูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญญาณได้#46_#47_ปฐม_ทุติยอัคคิสูตร ไฟ และ การบูชายัญ#48_#49_ปฐม_ทุติยสัญญาสูตร สัญญา 7 ประการที่ทำให้จิตหลุดพ้นได้#50_เมถุนสูตร ว่าด้วยเมถุนสังโยค ปรารภเพศตรงข้าม / #52_ทานมหัปผลสูตร ทานที่ให้ผลมาก#53_นันทมาตาสูตร / #57_สีหเสนาปติสูตร / #61_ปลายมานสูตร ว่าด้วยอุบายแก้ความง่วง #63_ภริยาสูตร ภรรยา 7 จำพวก / #64_โกธนสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้มักโกรธ / #66_ สัตตสุริยสูตร ว่าด้วยดวงอาทิตย์ 7 ดวง / #67_นคโรปมสูตร ว่าด้วยธรรมเปรียบด้วยเครื่องป้องกันนคร / #71_ภาวนาสูตร ว่าด้วยภาวนา / #72_อัคคิกขันโธปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยกองไฟพระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 
  • 51. สมณะแกลบ [6751-6t]

    55:41||Season 67, Ep. 51
    #9_นันทสูตร_ว่าด้วยพระนันทะ พระนันทเถระ มีศักดิ์เป็นน้องชายต่างมารดาของพระพุทธเจ้า ท่านออกบวชในวันที่ท่านจะอภิเษกสมรสกับนางชนบทกัลยาณี ท่านบวชเพราะความจำใจ จึงไม่ได้มีความตั้งใจในการที่ปฏิบัติธรรมและมีความกระสันใคร่อยากจะลาสิกขาอยู่เสมอ แต่ด้วยอุบายของพระพุทธเจ้าและความละอายต่อคำว่า “บวชเพราะรับจ้าง” ท่านจึงได้สติแล้วตั้งใจบำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระอรหันต์และได้รับการยกย่องเป็นเอตทัคคะในด้าน “ผู้ทรงอินทรีย์สังวร”ในนันทสูตรนี้ได้ยกถึงสมญานามของท่านนันทะไว้ 4 อย่าง ได้แก่ กุลบุตร (ชาติตระกูลดี), ผู้มีกำลัง, ผู้น่ารัก (รูปงาม), ผู้มีราคะจัด และได้ยกถึงหลักธรรม 4 ประการที่เมื่อพระนันทะปฏิบัติแล้วจะเข้าถึงบริสุทธิ์บริบูรณ์แห่งพรหมจรรย์ได้ หลักธรรม 4 ประการได้แก่ การสำรวมอินทรีย์ (ในบริบทนี้ให้ดูทิศ), การรู้ประมาณในการบริโภค, ประกอบความเพียรเครื่องตื่น (ดับนิวรณ์), มีสติสัมปชัญญะ (เห็นการเกิด-ดับในเวทนา สัญญา และสังขาร) “เรือนที่มุงไม่ดี ฝนย่อมรั่วรดได้ฉันใด จิตที่ยังมิได้อบรมให้ดี ก็ฉันนั้น ราคะย่อมเสียดแทงได้ ส่วนเรือนที่มุงดี ฝนย่อมรั่วรดไม่ได้ฉันใด จิตที่อบรมดีแล้วก็ฉันนั้น ราคะย่อมเสียดแทงไม่ได้” #10_การัณฑวสูตร_ว่าด้วยสมณะหยากเยื่อ การกล่าวถึงวิธีการที่จะปฏิบัติกับภิกษุผู้ปกปิดอาบัติของตน (วิธีการที่พระใช้ลงโทษพระ) โดยได้อุปมาอุปไมยเปรียบด้วย หญ้าที่ทำลายต้นข้าว, การฝัดข้าวเปลือกเม็ดลีบ, ต้นไม้ที่เป็นโพลงเสียโดยให้กำจัดออกเสีย เปรียบเทียบกับภิกษุเมื่อทำผิดก็ต้องรับผิดไปตามบทวินัยเพื่อรักษาหมู่ภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและความเจริญงดงามแห่งพระศาสนา พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15 [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เมตตาวรรค
  • 49. เหตุให้เป็นที่รัก [6749-6t]

    57:24||Season 67, Ep. 49
    #1_เมตตาสูตร_ว่าด้วยอานิสงส์แห่งเมตตาเจโตวิมุตติ บุคคลเสพ เจริญ ทำให้มากแล้วซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติ (หมายถึง เมตตาที่เกิดจากจิตที่มีอารมณ์เป็นสมาธิของฌาน 3-4 และมีความพ้นจากนิวรณ์ 5 ประการ) และทำให้เป็นดุจยานแล้ว (ชำนาญ) ย่อมได้อานิสงส์ 8 ประการ คือ หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้ายเป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ เทวดารักษา ไฟ ยาพิษ หรือศัสตราไม่กล้ำกราย เมื่อยังไม่ถึงอรหัตตผลย่อมเข้าถึงพรหมโลก #2_ปัญญาสูตร_ว่าด้วยเหตุปัจจัยที่ให้ได้ปัญญา เหตุ 8 ประการที่จะทำให้ได้ปัญญาถึงความเจริญแห่งปัญญา (คำว่า ปัญญา ในที่นี้หมายถึง วิปัสสนา) คือ บุคคลเมื่ออาศัยพระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีแล้วตั้งผู้นั้นไว้ในฐานะครู มีความรักและเคารพอย่างแรงกล้า ทำให้เกิดหิริโอตตัปปะ และได้มีโอกาสเข้าไปเพื่อสอบถามธรรมกับท่านเหล่านั้น เมื่อได้ฟังธรรมแล้วย่อมทำให้เกิดความสงบกายและใจ ถึงความเป็นผู้มีศีล เป็นพหูสูต ทรงสุตะ ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม ไม่พูดติรัจฉานกถา (คือถ้อยคำอันขวางทางไปสู่สวรรค์หรือนิพพาน) และเห็นความเกิดขึ้นและดับไปในอุปาทานขันธ์ 5 #3-4_ปฐม-ทุติยอัปปิยสูตร_ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก ทั้ง 2 พระสูตรนี้ ว่าด้วยเหตุที่ทำให้ที่รัก เคารพ ยกย่อง ในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ มีข้อธรรมที่สรุปลงเหมือนกันได้ 14 ข้อ คือ ไม่สรรเสริญและไม่ติเตียนผู้เป็นที่รัก ไม่มุ่งหวังลาภสักการะ มีหิริโอตตัปปะ มีความมักน้อย เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่มุ่งชื่อเสียง รู้จักกาล รู้จักประมาณ เป็นคนสะอาด ไม่พูดมาก ไม่ด่าบริภาษเพื่อนพรหมจารี และธรรมที่ทำให้ไม่เป็นที่รัก ฯ มีนัยยะตรงกันข้ามกันกับที่กล่าวมา พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต เมตตาวรรค
  • 48. กิเลสในลาภสักการะ [6748-6t]

    57:11||Season 67, Ep. 48
    รูปสูตร คนเราจะเลือกเลื่อมใสใครมาจากเหตุ 4 อย่างนี้ คือ รูป เสียง ความเศร้าหมอง และธรรมะ แต่ไม่ควรจะตัดสินใจจากสิ่งที่เห็นภายนอกเพียงอย่างเดียว ดูให้รู้ถึงคุณธรรมภายในด้วย  สารคสูตร บุคคลที่มีราคะ โทสะ โมหะ มานะ นับว่าไม่ดี เมื่อเป็นอริยบุคคลแม้ขั้นโสดาบันสิ่งเหล่านี้ก็จะเบาบางลง   อหิราชสูตร เกี่ยวกับการแผ่เมตตาให้ 4 ตระกูลของพญางูเพื่อความอยู่เป็นสุข  เทวทัตตสูตร ชี้ให้เห็นถึงลาภสักการะที่เกิดขึ้นนั้นฆ่าตัวพระเทวทัตเอง มาจากกิเลสในใจ ดุจการเกิดขึ้นของขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ปลีกล้วยฆ่าต้นกล้วย ลูกม้าอาชาไนยฆ่าแม่ม้าอัสดร และดอกอ้อฆ่าต้นอ้อ ควรรักษาตนไม่ให้มีรอยแผลที่จะถูกตำหนิได้ และการเสพสุขโดยธรรมสามารถทำได้  ปธานสูตร ว่าด้วยความเพียร 4 ประการ คือ สำรวม ละ เจริญ และรักษา  อธัมมิกสูตร ธรรม 4 ข้อที่จะเกิดจากเหตุ 13 ประการของผู้ที่ตั้ง และไม่ตั้งอยู่ในธรรม
  • 47. บุรุษอาชาไนย [6747-6t]

    56:34||Season 67, Ep. 47
    #107_มูสิกสูตร เปรียบบุคคลไว้กับหนู 4 จำพวก โดยเปรียบการ “ขุดรู” ของหนู คือการศึกษาเล่าเรียนปริยัติ และ เปรียบการ “อยู่” ของหนู คือการรู้แจ้งในอริยสัจ 4 ซึ่งบุคคลศึกษาดีแต่ไม่รู้(แจ้ง)ในอริยสัจก็มี และบางประเภทศึกษาน้อยแต่แจ้งในอริยสัจ แล้วมีทั้งที่ศึกษาแล้วทำให้แจ้งอริยสัจด้วยก็มี  #108_พลิวัททสูตร เปรียบบุคคลไว้กับโคที่ชอบข่มเหง หรือไม่ข่มเหงต่อฝูงของตน หรือฝูงตัวอื่น คือ การทำให้กลุ่มชนหวาดกลัว หรือไม่หวาดกลัวนั่นเอง #109_รุกขสูตร เปรียบบุคคลไว้กับต้นไม้เนื้ออ่อนและต้นไม้เนื้อแข็ง ซึ่งไม้เนื้อแข็งเป็นไม้มีแก่นเปรียบไว้กับคนมีศีล และไม้เนื้ออ่อนเป็นไม้ไม่มีแก่นเปรียบกับคนไม่มีศีล เราเป็นคนประเภทไหน และแวดล้อมด้วยไม้ชนิดใด #110_อาสีวิสสูตร เปรียบบุคคลเหมือนอสรพิษ เอาประเภทของพิษมาเป็นตัวแบ่ง พิษแล่น คือ ซึมซาบได้เร็วหรือช้า เปรียบดั่งความโกรธง่ายหรือยาก พิษร้าย คือ พิษร้ายมากน้อย เปรียบดั่งความคงอยู่ของความโกรธว่าหายเร็วหรือช้า #111_เกสิสูตร เปรียบเทียบขั้นตอนของการฝึกม้าจากนายเกสิกับการฝึกสาวกของพระพุทธเจ้า มีขั้นตอนเหมือนกัน ที่น่าสนใจ คือ ม้าหรือบุคคลที่ฝึกไม่ได้มีการฆ่าที่แตกต่างกัน การฆ่าในธรรมวินัยนี้ คือ การไม่บอกสอนหรือเห็นว่าบุคคลนี้ไม่สามารถบอกสอนได้อีกต่อไป ไม่ใช่การหมายเอาชีวิต เพราะการฝึกนี้ไม่ใช้ทั้งอาชญาและศาสตรา ให้ย้อนกลับมาดูว่าเราพัฒนาแก้ปัญหาในกลุ่มคนอย่างไร ใช้ธรรมะล้วน ๆ หรือไม่ และการฆ่าไม่ใช่ไม่บอกสอนตลอดไปแค่พักรอจังหวะ เพราะคนเราเปลี่ยนแปลงได้ เช่น พระเทวฑัตและพระฉันนะ ให้มีเมตตากรุณาอย่าอุเบกขาอย่างเดียว  #112_ชวสูตร คุณสมบัติของม้ากับของภิกษุที่คู่ควร ซื่อตรง คือ ศรัทธา ว่องไว คือ รู้อริยสัจชั้นโสดาบัน อดทนต่อทุกขเวทนา สงบเสงี่ยม คือ มีฌาน 4  #113_ปโตทสูตร ม้าดีแต่มีความต่างกันต่อปฏักอยู่ 4 ระดับ คือ เห็นเงา แทงขน แทงผิว แทงกระดูก เปรียบดั่งการได้ยินได้รู้การตายของบุคคลในระดับต่าง ๆ จนถึงการตายของตนเอง  #114_นาคสูตร คุณสมบัติช้างที่ดีในหนึ่งตัวมีครบสี่ กับบุคคลที่ถ้ามีครบก็เป็นอริยบุคคล รู้ฟัง: ใครกล่าวธรรมเงี่ยโสตฟัง รู้ประหาร: รู้จักละอกุศล รู้อดทน: อดทนต่อทุกขเวทนา รู้ไป: ไปนิพพาน ทิศที่ไม่เคยไปตลอดกาลอันยาวนาน
  • 46. สัตตกนิบาต - หมวดธรรม 7 ประการ (จบบริบูรณ์) [6746-6t]

    54:46||Season 67, Ep. 46
    สมณวรรค หมวดว่าด้วยสมณะ ในวรรคนี้ ข้อที่ 85-92 (1-8) กล่าวถึง เหตุให้ได้ชื่อว่า “ภิกษุ” เพราะทำลายธรรม 7 ประการนี้ได้, ได้ชื่อว่า “สมณะ” เพราะระงับธรรม..ฯ, ..“พราหมณ์” เพราะลอยธรรม..ฯ, ..“โสตติกกะ” เพราะธรรม 7 ประการนี้ร้อยรัดไม่ได้, ..“นหาตกะ” เพราะล้างธรรม 7 ประการนี้ได้, ..“เวทคู” เพราะรู้ธรรม..ฯ, ..“อริยะ” เพราะกำจัดธรรม..ฯ, ..“อรหันต์” เพราะเป็นผู้ห่างไกลจากธรรม 7 ประการนี้ คือ อะไรบ้าง สักกายทิฏฐิ (แก้ด้วย สัมมาทิฏฐิ)วิจิกิจฉา (แก้ด้วย ศรัทธา)สีลัพพตปรามาส (แก้ด้วย ศีล)ราคะ (แก้ด้วย มรรค 8)โทสะ (แก้ด้วย มรรค 8)โมหะ (แก้ด้วย มรรค 8)มานะ (แก้ด้วย มรรค 8)*ใน 8 หัวข้อพระสูตรนี้ คือ ความเป็น “พระอรหันต์” นั่นเองข้อที่ 93 ว่าด้วยอสัทธรรม (เป็นผู้ไม่มีธรรม) และ ข้อที่ 94 ว่าด้วยสัทธรรม (เป็นผู้มีธรรม) ได้แก่ ศรัทธา, หิริ, โอตตัปปะ, พหูสูต, ปรารภความเพียร, มีสติ. มีปัญญา อาหุเนยยวรรค หมวดว่าด้วยอาหุไนยบุคคล ในวรรคนี้ ข้อที่ 95-622 กล่าวถึง บุคคล 7 จำพวกที่เป็นอรหันต์และอนาคามีประเภทต่างๆ เป็นผู้พิจารณาเห็น ความไม่เที่ยง.. เป็นทุกข์.. เป็นอนัตตา.. ความสิ้นไป.. ความเสื่อมไป.. ความคลายไป.. ความดับไป.. ความสละคืนในอายตนะภายในและภายนอก ในขันธ์ ฯลฯ ราคเปยยาล หมวดธรรมที่ทรงแสดงโดยย่อมีราคะเป็นต้น ข้อที่ 623-1132 บุคคลควรเจริญธรรม 7 ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง ..เพื่อกำหนดรู้ ..เพื่อความสิ้น ..เพื่อละ ..เพื่อความสิ้นไป ..เพื่อความเสื่อมไป ..เพื่อความคลายไป ..เพื่อความดับไป ..เพื่อความสละ ..เพื่อความสละคืนราคะ ..โกธะ (ความโกรธ) ..อุปนาหะ (ความผูกโกรธ) ..มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน) ..ปลาสะ (ความตีเสมอ) ..อิสสา (ความริษยา) ..มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ..มายา (มารยา) ..สาเถยยะ (ความ โอ้อวด) ..ถัมภะ (ความหัวดื้อ) ..สารัมภะ (ความแข่งดี) ..มานะ (ความถือตัว) ..อติมานะ (ความดูหมิ่นเขา) ..มทะ (ความมัวเมา) ..ปมาทะ (ความประมาท).
  • 45. พระวินัยธร [6745-6t]

    56:51||Season 67, Ep. 45
    “พระวินัยธร” คือ ภิกษุผู้ชำนาญในพระวินัยในสิกขาบทต่างๆ เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี หรือปัจจุบันเรียกว่า “ตำรวจพระ” ซึ่งตำรวจจำเป็นต้องจะรู้และชำนาญในข้อกฏหมายและตนเองก็ต้องรักษาปฏิบัติตามได้อย่างดีด้วยในข้อที่ 75-78 กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นพระวินัยธร และในข้อที่ 79-82 ผู้ที่เป็นพระวินัยธรที่สง่างามนั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ซึ่งในแต่ละพระสูตรจะมีข้อปฏิบัติที่เหมือนกันและแตกต่างกันเป็นบางข้อ  ข้อที่ #83_สัตถุสาสนสูตร ท่านพระอุบาลีได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงข้อปฏิบัติ (คำสอนของพระศาสดา) เมื่อต้องหลีกเร้นอยู่เพียงผู้เดียว ข้อที่ #84_อธิกรณสมถสูตร กล่าวถึง ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ คือวิธีที่จะระงับหรือดับอธิกรณ์ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วินยวรรค