Share

cover art for สังเวชนียสถาน [6744-6t]

6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก

สังเวชนียสถาน [6744-6t]

Season 67, Ep. 44

#115_ฐานสูตร_ว่าด้วยฐานะแห่งความเสื่อมและความเจริญ จับคู่สิ่งที่ไม่น่าพอใจหรือน่าพอใจ กับทำแล้วเป็นประโยชน์หรือฉิบหาย บัณฑิตจะทราบว่า 2 ส่วนควรทำหรือไม่ควรทำ ดูที่ประโยชน์หรือโทษเป็นเกณท์ ในขณะที่คนพาลจะมองได้ไม่ขาดทะลุ ตรงนี้อยู่ที่กำลังจิต เปรียบได้เหมือนการเลือกดื่มน้ำมูตร หรือน้ำหวานพิษ หรือประโยชน์ที่จะได้รับในเวลาต่อมา 


#116_อัปปมาทสูตร_ว่าด้วยความไม่ประมาท เมื่อรู้ 4 ข้อนี้จะไม่เกรงกลัวต่อความตายที่จะมาถึง คือ ละกายวาจาใจทิฏฐิในทางทุจริต และเจริญกายวาจาใจทิฏฐิในทางสุจริต ไม่กลัวเพราะมีการตั้งตนไว้ในความไม่ประมาทในธรรม 4 ข้อนี้นั่นเอง 


#117_อารักขสูตร_ว่าด้วยสติเครื่องรักษา เมื่อมีธรรมนี้แล้วจะไม่เป็นผู้หวั่นไหวสะดุ้งสะเทือนไปตามมงคลตื่นข่าว กล่าวคือ ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลง ไม่มัวเมาในธรรมที่เป็นเหตุนั้น ๆ เป็นการเบรคจิตด้วยสติได้อย่างน้อยเป็นโสดาบัน 


#118_สังเวชนียสูตร_ว่าด้วยสังเวชนียสถาน คนที่มีศรัทธาเมื่อได้ไปสี่สถานที่นี้แล้วควรเกิดความสังเวช สังเวชในการที่จะต้องรีบกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาอย่างเร่งด่วนให้เกดความเปลี่ยนแปลง โดยเร่งทำความเพียรตามมรรคแปด 


#119_ปฐมภยสูตร_ว่าด้วยภัยภายใน เป็นภัยที่ช่วยกันไม่ได้ ได้แก่ ภัยเกิดเพราะความเกิด, ความแก่, ความเจ็บไข้, ความตาย


#120_ทุติยภยสูตร_ว่าด้วยภัยภายนอก เป็นภัยที่อาจยังช่วยกันได้ ได้แก่ ภัยเกิดจากไฟ, จากน้ำ, จากพระราชา, จากโจรจบเกสิวรรค 


#121_อัตตานุวาทสูตร_ว่าด้วยอัตตานุวาทภัย ภัย 4 ประการที่ถ้าเรามีหิริโอตัปปะแล้ว ก็ไม่ต้องกลัวภัยเหล่านี้เลย

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต เกสิวรรค ภยวรรค

 

More episodes

View all episodes

  • 45. พระวินัยธร [6745-6t]

    56:51||Season 67, Ep. 45
    “พระวินัยธร” คือ ภิกษุผู้ชำนาญในพระวินัยในสิกขาบทต่างๆ เป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจพระธรรมวินัยเป็นอย่างดี หรือปัจจุบันเรียกว่า “ตำรวจพระ” ซึ่งตำรวจจำเป็นต้องจะรู้และชำนาญในข้อกฏหมายและตนเองก็ต้องรักษาปฏิบัติตามได้อย่างดีด้วยในข้อที่ 75-78 กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นพระวินัยธร และในข้อที่ 79-82 ผู้ที่เป็นพระวินัยธรที่สง่างามนั้นจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร ซึ่งในแต่ละพระสูตรจะมีข้อปฏิบัติที่เหมือนกันและแตกต่างกันเป็นบางข้อ  ข้อที่ #83_สัตถุสาสนสูตร ท่านพระอุบาลีได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคถึงข้อปฏิบัติ (คำสอนของพระศาสดา) เมื่อต้องหลีกเร้นอยู่เพียงผู้เดียว ข้อที่ #84_อธิกรณสมถสูตร กล่าวถึง ธรรมเครื่องระงับอธิกรณ์ คือวิธีที่จะระงับหรือดับอธิกรณ์ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วินยวรรค
  • 43. การด่าบริภาษครูทั้ง 7 [6743-6t]

    56:53||Season 67, Ep. 43
    ทบทวน ข้อที่ #72_อัคคิกขันโธปมสูตร_ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยกองไฟ ข้อที่น่าสังเกตในพระสูตรนี้ คือ เรื่องของเวทนา ว่า “เวทนาสุข-ทุกข์ที่เกิดขึ้นในขณะที่กำลังจะตายไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกถึงภพที่กำลังจะไป แต่เป็นเวทนาที่ประกอบด้วยกุศลหรืออกุศลต่างหากที่เป็นตัวบ่งบอกถึงภพที่จะไป” #73_สุเนตตสูตร_ว่าด้วยครูชื่อสุเนตตะ เป็นพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องของ “ผู้ที่ถูกโทสะเบียดเบียนจิต มีจิตประทุษร้าย ด่าว่า ติเตียนในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นสิ่งมิใช่บุญมีโทษมาก” โดยได้หยิบยกครูเจ้าลัทธิทั้ง 7 ท่านที่ปราศจากความกำหนัดในกามและมีคำสอนเป็นไปเพื่อพรหมโลก ผู้ที่ไม่มีศรัทธาและไปด่าบริภาษในท่านยังประสพสิ่งที่มิใช่บุญ แลัวจะกล่าวไปไยในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ที่มีศีล สมาธิ ปัญญา จะประสพสิ่งอันมิใช่บุญเป็นอันมาก #74_ อรกสูตร_ว่าด้วยครูชื่ออรกะ เป็นพระสูตรว่าด้วยการปรารภความเพียร ไม่ควรประมาทในวัยแห่งชีวิต “เพราะชีวิตเป็นของมีประมาณน้อย”โดย “ครูอรกะ” ได้ยกอุปมาความที่ชีวิตเป็นของมีประมาณน้อยเปรียบไว้กับ น้ำค้างบนยอดหญ้า, ฟองน้ำบนผิวน้ำ, รอยขีดในน้ำ, น้ำที่มีกระแสเชี่ยวไหลมาจากภูเขา, การถ่มน้ำลายทิ้ง, ชิ้นเนื้อในเตาเผา และแม่โคที่จะถูกฆ่า “ ชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายมีประมาณเล็กน้อย รวดเร็ว มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก บุคคลพึงรู้ด้วยปัญญา พึงทำกุศล พึงประพฤติพรหมจรรย์ ไม่มีหรอก สัตว์ที่เกิดมาแล้วจะไม่ตาย ” พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหาวรรค
  • 42. บ่วงรวบรัดแห่งมาร [6742-6t]

    53:45||Season 67, Ep. 42
    #55_มาตาปุตตสูตร ว่าด้วยมารดากับบุตร พูดถึงความสัมพันธ์ต่อกันของเพศตรงข้าม ที่มาตามรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อันเป็นที่เกิดความกำหนัด อันเป็นอันตรายต่อนิพพาน โดยยกกรณีของมารดากับบุตร ที่แม้บวชแล้วก็ยังคลุกคลีกันจนนำไปสู่ความพ่ายแพ้ ต้องระวังให้ดี ไม่ว่าใครก็ตาม ไม่ว่าอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม จนแม้กระทั่งตายไปแล้วก็เช่นกัน การอยู่กับเพศตรงข้ามแล้วมีจิตลุ่มหลงจะรอดยากกว่าเจออสรพิษ #56_อุปัชฌายสูตร ว่าด้วยอุปัชฌาย์ ปรารภภิกษุผู้ที่มีเหตุจะให้สึก การที่มีกายหนัก ทิศทั้งหลายไม่ปรากฏ ธรรมทั้งหลายไม่แจ่มแจ้ง ถีนมิทธะครอบงำ ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ และมีความสงสัยในธรรม เหตุเพราะว่า 1) ไม่คุ้มครองในอินทรีย์ แก้โดยมีสติเป็นนายทวาร 2) ไม่รู้ประมาณในการบริโภค, รู้ประมาณ คือ การพิจารณาจากเวทนาทั้งที่เป็นสุขและที่เป็นทุกข์ เป็นไปเพื่อระงับเวทนา และไม่เป็นไปเพื่อเวทนาใหม่ที่มากเกินไป ตั้งจิตคอยสังเกตเวทนาที่เกิดขึ้นเหมือนการกินเนื้อบุตร ปรับความคิดเห็นว่าการมีกายที่เบานั้นเหมาะแก่การเจริญภาวนา 3) ไม่ประกอบธรรมอันเป็นเครื่องตื่น, เครื่องตื่น คือ ตื่นตัวอยู่เสมอในความเพียร ไม่ใช่ไม่นอน 4) ไม่เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลาย แก้โดยให้จับฉวยให้ไวในศีล สมาธิ ปัญญา 5) การไม่ประกอบเจริญในโพธิปักขิยธรรม ถ้าไม่เจริญธรรมนั้นก็จะมีแต่เสื่อมท่าเดียว สามารถนำไปปรับใช้ได้กับสถานการณ์ที่บีบบังคับได้ดี เป็นธรรมที่คุ้มครองให้ผ่านอุปสรรคไปได้ #57_ฐานสูตร ว่าด้วยฐานะที่ควรพิจารณาเนือง ๆ "ความเป็นธรรมดา" นั้น คือ การพิจารณาว่ามันเกิดได้กับทุกคน ไม่ใช่การมองโลกในแง่ร้าย ความธรรมดาที่ล่วงพ้นไปไม่ได้ ควรพิจารณาอยู่เนือง ๆ ที่เมื่อพิจารณาแล้วจะทำให้ละหรือลดความมัวเมาได้ ได้แก่ ความแก่ลดความมัวเมาในวัย ความเจ็บไข้ลดความมัวเมาในความไม่มีโรค ความตายลดความมัวเมาในชีวิต ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจละความกำหนัดได้ และทุกคนมีกรรมเป็นของตน ความเข้าใจนี้จะทำให้ไม่ไปตามมงคลอื่น ๆ เมื่อเข้าใจทั้ง 5 ประการนี้แล้ว จะทำให้อยู่ในมรรค ก้าวหน้าในธรรม จนเป็นอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งได้ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต นีวรณวรรค ข้อที่ 55-57
  • 41. ข้ออุปมาด้วยกองไฟ [6741-6t]

    58:04||Season 67, Ep. 41
    #70_สักกัจจสูตร ว่าด้วยความเคารพ เมื่อท่านพระสารีบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความคิดใคร่ครวญถึงธรรม 7 ประการ ที่เมื่อ “ภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยธรรมเหล่านี้อยู่ จะละอกุศล เจริญกุศลได้” ธรรมทั้ง 7 ประการนี้ ได้แก่ เมื่อภิกษุสักการะ เคารพ อาศัยพระศาสดา / พระธรรม / พระสงฆ์ / สิกขา / สมาธิ / ความไม่ประมาท / ปฏิสันถารอยู่ จึงละอกุศล เจริญกุศลได้ โดยธรรมทั้ง 7 ประการนี้ ได้ถูกจำแนกรายละเอียดเป็นไปตามลำดับและมีนัยยะในการจำแนกใคร่ครวญถึง 3 นัยยะด้วยกัน คือ เป็นไปไม่ได้ ที่เมื่อไม่มีความเคารพพระพุทธ จะมีความเคารพในพระธรรม..ฯ / เป็นไปไม่ได้ ที่เมื่อมีความเคารพพระพุทธ จะไม่มีความเคารพในพระธรรม..ฯ / เป็นไปได้ ที่เมื่อมีความเคารพพระพุทธ จะมีความเคารพในพระธรรม..ฯ.. แล้วพระผู้มีพระภาคก็ได้ทรงรับรองคำของท่านพระสารีบุตร #71_ภาวนาสูตร ว่าด้วยภาวนา เมื่อภิกษุหมั่นประกอบภาวนาในโพธิปักขิยธรรม 37 อยู่ แม้จะไม่ตั้งความปรารถนาถึงความสิ้นอาสวะ ก็จะถึงความสิ้นอาสวะอยู่ดี เพราะด้วยอาศัยเหตุแห่งการหมั่นประกอบภาวนาในโพธิปักขิยธรรม 37 นี้ โดยได้อุปมากับการกกไข่ของแม่ไก่ รอยจับในด้ามมีด ความผุกร่อนของหวายที่ผูกรั้งเรือ ที่ย่อมอาศัยเวลาและการกระทำอย่างต่อเนื่อง #72_อัคคิกขันโธปมสูตร ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยกองไฟ พระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย ได้ทรงกล่าวถึงภิกษุผู้ทุศีล มีความประพฤติไม่สะอาด ไม่ใช่สมณะแต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ แล้วใช้สอยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารของชนเหล่าใดก็ตาม การใช้สอยของภิกษุผู้ทุศีลนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความทุกข์ตลอดกาลแก่ภิกษุผู้ทุศีลนั้น โดยได้ทรงยกอุปมาอุปไมยไว้ถึง 7 ประการ หลังจากที่พระผู้มีภาคเจ้าทรงแสดงธรรมจบ ก็มีภิกษุบางพวกกระอักเลือด บางพวกลาสิกขา บางพวกบรรลุธรรม พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหาวรรค
  • 40. การเจริญสัมมาสมาธิ [6740-6t]

    57:39||Season 67, Ep. 40
    หมวดธรรมะ 5 ประการ ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 เป็นเรื่องเกี่ยวกับการได้มาซึ่งสัมมาสมาธิ ไล่ลำดับไปจนถึงปัญญาเพื่อการหลุดพ้น ข้อที่ 21-22_ปฐม-ทุติยอคารวสูตร ว่าด้วยความไม่เคารพ มีเนื้อหาคล้ายกัน พูดถึงเหตุปัจจัยที่จะได้สัมมาสมาธิ และเปรียบเทียบส่วนต่างว่า ถ้าทำอย่างนี้จะไม่ได้หรือได้สัมมาสมาธิ ในข้อที่ #21_ปฐมอคารวสูตร เริ่มจากสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ แล้วค่อย ๆ ทำให้เกิดสิ่งที่ยิ่งใหญ่ตามมา นั่นคือเริ่มจากการมีความเคารพยำเกรงในเพื่อนผู้ประพฤติพรหมจรรย์ก่อให้เกิดอภิสมาจาริกธรรม อภิสมาจาริกธรรมก่อให้เกิดเสขธรรม เสขธรรมก่อให้เกิดศีล ศีลก่อให้เกิดสัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิก่อให้เกิดสัมมาสมาธิ ในข้อที่ #22_ทุติยอคารวสูตร เปลี่ยนตรง 3 ข้อสุดท้ายจากศีลเป็นสีลขันธ์ จากสัมมาทิฏฐิเป็นสมาธิขันธ์ จากสัมมาสมาธิเป็นปัญญาขันธ์ เป็นความละเอียดลงไปในแต่ละข้อ ศีลก็เป็นเหตุให้เกิดสมาธิ สมาธิต่อยอดขึ้นไปก็เป็นปัญญาขึ้นมา  ข้อที่ #23_อุปกิเลสสูตร ว่าด้วยความเศร้าหมอง เปรียบเทียบอุปมาอุปไมยเครื่องเศร้าหมอง 5 อย่าง ของทองกับของจิต ที่เมื่อกำจัดออกไปแล้วจะทำให้ถึงซึ่งนิพพานได้ เครื่องเศร้าหมองของจิตก็คือ นิวรณ์ 5 นั่นเอง จะกำจัดออกไปได้ก็ด้วยสติ ถ้าเรากำจัดนิวรณ์ออกไปจากจิตได้ ความรู้ 6 อย่างจะเกิดขึ้น และจะเป็นตัวที่จะทำให้บรรลุธรรมได้ ข้อที่ #24_ทุสสีลสูตร ว่าด้วยโทษแห่งความทุศีลและคุณแห่งความมีศีล เปรียบกับต้นไม้ที่มีกิ่งหัก สะเก็ด เปลือก กระพี้ และแก่น จะสมบรูณ์ไปได้อย่างไร เปรียบเหมือนกับผู้ทุศีลจะไม่สามารถมีสัมมาสมาธิได้ เมื่อไม่มีสัมมาสมาธิ การเห็นตามความเป็นจริงย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะศีลเปรียบเหมือนฐานรากของทุกสิ่ง ถ้าศีลสมบรูณ์บริบรูณ์ก่อให้เกิดสัมมาสมาธิที่สมบรูณ์บริบรูณ์ จนทำให้เกิดปัญญาในการเห็นความไม่เที่ยง เกิดยถาภูตญาณทัสสนะ นิพพิทา วิราคะ ทำวิมุตติให้เกิดขึ้นได้  ข้อที่ #25_อนุคคหิตสูตร ว่าด้วยธรรมสนับสนุนสัมมาทิฏฐิ ศีล สุตตะ สากัจฉา สมถะ และวิปัสสนา 5 อย่างนี้เป็นองค์ประกอบของสัมมาทิฏฐิ  ข้อที่ #26_วิมุตตายตนสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ บอกถึงลักษณะของบุคคลที่จะบรรลุธรรมได้จากการฟัง การแสดงธรรม การสาธยายธรรม การตรึกตามตรองตามเรื่องที่ได้ฟังมา และการมีสมาธิดีจนเข้าใจธรรม  ข้อที่ #27_สมาธิสูตร ว่าด้วยการเจริญสมาธิเพื่อให้ญาณเกิดขึ้น สมาธิที่เจริญแล้วทำให้เกิดญาณความรู้เฉพาะตนขึ้น สมาธิเราก้าวหน้าหรือไม่นั้น ดูได้จากการเกิดขึ้นหรือไม่ของ 5 ข้อนี้พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
  • 39. บุคคลผู้รู้ธรรม [6739-6t]

    57:03||Season 67, Ep. 39
    #68_ธัมมัญญูสูตร ว่าด้วยบุคคลผู้รู้ธรรม ภิกษุประกอบด้วยธรรม 7 ประการนี้ ( สัปปุริสธรรม 7 หมายถึง ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ คุณสมบัติของคนดี คือ เป็นผู้ที่ประกอบด้วย “สังฆคุณ” ) เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ เป็นผู้ควรรับของที่เขานำมาถวายบูชา ธรรม 7 ประการนี้ ได้แก่อะไรบ้าง คือ ธัมมัญญู คือ เป็นผู้รู้จักเหตุ คือ รู้หลักหัวข้อธรรมต่างๆ ( นวังคสัตถุศาสน์ คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ประกอบ 9 อย่าง )อัตถัญญู คือ เป็นผู้รู้จักอรรถ รู้จักผล คือ รู้ความหมายของหลักหัวข้อธรรมนั้นๆ อย่างลึกซึ้งอัตตัญญู คือ เป็นผู้รู้จักตน คือ รู้ว่าตนเองมี “ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ” มีอยู่ในตนประมาณเท่าไร มัตตัญญู คือ เป็นผู้รู้จักประมาณ คือ รู้ประมาณในการบริโภคปัจจัย 4กาลัญญู คือ เป็นผู้รู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน คือรู้ว่านี้คือ “กาลเรียน กาลสอบถาม กาลทำความเพียร กาลหลีกเร้น”ปริสัญญู คือ เป็นผู้รู้จักบริษัท คือ รู้จักกลุ่มคน รู้ว่านี้ คือ “บริษัทกษัตริย์ บริษัทพราหมณ์ บริษัทคฤหบดี บริษัทสมณะ” และรู้จักกิริยาที่จะประพฤติสงเคราะห์ต่อกลุ่มคนนั้น ๆ ปุคคลปโรปรัญญู คือ เป็นผู้รู้จักเลือกคบคน คือ รู้ความแตกต่างแห่งบุคคล 2 จำพวก คือ รู้ว่าบุคคลนี้ มีการเข้าหาสมณะ มีการฟังธรรม มีการจดจำและรู้ความหมายของธรรม มีการนำไปปฎิบัติ เป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อตนเองและผู้อื่นหรือไม่อย่างไร #69_ปาริฉัตตกสูตร ว่าด้วยอริยสาวกเปรียบได้กับต้นปาริฉัตร เป็นการอุปมาอุปไมยระหว่างต้นปาริฉัตรและอริยสาวก โดยได้อุปมาอุปไมยไว้ดังนี้มีใบเหลืองกำลังจะร่วงหล่น คือ อริยสาวกที่คิดดำริออกจากกามร่วงหล่นผลัดใบ คือ ออกบวชผลิดอกออกใบ คือ ได้ฌาน 1เป็นช่อใบช่อดอก คือ ได้ฌาน 2มีดอกตูม คือ ได้ฌาน 3มีดอกแย้ม คือ ได้ฌาน 4ออกดอกบานสะพรั่ง คือ ทำให้สิ้นอาสวะ คือความเป็นพระอรหันต์ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหาวรรค
  • 38. ธรรมของเจ้าอาวาส [6738-6t]

    58:36||Season 67, Ep. 38
    หมวดว่าด้วยคุณธรรมของผู้ดูแลอาวาสนี้ ไม่ใช่เฉพาะกับเจ้าอาวาสหรือภิกษุสงฆ์เท่านั้น แต่หมายถึงเราทุกคน ถ้ามีคุณธรรมเหล่านี้ย่อมยังอาวาสหรือองค์กรนั้นให้เจริญรุ่งเรืองและงดงามได้ข้อที่ 231-234 เจ้าอาวาสที่มีคุณธรรมดังนี้ ย่อมเป็นที่รัก ที่เคารพยกย่อง มีอุปการะ ยังอาวาสให้งดงาม มาในหัวข้อที่ต่างกัน สามารถสรุปรวมได้ดังนี้ คือ เป็นผู้มีมรรยาทและวัตรงาม มีศีล เป็นพหูสูต ทรงสุตะ มีความประพฤติขัดเกลาดี ยินดีการหลีกเร้น วาจางาม ยังคนให้อาจหาญ ดูแลปฏิสังขรณ์เสนาสนะ และอุปการะภิกษุผู้มาจากต่างแคว้นได้ เป็นผู้ได้ฌาน 4 มีปัญญา ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ข้อที่ 235 เจ้าอาวาสที่ประกอบด้วยธรรมต่อไปนี้ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ คือให้สมาทานอธิศีลและให้เห็นธรรมได้ สามารถอนุเคราะห์คฤหัสถ์ป่วยไข้ และเชิญชวนให้ทำบุญตามกาลสมัยได้ บริโภคของที่เขานำมาถวาย ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป  ข้อที่ 236-240 มีหัวข้อธรรมที่เหมือนกัน ว่าด้วยเจ้าอาวาสที่เหมือนดำรงอยู่ในนรก สรุปรวมได้ดังนี้ คือไม่พิจารณาไตร่ตรอง สรรเสริญคนที่ควรติเตียนหรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ไม่ควรเลื่อมใสหรือไม่ปลูกความเลื่อมใสในฐานะที่ควรเลื่อมใส มีความตระหนี่ในอาวาส ตระกูล ในลาภ วรรณะ และทำศรัทธาไทยให้ตกไป  พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อาวาสิกวรรค
  • 37. องค์แห่งม้าอาชาไนย [6737-6t]

    55:20||Season 67, Ep. 37
    #259 และ 260_ปฐมและทุติยอาชานียสูตร ว่าด้วยองค์ประกอบของม้าอาชาไนย (สูตรที่ 1-2) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการอุปมาอุปไมยด้วยม้าอาชาไนยพันธุ์ดี ซึ่งถ้าเปรียบเป็นคน ก็คือผู้ที่ปฏิบัติดีเพื่อเป็นเครื่องออกจากทุกข์ โดยดูจาก วรรณะ คือ ศีล กำลัง คือ ความเพียรที่ทำให้กุศลใหม่เกิดที่มีอยู่แล้วให้พัฒนา และอกุศลเดิมให้ลดที่ยังไม่มีอย่าให้เข้ามาเชาว์ คือ ฝีเท้า (ปัญญา) การรู้ตามความเป็นจริงในอริยสัจสี่ นั่นคือ “การเป็นโสดาบัน”  ซึ่งนัยยะของข้อ 260 ดูจากการทำให้แจ้งในเจโต และปัญญาวิมุติ นั่นคือ “อรหัตผล” จะเห็นว่าในระหว่างข้อทั้งสองนี้ ก็คือ อริยบุคคลที่เหลือนั่นเองความสมบรูณ์ด้วยทรวดทรง คือ ความสมบรูณ์ด้วยปัจจัยสี่  นอกจากนี้ยังทบทวนให้เห็นถึงความเชื่อมโยงในข้อที่ผ่าน ๆ มากับการอุปมาอุปไมยว่าด้วยม้าอาชาไนยนี้ ม้าทุกตัวต้องผ่านการฝึก คนจะเป็นอริยบุคคลได้ก็ต้องฝึกเช่นกัน #261_พลสูตร ว่าด้วยพละ พละคือกำลัง บุคคลที่ประกอบด้วยพละ 4 นี้ จึงจะมีกำลังใจ คือ วิริยะพละ = ความเพียร 4 / สติพละ = สติปัฏฐาน 4 / สมาธิพละ = ฌานทั้ง 4 / ปัญญาพละ = ชำแรกกิเลส ซึ่งพละ 4 นี้ ต่างจากพละ 5 ตรงที่ไม่มีข้อของศรัทธา #262_อรัญญสูตร ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควรอยู่ป่าและไม่ควรอยู่ป่า ถ้ามี 4 ข้อนี้แล้วไม่ควรอยู่ เพราะไปอยู่แล้วก็ไม่เป็นตาอยู่ หรืออยู่แล้วฟุ้งซ่าน และถ้าขาดกัลยาณมิตรแนะนำจะจิตแตกได้ แต่ถ้าทำเป็นแล้วรู้วิธีการ และไม่มีใน 4 ข้อนี้ ก็สามารถอยู่ได้ คือ ตริตรึกในทางกาม ความพยาบาท ความคิดในทางเบียดเบียน และเป็นคนเซอะ #264_กัมมสูตร ว่าด้วยกรรมและทิฏฐิที่มีโทษ เปรียบเทียบอสัตบุรุษและสัตบุรุษโดยดูจากกายกรรมที่มีโทษ วจีกรรมอันมีโทษ มโนกรรมอันมีโทษ และทิฏฐิที่มีโทษ พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อภิญญาวรรค กัมมปถวรรค