Share

cover art for อปริหานิยธรรม – สัญญาที่เป็นไปเพื่อลดกิเลส [6714-6t]

6 ขุดเพชรในพระไตรปิฏก

อปริหานิยธรรม – สัญญาที่เป็นไปเพื่อลดกิเลส [6714-6t]

Season 67, Ep. 14

เมื่อเราลองพิจารณาดูธรรมทั้งหลาย (สิ่งทั้งหลาย) ที่เรารับรู้ได้นั้น ล้วนต่างอาศัยเหตุปัจจัยในการเกิดขึ้น มีอยู่ และดับไปของสิ่งเหล่านั้น เมื่อธรรมทั้งหลายไม่เที่ยงมีสภาพแปรเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยจึงว่างเปล่าจากความเป็นตัวตน คือตกอยู่ภายใต้กฏของ “ไตรลักษณ์”


“อปริหานิยธรรม และ ปริหานิยธรรม” ก็เช่นเดียวกัน ล้วนต่างมีเหตุที่ทำให้เจริญและเหตุที่ทำให้เสื่อม ว่าให้เข้าใจได้โดยง่ายคือ ต่างอาศัยเหตุปัจจัยในการมีอยู่และดับไปนั่นเอง

 

ข้อที่ #27_สัญญาสูตร ว่าด้วยสัญญาที่เป็นอปริหานิยธรรม กล่าวคือ สัญญา (การกำหนดหมายรู้) ที่เป็นไปเพื่อลดกิเลส เพิ่มกุศลธรรมให้เกิดเจริญขึ้นมี 7 ประการ ได้แก่ กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร, ความเป็นอนัตตาในธรรมทั้งหลาย, ความไม่งามในกาย, โทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่าง ๆ ละอกุศลวิตก กำหนดหมายวิราคะ (คลายกำหนัด) และนิโรธ (ความดับทุกข์) ว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต

 

ข้อที่ #28_ปฐมปริหานิสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม ในหัวข้อนี้เน้นมาที่พระเสขะ (ผู้ที่ยังต้องศึกษาอยู่) โดยธรรมประการสุดท้ายได้กล่าวไว้น่าสนใจ เมื่อเห็นพระผู้บวชมานานรับภาระกิจในสงฆ์อยู่ พระผู้เป็นเสขะจะปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อไม่ให้ถึงความเสื่อม คือต้องอาศัยการวางจิตและการพิจารณาในกิจนั้นว่าเป็นเหตุทำให้กุศลธรรมเสื่อมหรือเจริญ

 

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค

 

More episodes

View all episodes

  • 20. พ้นแล้วด้วยจิตและปัญญา [6720-6t]

    52:37
    “ธรรม” ที่จะเป็นเหตุให้มีการบรรลุธรรมขั้นสูง คือ เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ (การหลุดพ้นด้วยจิตกับปัญญา) ซึ่งเมื่อเจริญให้มากซึ่งสมถะและวิปัสสนา จะเป็นผู้ถอนรากตัณหาและอวิชชาออกได้  #ข้อ71_ปฐมเจโตวิมุตติผลสูตร และ #ข้อ72_ทุติยเจโตวิมุตติผลสูตร เมื่อปฏิบัติร่วมกัน (มีข้อธรรมที่เหมือนกันอยู่ 1 ข้อ คือ อนิจจสัญญา) จนมีเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติเป็นผลแล้ว ย่อมเป็นผู้ละอวิชชา, การเกิดในภพใหม่, ตัณหา, สังโยชน์เบื้องต่ำและเบื้องสูงได้หมดสิ้น #ข้อ73_ปฐมธัมมวิหารีสูตร การเป็นผู้ที่อยู่ด้วยธรรมคือ ต่อให้เป็นผู้ที่เรียนธรรมมามากจนเทศนาบอกต่อได้ ท่องจำ และใคร่ครวญในธรรมนั้น แต่ถ้าห่างเหินการหลีกเร้น ไม่ทำความสงบในจิตใจ ไม่ชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยธรรม เน้นมาในเรื่องสมถะ  #ข้อ74_ทุติยธัมมวิหารีสูตร เน้นมาในวิปัสสนา ทำปัญญาให้ยิ่ง คือกิเลสต้องลดลง กำจัดกิเลสออกได้ โดยการนำหลักธรรมที่เหมือนกันกับในปฐมธัมมวิหารีสูตรนี้ นำมาปฏิบัติให้เข้าสู่จิตใจ จนให้ผลเป็นความสงบใจ แล้วให้เกิดปัญญา พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต โยธาชีวรรค ข้อที่ 71-74
  • 19. ธรรมที่เป็นเหตุให้ชื่อว่า “นิททสภิกษุ” [6719-6t]

    51:27
    คำว่า “นิททส” แปลว่า มีอายุไม่ถึง 10 ปี (บวชไม่ถึง 10 พรรษา) เป็นคำที่พวกเดียรถีย์ใช้เรียกนิครนถ์ผู้ประพฤติพรหมจรรย์กำหนดครบ 12 ปีแล้วจะสำเร็จเป็นอรหันต์ แต่ถ้าตายลงก่อนที่จะครบกำหนด ก็จะกลับมาเกิดใหม่ในจำนวนปีที่เหลือแล้วได้ความเป็นอรหันต์ในภพนั้น โดยความเป็นอรหันต์จะวัดจากระยะเวลาในการประพฤติพรหมจรรย์ครบ 12 ปี “นิททสภิกษุ” ตามความหมายที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้ไว้คือ พระอรหันต์ ไม่มีการกลับมาเกิดอีก และไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาในการประพฤติธรรม แต่ขึ้นอยู่กับหลักคุณธรรม 7 ประการ ซึ่งได้ทรงแสดงไว้ 2 วาระด้วยกัน คือ วาระของท่านพระสารีบุตรในข้อที่ #42_ปฐมนิททสสูตร และ วาระของท่านพระอานนท์ในข้อที่ #43_ทุติยนิททสสูตร ว่าด้วยนิททสวัตถุ โดยทั้งสูตรที่ 1 และสูตรที่ 2 นี้ ได้แสดงถึงทางปฏิบัติ (เหตุ) คือ อรหัตมรรค ให้ไปสู่ผล คือ อรหัตผล และในทุติยนิททสสูตรนั้นมีหลักธรรมที่เหมือนกันกับสัปปุริสธรรม 7 ประการ ตามนัยยะของเสขปฏิปทาสูตรซึ่งบรรยายโดยพระอานนท์  พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต เทวตาวรรค
  • 18. ผู้ทำ “จิต” ให้อยู่ในอำนาจ [6718-6t]

    43:01
    การไม่ให้จิตตกไปตามอำนาจของกิเลสแต่จะให้มาอยู่ในอำนาจของมรรค 8 ได้นั้น ต่างต้องอาศัยเหตุปัจจัย ซึ่งเหตุปัจจัยหลักนั้นก็คือการมี “สติ” คือจะต้องมีสติสัมปชัญญะเห็นเหตุปัจจัยแห่งการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไปของสมาธิในขั้นต่าง ๆ กล่าวคือจะต้องเป็นผู้ฉลาดในสมาธิและกระทำสมาธิโดยชำนาญในทุกอริยบถ มีสติปัฏฐาน 4 มีสติรู้ชัดเห็นการเกิด-ดับในทุกสภาวะ จะเป็นผู้ทำจิตให้ตกอยู่ในอำนาจหรือมีอำนาจเหนือจิตได้ ในข้อที่ #40_ปฐมวสสูตร และ ข้อที่ #41_ทุติยวสสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้จิตตกอยู่ในอำนาจ สูตรที่ ๑ และสูตรที่ ๒ ประกอบด้วยธรรม 7 ประการเหมือนกัน แต่ทุติยวสสูตรจะเป็นนัยยะของท่านพระสารีบุตร ธรรม 7 ประการ คือ 1.    เป็นผู้ฉลาดในสมาธิ - รู้เหตุปัจจัย คุณลักษณะ และคุณสมบัติของสมาธิ2.    เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ - รู้เหตุที่ทำให้เข้าสมาธิได้โดยง่าย ความเป็นสัปปายะ และความอดทนต่ออายตนะ 3.    เป็นผู้ฉลาดในการให้สมาธิตั้งอยู่ได้ - มีสติสัมปชัญญะเต็ม เห็นเหตุเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของสมาธิ4.    เป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาธิ - เห็นข้อเสียในสมาธิในจุดที่ตนเองอยู่ ละข้อเสียนั้น เห็นคุณในสมาธิขั้นต่อไป แล้วเลื่อนขึ้น5.    เป็นผู้ฉลาดในความพร้อมแห่งสมาธิ - ทำสมาธิโดยเอื้อเฟื้อกัน 6.    เป็นผู้ฉลาดในอารมณ์แห่งสมาธิ - รู้ความเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนสมาธิสมถะและวิปัสสนา7.    เป็นผู้ฉลาดในอภินิหารแห่งสมาธิ - ผลคืออภิญญา 6 ที่เกิดจากสมาธิ  พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
  • 17. ขึ้นชื่อว่า “มิตร” [6717-6t]

    57:00
    คำว่า “มิตรแท้ หรือ กัลยาณมิตร” มีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่ง “มิตร” ที่เรามีอยู่เป็นแบบไหน และเราควรจะปฏิบัติตนหรือเลือกคบมิตรแบบใด  ในข้อที่ #36_ปฐมมิตตสูตร และ #37_ทุติยมิตตสูตร ว่าด้วยองค์แห่งมิตร 7 ประการ คือ บุคคลที่ประกอบด้วยฐานะ 7 ประการนี้ ควรเข้าไปคบหาเป็นมิตรด้วย โดยในปฐมมิตตสูตร หมายถึง กัลยาณมิตรทั่วไป ส่วนในทุติยมิตตสูตร หมายถึง ครูบาอาจารย์และลูกศิษย์ “มิตร” ที่เรามีอยู่ไม่ว่าจะเป็นมิตรแบบไหน.. จิตของเราจะต้องประกอบไปด้วยกับเมตตา มองกันด้วยสายตาแห่งความรักใคร่เอ็นดู มีจิตไม่คิดปองร้าย ไม่คิดผูกเวรกับใคร ๆ ถ้าเป็นมิตรเทียมก็ให้มีระยะห่างที่จะไม่คบ ไม่ใช่ด้วยการผูกเวร #38_ปฐมปฏิสัมภิทาสูตร และ #39_ทุติยปฏิสัมภิทาสูตร (นัยยะของท่านพระสารีบุตร) ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุให้บรรลุปฏิสัมภิทา (มีปัญญาแตกฉาน) ได้แก่ การมีสติเห็นจิตตามความเป็นจริงว่า จิตหดหู่ ท้อแท้ ฟุ้งซ่านหรือไม่ เห็นเวทนา สัญญา ความวิตกแห่งจิตว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป และ การรู้อุบายในการเกิดและการดับของสภาวะนั้น  พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต เทวตาวรรค
  • 16. จุดที่สมาธิเปลี่ยนเป็นปัญญาด้วยองค์ 5 [6716-6t]

    54:22
    ข้อที่ #28_ปัญจังคิกสูตร ว่าด้วยการเจริญสัมมาสมาธิด้วยองค์ 5 ประการ คือ การไล่มาตามลำดับของการได้มาซึ่งฌานทั้ง 4 และปัจจเวกขณนิมิต จะได้ทราบอุปมาอุปไมยของการได้มาซึ่งฌานนั้น ๆ การเห็นอะไรจึงจะเลื่อนขึ้นในฌานที่สูงขึ้นไปละเอียดลงไปได้ ก็ต้องขจัดความหยาบของฌานที่ได้อยู่แล้วจึงจะพัฒนาต่อไปได้ เมื่อได้ฌานทั้ง 4 บวกกับปัจจเวกขณนิมิต คือ ญาณในการรู้ว่าเรามีเราละอะไรได้ จะทำให้ละเอียดขึ้นได้อย่างไร และการเห็นองค์ประกอบต่าง ๆ ในฌานต่าง ๆ ได้ชัดเจน จิตใจของคนเราถ้ามีสัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยองค์ 5 ประการนี้แล้ว จะเกิดประโยชน์ในการกำจัดกิเลสได้ วิชชา 6 จะเกิดขึ้น ทำปัญญาให้เกิดขึ้นได้ นี่คือจุดที่สมาธิจะเปลี่ยนเป็นปัญญา ตลอดกระบวนการต้องมีสติอยู่แล้วจึงจะสามารถรู้เห็นตรงนี้ได้ และปัจจเวกขณนิมิตมีได้ในทุกระดับฌาน เป็นตัวที่จะทำให้ฌานเลื่อนขึ้นได้เร็ว ข้อที่ #29_จังกมสูตร จังกม แปลว่า การเดิน ทำให้เกิดอานิสงส์ คือ 1) อดทนต่อการเดินทางไกล 2) อดทนต่อการทำความเพียร นี่คืออดทนต่อสิ่งที่อดทนได้ยาก รู้อยู่ว่าทุกข์แต่อยู่กับมันได้ 3) อาหารย่อยได้ง่าย 4) มีอาพาธน้อย นี่คือมีสุขภาพดี มีเวทนาเบาบาง และ 5) สมาธิที่เกิดตั้งอยู่ได้นาน ในอิริยาบถหยาบ ๆ ยังสามารถทำสมาธิให้เกิดขึ้น ยิ่งทุกข์มากยิ่งเห็นธรรมะ มีปัญญาในการแก้ปัญหา พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต: ปัญจังคิกวรรคข้อที่ 28 – 29
  • 15. อปริหานิยธรรม-ความเจริญของอุบาสก [6715-6t]

    55:10
    การได้พบหรือได้ไปเยี่ยมเยียนพระสงฆ์นั้น จะเป็นทางมาแห่งกุศลบุญหลายประการ ทำให้มีโอกาสได้กราบไหว้ ถวายทานในพระสงฆ์ ได้ฟังธรรมและสอบถามธรรมะ โดยในข้อที่ #29_ทุติยปริหานิสูตร ข้อที่ #30_วิปัตติสูตร และ ข้อที่ #31_ปราภวสูตร มีนัยยะทิศทางเดียวกัน คือ ธรรมที่เป็นเหตุแห่งความไม่เสื่อมโดยเน้นมาที่อุบาสกและอุบาสิกา ได้แก่ ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนพระสงฆ์ การฟังธรรมโดยไม่คิดเพ่งโทษ ศึกษาในอธิศีล ได้ให้ทานและมีความเลื่อมใส่ในสงฆ์  ข้อที่ 32-33-34-35 มีเนื้อหาธรรมะเหมือนกันในห้าข้อแรกแตกต่างกันในสองข้อท้าย โดยมีเนื้อหาปรารภถึงเทวดาองค์หนื่งมาเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค กราบทูลถึง “ธรรม 7 ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ” โดยประการที่เหมือนกัน ได้แก่ เป็นผู้มีความเคารพในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในสมาธิ และที่แตกต่างกันในแต่ละหัวข้อ ได้แก่ เป็นผู้ไม่ประมาท มีปฏิสันถาร (การต้อนรับ) / มีหิริ โอตตัปปะ / เป็นผู้ว่าง่าย มีกัลยาณมิตร  พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต วัชชิสัตตกวรรค เทวตาวรรค
  • 13. “ผู้นำ” เพื่อประโยชน์สุข [6713-6t]

    56:00
    สิ่งดีงามต่างๆ ถ้าได้ไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นที่ถูกต้อง เป็น “สัมมาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะเป็นไป “เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข เพื่อประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น” และในสิ่งดีงามที่มีอยู่เช่นเดิม ถ้าไปอยู่ในมือของผู้ที่มีความเห็นผิด เป็น “มิจฉาทิฏฐิ” สิ่งนั้นจะ “เป็นทุกข์ ไม่เกื้อกูล ไม่เป็นประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น”  ปฏิสัมภิทาปัตตสูตร #ข้อ 86 ผู้ที่ประกอบด้วย ปฏิสัมภิทา 4 (ได้แก่ 1. ปัญญาแตกฉานใน อรรถ, 2.ธรรม, 3. นิรุตติ, 4.ปฏิภาณ) และ มีความขยัน ไม่เกียจคร้าน “ย่อมเป็นที่รัก ที่น่าเคารพยกย่อง” สีลวันตสูตร #ข้อ 87 ธรรม “ย่อมเป็นที่รัก ที่น่าเคารพยกย่อง” ได้แก่ เป็นผู้มีความงามของศีล, เป็นพหูสูต เวลาบอกสอนมีข้อมูลพร้อม, พูดจาไพเราะ, มีสมาธิ, มีปัญญา เถรสูตร #ข้อ 88 ธรรมที่ไม่เกื้อกูล ไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก คือ เป็นผู้บวชมานาน, มีชื่อเสียง ยศ บริวาร, ร่ำรวยด้วยปัจจัย 4, เป็นพหูสูต, เป็น มิจฉาทิฏฐิ (อกุศลเพิ่ม) และธรรมที่เกื้อกูล เป็นประโยชน์แก่คนหมู่มาก จะเหมือนกันใน 4 ประการแรก แตกต่างกันในประการที่ 5 คือ เป็น สัมมาทิฏฐิ คืออกุศลลด กุศลเพิ่ม วางความยึดถือลงได้  ปฐมเสขสูตร #ข้อ 89 ธรรมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ผู้ที่เป็นเสขะ (ยังต้องศึกษา) คือ ชอบการงาน, พูดคุย, หาความสุขในการนอน, ชอบคลุกคลี, ไม่พัฒนาคุณธรรมให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป และธรรมเพื่อความเจริญ คือ ตรงข้ามกับที่กล่าวมา ทุติยเสขสูตร #ข้อ 90 มีกิจมาก, ปล่อยเวลาล่วงไป, คลุกคลีกับคฤหัสถ์, ออกบิณฑบาตเช้า-กลับสายนัก, ไม่ประกอบด้วยธรรมกถาต่างๆ แล้วละการหลีกเร้น จิตไม่เป็นสมาธิ เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ผู้ที่เป็นเสขะ และธรรมเพื่อความเจริญ คือ ตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต เถรวรรค ข้อที่ 86-90
  • 12. อดทนให้เป็นปัญญา [6712-6t]

    53:58
    ทบทวน #ข้อ 215 - #ข้อ 126 ว่าด้วยความไม่อดทน โดยได้ยกเอา เวปจิตติสูตร มาอธิบายเสริมทำความแจ่มแจ้งในเรื่องของการวางจิตในความอดทนเพื่อให้เป็นปัญญา“ผู้ใดแล.. เป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อคนพาลไว้ได้ ความอดกลั้นของผู้นั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นขันติอย่างยิ่ง”ปฐม-ทุติยอปาสาทิกสูตร #ข้อ 217 - 218 โทษของบุคคลผู้ไม่น่าเลื่อมใส(ทำผิดวินัย) สูตร 1-2 คือ แม้ตนก็ติเตียนตนเอง ผู้รู้ติเตียน ชื่อสียงไม่ดีกระฉ่อนไป หลงลืมสติตาย ตายแล้วไปเกิดในอบาย คนที่ยังไม่เลื่อมใสย่อมไม่เลื่อมใส ผู้ที่เลื่อมใสแล้วกลายเป็นอื่น ไม่ปฏิบัติตามคำสอน คนรุ่นหลังเอาแบบอย่างได้อัคคิสูตร #ข้อ 219 โทษของไฟ คือ ทำให้ตาฝ้าฟาง ผิวหยาบกร้าน อ่อนกำลัง เพิ่มการคลุกคลีด้วยหมู่ สนทนาดิรัจฉานกถามธุราสูตร #ข้อ 220 นครมธุรา มีโทษคือ พื้นดินไม่เรียบ มีฝุ่นละออง สุนัขดุ มียักษ์ร้าย อาหารหาได้ยาก ถ้าเราอยู่ที่ไหนแล้วมีจิตไม่เป็นสมาธิ ละอาสวกิเลสไม่ได้ ไม่ควรอยู่ที่นั่นปฐม-ทุติยทีฆจาริกสูตร #ข้อ221 - 222 ผู้จาริกไปนาน ไม่มีกำหนดมีโทษ คือ จะไม่ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ไม่เข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว ไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เสื่อมจากธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ไม่แกล้วกล้าในเรื่องที่ได้ฟัง เป็นโรคร้ายแรง ไม่มีมิตรอตินิวาสสูตร-มัจฉรีสูตร #ข้อ223 - 224 การอยู่ประจำที่นานมีโทษ คือ มีสิ่งของ และเภสัชสะสมมาก มีกิจมาก คลุกคลีอย่างคฤหัสถ์ ห่วงใยและตระหนี่ในอาวาส ตระหนี่ในตระกูล ในลาภ วรรณะ และในธรรมพระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต อักโกสกวรรค ทีฆจาริกวรรค