Share

cover art for ความมั่นคงและไม่หวั่นไหวแห่งจิต [6438-4s]

3 ใต้ร่มโพธิบท

ความมั่นคงและไม่หวั่นไหวแห่งจิต [6438-4s]

Season 64, Ep. 38

อินทรีย์ 5 และพละ 5 นั้น ต่างมีองค์ประกอบ 5 ประการ คือ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา หากจะเปรียบเทียบ สติ ย่อมเทียบได้กับ หัวธนู วิริยะ คู่กับ สมาธิ ช่วยพยุงธนูไว้ ศรัทธา คู่กับ ปัญญา พยุงด้านปลายของธนู หากอินทรีย์หรือพละตัวใดมากไป ธนูนั้นย่อมขาดความสมดุล ไม่สามารถแล่นตรงสู่เป้าหมายได้ 

กล่าวได้ว่า อินทรีย์ 5 และพละ 5 นั้น เหมือนกันโดยองค์ธรรมเพียงแต่ใช้อธิบายคนละนัยยะ คือ ความเป็นใหญ่ และความไม่หวั่นไหว เปรียบเสมือนแม่น้ำใหญ่ที่มีเกาะอยู่กึ่งกลาง แบ่งแม่น้ำออกเป็นสองสาย แม่น้ำทั้งสองที่ถูกแบ่งนั้น ย่อมเป็นสายน้ำเดียวกัน และไหลบรรจบกันในที่สุด

More episodes

View all episodes

  • 18. บทสวดธชัคคสูตร [6718-3d]

    47:17
    ธรรม 4 ประการที่เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป หรือ สัทธรรมปฏิรูป คือ1.บทพยัญชนะ อรรถแห่งบทพยัญชนะที่สืบทอดกันมาไม่ดี2. ภิกษุเป็นคนว่ายาก3.ผู้เป็นพหูสูต ไม่ถ่ายทอดสูตรแก่ทายาท4.พระเถระเป็นผู้เดินในทางทราม หากมีการสืบทอดบทพยัญชนะ กันมาอย่างดีคือจำเนื้อหาได้ถูกต้อง ออกเสียงอักขระชัดเจน รู้ความหมายอย่างถูกต้องก็จะทำให้พระสัทธรรมแท้ยังคงอยู่และเจริญขึ้นได้ โดยการกล่าวสวดบทพยัญชนะนี้จะต้องแม่นยำทั้งบท(ตัวหนังสือ) และพยัญชนะ(การออกเสียง) การสวดมนต์นี้จึงเป็นรูปแบบของการรักษาศาสนาอย่างหนึ่ง บทสวดธชัคคสูตร(ธะชัคคะสุตตัง) เป็นบทสวดที่กล่าวถึงวิธีระงับความกลัว โดย พระพุทธเจ้ากล่าวถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตนานมาแล้วที่เทวดารบกับอสูรโดยท้าวสักกะได้บอกกับเหล่าเทวดาว่า หากเกิดความกลัวหวาดสะดุ้ง ขนพองสยองเกล้าขึ้น ให้มองไปที่ยอดธงของหัวหน้าเทวดาทั้ง 4 จะทำให้ความกลัวหายไป แต่พระพุทธเจ้ากล่าวว่าความกลัวของเหล่าเทวดาก็ยังมีอยู่ เหตุเพราะหัวหน้าเทวดาทั้ง 4 ยังมีราคะ โทสะ โมหะอยู่ พระพุทธเจ้าจึงกล่าวต่อภิกษุว่าหากภิกษุไปอยู่ป่า อยู่โคนไม้ อยู่เรือนว่าง หากระลึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ภัยความกลัว ความสะดุ้ง ความขนพองสยองเกล้าจะไม่มี เหตุเพราะผู้มีกิเลสสิ้นไปแล้ว ก็จะไม่สะดุ้งหวาดกลัวภัยอันตรายใดๆเลย
  • 17. หิริ โอตตัปปะ : ธรรมคุ้มครองโลก [6717-3d]

    57:13
    “โลกบาล” เป็นหลักคุ้มครองรักษาโลก ที่ช่วยให้มนุษย์อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข อันประกอบด้วยหลักธรรม 2 ประการที่จะมาคู่กันเสมอในจิตใจ ที่จะทำให้บุคคลทำแต่ความดี คือหิริและโอตตัปปะ “หิริ” แปลว่าความละอายต่อบาป และ “โอตตัปปะ” แปลว่าความกลัวต่อบาปบุคคลผู้มีหิริและโอตตัปปะ มีสติสัมปชัญญะ มีการสำรวมอินทรีย์ ศีลสมบูรณ์ เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงถึงพระนิพพานได้ในที่สุด
  • 16. โอกาสดี 4 ประการเพื่อการบรรลุธรรม [6716-3d]

    54:45
    ขณะ หรือเวลา หรือโอกาส ใน 4 อย่างนี้ ได้แก่ การที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น การที่ได้เกิดในพื้นที่หรือประเทศที่มีคำสอนของพระพุทธเจ้า การที่มีสัมมาทิฎฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) และการที่มีอายตนะ 6 อย่างครบสมบรูณ์ (ไม่พิการ)…โอกาสดีทั้ง 4 ประการ ที่ได้ยากขนาดนี้เกิดขึ้นแล้ว อย่าไปรีรอ อย่าให้ล่วงเลยไปเสีย โอกาสนี้ไม่ได้มีอยู่เรื่อย ๆ ตอนนี้อยู่ในช่วงโปรโมชั่น ครั้งนึงครั้งเดียวคือตอนนี้แหละ ตรงนี้แหละ ช่องที่เราอยู่ในกัปนี้ ที่ยังมีคำสอนพระพุทธเจ้าโคตมอยู่ในตอนนี้ เพราะมันไม่แน่ว่าชาติหน้าที่เราเกิดมาอาจจะไปเบียดเสียดยัดเยียดอยู่ในนรก เกิดเป็นสัตว์ที่เกิดในของโสโครก เป็นสัตว์เดรัจฉาน ไปเกิดเป็นสัตว์ในอรูปพรหม หรือแม้แต่ไปเกิดในประเทศที่ไม่มีคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่… มันไม่แน่ไม่นอนว่าโอกาสหน้าที่จะมาต่อไป มันจะมีหรือไม่ แต่ถ้ามีอยู่ตอนนี้ รีบเลย คือให้เป็นโสดาปัตติผลให้ได้
  • 15. มรรค ผล นิพพาน [6715-3d]

    57:54
    บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตามธรรมที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้ ผลที่จะพึงหวังได้ คือความผาสุก ซึ่งจะปรากฏเป็นความเบาบางของกิเลส นำไปสู่การสิ้นสุดของการเวียนว่ายตัดภพชาติให้น้อยลงไปตามลำดับ การเดินตามทางนั้นเป็นมรรค เมื่อมาถึงจุดหมายปลายทางแล้วเรียกว่าผลและมีนิพพานเป็นที่สุดแห่งการประพฤติปฏิบัติพึงเห็นโทษของการเวียนว่ายตายเกิดว่า เป็นสิ่งที่ไม่น่ายินดี พึงเห็นคุณของพระธรรมคำสอน ว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ และน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติเพื่อที่สุดแห่งพรหมจรรย์
  • 14. วิธีละกิเลส [6714-3d]

    59:13
    "กิเลส" เป็นเหตุแห่งทุกข์ต้องละเสีย จึงอ้างอิงในส่วนของอังคุตตรนิการ ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ในหมวด 6 ว่าด้วยวิธีการละกิเลส อาศัยธรรมหมวด 5 เป็นเหตุทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสได้ กล่าวคือ การฟังธรรม การเทศน์สอน การทบทวน การคิดใคร่ครวญในธรรม หรือการทำสมาธิ ธรรม 5 อย่างนี้ เมื่อปฏิบัติให้บ่อยแม้ข้อใดข้อหนึ่งก็จะเกิดความรู้ในอรรถธรรมมากขึ้น ส่งผลให้เกิดความปราโมทย์ ปีติ ทำให้กายระงับ และจิตเป็นสุข มีสติและสมาธิตั้งมั่นเป็นอารมณ์อันเดียว ซึ่งจิตที่มีสติตั้งมั่นนี้เองเป็นเหตุปัจจัยหมวด 6 ว่าด้วยการละกิเลส คือการสำรวม การพิจารณาก่อนเสพสิ่งต่าง ๆ การงดเว้นสิ่งควรงด การอดทน การละเรื่องกาม พยาบาท เบียดเบียน รวมถึงการภาวนาเพื่อให้เกิดโพชฌงค์ด้วย จะเห็นว่าธรรม 2 หมวดนี้ สอดคล้องรับกัน เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์หรือมรรค 8 นั่นเอง
  • 13. ความมั่นคงและไม่หวั่นไหวแห่งจิต [6713-3d]

    59:17
    อินทรีย์ 5 และพละ 5 นั้น ต่างมีองค์ประกอบ 5 ประการ คือศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา หากจะเปรียบเทียบ สติ ย่อมเทียบได้กับหัวธนู วิริยะ คู่กับ สมาธิ ช่วยพยุงธนูไว้ ศรัทธา คู่กับ ปัญญา พยุงด้านปลายของธนู หากอินทรีย์หรือพละตัวใดมากไป ธนูนั้นย่อมขาดความสมดุล ไม่สามารถแล่นตรงสู่เป้าหมายได้กล่าวได้ว่าอินทรีย์ 5 และพละ5 นั้น เหมือนกันโดยองค์ธรรมเพียงแต่ใช้อธิบายคนละนัยยะ คือความเป็นใหญ่ และความไม่หวั่นไหวเปรียบเสมือนแม่น้ำใหญ่ที่มีเกาะอยู่กึ่งกลาง แบ่งแม่น้ำออกเป็นสองสาย แม่น้ำทั้งสองที่ถูกแบ่งนั้น ย่อมเป็นสายน้ำเดียวกัน และไหลบรรจบกันในที่สุด
  • 12. คุณสมบัติของคนดี [6712-3d]

    58:09
    “สัตบุรุษหรือสัปปบุรุษ” หมายถึง คนดี เป็นผู้ประกอบด้วยสัทธรรม ตามจูฬปุณณมสูตร คือผู้มี “ศรัทธา หิริ โอตัปปะ พหูสุต ความเพียร สติมั่นคง และปัญญา” โดยทั่วไปเราจะพิจารณาว่าใครเป็นคนดี ก็โดยเทียบกับคุณธรรมที่กล่าวนี้ จากมิตรสหายที่บุคคลนั้นคบหา จากความคิด การให้คำปรึกษา วาจา4 การกระทำ ทิฐิความเห็น และทานที่ให้นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของ “อุบาสกธรรม7” คือคุณสมบัติของชาวพุทธที่ดี และ”กัลยาณมิตรธรรม7” คือคุณสมบัติของมิตรแท้ และ “สัปปุริสธรรม7” ในธัมมัญญสูตร อันเป็นคุณสมบัติของสัตบุรุษ ที่เปรียบดั่งคุณธรรมของพระเจ้าจักรพรรดิคุณธรรมเหล่านี้ ศึกษาเพื่อเป็นบรรทัดฐาน พัฒนาจุดที่ยังมีน้อยอยู่ หรือหากมีคุณสมบัติเหล่านี้แล้ว ก็รักษาคงไว้เพื่อความดีงาม และความเจริญต่อไป
  • 11. มงคลชีวิต35 # จิตที่ไกลจากกิเลส (6711-3d]

    56:48
    มงคลชีวิต 4 ข้อสุดท้ายนี้เป็นภูมิจิตของผู้ที่ไกลจากกิเลส กล่าวคือจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม คือ เมื่อถูกโลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์มากระทบก็ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่น่าพอใจน่าปรารถนานั้น และเมื่อถูกฝ่ายอนิฏฐารมณ์มากระทบก็ไม่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนานั้น จิตจะเข้าถึงความคงที่อย่างนี้ได้ ต้องประกอบด้วยปัญญาที่เห็นการทำงานของขันธ์ที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์จิตไม่โศก คือจิตที่หลุดจากบ่วงสิเน่หา เพราะความโศกเกิดจากความรัก จะไม่ให้โศกก็อย่าให้มีความรัก ความรักเปรียบเหมือนยางเหนียวทำให้จิตติดอารมณ์นั้น พอความรักหายไปก็เศร้าโศก จิตพระอรหันต์ท่านไม่มีรักเพราะฉะนั้นจึงไม่โศกจิตปราศจากธุลี ธุลี คือความเศร้าหมองของจิตที่เกิดจากเทือกของกิเลส (ราคะ โทสะ โมหะ) จะกำจัดกิเลสได้ด้วย อริยมรรคมีองค์8 จิตหมดธุลี คือจิตที่พ้นแล้วจากกิเลสจิตเกษม เป็นจิตที่ถึงแดนเกษมคือแดนที่ปลอดภัยจากกิเลสเครื่องกวนใจ ตัดเครื่องผูกรัด คือกามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ พ้นแล้วจาก ความเกิด-แก่-เจ็บ-ตาย
  • 10. มงคลชีวิต 34 #เห็นอริยสัจและทำให้แจ้งในนิพพาน [6710-3d]

    57:35
    ในทางปฏิบัติเราจำเป็นต้องรู้เรื่องอริยสัจไว้บ้าง เพราะเวลาที่เราไปรับรู้เห็นนิมิตอะไรมา เราอาจจะหลงหรือเข้าใจผิดสำคัญว่าตนมีคุณวิเศษหรือได้บรรลุธรรมแล้วพระพุทธเจ้าได้สละความสุขส่วนพระองค์เพื่อที่จะออกค้นหาศาสตร์ความจริงที่จะช่วยให้คนพ้นจากทุกข์ ความแก่ ความตาย ซึ่งศาสตร์ที่พระองค์ค้นพบนี้เรียก “อริยสัจ 4”การเห็นอริยสัจ (ญาณในอริยสัจ 4) ที่แท้จริงนั้นต้องมีปริวัฏฏ์ 3 มีอาการ 12 จึงจะเป็นความพ้นทุกข์ที่แท้จริง คือเป็นจิตที่พ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เป็นความแจ้งในนิพพานนิพพานธาตุ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ สอุปาทิเสสนิพพาน คือ ยังมีชีวิตอยู่ อินทรีย์ห้ายังอยู่ เสวยเวทนาอยู่ และอนุปาทิเสสนิพพาน คือการดับภพและเวทนาได้สิ้นเชิง