Share

cover art for น้อมจิตตริตรึกทางกุศล [6813-2m]

2 จิตตวิเวก

น้อมจิตตริตรึกทางกุศล [6813-2m]

Season 68, Ep. 13

เราตริตรึกคิดนึกไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีกำลัง เราจึงต้องมีสติอยู่กับพุทโธ มีกัลยาณมิตร กัลยาณธรรมเพื่อให้จิต อยู่กับกุศลธรรมทั้งทางกาย วาจา ใจ อกุศลลดน้อยลง กุศลธรรมเพิ่มขึ้นๆ ก็จะเกิดความเปลี่ยนแปลงได้ในตัวเรา จากคนไม่ดี กลายเป็นคนดี, คนไม่มีปัญญา กลายเป็นคนมีปัญญา, จิตน้อมมาทางธรรม ทางมรรคมีองค์แปด มากขึ้นๆเรื่อย จนถึงที่หมายคือนิพพานได้ จากการที่เราตริตรึกในพุทโธ ในกุศลตลอดเวลา

More episodes

View all episodes

  • 17. ความเร็วแห่งอายุสังขาร [6817-2m]

    01:01:11||Season 68, Ep. 17
    พิจารณากายด้วยปัญญาว่ากายเป็นเพียงธาตุสี่ ดินน้ำไฟลม มีเกิด-ตาย-เกิด-ตาย ในกายเรา เป็นกระแสของธาตุสี่ เราจึงเห็นเหมือนเป็นตัวตนของเราขึ้นมา หากแต่ถ้าเรามีจิตสงบที่เริ่มจากสติ จะเกิดสมาธิ จะมีปัญญา เห็นตัวเราว่าไม่ใช่ตัวเรา แต่เป็นเพียงกระแสของการเกิด-ดับ-เกิด-ดับ ตลอดเวลา พิจารณาว่ากายนี้ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาซ้ำๆ จะเกิดความหน่าย ละวางกายนี้ลงได้ 
  • 16. ที่พึ่งสุดท้าย [6816-2m]

    54:18||Season 68, Ep. 16
    ตั้งจิตอย่างไร อะไรจะเป็นที่พึ่งสุดท้ายของเรา, เมื่อมีสุข ทุกข์ผ่านเข้ามา, แม้ทุกข์ก็ทำให้เกิดกุศลได้ เริ่มจากตั้งจิต ให้ศรัทธาในศีล ปฏิบัติตามธรรมะคือ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นคือธัมโม, ลงมือปฏิบัติตามนั่นคือสังโฆ, ปฏิบัติแล้วเกิดความรู้ วิชชานั่นคือพุทโธ, ดังนั้น ที่พึ่งสุดท้ายที่จะเป็นที่พึ่งเราได้ คือพึ่งตน พึ่งธรรม คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ 
  • 15. การเติบโตของสติศรัทธาและปัญญา [6815-2m]

    54:31||Season 68, Ep. 15
    เจริญธัมมานุสติ นำธรรมมะมาตริตรึกเพื่อให้เกิดปัญญาฝึกจิตให้เป็นพืชที่เติบโตได้ คือการสร้างศรัทธาอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม, มีสติเป็นปฏัก ควบคุม การลาก แอก, คันไถ คือปัญญา เพื่อให้ผานขุด เจาะลงไปในดิน, โดยมีน้ำรดพืช คือมีความเพียร, พรวนดินซ้ำๆ ย้ำๆ คือ การบริกรรม พืชก็จะงอกงาม, จิตเราก็จะมีการปรับเสมอๆกันระหว่างศรัทธาและปัญญา, ความเพียรและสมาธิ, มีสติเพิ่มมากยิ่งๆขึ้น จิตก็จะมีกำลังคืออินทรีย์ ในการพิจารณาตริตรึกธรรมะพระพุทธเจ้า ใคร่ครวญซ้ำๆ ก็จะเกิดปัญญา ละอวิชชาได้
  • 14. ชรามรณะเป็นประดุจภูเขา [6814-2m]

    55:35||Season 68, Ep. 14
    เจริญอานาปานสติ มรณสติ อยู่อย่างไม่ประมาท อย่างมีปัญญา ด้วยการสร้างเหตุ ที่จะให้ถึงความดับไม่เหลือ แห่งความเกิด ความแก่ ความตาย นั่นคือดำเนินตามมรรคมีองค์ประเสริฐแปดอย่าง ซึ่งเป็นปฏิปทาเพื่อให้เกิดวิชชา, ในช่วงเวลาที่เหลือ, เราจะอยู่ด้วยการ ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ สร้างกุศล บำเพ็ญบุญ, เราก็จะพ้นจากความเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ นั่นเอง.
  • 12. พุทโธแสงสว่างที่ทำให้พัฒนา [6812-2m]

    58:38||Season 68, Ep. 12
    เจริญพุทธานุสติ เพื่อระลึกถึงพระพุทธเจ้า ว่าเราโชคดีมาก ที่มีโอกาสได้สามสิ่งนี้ คือ 1.การมีพระพุทธเจ้า อุบัติเกิดขึ้นบนโลก 2.การมีคำสอนของพระพุทธเจ้าและยังคงอยู่ 3.การที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา ถือเป็นความสว่างอย่างใหญ่หลวง ที่พระพุทธเจ้าสร้างแนวทางในการปฏิบัติ คือ มรรค ให้เราเดินทางเพื่อพัฒนาตัวเอง ให้เกิดแสงสว่างส่องเข้าไปในตัวเรา มีสติ ไม่หลง ไม่เพลิน จึงไม่มีอุปาทาน เกิดปีติ ปราโมทย์ จิตนุ่มนวล อ่อนเหมาะควรแก่การงานพัฒนายิ่งๆขึ้นไป ให้เราตั้งศรัทธาในพระพุทธเจ้า
  • 11. พิจารณาความจริง [6811-2m]

    59:54||Season 68, Ep. 11
    พิจารณากาย เพื่อให้เห็นตามความจริงว่า ตัวเราประกอบด้วยขันธ์ทั้งห้า, รูป 1 คือกายเราเกิดจากธาตุสี่(ดิน น้ำ ลม ไฟ), นาม 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ, โดยมีวิญญาณ(การรับรู้) เป็นตัวเชื่อม รูป-นาม, เกิดสังขาร(ปรุงแต่ง)การรับรู้นั้น, แล้วเกิดเวทนาความพอใจ หรือ ไม่พอใจ, แล้วยึดมั่น ถือมั่น(อุปาทาน)นความเพลิน พอใจ ไม่พอใจนั้น, เกิดตัวตนว่าตนพอใจ ตนไม่พอใจขึ้นมา, เกิดสภาวะ(ภพ) เกิดชาติ เกิดเป็นกระแส เกิด-ดับ เกิด-ดับ ต่อเนื่อง ตลอดเวลา, จิตจึงมีการสะสมตามความเพลินพอใจ ตามอุปาทานที่สะสม สะสมเป็นอาสวะ เกิดเป็นจิตขึ้นมา, จิตคืออาสวะ, พิจารณากายด้วยจิตที่เป็นสมาธิแล้วแยกกายเป็นส่วนหนัง ส่วนเนื้อ อวัยวะ กระดูก เอ็น เลือด ส่วนต่างๆออก จะเห็นว่าไม่มีตัวตนในเรา ไม่มีเราในกายนี้, แม้จิตก็ไม่ใช่ของเราเป็นเพียงการสะสมของอาสวะ, เห็นตามความเป็นจริงแบบนี้ต่อเนื่องๆ จะเข้าถึงความดับเย็นคือนิพพานได้. 
  • 10. ยกระดับจิตด้วยสัมมาสมาธิ [6810-2m]

    01:02:04||Season 68, Ep. 10
    การจะทำให้เกิดวิชชาคือความรู้ได้ ต้องเริ่มจากการมีสัมมาทิฏฐิ เพื่อพัฒนาจาก อวิชชาที่เป็นส่วนบาป ให้เป็นอวิชชาที่เป็นส่วนบุญ คือให้ทาน รักษาศีล ฟังธรรม มีสติ นั่นคือเกิดสัมมาทิฏฐิ, สัมมาสังกัปปะ, สัมมาวาจา, สัมมากัมมันตะ, สัมมาอาชีวะ, สัมมาสติ แล้ว จากนั้นพัฒนาต่อจากอวิชชาที่เป็นส่วนของบุญ ให้เป็นอวิชชาที่เหนือบุญเหนือบาปหรืออาเนญชะ โดยผ่านสัมมาสมาธิ และสัมมาวายามะ ทำอย่างต่อเนื่องๆ,สัญญา(ความจำได้หมายรู้) จะเปลี่ยนเป็น ญาณ เกิดญาณสามอย่างคือ 1. สัจจญาณ คือรู้อริยสัจสี่: รู้ทุกข์ รู้สมุทัย รู้นิโรธ รู้มรรค 2. กิจจญาณ คือรู้กิจที่ควรทำในอริยสัจสี่: รอบรู้ทุกข์, ละตัณหา, ทำให้แจ้งในนิโรธ, ทำให้เจริญในมรรค   3. กตญาณ คือ รอบรู้ทุกข์ได้แล้ว ละตัณหาได้แล้ว ทำให้แจ้งในนิโรธได้แล้ว ทำให้เจริญในมรรคได้แล้ว   นั่นคือถึงที่หมายคือนิพพานแล้ว ด้วยสัมมาสมาธิที่มีกำลัง.
  • 9. ความสุขสี่ระดับ [6809-2m]

    54:55||Season 68, Ep. 9
    พัฒนาจิตด้วยปัญญา เพิ่มทีละขั้นๆ ด้วยการเห็นโทษ ของฌานสมาธิขั้นที่ได้ และเห็นประโยชน์ของฌานสมาธิขั้นที่สูงกว่า ทำซ้ำ ๆ โดยเริ่มจาก ฌานที่หนึ่ง ปฐมฌาน จิตสงบ จิต สติ ลมหายใจอยู่ด้วยกันเกิด สมาธิ มีวิตก วิจาร ปีติ สุขจากสมาธิ ละกาม-พยาบาท-เบียดเบียนฌานที่สอง ทุติยฌาน จิตละเอียด เหลือแต่ปีติ สุข ละวิตก วิจารดับฌานที่สาม ตติยฌาน จิตละเอียดยิ่งขึ้น เกิดอุเบกขา และสุขจากอุเบกขานั้นฌานที่สี่ จตุตถฌาน จิตละเอียดยิ่ง ๆ ขึ้นไปเกิดอุเบกขาโดยไม่มีเวทนาใด ๆ