Share

cover art for สุขด้วยพรหมวิหาร [6703-2m]

2 จิตตวิเวก

สุขด้วยพรหมวิหาร [6703-2m]

Season 67, Ep. 3

มีสติอยู่กับลมหายใจ เกิดสัมมาสมาธิและเจริญพรหมวิหารสี่ตั้งไว้ในใจของเรา เมตตาหมายถึงความรักและปรารถนาดี กรุณาคือความปรารถนาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายพ้นทุกข์ มุทิตาหมายถึงความยินดีพอใจที่ได้พ้นจากความทุกข์หรือมีความสุข อุเบกขาคือความวางเฉยทั้งความสุขและความทุกข์เพราะเอาจิตจดจ่อตั้งไว้อยู่กับสมาธิ จากนั้นแผ่ไปทุกทิศ ไม่เว้นใคร ไม่มีขอบเขต เราไม่มองใครเป็นศัตรู ตนเองเป็นเสาอากาศตั้งแต่สมองศีรษะจนถึงพื้นเท้า เนื้อเยื่อทุกส่วนกระดูกทุกชิ้นให้แผ่กระแสไปถึงสรรพสัตว์ทั้งหลาย ปฏิบัติเมตตาเจโตวิมุตให้มากอย่างสม่ำเสมอจะเกิดอานิสงส์ 11 อย่าง 1.หลับเป็นสุข 2.ตื่นเป็นสุข 3.ไม่ฝันร้าย 4.เป็นที่รักของมนุษย์ 5.เป็นที่รักของพวกอมุษย์ 6. เทพยาดารักษา 7.ไฟ ยาพิษหรือศาสตรา ไม่ทำอันตราย 8. จิตตั้งมั่นได้รวดเร็ว 9.มีสีหน้าผุดผ่อง 10. ไม่หลงใหลทำกาละ 11.เมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมอันวิเศษทียิ่งขึ้นไป ย่อมเกิดในพรหมโลก

More episodes

View all episodes

  • 24. ศึกษาฝึกฝนจากลมหายใจ [6724-2m]

    57:55
    เจริญอานาปานสติ เกิดความรู้ตัว พร้อมเฉพาะคือ มีสติ สัมปชัญญะรู้ลมหายใจ, ให้เห็น กาย เวทนา จิต ธรรม, โดยสังเกตุลมหายใจเข้า-ออกในกาย คือ เห็นกายในกาย, สังเกตุเวทนาในกาย เวทนาในจิตคือ เห็นเวทนาในเวทนา, จิตสงบตั้งมั่นจากสมาธิ คือเห็นจิตในจิต, เกิดปัญญา เห็นทุกขลักษณะ เห็นความไม่เที่ยงของจิต จึงวางความยึดถือในจิตว่าเป็นตัวตน เกิดความดับคือเห็นธรรมในธรรม เห็นอย่างนี้จะเกิดการพัฒนาในทางที่ดีขึ้นแน่นอน.
  • 23. สติกับอนุสัย [6723-2m]

    55:28
    หายใจแรง ๆ สองสามครั้ง กำหนดรู้ถึงลมรับรู้ถึงสัมผัสได้ที่ตรงไหน เอาจิตมาจดจ่อตั้งเอาไว้ที่นี่และหายใจธรรมดา กำหนดอยู่กับลม ณ ตรงตำแหน่งที่เราสัมผัสได้ตอนแรก มีสติสัมปัญชัญญะ เมื่อสติมีกำลังมากขึ้นตามกระบวนการของการเจริญอานาปานสติ จิตจะมีกำลังมากขึ้น การรับรู้เกิดขึ้นได้แต่ไม่ตามไป รู้สึกพอใจก็เป็น ราคานุสัย รู้สึกไม่พอใจก็เป็นปฏิฆานุสัย กำจัดอนุสัยออกด้วยจิตที่เป็นสมาธิ เกิดสติสัมปชัญญะเห็นตามความเป็นจริง มีวิชาเกิดปัญญา ละอวิชานุสัยได้ เห็นว่าไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงได้ สิ่งใดไม่เที่ยงไม่ควรไปยึดถือ นิโรธมีได้ความดับเกิดขึ้นได้
  • 22. การพิจารณาปัจจัยในภายใน [6722-2m]

    53:19
    เมื่อเกิดความพอใจ ไม่พอใจ ความหลง ความไม่รู้ ให้ใคร่ครวญธรรมโดยการพิจารณาปัจจัยในภายใน เข้าใจเหตุให้ถูกต้องจะสาวไปถึงปัจจัยต้นตอเงื่อนไขของมันได้ ตามระบบอริยสัจ4 และลงมือปฏิบัติตามมรรค8 ซึ่งมีองค์ประกอบอันประเสริฐแปดอย่างเป็นหลัก แต่ถ้าเราหลงไปยึดถือ เกิดความรู้สึกและตัณหามากมายรวมเรียกว่า อุปธิ ก็จะพาให้ทุกข์ จึงต้องมีสติตั้งไว้เสมอ ไม่ตามตัณหาไป เห็นในความเป็นอนัตตา เห็นโทษของมัน ใช้หลักธัมมานุปัสนาสติปัฏฐาน ใคร่ครวญให้ถูกทาง ต้องมาจบที่มรรค 8 และควรทำให้เจริญ ทำให้มาก ซึ่งเป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือ เกิดปัญญาเห็นตามความเป็นจริงในที่สุด
  • 21. อุบายในการนำออกจากขันธ์ทััง 5 [6721-2m]

    52:12
    สร้างฐานให้จิตด้วยการระลึกถึงพุทโธ คือเจริญพุทธานุสติซึ่งสงบชั่วคราว ดังนั้นพอจิตเป็นสมาธิแล้วก็มาเจริญธรรมานุสติด้วย โดยการพิจารณาขันธ์ทั้ง 5 คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมีทั้งรสอร่อยและโทษ โทษจากความเพลิดเพลิน พอใจไปในรสอร่อยคือมีอุปทานขันธ์ และยึดเอาไว้ รู้แล้ววาง ไม่ยึดถือ เพราะไม่เที่ยง แปรปรวนเป็นทุกข์อุบายที่จะนำออกจากความยึดถือในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ คือ มรรค8 เป็นทางออกให้เห็นตามความเป็นจริง
  • 20. วิธีทำจิตให้สงบ [6720-2m]

    01:00:21
    หลักการที่ควรรู้ทำให้ละเอียดลงไปคือ เมื่อตริตรึกไปในอารมณ์ใดๆมาก จิตย่อมน้อมไปโดยอาการอย่างนั้นๆ เมื่อเข้าใจหลักการนี้ ก็สามารถเริ่มวิธีการทำจิตให้สงบจากความฟุ้งซ่านได้ โดยผูกจิตไว้ที่สติดุจผูกสัตว์ทั้ง 6 ไว้ที่เสา ไม่ให้ไปตามช่องทางของสิ่งที่มากระตุ้น รับรู้แต่ไม่ตามไป ไม่เพลินไปตามทั้งในสิ่งที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจ สติจะเป็นตัวแยกจิตออกจากการรับรู้ จิตไม่ใช่ความคิด ลิงกับป่าเป็นคนละอันกัน เมื่อมีสติย่อมไม่ลืมไม่เพลินไม่เผลอ ความรู้จะค่อยปรากฎขึ้นว่าจิตนี้ไม่ใช่ของเรา
  • 19. หยุดอวิชชาด้วยอนัตตา [6719-2m]

    58:12
    จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติคือเพื่อไม่ยึดถือ เริ่มการปฏิบัติได้โดยตั้งสติและมีศีลเป็นพื้นฐาน ตั้งสติเอาไว้ให้เห็นจิตในจิต เห็นการปรุงแต่งของจิต สติจะระงับจิตตสังขารลงเรื่อยๆ ทำจิตให้สงบด้วยสติ เมื่อจิตที่เป็นประภัสสร พบว่าแม้แต่จิตก็เปลี่ยนแปลงตามสิ่งต่างๆที่เร้าทั้งมรรคและสมุทัย เห็นตามความเป็นจริงช้อนี้คือเรื่องของไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำให้เกิดปัญญาเห็นความไม่เที่ยงเพราะการปรุงแต่ง เกิดวิชชาหยุดอวิชชาด้วยอนัตตาเป็นประตูสู่นิพพาน
  • 18. เห็นกายด้วยปัญญาผ่านลมหายใจ [6718-2m]

    57:54
    เห็นกายด้วยความน่าอัศจรรย์ผ่านลมหายใจ สังเกต ณ จุดเดียว นั่นคือกายคตาสติ ฝึกฝนให้ระงับการปรุงแต่งกายและใจที่เป็นไปตามอำนาจของกิเลสโดยปฏิบัติตามมรรคแปด จิตลมสติอยู่ด้วยกันจะไกลจากกิเลสแต่เมื่อใดที่สติและสมาธิอ่อนกำลังลงจะไปยึดสิ่งที่ไม่เที่ยง สิ่งที่เป็นทุกข์ สิ่งที่เป็นอนัตตา จึงต้องทำปัญญาขั้นที่2 ได้แก่ สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา ภาวนามยปัญญา เพื่อความหลุดพ้น
  • 17. อย่าเป็นผู้ร้อนใจในภายหลัง [6717-2m]

    54:49
    ตั้งจิตไว้ตรงจุดเมล็ดพันธุ์แห่งความดีเรียนรู้จากประสบการณ์ เจริญพุทธานุสติ กล้าเผชิญหน้ากับกิเลสซึ่งมีอยู่รอบทิศทาง ทำความเพียรอย่างเร่งด่วนจะเกิดกุศลธรรม มีสติสัมปชัญญะ เดินตามทางมรรคแปด จะไม่เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลัง ดังที่พระพุทธเจ้าท่านได้กล่าวไว้ มา ปจฺฉา วิปฺปฏิสาริโน อหุวตฺถ พวกเธอทั้งหลาย อย่าได้เป็นผู้ที่ต้องร้อนใจ ในภายหลังเลย
  • 16. นิพพานเป็นสุขได้อย่างไร [6716-2m]

    58:08
    เจริญวิราคสัญญานิโรธสัญญา ผ่านพุทธานุสสติ จิตเป็นสมาธิ ละเอียดขึ้น ๆ จนเหลือแต่อุเบกขา ไม่มีวิตกวิจารณ์ ไม่มีปีติสุข ทำสมาธิให้มีความชำนาญจะเห็นอาพาธ ของวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข จึงปล่อย คลายกำหนัดสิ่งนั้นเสียนั่นคือวิราคสัญญา จึงนำมาซึ่งความดับคือนิโรธสัญญา เมื่อปล่อย คลายออก จึงเป็นความดับ เมื่อดับจึงเป็นสุข เป็นนิพพานได้อย่างนี้ ความไม่มี หรือมีน้อยลง น้อยลง จึงนำมาซึ่งความเจริญได้ อย่างนี้นั่นเอง