Share

cover art for สมชีวิตาสู่อิสระทางการเงิน [6737-1u]

1 สมการชีวิต

สมชีวิตาสู่อิสระทางการเงิน [6737-1u]

Season 67, Ep. 37

ช่วงไต่ตามทาง : นักธุรกิจสายมูเตลู

  • ผู้ฟังท่านนี้เป็นนักธุรกิจ เคยนิยมการบูชาวัตถุต่างๆ เป็นสายมูเตลู แต่เมื่อเริ่มฟังธรรม นั่งสมาธิ ทำให้เข้าใจว่าการบูชาคนที่ไม่ควรบูชา ได้ผลไม่ดี จึงลดการบูชาวัตถุ หันมาเน้นที่พระรัตนตรัย มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึกเท่านั้น ไม่เอาอย่างอื่นเป็นที่พึ่ง ปรับเปลี่ยนหิ้งพระใหม่ ตั้งจิตในการบูชาใหม่ เกิดความสบายใจ โล่งใจขึ้น เมื่อมีใจที่สบายแล้ว การพูดหรือการกระทำอะไรก็ปลอดโปร่งโล่งสบายไปด้วย มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป สิ่งแวดล้อมก็เปลี่ยนไป ธุรกิจก็ดำเนินไปได้ด้วยดี การทำงานกับลูกน้องหรือลูกค้าก็ไม่มีปัญหา เหมือนดึงดูดกระแสของสิ่งดีดีเข้ามาในชีวิต
  • พุทธพจน์ “ถ้าใครจะสำเร็จอะไรได้ด้วยเพียงการอ้อนวอนขอร้อง ในโลกนี้จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร”
  • การบูชาอื่นในคุณธรรมที่ผู้นั้นมี เช่น ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา แล้วเราตั้งจิตไว้ตรงนั้น ก็เป็นเทวตานุสติได้


ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: การใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง (สมชีวิตา)

“สมชีวิตา” = การรู้จักใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง

1. รายรับต้องท่วมรายจ่าย อย่าให้รายจ่ายท่วมรายรับ

2. การใช้จ่าย ต้องแบ่งไว้ 4 ประเภทนี้ เท่านั้น

1) เพื่อเลี้ยงตน เลี้ยงครอบครัว

2) เพื่อรักษาทรัพย์ – ลงทุน

3) เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น – ให้ยืม

4) เพื่อหวังเอาบุญ – ทำบุญกับเนื้อนาบุญ, หมู่สงฆ์


“รายรับ” แบ่งคนได้เป็น 3 ประเภท

1) กุฎุมพี = คนมีรายรับ

2) เศรษฐี = คนมีรายรับมากจนท่วมรายจ่าย

3) มหาเศรษฐี = คนมีรายรับมากจนท่วมรายจ่าย โดยมีรายรับหลายทาง

“การใช้จ่าย” แบ่งคนได้เป็น 3 ประเภท

1) คนเข็ญใจ = คนที่มีรายรับ ไม่ท่วมรายจ่าย

2) คนจน = คนที่มีรายรับพอๆ กับรายจ่าย

3) อิสรชน = คนที่มีรายรับ ท่วมรายจ่าย


  • การใช้จ่ายอย่างถูกต้อง ทำให้เป็นอิสรชน เมื่อเป็นอิสรชนแล้ว เราจะมีกำลังใจสูง มีบุญที่เกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ในแต่ละประเภท การแบ่งจ่ายทรัพย์ที่ถูกต้องในชีวิตประจำวันเป็นบุญทันที เป็นบุญที่สะสมอยู่เรื่อย ๆ ทำให้จิตใจเปิดกว้าง
  • อิสรชนที่มีรายรับจนถึงขั้นให้เงินทำงานแทน (Passive Income) เปรียบเหมือนรวงผึ้งหรือจอมปลวก เช่น ซื้ออสังหาปล่อยให้เช่า เงินปันผลจากหุ้น หากท่วมรายจ่ายทั้งหมดได้ ก็จะเกิดภาวะอิสรภาพทางการเงิน (Financial Freedom) ไม่ต้องทำงานแบบ active แล้ว ก็ได้


โดยสรุป: สมชีวิตา = การรู้จักใช้ชีวิตให้สมดุล รู้จักรายรับ รู้จักรายจ่าย ใช้จ่ายอย่างถูกต้อง ด้วยการกระทำอย่างนี้สามารถสร้าง Passive Outcome ได้

More episodes

View all episodes

  • 39. บริหารสมองในวัยเกษียณ [6739-1u]

    58:58||Season 67, Ep. 39
    ช่วงไต่ตามทาง: ลูกศิษย์ย้อนนึกถึงเมื่อครั้งช่วยสร้างวัด- ลูกศิษย์ของหลวงพ่อ ดร.สะอาด สมัยเริ่มสร้างวัดป่าดอนหายโศก ได้เคยร่วมสร้างกุฏิ ศาลาปฏิบัติธรรม และมาปฏิบัติธรรมที่วัด แต่ไม่ได้มาวัด 30 ปี จนกระทั่งได้ทราบข่าวการมรณภาพของหลวงพ่อจึงเดินทางมาที่วัด และได้หวนนึกถึงความหลังที่ตนได้สร้างมา จิตใจก็มีความปราบปลื้ม ดีใจ สบายใจ ความระลึกได้นั้นคือ “สติ” ระลึกถึงศีลความดีที่ตนเคยทำมา (สีลานุสติ) ระลึกถึงครูบาอาจารย์ (สังฆานุสติ) ระลึกถึงศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา (เทวตานุสติ) ความดีของตนที่ระลึกได้นี้ จะเป็นที่พึ่งของตนในเวลาที่จะจากโลกนี้ไปได้- ในขณะจิตสุดท้าย ถ้าจิตน้อมไปคิดถึงเรื่องไม่ดี ปองร้าย พยาบาท ทางกาม ก็จะไปไม่ดี เกิดเป็นเปรตหรือสัตว์นรกช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: บริหารสมองในวัยเกษียณ- กาย วาจา ใจ จะปรุงแต่งอย่างไรให้สมองและจิตยังดีอยู่ได้ ไม่แก่ไปตามร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ให้ยังมีความผาสุกได้อยู่- จิตกับสมองไม่เหมือนกัน สมองควบคุมร่างกาย ส่วนจิตควบคุมสมองอีกชั้นหนึ่ง จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการคิดปรุงแต่งการพูดหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย การฝึกสมองผ่านทางกาย ทางวาจา จะทำให้สมองไม่แก่1. ทางกาย (กายสังขาร) = การเคลื่อนไหวร่างกายมีส่วนสำคัญทำให้สมองมีความคมอยู่ ไม่หลงลืม(1) นอนให้เพียงพอ(2) ทานอาหารพออิ่ม - ไม่มากไม่น้อยเกินไป มีคุณค่าต่อร่างกาย(3) ออกกำลังกายพอประมาณ – การเดินช่วยย่อยอาหารได้ดี(4) จัดตารางเวลาชีวิต - หนึ่งวันจะทำอะไรบ้าง2. ทางวาจา (วจีสังขาร) = การพูดจะช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้อย่างดี(1) อ่านออกเสียง - กระตุ้นสมองให้ประมวลผลเรื่องคำพูด(2) อธิบายรูปภาพที่เกิดขึ้นในความคิดออกมาเป็นคำพูด - เช่น จะไปกินข้าวนอกบ้าน ให้อธิบายตามภาพที่เกิดขึ้นในหัวเป็นคำพูดว่า จะกินข้าวผัดอะไร จานเป็นยังไง ปริมาณเท่าไร กินที่ไหน แต่งตัวยังไง ไปกันกี่คน(3) ตั้งคำถามในเรื่องต่าง ๆ หรือ ตอบคำถามคนอื่น – สมองจะได้รับการพัฒนาเมื่อคิดเป็นคำถามในสิ่งที่ยังไม่รู้(4) สังเกตรูปหรือเสียงต่างๆ – ฝึกอายตนะด้านการรับรู้ ฝึกสติ ช่วยพัฒนาสมอง(5) ฟังสิ่งที่คนอื่นพูดวิจารณ์เรา – มีสติ คิดตาม เรื่องที่เราต้องปรับปรุง สมองจะได้ใช้งาน(6) พูดชื่นชมผู้อื่น - ก่อนพูดจะผ่านกระบวนการประมวลผลในสมอง ไม่มีประโยชน์ที่จะนึกถึงความไม่ดีของคนอื่นแล้วทำให้จิตใจเราเศร้าหมอง เราต้องรักษาจิตของเราให้สูงก่อน การมองเห็นแง่ดีของคนอื่นจะช่วยพัฒนาความดีของเราให้มากขึ้นได้(7) พูดเปรียบเปรย ยกอุปมาอุปไมย เทียบเคียง – เส้นประสาทในสมองจะถูกกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมโยง3. ทางจิต (จิตสังขาร) = จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการปรุงแต่งออกไปทางกาย ทางวาจา ทางความคิด(1) ฝึกคิดเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อจิตใจ = ไม่คิดตำหนิผู้อื่น การเขียนอธิบายเป็นตัวอักษร เป็นการทบทวน เป็นการโยนิโสมนสิการอย่างหนึ่ง ไตร่ตรองใคร่ครวญโดยแยบคาย กระชับความคิด ช่วยกระตุ้นสมองให้คิดไปในทางดีได้(2) ฝึกคิดวางแผนงานล่วงหน้า(3) ฝึกคิดสร้างสรรค์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง(4) ฝึกสมาธิ - สำคัญที่สุด ให้จิตได้พักผ่อนจากการปรุงแต่ง โดยให้ตั้งสติขึ้น สติเป็นเครื่องมือในการทำให้จิตสงบ เมื่อจิตสงบ การใช้สมองซึ่งเป็นเครื่องมือของจิตก็จะใช้ได้อย่างดี การฟังเทศน์ฟังธรรมจะทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่ายโดยสรุป: ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน สิ่งของต่าง ๆ แม้แต่ร่างกายของเรา สิ่งเหล่านี้จะพังทั้งหมด ไม่สามารถเอามาเป็นที่พึ่งได้ แต่สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งของเราได้ คือ จิตที่มีธรรมะ หากจิตมีที่พึ่งที่มั่นคงแล้ว เวลากายแตกดับ ก็จะมีที่พึ่งอันเกษม ที่พึ่งอันสูงสุด การลับสมองของเราให้คมอยู่เสมอ ด้วยกาย วาจา ใจ จะทำให้จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการพัฒนาจิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมองยังดีอยู่ได้ ด้วยจิตใจที่ดี จิตใจที่มีกุศลธรรม จากบุญกุศลที่สะสมไว้นั่นเอง และต้องไปตรวจสุขภาพเช็คระบบประสาทและสมองด้วย
  • 38. จริยธรรมของผู้บริหารบ้านเมือง [6738-1u]

    53:51||Season 67, Ep. 38
    Q1: คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหารบ้านเมืองA: ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ต้องเป็นคนดี คนเก่ง และคนกล้า 1. เป็นคนดี = เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เป็นคุณธรรมข้อแรกที่นักปกครองต้องมี มีเกณฑ์วัด 4 ระดับ (1) ประโยชน์ส่วนตัว = วงกลม 2 วง เห็นประโยชน์ส่วนตัวแยกจากคนอื่น (2) ประโยชน์ส่วนร่วม = เห็นเฉพาะประโยชน์ส่วนที่วงกลม 2 วงทับซ้อนกัน (3) ประโยชน์ส่วนเรา = เห็นประโยชน์ของวงกลมทั้ง 2 วง ทั้งส่วนทับซ้อนและไม่ทับซ้อนกัน (4) ประโยชน์ส่วนรวม = เห็นประโยชน์ขยายเป็นสี่เหลี่ยมที่ครอบรวมวงกลมทั้ง 2 วง ทั้งหมด2. เป็นคนเก่ง = มีทักษะ มีความสามารถ ฝึกฝนได้3. เป็นคนกล้า = กล้าที่จะยืนหยัดในความดี เมื่อมีอำนาจแล้วไม่ถูกกิเลสดึงให้ความดีลดลง - ถ้าบกพร่องเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็จะมีปัญหาเรื่องคุณธรรมจริยธรรมหรือประสิทธิภาพในการบริหารงาน - ดี กล้า แต่ไม่เก่ง = มีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารงาน - ดี เก่ง แต่ไม่กล้า = ไม่มีเสถียรภาพในการบริหารงานให้สืบต่อไปอย่างยั่งยืนได้ - เก่ง กล้า แต่ไม่ดี = หาประโยชน์ส่วนตัว เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก - โดยสรุป “ดี เก่ง กล้า” เป็นเกณฑ์เพื่อเลือกคนมาทำงานบริหารบ้านเมือง จะทำให้บ้านเมืองพัฒนาดีขึ้นได้ ดีและเก่งต้องมาด้วยกัน ถ้าเก่งอย่างเดียวแต่ไม่ใช่คนดี ก็จะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม แต่ถ้าคนดีเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมแล้ว ก็สามารถเรียกคนเก่งมาใช้งานได้Q2: นิมนต์พระรูปเดียวทำบุญขึ้นบ้านใหม่A: ได้ หรือไม่นิมนต์พระเลยก็ได้ เพราะบุญเกิดจากทาน ศีล ภาวนา แต่คนไทยติดรูปแบบ สมัยพุทธกาล เจ้าลิจฉวีสร้างปราสาทใหม่นิมนต์พระพุทธเจ้ามาใช้สถานที่นี้ก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล ทำให้เป็นทางมาแห่งบุญ 5 ประการ คือ 1. ได้เห็นพระสงฆ์ เป็นการเห็นอันเลิศ 2. ได้กราบไหว้พระสงฆ์ เป็นการบูชาเลิศ 3. ได้ถวายทาน 4. ได้ฟังธรรม 5. ได้ถามปัญหา- พระสงฆ์เป็นนาบุญ ถ้านิมนต์พระมาแล้วได้ทำ 5 ประการนี้ ถือว่าได้บุญเต็ม ไม่ว่าจะนิมนต์มากี่รูปก็ตาม Q3: ผู้หญิงเข้าวัดมากกว่าผู้ชายA: จิตใจของคนไม่มีเพศหรือวัย จิตก็คือจิต จิตที่ดีก็มักจะคล้อยไปในทางดี จิตที่ไม่ดีก็มักจะคล้อยไปในทางไม่ดี คนชั่วทำความดีได้ยาก คนดีทำความชั่วได้ยาก คนชั่วทำความชั่วได้ง่าย คนดีทำความดีได้ง่าย Q4: พิธีกรรมบูชาเทพที่วัด และการอุทิศบุญกุศลA: หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นด้วย “ศรัทธา” และต้องจบที่ “ปัญญา” - คนที่มีศรัทธาในสิ่งที่ไม่ถูกต้องยังดีกว่าคนที่ไม่มีศรัทธาในอะไรเลย เพราะคนที่ไม่มีศรัทธาในอะไรเลยจะทำความชั่วได้โดยไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใด ส่วนคนที่มีศรัทธาในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ยังสามารถเปลี่ยนให้มีศรัทธาที่ถูกต้องได้ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ - ศรัทธาที่เป็นไปเพื่อปัญญา คือ รู้ตามความเป็นจริง เกิดความปล่อยวาง ตั้งอยู่ในทางศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสิ่งที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้จริง - พิธีกรรมใดที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา แต่เป็นไปเพื่อความงมงาย พิธีกรรมนั้นก็ไม่ถูกทาง- การอุทิศบุญกุศลให้ผู้ล่วงลับ เป็นสิ่งที่ควรทำ จะทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้ทำบุญ ส่วนผู้ล่วงลับจะได้บุญหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าเขาอยู่ในฐานะที่จะรับได้หรือไม่ เฉพาะปรทัตตูปชีวิกเปรตเท่านั้นที่จะสามารถรับบุญที่เป็นอาหารได้ Q5: เนื้อคู่มีจริงหรือไม่A: ผู้ที่เห็นกันแล้วเกิดความพอใจกัน เกิดจากการเกื้อกูลกันในกาลก่อนหรือในปัจจุบัน เป็นความรู้สึกภายใน การเลือกคู่ครองให้ดูที่ ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา ต้องเสมอกัน อย่าไปดูแค่เรื่องกาม ถ้ามีคู่ครองไม่ดี ไม่มีดีกว่า มีความสุขที่เหนือกว่า เช่น ความสุขที่เกิดจากการรักษาศีล สมาธิ ปัญญา Q6: เตือนพ่อแม่ด้วยคำพูดไม่ดี บาปหรือไม่A: ไม่ว่าพ่อแม่ด่าลูกหรือลูกด่าพ่อแม่ ก็เป็นบาป เพราะการด่าเป็นมิจฉาวาจา เราจะห้ามเขาจากบาปด้วยบาปไม่ได้ ถ้าลูกด่าพ่อแม่ บาปหนักกว่าเพราะทำต่อผู้มีบุญคุณ อย่าไปเอาเครื่องมือมารมาใช้ ต้องหาเทคนิคในการเตือนพ่อแม่ ให้ตั้งจิตเจตนาไว้ด้วยเมตตากรุณาให้ท่านพ้นจากความทุกข์ พบกับความสุข และให้การกระทำและเจตนาไปในทางเดียวกัน ความดีก็จะไม่ถูกตัด
  • 36. วิธีรับมือกับลูกน้องเพื่อพัฒนาองค์กร [6736-1u]

    52:51||Season 67, Ep. 36
    กัลยาณมิตร VS ปาปมิตร“กัลยาณมิตร” มี 4 ลักษณะ1. มิตรมีอุปการะ = คอยให้ประโยชน์ คอยเตือนเรารักษาเราเมื่อประมาทประพฤติไม่ดี คอยรักษาทรัพย์ให้เราเมื่อเราประมาท เมื่อมีภัยจะเป็นที่พึ่งพำนักได้ ในยามมีเหตุจำเป็นเดือดร้อนต่าง ๆ ยิ่งเป็นที่พึ่งได้เป็นสองเท่าจากที่เคยออกปากไว้2. มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข = มิตรที่บอกความลับของตนแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในยามอันตราย แม้ชีวิตก็สละให้กันได้3. มิตรแนะประโยชน์ = ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง บอกทางสวรรค์ให้4. มิตรมีความรักใคร่ = ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน ยินดีในความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน “ปาปมิตร” มี 4 ลักษณะ 1. ปอกลอก = คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เวลาจะเสียให้นิดเดียว แต่เวลาจะเอา เอามาก ไม่ช่วยงาน2. ดีแต่พูด = เอาสิ่งที่ล่วงไปแล้วมาพูด อ้างสิ่งที่ยังมาไม่ถึงจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้ สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ เมื่อมีกิจเกิดขึ้นแสดงความขัดข้อง3. คนหัวประจบ = จะทำดี ก็คล้อยตาม จะทำชั่ว ก็คล้อยตาม ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา4. ชักชวนไปในทางชิบหาย = ชวนดื่มเหล้า ชวนให้ไปเที่ยวตามครอกซอกซอยในเวลากลางคืน ชวนให้ไปดูมหรสพ ชวนให้เล่นการพนัน Q1: เพื่อนร่วมงานที่ถือความคิดตนเป็นใหญ่A: ให้เราทำตัวเป็นมิตรแนะประโยชน์ 1. ไม่ทำตนเป็นคนไม่ดีเสียเอง 2. แนะนำให้เขาทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี 3. ทำตนให้เป็นเพื่อนที่ดีสำหรับเขา เขาก็จะมีศรัทธาในตัวเรา พูดแนะนำอะไรไปเขาก็จะรับฟัง - หากเราไม่ได้ต้องการเกี่ยวข้องกับเขามาก ก็ต่างคนต่างอยู่ก็ได้ เพราะเขาไม่ได้เป็นคนไม่ดี- ทั้งนี้ การนำธรรมะเข้าสู่องค์กร จะทำให้พฤติกรรมและทัศนคติของคนในองค์กรมีศีล สมาธิ ปัญญา มีจิตใจที่นุ่มนวลลง เป็นวิธีที่เอาชนะได้อย่างถาวร Q2: ลูกน้องขาดงานบ่อยA: ให้พูดคุยสอบถามลูกน้องว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่- เจ้านายมีหน้าที่ คือ ให้ลูกน้องทำงานตามกำลัง หากประสิทธิภาพในการทำงานของลูกน้องลดลง ก็ต้องปรับให้เขาทำงานในสิ่งที่เขาทำได้ ทำงานลดลงตามความสามารถ และให้เงินเดือนลดลงตามความสามารถนั้น Q3: ลูกน้องไม่ทำตามหน้าที่A: ให้ลูกน้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน และปรับงานของลูกน้องไม่ให้กระทบกระเทือนกับคนอื่น หรือให้ลูกน้องออกจากงาน- การฝึกสมาธิจะทำให้คนที่มีจิตใจที่แข็งกระด้าง มีจิตใจนุ่มนวลอ่อนลงได้ บางบริษัทจึงจัดให้มีการฝึกสมาธิปีละครั้ง หรือมีการจัดกิจกรรมฟังเทศน์ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม Q4: ลูกน้องมีปัญหาส่วนตัวกระทบกับงานA: ให้พิจารณาก่อนว่าพื้นฐานจิตใจของลูกน้องเป็นคนดีหรือไม่ (เทวดา, พรหมโลก, สัตว์นรก) เกิดมามืดหรือสว่าง เราจะเป็นมิตรมีอุปการะให้เขาไปทางดีหรือไม่ เป็นที่พึ่งให้เขาได้หรือไม่ - สามารถอุปการะเขาได้ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ = ทางใจให้ได้ไม่มีประมาณ ไม่มีหมด “กรุณา” ปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ “อุเบกขา” ไม่ให้จิตเราหวั่นไหวไปกับสิ่งที่ไม่ดีนั้น, มีปิยวาจา พูดดีด้วย หรือแบ่งจ่ายทรัพย์ของเราไว้ช่วยเหลือคนอื่น Q5: คนชอบนินทาA: แม้ไม่ได้พูดโกหกหรือคำหยาบ แต่ถ้ามีเจตนาพูดยุยงให้เขาแตกกัน ถ้าทำมาก ๆ โทษหนัก ก็จะไปตกนรก โทษเบา ก็จะทำให้เป็นคนที่แตกจากมิตร ไม่มีใครคบด้วย เราอย่าไปแช่งเขาเพราะโทษจะเกิดกับเราเอง อย่าไปนินทาตอบ ให้เราอดทน ให้เอาชนะคำไม่จริงด้วยคำจริง เอาชนะคำนินทาลับหลัง ด้วยการพูดอ่อนโยน จะเป็นการเอาชนะได้อย่างยั่งยืน Q6: เด็กฝากในที่ทำงานA: อย่ามีอคติกับเขา บาปกรรมจะให้ผลกับเราได้ ควรรักษาความดีของเราไว้ แนะนำเด็กฝากในทางที่ดี ให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข องค์กรก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีได้
  • 35. วิธีประคับประคองชีวิตคู่ให้อยู่เป็นสุข [6735-1u]

    58:16||Season 67, Ep. 35
    โสด VS แต่งงาน- พระพุทธเจ้าทรงเตือนไว้ว่า “ผู้ใดมีสิ่งที่รักหนึ่งร้อย ผู้นั้นก็จะมีทุกข์หนึ่งร้อย ผู้ใดมีรักเก้าสิบ ผู้นั้นก็จะมีทุกข์เก้าสิบ ผู้ใดมีรักหนึ่ง ผู้นั้นก็จะมีทุกข์หนึ่ง ผู้ที่ไม่มีรัก ก็จะเป็นผู้ไม่มีทุกข์”- ถ้ายังไม่แต่งงาน = อยู่เป็นโสดดีกว่า - ถ้าจะแต่งงาน = อย่าเลือกคู่ครองจากสิ่งภายนอก เช่น รูปร่างหน้าตา เพราะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่ให้เลือกที่คุณธรรมภายใน ได้แก่ “ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา”- ถ้าแต่งงานแล้ว = ก็อย่าคิดเลิก ให้อยู่กันไป ถ้าไม่เวิร์ค ก็ต้องอดทน ปรับตัวให้อยู่ด้วยกันต่อไปให้ได้- ตั้งแต่วันแต่งงาน ชีวิตไม่ได้เป็นของเราโดยสิ้นเชิงอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นของกันและกัน ต้องเกี่ยวเนื่องกับครอบครัวของอีกฝ่ายหรือลูก จึงต้องช่วยกันรักษา ถ้าฝ่ายหนึ่งรักษาแต่อีกฝ่ายไม่รักษา ก็จะเกิดความบกพร่องในด้านที่ไม่รักษานั้น แต่ถ้าเรารักษาให้ดี ความดีก็จะเกิดขึ้นแก่เรา- การอยู่ครองเรือน อย่าอยู่ด้วยความรักแบบฉันชู้สาว ด้วยความพอใจหรือไม่พอใจ แต่ให้อยู่ด้วยคุณธรรม คือ “ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา” อยู่ด้วยหน้าที่ของความเป็นสามีภรรยา อยู่ด้วยกิจที่ควรทำ อยู่ด้วยความเมตตา การครองเรือนของเราก็จะไปได้ หน้าที่ของสามีและภรรยาที่มีต่อกัน - สามีภรรยา เป็นทิศเบื้องหลัง ในหมวดธรรมเรื่อง “ทิศ 6” หากรักษาทิศนี้ไม่ดี ทิศนี้ก็จะเป็นภัย- หน้าที่ของสามีต่อภรรยา ได้แก่ ยกย่อง, ไม่ดูหมิ่น, ไม่ประพฤตินอกใจ, มอบความเป็นใหญ่ในหน้าที่ให้ และให้เครื่องประดับ- หน้าที่ของภรรยาต่อสามี ได้แก่ จัดแจงการงานอย่างดี, สงเคราะห์คนข้างเคียงดี, ไม่ประพฤตินอกใจ, ตามรักษาทรัพย์ที่มีอยู่, ขยันขันแข็งในหน้าที่การงานทั้งปวง ลักษณะภรรยา 7 จำพวกไม่ดี = 1. เสมอด้วยเพชฌฆาต 2.เสมอด้วยโจร 3. เสมอด้วยนาย ดี = 4. เสมอด้วยมารดา 5. เสมอด้วยพี่สาวน้องสาว 6.เสมอด้วยเพื่อน 7.เสมอด้วยทาสี 10 วิธีดำรงความสัมพันธ์กับพ่อแม่สามีอย่างเป็นสุข1.ไฟในอย่านำออก 2. ไฟนอกอย่านำเข้า 3. พึงให้กับคนที่ให้เท่านั้น 4.ไม่พึงให้กับคนที่ไม่ให้ 5.พึงให้กับคนที่ทั้งให้และไม่ให้ 6.นั่งให้เป็นสุข 7.บริโภคให้เป็นสุข 8.พึงนอนให้เป็นสุข 9.บำเรอไฟ 10.นอบน้อมเทวดาภายในวิธีรับมือเมื่อเจอเรื่องไม่น่าพอใจ- ในการอยู่ครองเรือน เมื่อเจอเรื่องที่ไม่น่าพอใจ ให้อดทนเอา โดยทำจิตให้เหมือนแผ่นดิน ที่ใครจะมีคนมาขุดให้ไม่เป็นแผ่นดินย่อมเป็นไปไม่ได้, ทำจิตให้เหมือนแม่น้ำ ที่ใครจะมาจุดไฟเผาให้แม่น้ำเดือดย่อมเป็นไปไม่ได้, ทำจิตให้เหมือนอากาศ ที่ใครจะมาเขียนรูปให้ปรากฏบนอากาศย่อมเป็นไปไม่ได้, ทำจิตให้เหมือนแผ่นหนังแมวป่าขนฟู ที่ใครจะเอาไม้มาทุบตีให้มีเสียงย่อมเป็นไปไม่ได้- ให้เอาชนะความเท็จด้วยคำสัตย์, เอาชนะความไม่เข้าใจด้วยความเข้าใจ, เอาชนะความเกลียดด้วยความรัก, เอาชนะคำโกหกด้วยความจริง เมื่อคิดจะเลิกกัน- หากจะเลิกกัน ให้อีกฝ่ายเป็นคนขอเลิก ส่วนเราให้ประคับประคองชีวิตคู่ให้ไปต่อด้วยกันได้และให้เราตั้งอยู่ในการรักษาศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา เมตตา กรุณา ไว้ให้ดี ถ้าอีกฝ่ายมีบุญสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองมารักษาศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา ให้เสมอกับเราได้ ก็จะอยู่ด้วยกันต่อไปได้ แต่ถ้าเขาไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้เขาก็จะแยกจากเราไปเอง เช่น เรารักษาศีล แต่อีกฝ่ายไม่รักษาศีล เขาจะไม่พอใจเรา มีแนวโน้มที่เขาจะไปหาคนอื่นที่ไม่รักษาศีลเหมือนกัน โดยสรุป : อยู่เป็นโสดประพฤติพรหมจรรย์นั้นดีกว่า แต่ค่านิยมของสังคมในปัจจุบัน นิยมการมีคู่ครอง เมื่อเลือกที่จะมีคู่ครองแล้ว ก็รักษาให้ดีด้วยวิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ก็จะประคับประคองชีวิตคู่นั้นให้มีความราบรื่น มีกำลัง มีความมั่งคั่ง
  • 34. ที่พึ่งในยามทุกข์ ที่ไม่ใช่ "พิธีแก้กรรม" [6734-1u]

    55:52||Season 67, Ep. 34
    Q1: ความอยากได้เงินเพิ่ม เพื่อนำไปทำบุญเพิ่มอีก เป็นความโลภหรือไม่A: ความอยากได้เงินเพิ่มเพื่อนำไปทำบุญเพิ่มอีก จะทำให้บุญที่ทำในครั้งนั้นเศร้าหมองลง- การระลึกถึงบุญจากการทำทาน เป็นจาคานุสติ เกิดเป็นความสุขใจ แต่เมื่อเกิดความอยากได้เงินเพิ่มเพื่อนำไปทำทานเพิ่มอีก จะทำให้บุญนั้นเศร้าหมองลง ในขณะเดียวกัน ความคิดที่ว่าจะทำบุญเพิ่มอีก ก็เกิดสภาวะจิตสุขใจ เป็นบุญ ดังนั้น จึงเกิดสภาวะจิตที่เป็นบุญบ้าง สุขใจบ้าง เศร้าหมองบ้าง ปะปนกัน สลับกันไป - วิธีที่ถูกต้อง คือ รักษาสภาวะจิตให้อยู่ในแดนของบุญมาก ๆ ด้วยการภาวนา ซึ่งเป็นบุญที่เหนือกว่าการให้ทาน จึงจะถูกต้อง นอกจากการให้ทานแล้ว ควรยินดีในการรักษาศีล เจริญภาวนาด้วย จึงจะได้บุญเต็มในทุกรูปแบบ Q2: หากมีบุญมากกว่าบาป เมื่อตายแล้วจะไปสวรรค์ได้เลยหรือไม่A: ขึ้นอยู่กับว่าในขณะที่ตาย บุญหรือบาปให้ผลก่อนกัน ไม่ใช่ว่าบุญหรือบาปน้อยกว่ากัน Q3: พิธีแก้กรรม A: ในทางพระพุทธศาสนา ไม่มีคำว่า “แก้กรรม” มีแต่ “ต้องได้รับผลของกรรม” “ความสิ้นกรรม” “กรรมหนักกรรมเบา”- การเจริญพุทธมนต์ เป็นการฟังบทสวดที่เป็นพุทธวจนของพระพุทธเจ้า การฟังธรรมได้บุญ - พระพุทธเจ้าสอนว่า “ถ้าใครจะสำเร็จอะไรได้ด้วยการอ้อนวอนขอร้อง ในโลกนี้จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร” เช่น จะไม่มีคนป่วยหรือคนตาย ดังนั้น สิ่งใดจะสำเร็จขึ้นได้ด้วยการอ้อนวอนขอร้อง จึงเป็นความเข้าใจผิด- ความเข้าใจที่ถูก (สัมมาทิฏฐิ) คือ กรรมดีให้ผล กรรมชั่วให้ผล ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว พุทธคุณมี สังฆคุณมี การพ้นทุกข์มี การคิดดีพูดดีทำดีจะได้รับผลดี- โดยสรุป การเข้าร่วมพิธีกรรมใดก็ตาม ให้ตั้งจิตไว้ให้ถูก โดยตั้งจิตไว้ในกุศล ประกอบด้วยปัญญา ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องว่า การแก้กรรมไม่มี แต่เพิ่มปริมาณกรรมดีได้ ด้วยการฟังบทสวดเจริญพุทธมนต์ ด้วยการคิดดีพูดดีทำดี ตั้งจิตไว้ถูก ปราศจากความงมงาย ไม่อ้อนวอนขอร้อง อย่างนี้สามารถเข้าร่วมพิธีกรรมได้Q4: ที่พึ่งในยามเจออุปสรรคในชีวิต ที่ไม่ใช่พิธีแก้กรรมA: ที่พึ่งที่ถูกต้องคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และประกอบด้วย ปัญญาของตน เรียกว่า “พึ่งตน-พึ่งธรรม”- พระพุทธเจ้าทรงชี้ทางสว่างไว้ว่า “เมื่อเจอความทุกข์ ให้มีสติสัมปชัญญะ ให้อดทน ให้อยู่กับทุกข์ให้ได้ และกำจัดตัณหาที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์นั้น” นี่เป็นปัญญา ช่วยลดความงมงาย สามารถแก้ปัญหาที่แท้จริงได้ จนไปถึงนิพพานได้เลย- ถ้าสร้างเหตุที่ถูกต้องแล้ว การมูเตลูก็ไม่จำเป็น หากยังมูเตลูอยู่ แสดงว่ายังไม่มีความมั่นใจ Q5: ผลจากการให้ทาน รักษาศีล แต่ไม่ได้ภาวนาA: การให้ทาน รักษาศีล ก็จะแก้ทุกข์ได้เฉพาะที่การให้ทาน รักษาศีล แก้ได้ ส่วนทุกข์ที่ต้องแก้ด้วยการภาวนา ก็จะไม่ได้- การภาวนา คือ การพัฒนาจิต ทำความเข้าใจ ปรับทิฏฐิ คิดเป็นระบบ (โยนิโสมนนิการ) ตามระบบของอริยสัจ 4 หากภาวนาแล้วจิตสงบ ก็จะเป็นปัญญาให้เกิดความเข้าใจ ปล่อยวางได้ ภาวนาจะเป็นตัวแก้ทุกข์ทางใจได้ทั้งหมด Q6: เนื้อคู่มีจริงหรือไม่A: คนที่ชอบกัน เป็นเพราะความเกื้อกูลกันที่มีมาในปางก่อน หรือในปัจจุบัน - เนื้อคู่ในชาติปางก่อน อาจมีหรือไม่มีก็ได้ อาจจะเจอกันหรือไม่เจอกันก็ได้ เพราะเกิดกันคนละภพภูมิ คนละช่วงเวลา - หากคิดจะครองเรือน การดูเนื้อคู่ ให้ดูในปัจจุบันโดยไม่ต้องอ้อนวอนขอร้องจากใครเลย คือ ตรวจสอบว่ามีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา เสมอกันหรือไม่ ถ้าเสมอกันก็จะอยู่ด้วยกันอย่างเป็นสุข
  • 33. เครื่องมือ “กำจัดความคิดทางลบ” [6733-1u]

    50:06||Season 67, Ep. 33
    วันแม่ เมตตา หมายถึง ความรัก ความปรารถนาดี ที่ไม่มีเงื่อนไข เปรียบเหมือนมารดาย่อมรักลูกที่เกิดจากครรภ์ตัวเองฉันใด ก็ควรเจริญเมตตาจิตไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน จะทำให้เกิดกุศลและกีดกันไม่ให้อกุศลเกิดขึ้นในจิตของเราได้วิธีตอบแทนพระคุณของมารดาที่ดีที่สุด คือ ถ้าท่านยังไม่มีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา ก็ให้ท่านประดิษฐานตั้งอยู่ในศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา หากท่านมีแล้วก็ให้ท่านพัฒนาให้ยิ่งขึ้นไป แต่ถ้ามารดาล่วงลับไปแล้ว ก็ให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ช่วงไต่ตามทาง: เคยเป็นคนคิดลบผู้ฟังท่านนี้ อายุ 80 ปี เคยเป็นคนหงุดหงิดง่าย ไม่พอใจหลายสิ่งหลายอย่าง มีความคิดลบเยอะ แต่เมื่อได้ฟังรายการธรรมะรับอรุณทุกวัน เป็นเวลาหลายปี สังเกตเห็นว่าตนเองมีความทุกข์ลดลง มีความสุขในใจเพิ่มขึ้น ได้ประโยชน์จากการฟังรายการนี้มาก แนะนำให้ท่านผู้ฟังอื่นติดตามฟังรายการนี้ทุกวันจะได้รับประโยชน์มากการที่มีคนฟังรายการธรรมะรับอรุณ เป็นการสนับสนุนรายการที่ดีที่สุด ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ความคิดทางลบพระพุทธเจ้าแบ่งความคิด ออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ความคิดในทางกุศลและความคิดในทางอกุศล (กาม พยาบาท เบียดเบียน) ลักษณะความคิดมองโลกในแง่ดี แบบโลกสวย = เป็นสุดโต่ง มองแต่แง่ดีเพียงด้านเดียว จะกลายเป็นประมาทเลินเล่อ เผลอเพลิน ถูกหลอกได้ง่ายมองโลกในแง่ร้าย = เป็นสุดโต่งอีกด้านหนึ่ง จะกลายเป็นหยาบกระด้าง ไม่กล้าเสี่ยง ไม่ก้าวหน้า มีโทสะ มีความกลัว ไม่กล้า ก็ไม่ดีอีกเช่นกัน ความคิดตรงกลางระหว่างโลกสวยกับมองโลกในแง่ร้าย = คนที่มองโลกในแง่ร้าย จะเกิดความรอบคอบ ส่วนคนโลกสวย ก็จะกลายเป็นคนจิตใจดี มีเมตตา สงเคราะห์คนอื่นได้ มีความไว้เนื้อเชื่อใจได้ กระบวนการของความคิดและจิตเมื่อเราตริตรึกไปในเรื่องไหนมาก จิตเราจะน้อมไปด้วยอาการอย่างนั้นๆ หากจิตเราน้อมไปทางไหน จะดึงดูดสิ่งเหล่านั้นให้เข้ามา เพราะจิตเราจะไปแสวงหาสิ่งๆ นั้นให้เข้ามา ดังนั้น ให้จำไว้เลยว่า “หากจิตเราน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลังขึ้นมาทันที” “ความคิดทางลบ” เกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ (ANTs = Automatic Negative Thoughts) ถ้าไม่กำจัดออกจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ เป็นปัญหาใหญ่ได้ เหมือนกรณีน้ำผึ้งหยดเดียวอะไรที่เชื่อไปแล้ว มันเป็นจริงสำหรับคนนั้นแล้ว ถ้าเป็นความคิดลบ พลังจิต อารมณ์ ก็จะไปแนวนั้น เกิดความเศร้าหมอง โกรธ อิจฉา ริษยา ไม่พอใจ และหากพูด คิด ทำ อะไรด้วยอารมณ์แบบนี้ ย่อมพูดคิดทำออกมาไม่ดี เป็นเรื่องลบออกมา กลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ ไม่รู้จักการมีสติสัมปชัญญะในการหยุดความคิดของตัวเอง พอหยุดไม่ได้ ก็ปรุงแต่งต่อไป ยิ่งเติมเชื้อไฟมากขึ้นไปอีก ถ้าเราตริตรึกไปในเรื่องความคิดทางลบ จิตน้อมไปแล้ว ก็จะเห็นแต่เรื่องลบ ก็จะเจอแต่เรื่องไม่ดี เช่น การคิดน้อยเนื้อต่ำใจ อิจฉาริษยา จิตใจตนเองก็เป็นทุกข์แล้ว หากพูดออกไปด้วยความคิดแบบนั้น ผู้ฟังก็รับรู้ได้ว่าเรา Toxic มีความคิดลบ เป็นพิษ ผู้ฟังก็ได้รับกระแสลบจากเราไปด้วย ถ้ามากขึ้นจนไปถึงการลงมือทำร้ายกัน ผิดกฎหมาย ติดคุก ก็ลำบากไปอีก และเมื่อตาย ก็จะไปไม่ดี ถูกคุมขังในนรก กำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ความคิดทางลบ ยังเป็นจุดที่ทำให้ปัญญาถดถอย จิตใจเศร้าหมอง ไม่เกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดความขุ่นมัว เครื่องมือกำจัดความคิดทางลบ คือ “3 ไม่” และ “3 ลิง” 3 ไม่ = ไม่ฝืน ไม่ตาม และไม่ให้กำลังกับมัน 3 ลิง = ลมหายใจ (หายใจเข้าลึกๆ) เลือกว่าจะกระทำตอบออกไปอย่างไร และระลึกถึงกระบวนการนั้น (ไว้ใช้รับมือหากความคิดลบแบบเดิมเกิดขึ้นอีก)กระบวนการที่ใช้ “3 ไม่” และ “3 ลิง” นี้ จะเป็นเครื่องมือที่ค่อยๆ ปรับจิตของเราให้มีกำลัง เจาะจงไปที่กำลังสติ เมื่อมีสติมากขึ้น ความคิดทางลบที่เกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติจะยิ่งห่างออกไป และหากเข้ามาก็จะน้อย ไม่มาก และจะเข้ามาไม่ต่อเนื่อง จะอ่อนลง สั้นลงโดยสรุป: วิธีการเหล่านี้ เป็นวิธีการฝึกสตินั่นเอง สามารถกำจัดความคิดทางลบออกไปจากจิตใจของเราได้ ให้จิตใจของเราเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตา มีความไว้เนื้อเชื่อใจ ประกอบไปด้วยความรอบคอบ ตั้งอยู่ในศีลธรรมได้
  • 32. การสวดมนต์ สมาทานศีล และผู้ไม่นับถือศาสนา [6732-1u]

    57:21||Season 67, Ep. 32
    Q1: การจำพรรษาของพระสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษาA: พระสงฆ์ต้องอยู่เป็นที่ในช่วงฤดูฝน 3 เดือน, อยู่ในบริเวณเนื้อที่ที่กำหนดเอาไว้ เช่น กำแพงวัด, สามารถเดินทางออกนอกบริเวณได้ แต่ต้องกลับมาก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในวันรุ่งขึ้น, เว้นแต่ เดินทางไปด้วยธุระจำเป็น สามารถไปได้ไม่เกิน 7 วัน- อาจเปลี่ยนที่จำพรรษาได้ แม้พรรษาขาดแต่ไม่เป็นอาบัติถ้าเข้า 6 กรณี- ถ้าพระสงฆ์ไม่แสวงหาที่จำพรรษาในช่วงเข้าพรรษา จะเป็นอาบัติ- อานิสงส์ของการจำพรรษา เช่น สามารถเที่ยวจาริกไปได้โดยไม่ต้องบอกลา, รับกฐินได้- ระหว่างจำพรรษา พระสงฆ์จะมีการทำความเพียรเพิ่มขึ้นมา เช่น สวดมนต์ นั่งสมาธิ เพิ่มขึ้น- จึงชักชวนท่านผู้ฟัง ให้มีข้อปฏิบัติเพิ่มเติมเพื่อเร่งทำความเพียรในช่วงเข้าพรรษานี้ เช่น งดเหล้า ฝึกสวดมนต์ นั่งสมาธิ พัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งมากขึ้น Q2: ในช่วงจำพรรษา พระสงฆ์อยู่กุฏิเดียวกันได้หรือไม่A: อยู่ในกุฏิเดียวกัน 2-3 รูปได้ แต่ต้องระวังเรื่องการรักษาผ้าครอง (ผ้าสำรับ 3 ผืน ที่ได้มาในวันบวช ได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ) ที่จะต้องรักษาเอาไว้ในช่วงที่จะได้อรุณ คือ ตี4 ถึง 6 โมงเช้า ผ้า 3 ผืนนั้นต้องอยู่ใกล้ตัวที่มือเอื้อมถึง- สมัยก่อนผ้าหายาก สมัยนี้หาง่ายแต่ยังมีการปฏิบัติข้อนี้กันอยู่ เพื่อเป็นการเอื้อเฟื้อพระวินัยให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นานและเป็นการฝึกสติสัมปชัญญะ Q3: สวดมนต์เพื่ออะไรA: การสวดมนต์ คือ การสาธยาย (สัชฌายะ) ท่องให้เหมือนต้นฉบับ, นำคำของพระพุทธเจ้าที่เคยตรัสไว้ มาพูดซ้ำ (Recitation) ไม่ใช่การอ้อนวอนขอร้อง (Pray)- การสวดมนต์ (สัชฌายะ) มีประโยชน์ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน แม้ไม่รู้ความหมายก็ตาม แต่ถ้าเข้าใจความหมาย แล้วเอามาตรึกตรอง พิจารณา ปฏิบัติตาม ก็จะเกิดผลทำให้จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ ได้ลิ้มรสของธรรมะด้วยตนเองQ4: คนรุ่นใหม่บางกลุ่มไม่นับถือศาสนา แต่ยังยึดเรื่องการทำความดี ละเว้นความชั่วA: คำว่า “ศาสนา” ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง “คำสอน” ให้เอาเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ให้ยึดเป็นของตน (อุปาทาน) เช่น เอาการทำความดีตามศีล 5 เป็นที่พึ่ง - ประเพณี รูปแบบ พิธีกรรม เพิ่งเกิดขึ้นในภายหลัง หากทำความดีตามศีล 5 ได้ ชาตินี้ไปดีแน่นอน ตัวเราหรือคนอื่น ติเตียนเราไม่ได้ เกิดความสบายใจ แต่ถ้าไม่รักษาศีล 5 จะมีโทษ คือ ตนเบียดเบียนตนเอง คนอื่นติเตียน ถูกลงโทษ ตายแล้วตกนรก ชาติหน้าไปไม่ดี Q5: พระสงฆ์ออกกำลังกายด้วยการยกดัมเบลแทนการเดินจงกรมได้หรือไม่A: พระวินัย ให้การเดินเป็นการออกกำลังกาย หลังการกิน ให้คลายความเมาในอาหารด้วยการเดิน - ในสมัยโบราณแนวคิดเรื่องการออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพดียังไม่มี แต่อาจนำเอาพระวินัยมาปรับได้ว่า หากมีญาติโยมปวารณาเครื่องออกกำลังกายนั้นไว้ พระสงฆ์ได้เครื่องออกกำลังกายมาก็ไม่ผิด, การออกกำลังกายเพื่อต้องการให้ร่างกายสวยงาม อันนี้ไม่ถูก, แต่การออกกำลังกายเพื่อคลายเวทนาของร่างกาย ไม่ให้ร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อันนี้ทำได้, และขณะออกกำลังกาย ต้องมีสติสัมปชัญญะ เพื่อไม่ให้เพลิดเพลิน ลุ่มหลงไปกับการอิริยาบทที่กำลังทำอยู่ Q6: การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล บาปหรือไม่A: การเล่นการพนัน เป็นอบายมุข ทำให้เมา เพลิน จึงไม่ควรเล่นการพนัน- การเล่นพนัน แม้ไม่ผิดศีล แต่เป็นที่ตั้งของความประมาท เช่น ทำให้เป็นหนี้สิน ตามมาด้วยการโกหก ขโมยของ อกุศลธรรมหลายอย่างจะตามมา- การเล่นหวย เป็นการพนัน (อบายมุข) แต่ที่รัฐต้องทำสลากกินแบ่งรัฐบาลมาขาย ไว้สำหรับคนที่ยังเลิกไม่ได้ ผู้ที่ยังมีความเพลินอยู่ หากรัฐไม่ขายก็จะไปซื้อหวยใต้ดินกันอยู่ดี จึงเอาบางส่วนขึ้นมาทำให้ถูกกฎหมาย แล้วเอารายได้นั้นมาแบ่งปันให้สังคม Q7: สมาทานศีลแล้ว แต่เผลอทำผิดศีล เป็นบาปมากกว่าเดิมหรือไม่A: เป็นบาปน้อยกว่าการไม่สมาทานศีลแล้วทำผิดศีลด้วยความจงใจ เพราะการสมาทานศีล คือ การตั้งเจตนาว่าจะรักษาศีล 5 ให้ตนเองมีสติสัมปชัญญะ, ช่วงที่รักษาศีลได้ เป็นบุญ แต่ช่วงที่เผลอเพลิน ขาดสติสัมปชัญญะ ทำผิดศีล เป็นบาป- การผิดศีลทำให้เกิดความร้อนใจ ความรู้สึกผิดนี้เป็นหิริโอตัปปะ ละอายในบาปที่ทำลงไป การร้อนใจตอนนี้ ยังดีกว่าร้อนใจในภายหลัง และดีกว่าทำชั่วแล้วไม่ร้อนใจอะไรเลย
  • 31. พึ่งตน พึ่งธรรม ด้วยการใช้ปัญญา [6731-1u]

    58:48||Season 67, Ep. 31
    ช่วงไต่ตามทาง:- ผู้ฟังท่านนี้ เมื่อตอนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยคณะวิศวะ มีรุ่นน้องคนหนึ่งสัญญากับแม่ไว้ว่าจะไม่ดื่มเหล้า แต่ถูกรุ่นพี่บอกให้ดื่มเหล้าเพื่อเป็นการให้เกียรติรุ่นพี่ รุ่นน้องคนนี้มีหิริโอตัปปะ ละอายต่อแม่ จึงเอาตัวรอดโดยการต่อรองขอเป็นคนชงเหล้าให้รุ่นพี่ และดื่มเครื่องดื่มอื่นที่ไม่ใช่เหล้าแทน เหตุการณ์ก็ผ่านไปได้ด้วยดี รุ่นน้องก็อยู่ในสังคมได้ ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: - ทำกรรมอย่างไร ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น ซึ่งจะให้ผลออกมาเป็นความสุขหรือความทุกข์ การทำดีโดยอยากได้ความดีตอบ อันนี้เป็นความอยาก ส่วนการทำความดีโดยไม่ได้หวังสุขเวทนา แต่ทำไปเพื่อกำจัดความอยาก ความตระหนี่ อันนี้เป็นปัญญา - คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนที่ประกอบด้วย “ปัญญา” ต้องพิจารณาโดยแยบคาย ใคร่ครวญให้ลึกซึ้ง ดังนี้(1) พิจารณาให้ได้ว่าการทำอะไรก็ตาม ให้หวังเอา “ปัญญา” ไม่ใช่หวังเอา “เวทนา”–การทำอะไรก็ตาม อย่าไปหวังให้สุขเวทนาเกิด ไม่อยากให้ทุกขเวทนาเกิด เพราะเป็นตัณหา (ความอยาก) ส่วนการทำอะไรแล้วได้ปัญญา ปัญญาจะเป็นตัวตัดความตระหนี่และความเข้าใจผิด ๆ ว่าทำอะไรแล้วจะต้องได้รับสุขเวทนา(2) พิจารณาให้ได้ระหว่าง “ตัณหา” (ความอยาก) กับ “ฉันทะ” (ความพอใจ)–การทำอะไรด้วยความอยากเป็นสิ่งไม่ดี แต่การทำด้วยความเพียร ด้วยฉันทะ ความพอใจ ตั้งจิตไว้อย่างแน่วแน่ เป็นหนึ่งในองค์ของอิทธิบาทสี่ ธรรมะแห่งความสำเร็จ(3) พิจารณาให้ได้ว่า การเอาความดีมาอ้างเพื่อทำความชั่ว เป็นสิ่งไม่ดี เช่น พระเทวทัต ทำความดีเพื่อหวังลาภสักการะ, การพูดความจริงแต่เป็นการเสียดสีผู้อื่นทำให้เขาเสียใจ เป็นต้น หรือ บางคนไม่มีความดีบังหน้าแต่มีความดีซ่อนเอาไว้ เช่น พระปิลินทวัจฉะ ชอบเรียกคนอื่นว่าคนถ่อย แต่จริงแล้วท่านเป็นพระอรหันต์ที่มีเทวดารัก(4) พิจารณาไปตลอด ไม่ใช่เพียงช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เพราะดีกลับเป็นไม่ดีได้ และไม่ดีอาจกลับเป็นดีในตอนหลังได้- โดยสรุป การใช้ปัญญาพิจารณาโดยแยบคาย ใคร่ครวญให้ลึกซึ้ง ไม่มองผิวเผิน และไม่มองเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งแต่ดูไปตลอด เป็นไปเพื่อไม่ให้อาสวะเกิดขึ้นที่จิตของเรา ให้พิจารณามาที่ตัวเราว่า ตัวเรามีกิจอะไรที่ต้องทำ ที่ต้องละ ต้องทำกิจของมรรค 8 ละสิ่งที่เป็นอกุศล ทำสิ่งที่เป็นกุศล เราจะดีหรือไม่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดของใคร แต่อยู่ที่ตัวเรา เราจึงต้องพึ่งตน พึ่งธรรม โดยใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญโดยแยบคายในลักษณะที่ไม่ให้อาสวะเกิดขึ้น ด้วยการฟังธรรม การศึกษาธรรม ปัญญาก็จะแจ่มแจ้งขึ้น