Share

cover art for เครื่องมือ “กำจัดความคิดทางลบ” [6733-1u]

1 สมการชีวิต

เครื่องมือ “กำจัดความคิดทางลบ” [6733-1u]

Season 67, Ep. 33

วันแม่

  • เมตตา หมายถึง ความรัก ความปรารถนาดี ที่ไม่มีเงื่อนไข เปรียบเหมือนมารดาย่อมรักลูกที่เกิดจากครรภ์ตัวเองฉันใด ก็ควรเจริญเมตตาจิตไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน จะทำให้เกิดกุศลและกีดกันไม่ให้อกุศลเกิดขึ้นในจิตของเราได้
  • วิธีตอบแทนพระคุณของมารดาที่ดีที่สุด คือ ถ้าท่านยังไม่มีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา ก็ให้ท่านประดิษฐานตั้งอยู่ในศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา หากท่านมีแล้วก็ให้ท่านพัฒนาให้ยิ่งขึ้นไป แต่ถ้ามารดาล่วงลับไปแล้ว ก็ให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้

ช่วงไต่ตามทาง: เคยเป็นคนคิดลบ

  • ผู้ฟังท่านนี้ อายุ 80 ปี เคยเป็นคนหงุดหงิดง่าย ไม่พอใจหลายสิ่งหลายอย่าง มีความคิดลบเยอะ แต่เมื่อได้ฟังรายการธรรมะรับอรุณทุกวัน เป็นเวลาหลายปี สังเกตเห็นว่าตนเองมีความทุกข์ลดลง มีความสุขในใจเพิ่มขึ้น ได้ประโยชน์จากการฟังรายการนี้มาก แนะนำให้ท่านผู้ฟังอื่นติดตามฟังรายการนี้ทุกวันจะได้รับประโยชน์มาก
  • การที่มีคนฟังรายการธรรมะรับอรุณ เป็นการสนับสนุนรายการที่ดีที่สุด

ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: ความคิดทางลบ

  • พระพุทธเจ้าแบ่งความคิด ออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ความคิดในทางกุศลและความคิดในทางอกุศล (กาม พยาบาท เบียดเบียน)

ลักษณะความคิด

  1. มองโลกในแง่ดี แบบโลกสวย = เป็นสุดโต่ง มองแต่แง่ดีเพียงด้านเดียว จะกลายเป็นประมาทเลินเล่อ เผลอเพลิน ถูกหลอกได้ง่าย
  2. มองโลกในแง่ร้าย = เป็นสุดโต่งอีกด้านหนึ่ง จะกลายเป็นหยาบกระด้าง ไม่กล้าเสี่ยง ไม่ก้าวหน้า มีโทสะ มีความกลัว ไม่กล้า ก็ไม่ดีอีกเช่นกัน
  3. ความคิดตรงกลางระหว่างโลกสวยกับมองโลกในแง่ร้าย = คนที่มองโลกในแง่ร้าย จะเกิดความรอบคอบ ส่วนคนโลกสวย ก็จะกลายเป็นคนจิตใจดี มีเมตตา สงเคราะห์คนอื่นได้ มีความไว้เนื้อเชื่อใจได้

กระบวนการของความคิดและจิต

เมื่อเราตริตรึกไปในเรื่องไหนมาก จิตเราจะน้อมไปด้วยอาการอย่างนั้นๆ หากจิตเราน้อมไปทางไหน จะดึงดูดสิ่งเหล่านั้นให้เข้ามา เพราะจิตเราจะไปแสวงหาสิ่งๆ นั้นให้เข้ามา ดังนั้น ให้จำไว้เลยว่า “หากจิตเราน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลังขึ้นมาทันที”

“ความคิดทางลบ” เกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติ (ANTs = Automatic Negative Thoughts) ถ้าไม่กำจัดออกจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ เป็นปัญหาใหญ่ได้ เหมือนกรณีน้ำผึ้งหยดเดียว

  • อะไรที่เชื่อไปแล้ว มันเป็นจริงสำหรับคนนั้นแล้ว ถ้าเป็นความคิดลบ พลังจิต อารมณ์ ก็จะไปแนวนั้น เกิดความเศร้าหมอง โกรธ อิจฉา ริษยา ไม่พอใจ และหากพูด คิด ทำ อะไรด้วยอารมณ์แบบนี้ ย่อมพูดคิดทำออกมาไม่ดี เป็นเรื่องลบออกมา กลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ เกิดจากการย้ำคิดย้ำทำ ไม่รู้จักการมีสติสัมปชัญญะในการหยุดความคิดของตัวเอง พอหยุดไม่ได้ ก็ปรุงแต่งต่อไป ยิ่งเติมเชื้อไฟมากขึ้นไปอีก

  • ถ้าเราตริตรึกไปในเรื่องความคิดทางลบ จิตน้อมไปแล้ว ก็จะเห็นแต่เรื่องลบ ก็จะเจอแต่เรื่องไม่ดี เช่น การคิดน้อยเนื้อต่ำใจ อิจฉาริษยา จิตใจตนเองก็เป็นทุกข์แล้ว หากพูดออกไปด้วยความคิดแบบนั้น ผู้ฟังก็รับรู้ได้ว่าเรา Toxic มีความคิดลบ เป็นพิษ ผู้ฟังก็ได้รับกระแสลบจากเราไปด้วย ถ้ามากขึ้นจนไปถึงการลงมือทำร้ายกัน ผิดกฎหมาย ติดคุก ก็ลำบากไปอีก และเมื่อตาย ก็จะไปไม่ดี ถูกคุมขังในนรก กำเนิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
  • ความคิดทางลบ ยังเป็นจุดที่ทำให้ปัญญาถดถอย จิตใจเศร้าหมอง ไม่เกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดความขุ่นมัว

เครื่องมือกำจัดความคิดทางลบ คือ “3 ไม่” และ “3 ลิง”

  • 3 ไม่ = ไม่ฝืน ไม่ตาม และไม่ให้กำลังกับมัน
  • 3 ลิง = ลมหายใจ (หายใจเข้าลึกๆ) เลือกว่าจะกระทำตอบออกไปอย่างไร และระลึกถึงกระบวนการนั้น (ไว้ใช้รับมือหากความคิดลบแบบเดิมเกิดขึ้นอีก)
  • กระบวนการที่ใช้ “3 ไม่” และ “3 ลิง” นี้ จะเป็นเครื่องมือที่ค่อยๆ ปรับจิตของเราให้มีกำลัง เจาะจงไปที่กำลังสติ เมื่อมีสติมากขึ้น ความคิดทางลบที่เกิดขึ้นมาโดยอัตโนมัติจะยิ่งห่างออกไป และหากเข้ามาก็จะน้อย ไม่มาก และจะเข้ามาไม่ต่อเนื่อง จะอ่อนลง สั้นลง


โดยสรุป: วิธีการเหล่านี้ เป็นวิธีการฝึกสตินั่นเอง สามารถกำจัดความคิดทางลบออกไปจากจิตใจของเราได้ ให้จิตใจของเราเต็มเปี่ยมไปด้วยเมตตา มีความไว้เนื้อเชื่อใจ ประกอบไปด้วยความรอบคอบ ตั้งอยู่ในศีลธรรมได้

More episodes

View all episodes

  • 39. บริหารสมองในวัยเกษียณ [6739-1u]

    58:58||Season 67, Ep. 39
    ช่วงไต่ตามทาง: ลูกศิษย์ย้อนนึกถึงเมื่อครั้งช่วยสร้างวัด- ลูกศิษย์ของหลวงพ่อ ดร.สะอาด สมัยเริ่มสร้างวัดป่าดอนหายโศก ได้เคยร่วมสร้างกุฏิ ศาลาปฏิบัติธรรม และมาปฏิบัติธรรมที่วัด แต่ไม่ได้มาวัด 30 ปี จนกระทั่งได้ทราบข่าวการมรณภาพของหลวงพ่อจึงเดินทางมาที่วัด และได้หวนนึกถึงความหลังที่ตนได้สร้างมา จิตใจก็มีความปราบปลื้ม ดีใจ สบายใจ ความระลึกได้นั้นคือ “สติ” ระลึกถึงศีลความดีที่ตนเคยทำมา (สีลานุสติ) ระลึกถึงครูบาอาจารย์ (สังฆานุสติ) ระลึกถึงศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา (เทวตานุสติ) ความดีของตนที่ระลึกได้นี้ จะเป็นที่พึ่งของตนในเวลาที่จะจากโลกนี้ไปได้- ในขณะจิตสุดท้าย ถ้าจิตน้อมไปคิดถึงเรื่องไม่ดี ปองร้าย พยาบาท ทางกาม ก็จะไปไม่ดี เกิดเป็นเปรตหรือสัตว์นรกช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: บริหารสมองในวัยเกษียณ- กาย วาจา ใจ จะปรุงแต่งอย่างไรให้สมองและจิตยังดีอยู่ได้ ไม่แก่ไปตามร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป ให้ยังมีความผาสุกได้อยู่- จิตกับสมองไม่เหมือนกัน สมองควบคุมร่างกาย ส่วนจิตควบคุมสมองอีกชั้นหนึ่ง จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการคิดปรุงแต่งการพูดหรือการเคลื่อนไหวร่างกาย การฝึกสมองผ่านทางกาย ทางวาจา จะทำให้สมองไม่แก่1. ทางกาย (กายสังขาร) = การเคลื่อนไหวร่างกายมีส่วนสำคัญทำให้สมองมีความคมอยู่ ไม่หลงลืม(1) นอนให้เพียงพอ(2) ทานอาหารพออิ่ม - ไม่มากไม่น้อยเกินไป มีคุณค่าต่อร่างกาย(3) ออกกำลังกายพอประมาณ – การเดินช่วยย่อยอาหารได้ดี(4) จัดตารางเวลาชีวิต - หนึ่งวันจะทำอะไรบ้าง2. ทางวาจา (วจีสังขาร) = การพูดจะช่วยกระตุ้นสมองให้ทำงานได้อย่างดี(1) อ่านออกเสียง - กระตุ้นสมองให้ประมวลผลเรื่องคำพูด(2) อธิบายรูปภาพที่เกิดขึ้นในความคิดออกมาเป็นคำพูด - เช่น จะไปกินข้าวนอกบ้าน ให้อธิบายตามภาพที่เกิดขึ้นในหัวเป็นคำพูดว่า จะกินข้าวผัดอะไร จานเป็นยังไง ปริมาณเท่าไร กินที่ไหน แต่งตัวยังไง ไปกันกี่คน(3) ตั้งคำถามในเรื่องต่าง ๆ หรือ ตอบคำถามคนอื่น – สมองจะได้รับการพัฒนาเมื่อคิดเป็นคำถามในสิ่งที่ยังไม่รู้(4) สังเกตรูปหรือเสียงต่างๆ – ฝึกอายตนะด้านการรับรู้ ฝึกสติ ช่วยพัฒนาสมอง(5) ฟังสิ่งที่คนอื่นพูดวิจารณ์เรา – มีสติ คิดตาม เรื่องที่เราต้องปรับปรุง สมองจะได้ใช้งาน(6) พูดชื่นชมผู้อื่น - ก่อนพูดจะผ่านกระบวนการประมวลผลในสมอง ไม่มีประโยชน์ที่จะนึกถึงความไม่ดีของคนอื่นแล้วทำให้จิตใจเราเศร้าหมอง เราต้องรักษาจิตของเราให้สูงก่อน การมองเห็นแง่ดีของคนอื่นจะช่วยพัฒนาความดีของเราให้มากขึ้นได้(7) พูดเปรียบเปรย ยกอุปมาอุปไมย เทียบเคียง – เส้นประสาทในสมองจะถูกกระตุ้นให้เกิดความเชื่อมโยง3. ทางจิต (จิตสังขาร) = จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการปรุงแต่งออกไปทางกาย ทางวาจา ทางความคิด(1) ฝึกคิดเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อจิตใจ = ไม่คิดตำหนิผู้อื่น การเขียนอธิบายเป็นตัวอักษร เป็นการทบทวน เป็นการโยนิโสมนสิการอย่างหนึ่ง ไตร่ตรองใคร่ครวญโดยแยบคาย กระชับความคิด ช่วยกระตุ้นสมองให้คิดไปในทางดีได้(2) ฝึกคิดวางแผนงานล่วงหน้า(3) ฝึกคิดสร้างสรรค์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง(4) ฝึกสมาธิ - สำคัญที่สุด ให้จิตได้พักผ่อนจากการปรุงแต่ง โดยให้ตั้งสติขึ้น สติเป็นเครื่องมือในการทำให้จิตสงบ เมื่อจิตสงบ การใช้สมองซึ่งเป็นเครื่องมือของจิตก็จะใช้ได้อย่างดี การฟังเทศน์ฟังธรรมจะทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่ายโดยสรุป: ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ ลูกหลาน สิ่งของต่าง ๆ แม้แต่ร่างกายของเรา สิ่งเหล่านี้จะพังทั้งหมด ไม่สามารถเอามาเป็นที่พึ่งได้ แต่สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งของเราได้ คือ จิตที่มีธรรมะ หากจิตมีที่พึ่งที่มั่นคงแล้ว เวลากายแตกดับ ก็จะมีที่พึ่งอันเกษม ที่พึ่งอันสูงสุด การลับสมองของเราให้คมอยู่เสมอ ด้วยกาย วาจา ใจ จะทำให้จิตใช้สมองเป็นเครื่องมือในการพัฒนาจิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมองยังดีอยู่ได้ ด้วยจิตใจที่ดี จิตใจที่มีกุศลธรรม จากบุญกุศลที่สะสมไว้นั่นเอง และต้องไปตรวจสุขภาพเช็คระบบประสาทและสมองด้วย
  • 38. จริยธรรมของผู้บริหารบ้านเมือง [6738-1u]

    53:51||Season 67, Ep. 38
    Q1: คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหารบ้านเมืองA: ตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ต้องเป็นคนดี คนเก่ง และคนกล้า 1. เป็นคนดี = เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม เป็นคุณธรรมข้อแรกที่นักปกครองต้องมี มีเกณฑ์วัด 4 ระดับ (1) ประโยชน์ส่วนตัว = วงกลม 2 วง เห็นประโยชน์ส่วนตัวแยกจากคนอื่น (2) ประโยชน์ส่วนร่วม = เห็นเฉพาะประโยชน์ส่วนที่วงกลม 2 วงทับซ้อนกัน (3) ประโยชน์ส่วนเรา = เห็นประโยชน์ของวงกลมทั้ง 2 วง ทั้งส่วนทับซ้อนและไม่ทับซ้อนกัน (4) ประโยชน์ส่วนรวม = เห็นประโยชน์ขยายเป็นสี่เหลี่ยมที่ครอบรวมวงกลมทั้ง 2 วง ทั้งหมด2. เป็นคนเก่ง = มีทักษะ มีความสามารถ ฝึกฝนได้3. เป็นคนกล้า = กล้าที่จะยืนหยัดในความดี เมื่อมีอำนาจแล้วไม่ถูกกิเลสดึงให้ความดีลดลง - ถ้าบกพร่องเรื่องใดเรื่องหนึ่งก็จะมีปัญหาเรื่องคุณธรรมจริยธรรมหรือประสิทธิภาพในการบริหารงาน - ดี กล้า แต่ไม่เก่ง = มีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพในการบริหารงาน - ดี เก่ง แต่ไม่กล้า = ไม่มีเสถียรภาพในการบริหารงานให้สืบต่อไปอย่างยั่งยืนได้ - เก่ง กล้า แต่ไม่ดี = หาประโยชน์ส่วนตัว เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก - โดยสรุป “ดี เก่ง กล้า” เป็นเกณฑ์เพื่อเลือกคนมาทำงานบริหารบ้านเมือง จะทำให้บ้านเมืองพัฒนาดีขึ้นได้ ดีและเก่งต้องมาด้วยกัน ถ้าเก่งอย่างเดียวแต่ไม่ใช่คนดี ก็จะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม แต่ถ้าคนดีเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมแล้ว ก็สามารถเรียกคนเก่งมาใช้งานได้Q2: นิมนต์พระรูปเดียวทำบุญขึ้นบ้านใหม่A: ได้ หรือไม่นิมนต์พระเลยก็ได้ เพราะบุญเกิดจากทาน ศีล ภาวนา แต่คนไทยติดรูปแบบ สมัยพุทธกาล เจ้าลิจฉวีสร้างปราสาทใหม่นิมนต์พระพุทธเจ้ามาใช้สถานที่นี้ก่อนเพื่อความเป็นสิริมงคล ทำให้เป็นทางมาแห่งบุญ 5 ประการ คือ 1. ได้เห็นพระสงฆ์ เป็นการเห็นอันเลิศ 2. ได้กราบไหว้พระสงฆ์ เป็นการบูชาเลิศ 3. ได้ถวายทาน 4. ได้ฟังธรรม 5. ได้ถามปัญหา- พระสงฆ์เป็นนาบุญ ถ้านิมนต์พระมาแล้วได้ทำ 5 ประการนี้ ถือว่าได้บุญเต็ม ไม่ว่าจะนิมนต์มากี่รูปก็ตาม Q3: ผู้หญิงเข้าวัดมากกว่าผู้ชายA: จิตใจของคนไม่มีเพศหรือวัย จิตก็คือจิต จิตที่ดีก็มักจะคล้อยไปในทางดี จิตที่ไม่ดีก็มักจะคล้อยไปในทางไม่ดี คนชั่วทำความดีได้ยาก คนดีทำความชั่วได้ยาก คนชั่วทำความชั่วได้ง่าย คนดีทำความดีได้ง่าย Q4: พิธีกรรมบูชาเทพที่วัด และการอุทิศบุญกุศลA: หลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เริ่มต้นด้วย “ศรัทธา” และต้องจบที่ “ปัญญา” - คนที่มีศรัทธาในสิ่งที่ไม่ถูกต้องยังดีกว่าคนที่ไม่มีศรัทธาในอะไรเลย เพราะคนที่ไม่มีศรัทธาในอะไรเลยจะทำความชั่วได้โดยไม่เกรงกลัวต่อสิ่งใด ส่วนคนที่มีศรัทธาในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ยังสามารถเปลี่ยนให้มีศรัทธาที่ถูกต้องได้ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ - ศรัทธาที่เป็นไปเพื่อปัญญา คือ รู้ตามความเป็นจริง เกิดความปล่อยวาง ตั้งอยู่ในทางศีล สมาธิ ปัญญา เป็นสิ่งที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้จริง - พิธีกรรมใดที่ไม่ได้เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา แต่เป็นไปเพื่อความงมงาย พิธีกรรมนั้นก็ไม่ถูกทาง- การอุทิศบุญกุศลให้ผู้ล่วงลับ เป็นสิ่งที่ควรทำ จะทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้ทำบุญ ส่วนผู้ล่วงลับจะได้บุญหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าเขาอยู่ในฐานะที่จะรับได้หรือไม่ เฉพาะปรทัตตูปชีวิกเปรตเท่านั้นที่จะสามารถรับบุญที่เป็นอาหารได้ Q5: เนื้อคู่มีจริงหรือไม่A: ผู้ที่เห็นกันแล้วเกิดความพอใจกัน เกิดจากการเกื้อกูลกันในกาลก่อนหรือในปัจจุบัน เป็นความรู้สึกภายใน การเลือกคู่ครองให้ดูที่ ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา ต้องเสมอกัน อย่าไปดูแค่เรื่องกาม ถ้ามีคู่ครองไม่ดี ไม่มีดีกว่า มีความสุขที่เหนือกว่า เช่น ความสุขที่เกิดจากการรักษาศีล สมาธิ ปัญญา Q6: เตือนพ่อแม่ด้วยคำพูดไม่ดี บาปหรือไม่A: ไม่ว่าพ่อแม่ด่าลูกหรือลูกด่าพ่อแม่ ก็เป็นบาป เพราะการด่าเป็นมิจฉาวาจา เราจะห้ามเขาจากบาปด้วยบาปไม่ได้ ถ้าลูกด่าพ่อแม่ บาปหนักกว่าเพราะทำต่อผู้มีบุญคุณ อย่าไปเอาเครื่องมือมารมาใช้ ต้องหาเทคนิคในการเตือนพ่อแม่ ให้ตั้งจิตเจตนาไว้ด้วยเมตตากรุณาให้ท่านพ้นจากความทุกข์ พบกับความสุข และให้การกระทำและเจตนาไปในทางเดียวกัน ความดีก็จะไม่ถูกตัด
  • 37. สมชีวิตาสู่อิสระทางการเงิน [6737-1u]

    59:20||Season 67, Ep. 37
    ช่วงไต่ตามทาง : นักธุรกิจสายมูเตลูผู้ฟังท่านนี้เป็นนักธุรกิจ เคยนิยมการบูชาวัตถุต่างๆ เป็นสายมูเตลู แต่เมื่อเริ่มฟังธรรม นั่งสมาธิ ทำให้เข้าใจว่าการบูชาคนที่ไม่ควรบูชา ได้ผลไม่ดี จึงลดการบูชาวัตถุ หันมาเน้นที่พระรัตนตรัย มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึกเท่านั้น ไม่เอาอย่างอื่นเป็นที่พึ่ง ปรับเปลี่ยนหิ้งพระใหม่ ตั้งจิตในการบูชาใหม่ เกิดความสบายใจ โล่งใจขึ้น เมื่อมีใจที่สบายแล้ว การพูดหรือการกระทำอะไรก็ปลอดโปร่งโล่งสบายไปด้วย มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป สิ่งแวดล้อมก็เปลี่ยนไป ธุรกิจก็ดำเนินไปได้ด้วยดี การทำงานกับลูกน้องหรือลูกค้าก็ไม่มีปัญหา เหมือนดึงดูดกระแสของสิ่งดีดีเข้ามาในชีวิตพุทธพจน์ “ถ้าใครจะสำเร็จอะไรได้ด้วยเพียงการอ้อนวอนขอร้อง ในโลกนี้จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร”การบูชาอื่นในคุณธรรมที่ผู้นั้นมี เช่น ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา แล้วเราตั้งจิตไว้ตรงนั้น ก็เป็นเทวตานุสติได้ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: การใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง (สมชีวิตา)“สมชีวิตา” = การรู้จักใช้จ่ายเงินอย่างถูกต้อง1. รายรับต้องท่วมรายจ่าย อย่าให้รายจ่ายท่วมรายรับ2. การใช้จ่าย ต้องแบ่งไว้ 4 ประเภทนี้ เท่านั้น1) เพื่อเลี้ยงตน เลี้ยงครอบครัว2) เพื่อรักษาทรัพย์ – ลงทุน3) เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น – ให้ยืม4) เพื่อหวังเอาบุญ – ทำบุญกับเนื้อนาบุญ, หมู่สงฆ์“รายรับ” แบ่งคนได้เป็น 3 ประเภท1) กุฎุมพี = คนมีรายรับ2) เศรษฐี = คนมีรายรับมากจนท่วมรายจ่าย3) มหาเศรษฐี = คนมีรายรับมากจนท่วมรายจ่าย โดยมีรายรับหลายทาง“การใช้จ่าย” แบ่งคนได้เป็น 3 ประเภท1) คนเข็ญใจ = คนที่มีรายรับ ไม่ท่วมรายจ่าย2) คนจน = คนที่มีรายรับพอๆ กับรายจ่าย3) อิสรชน = คนที่มีรายรับ ท่วมรายจ่ายการใช้จ่ายอย่างถูกต้อง ทำให้เป็นอิสรชน เมื่อเป็นอิสรชนแล้ว เราจะมีกำลังใจสูง มีบุญที่เกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ในแต่ละประเภท การแบ่งจ่ายทรัพย์ที่ถูกต้องในชีวิตประจำวันเป็นบุญทันที เป็นบุญที่สะสมอยู่เรื่อย ๆ ทำให้จิตใจเปิดกว้างอิสรชนที่มีรายรับจนถึงขั้นให้เงินทำงานแทน (Passive Income) เปรียบเหมือนรวงผึ้งหรือจอมปลวก เช่น ซื้ออสังหาปล่อยให้เช่า เงินปันผลจากหุ้น หากท่วมรายจ่ายทั้งหมดได้ ก็จะเกิดภาวะอิสรภาพทางการเงิน (Financial Freedom) ไม่ต้องทำงานแบบ active แล้ว ก็ได้โดยสรุป: สมชีวิตา = การรู้จักใช้ชีวิตให้สมดุล รู้จักรายรับ รู้จักรายจ่าย ใช้จ่ายอย่างถูกต้อง ด้วยการกระทำอย่างนี้สามารถสร้าง Passive Outcome ได้
  • 36. วิธีรับมือกับลูกน้องเพื่อพัฒนาองค์กร [6736-1u]

    52:51||Season 67, Ep. 36
    กัลยาณมิตร VS ปาปมิตร“กัลยาณมิตร” มี 4 ลักษณะ1. มิตรมีอุปการะ = คอยให้ประโยชน์ คอยเตือนเรารักษาเราเมื่อประมาทประพฤติไม่ดี คอยรักษาทรัพย์ให้เราเมื่อเราประมาท เมื่อมีภัยจะเป็นที่พึ่งพำนักได้ ในยามมีเหตุจำเป็นเดือดร้อนต่าง ๆ ยิ่งเป็นที่พึ่งได้เป็นสองเท่าจากที่เคยออกปากไว้2. มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข = มิตรที่บอกความลับของตนแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในยามอันตราย แม้ชีวิตก็สละให้กันได้3. มิตรแนะประโยชน์ = ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง บอกทางสวรรค์ให้4. มิตรมีความรักใคร่ = ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน ยินดีในความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน “ปาปมิตร” มี 4 ลักษณะ 1. ปอกลอก = คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เวลาจะเสียให้นิดเดียว แต่เวลาจะเอา เอามาก ไม่ช่วยงาน2. ดีแต่พูด = เอาสิ่งที่ล่วงไปแล้วมาพูด อ้างสิ่งที่ยังมาไม่ถึงจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้ สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ เมื่อมีกิจเกิดขึ้นแสดงความขัดข้อง3. คนหัวประจบ = จะทำดี ก็คล้อยตาม จะทำชั่ว ก็คล้อยตาม ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา4. ชักชวนไปในทางชิบหาย = ชวนดื่มเหล้า ชวนให้ไปเที่ยวตามครอกซอกซอยในเวลากลางคืน ชวนให้ไปดูมหรสพ ชวนให้เล่นการพนัน Q1: เพื่อนร่วมงานที่ถือความคิดตนเป็นใหญ่A: ให้เราทำตัวเป็นมิตรแนะประโยชน์ 1. ไม่ทำตนเป็นคนไม่ดีเสียเอง 2. แนะนำให้เขาทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี 3. ทำตนให้เป็นเพื่อนที่ดีสำหรับเขา เขาก็จะมีศรัทธาในตัวเรา พูดแนะนำอะไรไปเขาก็จะรับฟัง - หากเราไม่ได้ต้องการเกี่ยวข้องกับเขามาก ก็ต่างคนต่างอยู่ก็ได้ เพราะเขาไม่ได้เป็นคนไม่ดี- ทั้งนี้ การนำธรรมะเข้าสู่องค์กร จะทำให้พฤติกรรมและทัศนคติของคนในองค์กรมีศีล สมาธิ ปัญญา มีจิตใจที่นุ่มนวลลง เป็นวิธีที่เอาชนะได้อย่างถาวร Q2: ลูกน้องขาดงานบ่อยA: ให้พูดคุยสอบถามลูกน้องว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่- เจ้านายมีหน้าที่ คือ ให้ลูกน้องทำงานตามกำลัง หากประสิทธิภาพในการทำงานของลูกน้องลดลง ก็ต้องปรับให้เขาทำงานในสิ่งที่เขาทำได้ ทำงานลดลงตามความสามารถ และให้เงินเดือนลดลงตามความสามารถนั้น Q3: ลูกน้องไม่ทำตามหน้าที่A: ให้ลูกน้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตน และปรับงานของลูกน้องไม่ให้กระทบกระเทือนกับคนอื่น หรือให้ลูกน้องออกจากงาน- การฝึกสมาธิจะทำให้คนที่มีจิตใจที่แข็งกระด้าง มีจิตใจนุ่มนวลอ่อนลงได้ บางบริษัทจึงจัดให้มีการฝึกสมาธิปีละครั้ง หรือมีการจัดกิจกรรมฟังเทศน์ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม Q4: ลูกน้องมีปัญหาส่วนตัวกระทบกับงานA: ให้พิจารณาก่อนว่าพื้นฐานจิตใจของลูกน้องเป็นคนดีหรือไม่ (เทวดา, พรหมโลก, สัตว์นรก) เกิดมามืดหรือสว่าง เราจะเป็นมิตรมีอุปการะให้เขาไปทางดีหรือไม่ เป็นที่พึ่งให้เขาได้หรือไม่ - สามารถอุปการะเขาได้ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ = ทางใจให้ได้ไม่มีประมาณ ไม่มีหมด “กรุณา” ปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ “อุเบกขา” ไม่ให้จิตเราหวั่นไหวไปกับสิ่งที่ไม่ดีนั้น, มีปิยวาจา พูดดีด้วย หรือแบ่งจ่ายทรัพย์ของเราไว้ช่วยเหลือคนอื่น Q5: คนชอบนินทาA: แม้ไม่ได้พูดโกหกหรือคำหยาบ แต่ถ้ามีเจตนาพูดยุยงให้เขาแตกกัน ถ้าทำมาก ๆ โทษหนัก ก็จะไปตกนรก โทษเบา ก็จะทำให้เป็นคนที่แตกจากมิตร ไม่มีใครคบด้วย เราอย่าไปแช่งเขาเพราะโทษจะเกิดกับเราเอง อย่าไปนินทาตอบ ให้เราอดทน ให้เอาชนะคำไม่จริงด้วยคำจริง เอาชนะคำนินทาลับหลัง ด้วยการพูดอ่อนโยน จะเป็นการเอาชนะได้อย่างยั่งยืน Q6: เด็กฝากในที่ทำงานA: อย่ามีอคติกับเขา บาปกรรมจะให้ผลกับเราได้ ควรรักษาความดีของเราไว้ แนะนำเด็กฝากในทางที่ดี ให้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข องค์กรก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีได้
  • 35. วิธีประคับประคองชีวิตคู่ให้อยู่เป็นสุข [6735-1u]

    58:16||Season 67, Ep. 35
    โสด VS แต่งงาน- พระพุทธเจ้าทรงเตือนไว้ว่า “ผู้ใดมีสิ่งที่รักหนึ่งร้อย ผู้นั้นก็จะมีทุกข์หนึ่งร้อย ผู้ใดมีรักเก้าสิบ ผู้นั้นก็จะมีทุกข์เก้าสิบ ผู้ใดมีรักหนึ่ง ผู้นั้นก็จะมีทุกข์หนึ่ง ผู้ที่ไม่มีรัก ก็จะเป็นผู้ไม่มีทุกข์”- ถ้ายังไม่แต่งงาน = อยู่เป็นโสดดีกว่า - ถ้าจะแต่งงาน = อย่าเลือกคู่ครองจากสิ่งภายนอก เช่น รูปร่างหน้าตา เพราะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่ให้เลือกที่คุณธรรมภายใน ได้แก่ “ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา”- ถ้าแต่งงานแล้ว = ก็อย่าคิดเลิก ให้อยู่กันไป ถ้าไม่เวิร์ค ก็ต้องอดทน ปรับตัวให้อยู่ด้วยกันต่อไปให้ได้- ตั้งแต่วันแต่งงาน ชีวิตไม่ได้เป็นของเราโดยสิ้นเชิงอีกต่อไปแล้ว แต่เป็นของกันและกัน ต้องเกี่ยวเนื่องกับครอบครัวของอีกฝ่ายหรือลูก จึงต้องช่วยกันรักษา ถ้าฝ่ายหนึ่งรักษาแต่อีกฝ่ายไม่รักษา ก็จะเกิดความบกพร่องในด้านที่ไม่รักษานั้น แต่ถ้าเรารักษาให้ดี ความดีก็จะเกิดขึ้นแก่เรา- การอยู่ครองเรือน อย่าอยู่ด้วยความรักแบบฉันชู้สาว ด้วยความพอใจหรือไม่พอใจ แต่ให้อยู่ด้วยคุณธรรม คือ “ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา” อยู่ด้วยหน้าที่ของความเป็นสามีภรรยา อยู่ด้วยกิจที่ควรทำ อยู่ด้วยความเมตตา การครองเรือนของเราก็จะไปได้ หน้าที่ของสามีและภรรยาที่มีต่อกัน - สามีภรรยา เป็นทิศเบื้องหลัง ในหมวดธรรมเรื่อง “ทิศ 6” หากรักษาทิศนี้ไม่ดี ทิศนี้ก็จะเป็นภัย- หน้าที่ของสามีต่อภรรยา ได้แก่ ยกย่อง, ไม่ดูหมิ่น, ไม่ประพฤตินอกใจ, มอบความเป็นใหญ่ในหน้าที่ให้ และให้เครื่องประดับ- หน้าที่ของภรรยาต่อสามี ได้แก่ จัดแจงการงานอย่างดี, สงเคราะห์คนข้างเคียงดี, ไม่ประพฤตินอกใจ, ตามรักษาทรัพย์ที่มีอยู่, ขยันขันแข็งในหน้าที่การงานทั้งปวง ลักษณะภรรยา 7 จำพวกไม่ดี = 1. เสมอด้วยเพชฌฆาต 2.เสมอด้วยโจร 3. เสมอด้วยนาย ดี = 4. เสมอด้วยมารดา 5. เสมอด้วยพี่สาวน้องสาว 6.เสมอด้วยเพื่อน 7.เสมอด้วยทาสี 10 วิธีดำรงความสัมพันธ์กับพ่อแม่สามีอย่างเป็นสุข1.ไฟในอย่านำออก 2. ไฟนอกอย่านำเข้า 3. พึงให้กับคนที่ให้เท่านั้น 4.ไม่พึงให้กับคนที่ไม่ให้ 5.พึงให้กับคนที่ทั้งให้และไม่ให้ 6.นั่งให้เป็นสุข 7.บริโภคให้เป็นสุข 8.พึงนอนให้เป็นสุข 9.บำเรอไฟ 10.นอบน้อมเทวดาภายในวิธีรับมือเมื่อเจอเรื่องไม่น่าพอใจ- ในการอยู่ครองเรือน เมื่อเจอเรื่องที่ไม่น่าพอใจ ให้อดทนเอา โดยทำจิตให้เหมือนแผ่นดิน ที่ใครจะมีคนมาขุดให้ไม่เป็นแผ่นดินย่อมเป็นไปไม่ได้, ทำจิตให้เหมือนแม่น้ำ ที่ใครจะมาจุดไฟเผาให้แม่น้ำเดือดย่อมเป็นไปไม่ได้, ทำจิตให้เหมือนอากาศ ที่ใครจะมาเขียนรูปให้ปรากฏบนอากาศย่อมเป็นไปไม่ได้, ทำจิตให้เหมือนแผ่นหนังแมวป่าขนฟู ที่ใครจะเอาไม้มาทุบตีให้มีเสียงย่อมเป็นไปไม่ได้- ให้เอาชนะความเท็จด้วยคำสัตย์, เอาชนะความไม่เข้าใจด้วยความเข้าใจ, เอาชนะความเกลียดด้วยความรัก, เอาชนะคำโกหกด้วยความจริง เมื่อคิดจะเลิกกัน- หากจะเลิกกัน ให้อีกฝ่ายเป็นคนขอเลิก ส่วนเราให้ประคับประคองชีวิตคู่ให้ไปต่อด้วยกันได้และให้เราตั้งอยู่ในการรักษาศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา เมตตา กรุณา ไว้ให้ดี ถ้าอีกฝ่ายมีบุญสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองมารักษาศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา ให้เสมอกับเราได้ ก็จะอยู่ด้วยกันต่อไปได้ แต่ถ้าเขาไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้เขาก็จะแยกจากเราไปเอง เช่น เรารักษาศีล แต่อีกฝ่ายไม่รักษาศีล เขาจะไม่พอใจเรา มีแนวโน้มที่เขาจะไปหาคนอื่นที่ไม่รักษาศีลเหมือนกัน โดยสรุป : อยู่เป็นโสดประพฤติพรหมจรรย์นั้นดีกว่า แต่ค่านิยมของสังคมในปัจจุบัน นิยมการมีคู่ครอง เมื่อเลือกที่จะมีคู่ครองแล้ว ก็รักษาให้ดีด้วยวิธีการที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ ก็จะประคับประคองชีวิตคู่นั้นให้มีความราบรื่น มีกำลัง มีความมั่งคั่ง
  • 34. ที่พึ่งในยามทุกข์ ที่ไม่ใช่ "พิธีแก้กรรม" [6734-1u]

    55:52||Season 67, Ep. 34
    Q1: ความอยากได้เงินเพิ่ม เพื่อนำไปทำบุญเพิ่มอีก เป็นความโลภหรือไม่A: ความอยากได้เงินเพิ่มเพื่อนำไปทำบุญเพิ่มอีก จะทำให้บุญที่ทำในครั้งนั้นเศร้าหมองลง- การระลึกถึงบุญจากการทำทาน เป็นจาคานุสติ เกิดเป็นความสุขใจ แต่เมื่อเกิดความอยากได้เงินเพิ่มเพื่อนำไปทำทานเพิ่มอีก จะทำให้บุญนั้นเศร้าหมองลง ในขณะเดียวกัน ความคิดที่ว่าจะทำบุญเพิ่มอีก ก็เกิดสภาวะจิตสุขใจ เป็นบุญ ดังนั้น จึงเกิดสภาวะจิตที่เป็นบุญบ้าง สุขใจบ้าง เศร้าหมองบ้าง ปะปนกัน สลับกันไป - วิธีที่ถูกต้อง คือ รักษาสภาวะจิตให้อยู่ในแดนของบุญมาก ๆ ด้วยการภาวนา ซึ่งเป็นบุญที่เหนือกว่าการให้ทาน จึงจะถูกต้อง นอกจากการให้ทานแล้ว ควรยินดีในการรักษาศีล เจริญภาวนาด้วย จึงจะได้บุญเต็มในทุกรูปแบบ Q2: หากมีบุญมากกว่าบาป เมื่อตายแล้วจะไปสวรรค์ได้เลยหรือไม่A: ขึ้นอยู่กับว่าในขณะที่ตาย บุญหรือบาปให้ผลก่อนกัน ไม่ใช่ว่าบุญหรือบาปน้อยกว่ากัน Q3: พิธีแก้กรรม A: ในทางพระพุทธศาสนา ไม่มีคำว่า “แก้กรรม” มีแต่ “ต้องได้รับผลของกรรม” “ความสิ้นกรรม” “กรรมหนักกรรมเบา”- การเจริญพุทธมนต์ เป็นการฟังบทสวดที่เป็นพุทธวจนของพระพุทธเจ้า การฟังธรรมได้บุญ - พระพุทธเจ้าสอนว่า “ถ้าใครจะสำเร็จอะไรได้ด้วยการอ้อนวอนขอร้อง ในโลกนี้จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร” เช่น จะไม่มีคนป่วยหรือคนตาย ดังนั้น สิ่งใดจะสำเร็จขึ้นได้ด้วยการอ้อนวอนขอร้อง จึงเป็นความเข้าใจผิด- ความเข้าใจที่ถูก (สัมมาทิฏฐิ) คือ กรรมดีให้ผล กรรมชั่วให้ผล ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว พุทธคุณมี สังฆคุณมี การพ้นทุกข์มี การคิดดีพูดดีทำดีจะได้รับผลดี- โดยสรุป การเข้าร่วมพิธีกรรมใดก็ตาม ให้ตั้งจิตไว้ให้ถูก โดยตั้งจิตไว้ในกุศล ประกอบด้วยปัญญา ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องว่า การแก้กรรมไม่มี แต่เพิ่มปริมาณกรรมดีได้ ด้วยการฟังบทสวดเจริญพุทธมนต์ ด้วยการคิดดีพูดดีทำดี ตั้งจิตไว้ถูก ปราศจากความงมงาย ไม่อ้อนวอนขอร้อง อย่างนี้สามารถเข้าร่วมพิธีกรรมได้Q4: ที่พึ่งในยามเจออุปสรรคในชีวิต ที่ไม่ใช่พิธีแก้กรรมA: ที่พึ่งที่ถูกต้องคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และประกอบด้วย ปัญญาของตน เรียกว่า “พึ่งตน-พึ่งธรรม”- พระพุทธเจ้าทรงชี้ทางสว่างไว้ว่า “เมื่อเจอความทุกข์ ให้มีสติสัมปชัญญะ ให้อดทน ให้อยู่กับทุกข์ให้ได้ และกำจัดตัณหาที่เป็นต้นเหตุของความทุกข์นั้น” นี่เป็นปัญญา ช่วยลดความงมงาย สามารถแก้ปัญหาที่แท้จริงได้ จนไปถึงนิพพานได้เลย- ถ้าสร้างเหตุที่ถูกต้องแล้ว การมูเตลูก็ไม่จำเป็น หากยังมูเตลูอยู่ แสดงว่ายังไม่มีความมั่นใจ Q5: ผลจากการให้ทาน รักษาศีล แต่ไม่ได้ภาวนาA: การให้ทาน รักษาศีล ก็จะแก้ทุกข์ได้เฉพาะที่การให้ทาน รักษาศีล แก้ได้ ส่วนทุกข์ที่ต้องแก้ด้วยการภาวนา ก็จะไม่ได้- การภาวนา คือ การพัฒนาจิต ทำความเข้าใจ ปรับทิฏฐิ คิดเป็นระบบ (โยนิโสมนนิการ) ตามระบบของอริยสัจ 4 หากภาวนาแล้วจิตสงบ ก็จะเป็นปัญญาให้เกิดความเข้าใจ ปล่อยวางได้ ภาวนาจะเป็นตัวแก้ทุกข์ทางใจได้ทั้งหมด Q6: เนื้อคู่มีจริงหรือไม่A: คนที่ชอบกัน เป็นเพราะความเกื้อกูลกันที่มีมาในปางก่อน หรือในปัจจุบัน - เนื้อคู่ในชาติปางก่อน อาจมีหรือไม่มีก็ได้ อาจจะเจอกันหรือไม่เจอกันก็ได้ เพราะเกิดกันคนละภพภูมิ คนละช่วงเวลา - หากคิดจะครองเรือน การดูเนื้อคู่ ให้ดูในปัจจุบันโดยไม่ต้องอ้อนวอนขอร้องจากใครเลย คือ ตรวจสอบว่ามีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา เสมอกันหรือไม่ ถ้าเสมอกันก็จะอยู่ด้วยกันอย่างเป็นสุข
  • 32. การสวดมนต์ สมาทานศีล และผู้ไม่นับถือศาสนา [6732-1u]

    57:21||Season 67, Ep. 32
    Q1: การจำพรรษาของพระสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษาA: พระสงฆ์ต้องอยู่เป็นที่ในช่วงฤดูฝน 3 เดือน, อยู่ในบริเวณเนื้อที่ที่กำหนดเอาไว้ เช่น กำแพงวัด, สามารถเดินทางออกนอกบริเวณได้ แต่ต้องกลับมาก่อนพระอาทิตย์ขึ้นในวันรุ่งขึ้น, เว้นแต่ เดินทางไปด้วยธุระจำเป็น สามารถไปได้ไม่เกิน 7 วัน- อาจเปลี่ยนที่จำพรรษาได้ แม้พรรษาขาดแต่ไม่เป็นอาบัติถ้าเข้า 6 กรณี- ถ้าพระสงฆ์ไม่แสวงหาที่จำพรรษาในช่วงเข้าพรรษา จะเป็นอาบัติ- อานิสงส์ของการจำพรรษา เช่น สามารถเที่ยวจาริกไปได้โดยไม่ต้องบอกลา, รับกฐินได้- ระหว่างจำพรรษา พระสงฆ์จะมีการทำความเพียรเพิ่มขึ้นมา เช่น สวดมนต์ นั่งสมาธิ เพิ่มขึ้น- จึงชักชวนท่านผู้ฟัง ให้มีข้อปฏิบัติเพิ่มเติมเพื่อเร่งทำความเพียรในช่วงเข้าพรรษานี้ เช่น งดเหล้า ฝึกสวดมนต์ นั่งสมาธิ พัฒนาจิตใจให้เข้มแข็งมากขึ้น Q2: ในช่วงจำพรรษา พระสงฆ์อยู่กุฏิเดียวกันได้หรือไม่A: อยู่ในกุฏิเดียวกัน 2-3 รูปได้ แต่ต้องระวังเรื่องการรักษาผ้าครอง (ผ้าสำรับ 3 ผืน ที่ได้มาในวันบวช ได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ) ที่จะต้องรักษาเอาไว้ในช่วงที่จะได้อรุณ คือ ตี4 ถึง 6 โมงเช้า ผ้า 3 ผืนนั้นต้องอยู่ใกล้ตัวที่มือเอื้อมถึง- สมัยก่อนผ้าหายาก สมัยนี้หาง่ายแต่ยังมีการปฏิบัติข้อนี้กันอยู่ เพื่อเป็นการเอื้อเฟื้อพระวินัยให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นานและเป็นการฝึกสติสัมปชัญญะ Q3: สวดมนต์เพื่ออะไรA: การสวดมนต์ คือ การสาธยาย (สัชฌายะ) ท่องให้เหมือนต้นฉบับ, นำคำของพระพุทธเจ้าที่เคยตรัสไว้ มาพูดซ้ำ (Recitation) ไม่ใช่การอ้อนวอนขอร้อง (Pray)- การสวดมนต์ (สัชฌายะ) มีประโยชน์ทำให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ได้นาน แม้ไม่รู้ความหมายก็ตาม แต่ถ้าเข้าใจความหมาย แล้วเอามาตรึกตรอง พิจารณา ปฏิบัติตาม ก็จะเกิดผลทำให้จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ ได้ลิ้มรสของธรรมะด้วยตนเองQ4: คนรุ่นใหม่บางกลุ่มไม่นับถือศาสนา แต่ยังยึดเรื่องการทำความดี ละเว้นความชั่วA: คำว่า “ศาสนา” ในทางพระพุทธศาสนา หมายถึง “คำสอน” ให้เอาเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ให้ยึดเป็นของตน (อุปาทาน) เช่น เอาการทำความดีตามศีล 5 เป็นที่พึ่ง - ประเพณี รูปแบบ พิธีกรรม เพิ่งเกิดขึ้นในภายหลัง หากทำความดีตามศีล 5 ได้ ชาตินี้ไปดีแน่นอน ตัวเราหรือคนอื่น ติเตียนเราไม่ได้ เกิดความสบายใจ แต่ถ้าไม่รักษาศีล 5 จะมีโทษ คือ ตนเบียดเบียนตนเอง คนอื่นติเตียน ถูกลงโทษ ตายแล้วตกนรก ชาติหน้าไปไม่ดี Q5: พระสงฆ์ออกกำลังกายด้วยการยกดัมเบลแทนการเดินจงกรมได้หรือไม่A: พระวินัย ให้การเดินเป็นการออกกำลังกาย หลังการกิน ให้คลายความเมาในอาหารด้วยการเดิน - ในสมัยโบราณแนวคิดเรื่องการออกกำลังกายเพื่อให้สุขภาพดียังไม่มี แต่อาจนำเอาพระวินัยมาปรับได้ว่า หากมีญาติโยมปวารณาเครื่องออกกำลังกายนั้นไว้ พระสงฆ์ได้เครื่องออกกำลังกายมาก็ไม่ผิด, การออกกำลังกายเพื่อต้องการให้ร่างกายสวยงาม อันนี้ไม่ถูก, แต่การออกกำลังกายเพื่อคลายเวทนาของร่างกาย ไม่ให้ร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อันนี้ทำได้, และขณะออกกำลังกาย ต้องมีสติสัมปชัญญะ เพื่อไม่ให้เพลิดเพลิน ลุ่มหลงไปกับการอิริยาบทที่กำลังทำอยู่ Q6: การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล บาปหรือไม่A: การเล่นการพนัน เป็นอบายมุข ทำให้เมา เพลิน จึงไม่ควรเล่นการพนัน- การเล่นพนัน แม้ไม่ผิดศีล แต่เป็นที่ตั้งของความประมาท เช่น ทำให้เป็นหนี้สิน ตามมาด้วยการโกหก ขโมยของ อกุศลธรรมหลายอย่างจะตามมา- การเล่นหวย เป็นการพนัน (อบายมุข) แต่ที่รัฐต้องทำสลากกินแบ่งรัฐบาลมาขาย ไว้สำหรับคนที่ยังเลิกไม่ได้ ผู้ที่ยังมีความเพลินอยู่ หากรัฐไม่ขายก็จะไปซื้อหวยใต้ดินกันอยู่ดี จึงเอาบางส่วนขึ้นมาทำให้ถูกกฎหมาย แล้วเอารายได้นั้นมาแบ่งปันให้สังคม Q7: สมาทานศีลแล้ว แต่เผลอทำผิดศีล เป็นบาปมากกว่าเดิมหรือไม่A: เป็นบาปน้อยกว่าการไม่สมาทานศีลแล้วทำผิดศีลด้วยความจงใจ เพราะการสมาทานศีล คือ การตั้งเจตนาว่าจะรักษาศีล 5 ให้ตนเองมีสติสัมปชัญญะ, ช่วงที่รักษาศีลได้ เป็นบุญ แต่ช่วงที่เผลอเพลิน ขาดสติสัมปชัญญะ ทำผิดศีล เป็นบาป- การผิดศีลทำให้เกิดความร้อนใจ ความรู้สึกผิดนี้เป็นหิริโอตัปปะ ละอายในบาปที่ทำลงไป การร้อนใจตอนนี้ ยังดีกว่าร้อนใจในภายหลัง และดีกว่าทำชั่วแล้วไม่ร้อนใจอะไรเลย
  • 31. พึ่งตน พึ่งธรรม ด้วยการใช้ปัญญา [6731-1u]

    58:48||Season 67, Ep. 31
    ช่วงไต่ตามทาง:- ผู้ฟังท่านนี้ เมื่อตอนเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยคณะวิศวะ มีรุ่นน้องคนหนึ่งสัญญากับแม่ไว้ว่าจะไม่ดื่มเหล้า แต่ถูกรุ่นพี่บอกให้ดื่มเหล้าเพื่อเป็นการให้เกียรติรุ่นพี่ รุ่นน้องคนนี้มีหิริโอตัปปะ ละอายต่อแม่ จึงเอาตัวรอดโดยการต่อรองขอเป็นคนชงเหล้าให้รุ่นพี่ และดื่มเครื่องดื่มอื่นที่ไม่ใช่เหล้าแทน เหตุการณ์ก็ผ่านไปได้ด้วยดี รุ่นน้องก็อยู่ในสังคมได้ ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: - ทำกรรมอย่างไร ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น ซึ่งจะให้ผลออกมาเป็นความสุขหรือความทุกข์ การทำดีโดยอยากได้ความดีตอบ อันนี้เป็นความอยาก ส่วนการทำความดีโดยไม่ได้หวังสุขเวทนา แต่ทำไปเพื่อกำจัดความอยาก ความตระหนี่ อันนี้เป็นปัญญา - คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนที่ประกอบด้วย “ปัญญา” ต้องพิจารณาโดยแยบคาย ใคร่ครวญให้ลึกซึ้ง ดังนี้(1) พิจารณาให้ได้ว่าการทำอะไรก็ตาม ให้หวังเอา “ปัญญา” ไม่ใช่หวังเอา “เวทนา”–การทำอะไรก็ตาม อย่าไปหวังให้สุขเวทนาเกิด ไม่อยากให้ทุกขเวทนาเกิด เพราะเป็นตัณหา (ความอยาก) ส่วนการทำอะไรแล้วได้ปัญญา ปัญญาจะเป็นตัวตัดความตระหนี่และความเข้าใจผิด ๆ ว่าทำอะไรแล้วจะต้องได้รับสุขเวทนา(2) พิจารณาให้ได้ระหว่าง “ตัณหา” (ความอยาก) กับ “ฉันทะ” (ความพอใจ)–การทำอะไรด้วยความอยากเป็นสิ่งไม่ดี แต่การทำด้วยความเพียร ด้วยฉันทะ ความพอใจ ตั้งจิตไว้อย่างแน่วแน่ เป็นหนึ่งในองค์ของอิทธิบาทสี่ ธรรมะแห่งความสำเร็จ(3) พิจารณาให้ได้ว่า การเอาความดีมาอ้างเพื่อทำความชั่ว เป็นสิ่งไม่ดี เช่น พระเทวทัต ทำความดีเพื่อหวังลาภสักการะ, การพูดความจริงแต่เป็นการเสียดสีผู้อื่นทำให้เขาเสียใจ เป็นต้น หรือ บางคนไม่มีความดีบังหน้าแต่มีความดีซ่อนเอาไว้ เช่น พระปิลินทวัจฉะ ชอบเรียกคนอื่นว่าคนถ่อย แต่จริงแล้วท่านเป็นพระอรหันต์ที่มีเทวดารัก(4) พิจารณาไปตลอด ไม่ใช่เพียงช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เพราะดีกลับเป็นไม่ดีได้ และไม่ดีอาจกลับเป็นดีในตอนหลังได้- โดยสรุป การใช้ปัญญาพิจารณาโดยแยบคาย ใคร่ครวญให้ลึกซึ้ง ไม่มองผิวเผิน และไม่มองเพียงช่วงระยะเวลาหนึ่งแต่ดูไปตลอด เป็นไปเพื่อไม่ให้อาสวะเกิดขึ้นที่จิตของเรา ให้พิจารณามาที่ตัวเราว่า ตัวเรามีกิจอะไรที่ต้องทำ ที่ต้องละ ต้องทำกิจของมรรค 8 ละสิ่งที่เป็นอกุศล ทำสิ่งที่เป็นกุศล เราจะดีหรือไม่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดของใคร แต่อยู่ที่ตัวเรา เราจึงต้องพึ่งตน พึ่งธรรม โดยใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญโดยแยบคายในลักษณะที่ไม่ให้อาสวะเกิดขึ้น ด้วยการฟังธรรม การศึกษาธรรม ปัญญาก็จะแจ่มแจ้งขึ้น