Share

cover art for พลังสติ [6710-7q]

7 ตามใจท่าน (ธรรมะสากัจฉา)

พลังสติ [6710-7q]

Season 67, Ep. 10

Q: เป็นคนชอบคิดมาก ควรแก้ไขอย่างไร?

A : ความคิดแยกเป็น 2 นัยยะ นัยยะแรกคือคิดเยอะ เช่น คิดด้านการงาน มีไอเดียในการคิดทำสิ่งต่าง ๆ ส่วนนัยยะที่สองคือคิดมาก เช่น ย้ำคิดย้ำทำ คิดปรุงแต่งมากเกินไป หดหู่ น้อยเนื้อต่ำใจ คิดวนลูป ไปในแนวอกุศล ซึ่งพอคิดมาก ๆ เข้า อาจจะเป็นซึมเศร้าได้ ซึ่งทั้งสองนัยยะนี้มีลักษณะที่เหมือนกัน คือ คิดมากเหมือนกัน วิธีแก้จึงเหมือนกัน คือ ให้เราตั้งสติ แยกจิตออกจากความคิดให้ได้ ท่านบอกว่า “หู ตา จมูก ลิ้น กาย มีใจเป็นที่แล่นไปสู่” เพราะฉะนั้น ทางใจจึงต้องมีสติเป็นตัวจัดระเบียบ เราจะเพิ่มพลังสติได้ ต้องใช้เครื่องมือ คือ “อนุสติ 10” เพื่อให้สติเรามีกำลัง เมื่อสติมีกำลัง จิตเราจะสามารถแยกออกจากความคิดได้


จิต ใจ ความคิด เป็นคนละอย่างกัน แม้ความคิดจะมีมา มันก็จะไม่เนื่องกัน เปรียบดังน้ำกลิ้งบนใบบัว ความคิดนั้นมันจะมาสะเทือนจิตเราไม่ได้ คือ มีความคิดนั้นอยู่ แต่มันไม่เข้าถึงใจ คือไม่สะเทือนจิต


Q: สติ สมาธิ ความสงบ สัมพันธ์กันอย่างไร?

A : สติ สมาธิ ความสงบ เป็นนามธาตุที่เกิดขึ้นในช่องทางใจ / สติ หมายถึงการระลึกรู้ได้ในนามธาตุต่าง ๆ หรือระลึกรู้ได้ในนิวรณ์ 5 สติจะทำให้นิวรณ์ 5 อ่อนกำลัง เมื่ออ่อนกำลังแล้วจะทำให้เกิดความสงบเกิดขึ้นได้ (สมถะ)

สติจะเกิดขึ้นก่อนสมาธิเสมอ สัมมาสติจะทำให้เกิดสัมมาสมาธิได้ สมาธิในความหมายที่ท่านทรงกำหนดไว้ จะประกอบด้วยสมถะ (ความสงบ) และ วิปัสสนา (การใคร่ครวญ ให้เกิดรู้แจ้งในสังขารทั้งหลาย)


Q: การวางเฉยต่างจากการไม่ใส่ใจอย่างไร?

A : แตกต่างกันตรงที่ปัญญา ความไม่ใส่ใจ จะมีโมหะเป็นตัวครอบงำอยู่ แต่อุเบกขา จิตจะประกอบด้วยปัญญา มีความ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา


Q: การนั่งสมาธิโดยกำหนดอานาปานสติแล้วใคร่ครวญธรรมะไปด้วย ปฏิบัติแบบนี้ถูกหรือไม่?

A : ไม่ผิด หลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจะมีการสอดรับลงรับกันทั้งหมด อนุสติ 10 จึงเป็นอันเดียวกันทั้งสิ้น


Q: ขณะภาวนาเกิดจิตฟุ้งซ่าน ควรหยุดการปรุงแต่งความคิดหรือปล่อยความคิดไปตามธรรมชาติ?

A: เมื่อสติมีกำลังจะทำให้เกิด สมาธิ สมาธิประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา หากวิปัสสนาเกินกำลังของสมถะจะทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน และหากสมถะเกินกำลังของวิปัสสนา จะทำให้เกิดความเหนื่อยอ่อนเกียจคร้าน

More episodes

View all episodes

  • 18. คาถาชนะมาร [6718-7q]

    01:01:52
    Q : คาถาใดใช้ขจัดมาร และพระไพรีพินาศ ศัตรูพินาศจริงหรือ?A : มารคือสิ่งที่จะมาขัดขวางให้เราทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่สำเร็จ ท่านสอนว่ามารมี 5 ประเภท คือมารที่เป็นคน กิเลสมาร มารที่เป็นขันธ์และกรรมก็เป็นมาร วิสัยของมารคือจะคอยขัดขวางล้างผลาญความดี หากเราไม่ให้อาหารแก่มาร เช่น ใครมาด่ามาว่า เราก็ยังดำรงตนอยู่ในมรรค 8 ได้ ไม่โกรธไม่ขัดใจ ไม่ด่าตอบ นั่นคือจิตเราไม่ไปตามกระแสของมาร มารก็จะทำอะไรเราไม่ได้ ไม่ใช่ว่ามารไม่มี และหากเราเห็นพระพุทธรูปองค์ใดองค์หนึ่งแล้วเรายังระลึกถึงคำสอนของท่านอยู่รวมลงในองค์ 8 อันประเสริฐ มารทำอะไรเราไม่ได้ก็จะไปเอง Q : วิธีชนะมารที่ตัวเรา?A : ชนะมารได้ด้วยการไม่ให้อาหารมารไม่ทำตาม มารพอเราไม่ไปตามอำนาจของมันเดี๋ยวมันก็ไปเอง การชนะมารคือชนะตัวเราเอง พอเราควบคุมจิตเราให้อยู่ในธรรมะได้ ทรงอยู่ในธรรมได้ เราชนะตรงนี้ได้ เราก็จะชนะทุกอย่าง Q : เพิ่มพลังให้จิต? A : วิธีเพิ่มพลังให้จิตเรามีกำลัง คือให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ให้เป็นผู้ที่มีกำลังใจสูง เข้าใจว่ามีทุกข์มีสุข ให้ทำความดีต่อไป Q : นอนสวดมนต์ได้หรือไม่?A : หากเราทำกิริยาใด ๆ แล้วประกอบด้วยความขี้เกียจ นั่นเป็นบาป เราควรตั้งอยู่ในกิริยาที่สำรวมเหมาะสม Q : กระดูกกับความดี?  A : การที่เราจะระลึกถึงบรรพบุรุษหรือใครที่ทำดีกับเราเป็นสิ่งที่ทำได้ การระลึกถึงผู้มีพระคุณต่อเราเรียกว่าเทวตานุสติ Q : พูดความจริงกับบาปA : หากมีเจตนาโกหกนั่นเป็น “บาป” เช่น เห็นบอกไม่เห็น ได้ยินบอกไม่ได้ยิน คือมีเจตนาโกหก หรืออีกนัยยะหนึ่งคือพอมีคนถามถึงความไม่ดีของคนอื่นด้วยเจตนาที่จะให้เขาระวัง ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เขาแตกกัน ซึ่งหากเขาแตกกันอันนี้เป็นบาป สิ่งที่เราควรทำคือหากเขาไม่ถามก็ไม่ต้องพูดเลย หรือถ้าเขาถามก็ให้พูดนิดเดียว ถ้าเขาถามจี้ก็ให้พูดหลีกเลี้ยวลดหย่อน พูดให้น้อย พูดจากหนักให้เป็นเบา เราจึงจะเป็นคนดี ถ้าเราทำเช่นนี้ความชั่วจะไม่ขยายผล
  • 17. สิ่งที่เป็นไปได้ยาก 3 สิ่ง [6717-7q]

    55:40
    Q: การยอมรับความจริงเป็นทางออกของหลายปัญหาจริงหรือไม่?A : ทุกข์ เวทนา นั้น มันไม่ได้เป็นของจริง เปรียบดังพยับแดดที่เหมือนจะมีจริงแต่มันไม่มีจริง พอเราเข้าใจว่ามันไม่ใช่ความจริง ยอมรับด้วยปัญญา เราก็จะไม่ทุกข์อีกต่อไป ให้เรานำธรรมะมาทำ มาปฏิบัติ มาใช้ในชีวิตประจำวัน พยามเดินตามมรรค อย่าออกนอกมรรค Q: การสะสมอาสวะใหม่ให้เข้ามาอยู่ในจิตใจจึงจะได้ผล?A : ไม่ใช่ว่าเป็นการสะสมอาสวะใหม่ แต่ที่จริงแล้วเป็นอาสวะเก่ามันลอกออก เพราะอาสวะมันเป็นสิ่งสะสม มีกามาสวะ คือ เมื่อเราชอบพอสิ่งใด กามาสวะก็จะเพิ่มพูน ปฏิฆาสวะ คือเมื่อเราไม่พอใจขัดใจ ปฏิฆาสวะก็จะเพิ่มพูน และอวิชชาสวะ คือเมื่อไม่เข้าใจสถานการณ์ ง่วงซึม เห็นแก่ตัว อวิชชาสวะก็จะเพิ่มพูน แต่หากมีสถานการณ์ที่มากระตุ้นให้เกิดอาสวะเดิม แล้วเราไม่ทำตามเดิม เรามาเดินตามมรรค ปฏิบัติตามมรรคได้ อาสวะเดิมมันก็จะหลุดลอกออกทันที Q: การมีปีติ สงบ มีสมาธิ หรือการไม่ยินดียินร้าย อันไหนดีกว่ากัน สุขจากภายในคือสุขจากสมาธิใช่หรือไม่? A : สุขในภายในคือสุขจากสมาธิ (สมาธิ 9 ขั้น) สมาธิ มี 2 ส่วน คือสมถะและวิปัสสนา แยกต่อไปอีก ได้ 3 ส่วน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แยกต่อไปอีกได้ 8 ส่วน คือมรรค 8 สมถะและวิปัสสนา เรียกอันเดียวกันว่า “สติ” เมื่อมีสติแล้ว ก็จะทำให้เกิดสมาธิเกิดปัญญาได้ คือทำแล้วจะรวมลง ลงรับกันทั้งหมด ส่วนไม่ยินดียินร้ายน่าจะเน้นมาเรื่องอุเบกขา (สมาธิขั้นที่ 3 ขึ้นไป) Q: ฝึกที่จะไม่พูดในสิ่งที่ไม่จำเป็นเป็นอย่างไร?A: สิ่งที่ไม่จำเป็นต้องพูด คือ คำโกหก หลอกลวง เพ้อเจ้อ นินทา ไม่มีสาระหาแก่นสารไม่ได้ ส่อเสียด ยุยงให้แตกกัน รวมถึงคำหยาบทั้งหลาย  Q: การเกิดเป็นมนุษย์เป็นของยาก?A: ท่านตรัสไว้ 2 นัยยะ นัยยะแรก ท่านเปรียบเทียบกับเต่าตาบอดอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยน้ำทะเล ทุก 100 ปี จะโผล่หัวขึ้นมาครั้งเดียว แล้วโผล่หัวขึ้นมาพอดีกับรูในแอกไม้ไผ่ที่มีอยู่รูเดียว นั่นเป็นความยากที่จะเป็นไปได้ นัยยะที่สอง การที่สัตว์นรกจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ยากกว่าเต่าตาบอดตัวที่ท่านได้กล่าวมาแล้ว และสิ่งที่ยากกว่านี้อีกประการหนึ่ง คือ การที่จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น คำสอนของท่านคงอยู่ได้นาน เพราะฉะนั้น หากตอนนี้เราได้ในสิ่งที่ได้มายาก เราเป็นมนุษย์ มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น และคำสอนของท่านยังคงอยู่ นั่นเป็นเรื่องที่ยากที่สุดแล้ว เราสามารถใช้โอกาสที่ได้มายากนี้ ทำตามคำสอนของท่านได้ Q: ทำไมคนเราเกิดมาจึงต่างกัน?A: สิ่งที่จะจำแนกสัตว์ให้ทรามหรือประณีต คือ กรรมและวิบาก|ผลของกรรมซึ่งจุดนี้เราสามารถแก้ไขได้ หากมีสิ่งมากระตุ้นแล้วเรายังตั้งอยู่ในมรรคได้ แม้เรามามืดเราก็ไปสว่างได้หรือมาสว่างแล้วไปสว่างได้ Q: ขันติกับอุเบกขาต่างกันอย่างไร?A: ขันติ คือ ความอดทน อดทนต่อทุกขเวทนา ต่อความลำบาก ต่อความร้อนความหนาว ต่อคำด่าคำว่า เป็นลักษณะการกระทำที่เราแสดงออก ส่วนอุเบกขาพูดถึงเวทนา ถ้าเป็น “นาม” หมายถึงเป็นเวทนาที่นิ่ง ๆ เฉย ๆ ไม่ได้จะสุขหรือทุกข์ ถ้าเป็น “กิริยา” คือ การวางเฉยในสุข ในทุกข์ และในสิ่งที่ไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ 
  • 16. ความรู้คือวิชชา ความพ้นคือวิมุตติ [6716-7q]

    54:21
    Q : อย่าเห็นแก่สั้นอย่าเห็นแก่ยาว (การผูกมิตร)A : การให้ทานเป็นหนึ่งในสังคหวัตถุ 4 เราสามารถรับและซื้อของให้กลับเพื่อผูกมิตร มิตรภาพมีค่าควรรับไว้ ทั้งนี้ให้ตรวจสอบสภาวะจิตว่าเราเป็นคนตระหนี่ไหม คือเค้าซื้อของให้แล้วไม่อยากซื้อให้กลับหรือไหม การให้ทานเป็นการลดความตระหนี่ เราควรรักษามิตรภาพไว้หากเขามีศรัทธากับเรา เราก็ดูว่าเราจะเป็นเนื้อนาบุญได้ไหม หรือแนะนำให้หยอดกระปุกชวนทำบุญร่วมกัน / คำว่า “อย่าเห็นแกสั้นอย่าเห็นแก่ยาว” หมายถึง อย่าแตกร้าวจากมิตรให้เร็วนัก อย่าจองเวรให้ยืดเยื้อนัก Q : คุณสมบัติของเนื้อนาบุญเปรียบกับช้างทรงของพระราชาA : อดทนต่อรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ต้องเป็นช้างที่รู้ประหารคือกำจัดสิ่งที่เป็นอกุศล รู้รักษาคือสำรวมอินทรีย์ รู้ไปคือไปทางนิพพาน รู้ฟังคือฟังธรรมะ และรู้อดทนคืออดทนต่อเวทนาคำด่าคำว่า Q : ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์อุเบกขา วิมุต ต่างกันอย่างไร? A : “ความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์” มาจากศัพท์คำว่า “อทุกขมสุข” เป็นเวทนา คือถ้ามีผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกที่บอกไม่ได้ว่าเป็นสุขหรือทุกข์มากระทบ ก็จะมีความรู้สึกที่จะบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์เกิดขึ้น “อุเบกขา” คือความวางเฉย เป็นเวทนาที่เป็นหนึ่งในสติปัฎฐานสี่ เป็นหนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ “วิมุตติ” คือพ้นไม่เพลิน อยู่เหนือจากอุเบกขาขึ้นไป เมื่อวางได้จึงพ้น / ความต่างของอุเบกขาและวิมุตติคืออุเบกขา เป็นหนึ่งในสติปัฏฐานสี่หนึ่งในองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ความเหมือนก็คือเป็นเวทนาเหมือนกัน มีความเพลินเหมือนกัน มีสติอยู่ด้วยเหมือนกัน / เมื่อเราเจริญสติปัฏฐานสี่ให้มากทำให้มากแล้ว เราจะมีองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรมคือโพชฌงค์ พอมีโพชฌงค์แล้วอาศัยวิเวก วิราคะ นิโรธ น้อมไปด้วยความสลัดคืน วิชชาและวิมุตติจะเกิดขึ้น Q : นั่งสมาธิพอจิตตั้งมั่นแล้วจะเหมือนมีหนอนไต่เป็นเพราะเหตุใด และจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร? A : พิจารณากรณีที่ 1 เป็นนิมิตว่าให้เราเห็นความเป็นปฏิกูลในกายนี้คือไม่น่ายินดี ให้รักษาสติเห็นตามจริงอย่าตกใจ หากตกใจให้ตั้งสติขึ้นใหม่ ให้มีกำลังกล้าเผชิญหน้าว่ากายเราเป็นแบบนี้ กรณีที่2 หากเราเพิ่งเริ่มต้นปฏิบัติ อาการนี้คือการปรุงแต่งทางกาย เป็นเครื่องทดสอบให้ตั้งสติสัมปชัญญะไว้ให้ดี รู้เฉย ๆ แต่ไม่ตามรู้ ก็สักแต่ว่ารู้ พอสอบผ่านแล้วจะไม่คันอีก Q : การนั่งสมาธิทดแทนการหลับได้หรือไม่? A : ในการนอน 4 ประเภท หนึ่งในนั้นเรียกว่าการนอนอย่างตถาคต คือตื่นอยู่ในสมาธิ ไม่ง่วง ไม่หลับ จิตสว่างอยู่ ร่างกายได้รับการพักผ่อนอยู่ในสมาธิ ส่วนคนที่นอนไม่หลับคือง่วง เหนื่อยเพลีย แต่นอนไม่หลับ Q : การทำสมาธิใกล้คนนอนมีผลกับคนนอนหรือไม่?A : หากเป็นการขยับร่างกาย ก็อาจมีผลต่อคนที่นอนใกล้ได้ หากเราทำสมาธิแล้วให้เราแผ่เมตตา ผลที่ได้ไม่ใช่แค่คนใกล้ คนไกลก็ได้ประโยชน์ด้วย ได้ทั้งข้ามภพข้ามชาติด้วย
  • 15. การตั้งสติไว้ในกาย [6715-7q]

    56:33
    Q : กายคตาสติหรือการตั้งสติไว้ในกายทำอย่างไร? A : กายคตาสติคือการตั้งสติไว้ในกาย ใช้กายเป็นฐานที่ตั้งของสติ สามารถทำได้หลายรูปแบบเช่นนัยยะของการนั่งสมาธิแล้วพิจารณากาย การพิจารณากายในอิริยาบถ การพิจารณากายในความเป็นปฏิกูล หรือพิจารณากายจากสถานที่ / การตั้งสติสัมปชัญญะไว้ในกาย คือรู้ตัวทั่วพร้อมรอบคอบในอาการต่าง ๆ ในทุกอิริยาบถ หากเรามีอาการทางกาย เช่น การไอ อย่าให้จิตเราไม่พอใจขยะแขยงเกลียดชังไปกับอาการหรืออิริยาบถนั้น ๆ ให้เรารับรู้อยู่แต่ไม่คิดไปตาม ไม่เพลินไปตามความคิด ไม่เพลินไปตามอาการนั้นอิริยาบถนั้นการปรุงแต่งนั้น ให้รู้ตัวทั่วพร้อมมีสติสัมปชัญญะอยู่กับการไอ Q : รู้สึกผิดที่ไม่ได้ดูแลพ่อแม่ด้วยตัวเองควรวางใจอย่างไร?A : หน้าที่ที่เหมาะสมสำหรับลูกที่ควรกระทำคือเลี้ยงดูบิดามารดา การเลี้ยงดูมี 2 รูปแบบ คือการดูแลทางอามิสคือทางกาย และการตอบแทนที่จะพอเหมาะสม คือการให้ท่านมีศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา คือมี “โสตาปัตติยังคะ 4” ถึงพอจะเหมาะสมกัน ในเรื่องของการดูแลเราสามารถทำเองก็ได้หรือจัดให้ก็ได้ ในเรื่องของสภาพจิตใจต้องดูแลท่าน หมั่นไปเยี่ยมประดิษฐานท่านให้มีศีล ศรัทธา จาคะ และปัญญา ให้เรามองว่าเป็นโอกาสที่เราจะสร้างบุญใหญ่แล้วให้มีความมั่นใจทำจริงแน่วแน่จริง ธรรมะจะคุ้มครองผู้ปฏิบัติธรรมแน่นอน Q : ทำบุญที่ไหนก็ตามเทียบไม่ได้กับทำบุญกับพ่อแม่A : บุญที่เกิดจากการให้ทานอยู่ที่ลักษณะ 3 อย่างคือ ผู้ให้ผู้รับและสิ่งของที่ให้ผู้ให้คือเราผู้รับคือพ่อแม่หากเปรียบพ่อแม่เป็นพระอรหันต์ พระอรหันต์ท่านไม่มีกิเลสแล้วแต่พ่อแม่ยังมีกิเลสอยู่นัยยะของการเกิดบุญจึงต่างกันอย่างไรก็ตามท่านสอนให้เราทำดีกับพ่อแม่อยู่แล้วเพราะเรามีพ่อแม่เพียงคนเดียวไม่ว่าท่านจะต่อว่าเราอย่างไรเราก็ควรตอบแทนบุญคุณท่านให้เห็นว่าเป็นโอกาสที่เราจะได้ฝึกความอดทนฝึกปัญญาแก้ปัญหาให้เราตั้งอยู่ในความดีทำดีต่อไป Q : การดูแลผู้ป่วยหนัก เราควรทำจิตใจอย่างไรจึงจะผ่านวิกฤติไปได้?A : คุณสมบัติของผู้ที่จะพยาบาลได้ง่ายก็คือ 1) รู้ว่าอะไรเป็นความสบาย 2) รู้ประมาณในความสบาย 3) ทานยาตามเวลา 4) บอกอาการตามความเป็นจริง 5) มีความอดทนต่อเวทนานั้น ๆ หากเราต้องจัดคนมาดูแลหรือดูแลเอง ให้พิจารณาว่ามีคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่ ไม่เห็นแก่อามิสสิ่งของ ไม่รังเกียจที่จะนำอุจจาระปัสสาวะไปทิ้ง สามารถพูดให้คนไข้มีความอาจหาญ ร่าเริง ทรงอยู่ในธรรมได้
  • 14. ขายนิพพาน [6714-7q]

    55:01
    Q : คอร์สออนไลน์ที่สอนให้บรรลุธรรมเป็นไปได้หรือไม่?A : การบรรลุธรรมได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับเหตุเงื่อนไขและปัจจัยเหตุแห่งการบรรลุธรรม คือการปฏิบัติตามมรรค 8 และเราจะไม่สามารถบรรลุธรรมได้แม้จะปฏิบัติตามมรรค 8 แล้วก็ตาม คือมีความเคลือบแคลงเห็นแย้งไม่ลงใจในมรรคในข้อปฏิบัติ หากเราได้ยินได้ฟังเรื่องใดมา เราต้องใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองใคร่ครวญเทียบเคียงกับคำสอนของท่าน ศรัทธาและปัญญาต้องไปคู่กันเสมอQ : การออกเสียงปาฬิภาษาในพระไตรปิฎกให้แม่นยำสำคัญต่อการบรรลุธรรมอย่างไร?A : ในวิมุตยายตนสูตร 5 ประการที่เกี่ยวกับการบรรลุธรรมคือการฟัง, การแสดงธรรม, การสวด|สาธยายหมายถึงการสวดการออกเสียง "สัชฌายะ" การตรึกตรองและการทำสมาธิเมื่อเราปฏิบัติตามแล้ว จะทำให้จิตมีปิติ ปราโมทย์ สุข จิตตั้งมั่นมีความเพียรบรรลุธรรมได้ ดังนั้นการออกเสียงสัชฌายะให้ถูกต้องตามอักขระจึงมาตรงกับการสาธยายโดยพิสดาร จะทำให้เรารู้แจ้งอัตถะรู้แจ้งธรรมะได้ดี จะมีความเข้าใจบางประการเกิดขึ้นจากการได้ยินเสียงนั้นQ : ฌาน 4 มีคุณสมบัติอย่างไร?A : คุณสมบัติของฌาน 4 คือ มีแต่อุเบกขาล้วน ๆ การจะไปดูนรกสวรรค์ได้ก็ไปด้วยกำลังของฌานคือสมาธิ จะทำให้เกิดญาณคือความสามารถนี้ ซึ่งกำลังของญานจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าสมาธิน้อยหรือมากQ : ลักษณะของการตรัสรู้ธรรมเป็นอย่างไร?A : โพธิปักขิยธรรม เป็นธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ คือ เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ เกื้อหนุนแก่อริยมรรค ลักษณะธรรมะของท่านเปรียบเหมือนจุ่มแห เมื่อเราปฏิบัติตรงนี้ก็จะดึงส่วนอื่นเข้ามาด้วย เราทำส่วนไหนได้ก็ทำส่วนนั้น ทำจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งหมด ทำธรรมะในจิตของเราให้เข้ากัน ก็จะทำให้เกิดการตรัสรู้ธรรมได้Q : ต้องเดินอานาปานสติถึงขั้นไหนจึงเกิดปีติสุข?A : เราฝึกเพื่อให้มีสติ ไม่ได้จะเอาอย่างอื่นจะเกิดอย่างอื่นหรือไม่เราไม่ได้เอาตรงนั้น
  • 13. ตรงผัสสะมีรอยต่อ [6713-7q]

    56:55
    Q : กิเลสมักเกิดขึ้นในใจ ในรูปแบบของความคิด ก่อนที่จะออกมาเป็นคำพูดหรือการกระทำใช่หรือไม่?    A : กิเลสเกิดจากจิตที่มีอวิชชาแฝงอยู่แล้วไม่มีสติรักษาเมื่อมีผัสสะมากระทบก็จะปรุงแต่งไปตามสิ่งที่พอใจหรือไม่พอใจออกมาในรูปแบบความคิดคำพูดการกระทำและเมื่อปรุงแต่งออกไปแล้วก็จะมีอาสวะกลับเข้ามาในจิต Q : มีสติ หมั่นตามเห็นความคิด (สัญญา) ที่ผ่านเข้ามา และเลือกที่จะไม่ตามมันไป จะช่วยให้เราไม่ตามและขูดเกลากิเลสได้ใช่หรือไม่?A : การที่เราแยกแยะได้รู้ว่าสิ่งนี้ดีสิ่งนี้ไม่ดีความรู้นั้นเป็น “สัมมาทิฐิ” เมื่อเรามีปัญญามีความเพียรมีสติสมาธิกิเลสก็จะอยู่ไม่ได้ Q: แนวทางจากคำถามข้างต้น คือ มรรค8 คือ สัมมาสังกัปปะ ใช่หรือไม่?A : ล้วนเป็นแนวทางของมรรค8 ตามกันมา เราทำอันใดอันหนึ่งก็จะตามกันมาหมด ซึ่ง มรรค8 คือ ทางเดียว ที่มีองค์ประกอบ 8 อย่าง ไม่ใช่ทาง 8 สาย  Q: การเข้าฌานกับขณิกสมาธิ, อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ เกี่ยวกันอย่างไร?A : ฌานคือกิริยาการเพ่งจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งส่วนขณิกสมาธิ, อุปจารสมาธิ, อัปปนาสมาธินั้นเป็นระดับความลึกของสมาธิถ้าทำได้ไม่นานจัดเป็น “ขณิกสมาธิ” ถ้าพอจะเป็นที่อยู่ได้จัดเป็น “อุปจารสมาธิ” ถ้าทำสมาธิได้ลึกซึ้งนานจัดเป็น “อัปปนาสมาธิ” Q : สามารถตั้งสติหรือสมาธิจนถึงรอยต่อที่เราจะหลับไป ได้หรือไม่?A : ความตายเกิดขึ้นได้ตลอดไม่ใช่แค่เกิดขึ้นระหว่างรอยต่อตรงไหนมีผัสสะตรงนั้นมีรอยต่อเป็นกระแสเกิดและดับสิ่งสำคัญคือเมื่อกระแสดับแล้วจิตเราจะระลึกถึงอะไรคว้าอะไรเราจึงควรทำดีมีสติฝึกทำอยู่ตลอดตรงไหนที่กังวลใจก็ให้กำจัดอาสวะส่วนนี้ออกสมาธิเราก็จะเต็มก็จะไปขั้นสูงขึ้นไปได้อีก Q : ป่วยด้วยอาการทางสมองปุถุชนกับอริยะบุคคลต่างกันอย่างไร?A : เหมือนกันที่ทางกายบกพร่องทางสมองต่างกันที่อริยะบุคคลมีอุบายในการออกจากทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นทางกายนั้นท่านจะรักษาจิตไว้ได้ไม่ไปหาความสุขทางกามส่วนปุถุชนนั้นจะกังวลใจอยู่ไม่ผาสุกเพราะไม่มีสติรักษาไม่มีปัญญาเห็นตามความเป็นจริง Q : ควรเตรียมตัวอย่างไร เพื่อไม่ให้จิตไปอบายภูมิ?A : เราต้องรักษาจิตเราให้ดีฝึกสติเห็นไปตามจริงอะไรที่ต้องบรรลุต้องทำให้ถึงเมื่อถึงเวลานั้นเราจะเป็นผู้ที่อยู่ผาสุกได้ Q : อนมตัคคปริยายสูตรน้ำตาเปรียบด้วยมหาสมุทรA : เราทุกข์เพราะไม่เห็นอริยสัจสี่ให้เราตั้งสติให้ดีเห็นในความเป็นจริงด้วยปัญญาว่าสิ่งเหล่านี้เป็นทุกข์เป็นสิ่งที่ยึดถือไม่ได้ให้ระลึกถึงพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์และศีลสี่อย่างนี้จะพาให้เราสู่กระแสนิพพานเป็น “โสตาปัตติยังคะ4” ได้
  • 12. อัปปมัญญา 4 [6712-7q]

    54:55
    Q : ที่มาของ “ข้าวก้นบาตรพระ” A : คืออาหารที่เหลือจากการพิจารณาของพระได้มาจากสัมมาอาชีวะเป็นอาหารที่เกิดจากบุญจากศรัทธาของผู้นำมาถวายจากผู้รับคือพระสงฆ์พิจารณาแล้วจึงบริโภคอาหารนี้จึงเป็นอาหารทิพย์ Q : รักษาจิตด้วยอัปปมัญญา พรหมวิหาร และทิศทั้ง 6 A : “อัปปมัญญา” คือ การพ้นที่อาศัยพรหมวิหาร 4 ได้แก่ 1) เมตตาเจโตวิมุต จะกำจัดความเบียดเบียน คิดให้เค้าได้ไม่ดี ในจิตใจเรา ผลคือจะทำให้เกิดความสุขที่หลุดพ้นสุขในภายใน (สุภวิโมกข์) 2) กรุณาเจโตวิมุต จะกำจัดความเบียดเบียน คิดให้เค้าได้ไม่ดี ผลคือ จะทำให้เกิด “อากาสานัญจายตนะ” 3) มุทิตาเจโตวิมุต จะกำจัดความไม่ยินดีในความสำเร็จของเขา ผลคือจะทำให้เกิด “วิญญานัญจายตนะ” 4) อุเบกขาเจโตวิมุต จะกำจัดราคะในจิตใจเราถ้าเขาได้ไม่ดี ให้เราวางเฉย อุเบกขา ผลคือจะทำให้เกิด “อากิญจัญญายตนะ” จะมีผล มีอานิสงค์ ละธรรมะที่เป็นเสี้ยนหนาม 4 ประการนั้นได้
  • 11. ปัจจัยในการบรรลุธรรม [6711-7q]

    52:55
    Q : ปัจจัยการบรรลุธรรม?A : ตัวเราสำคัญที่สุด เพราะการบรรลุธรรมอยู่ที่จิต ส่วนองค์ประกอบอื่นๆ ทั้งกัลยาณมิตรและสถานที่ที่มีผลทำให้กิเลสเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นสิ่งที่รองลงมา ถ้าเราอยู่ที่ไหนแล้วปัจจัยสี่ไม่ดี จิตใจไม่สงบ อาสวะเพิ่ม เราไม่ควรอยู่ตรงนั้น แต่หากอยู่ที่ไหนแล้วปัจจัยสี่ดี จิตใจสงบ อาสวะที่ละไม่ได้ก็ละได้ ให้อยู่ตรงนั้นไปตลอดชีวิต Q : การสร้างศรัทธาขึ้นมาทำอย่างไร?A : ศรัทธามีทุกข์เป็นที่ตั้งอาศัย คนที่ถูกความทุกข์ครอบงำแล้วแสวงหาทางออกของทุกข์ ศรัทธาจะเกิด เมื่อเราแสวงหาทางออกด้วยศรัทธา คือ ศรัทธาใน “ธัมโม” หมายถึง กระบวนการวิธีการคือ มรรค8 ศรัทธาใน “พุทโธ” หมายถึง ผู้ที่บรรลุแล้วมีพระพุทธเจ้าและสาวกทั้งหลาย ศรัทธาใน “สังโฆ” หมายถึง การปฏิบัติของตัวเราว่า ถ้าคนอื่นเค้าทำได้ เราก็ต้องทำได้ ศรัทธาแล้วมีความเพียร ทำจริง แน่วแน่จริง เกิดสมาธิ ตั้งทิฐิไว้ชอบ ก็จะทำให้เกิดปัญญา ปล่อยวางได้ บรรลุธรรมได้  Q : มีความคิดปรุงแต่งมากจะเรียกว่าฟุ้งซ่านไม่มีสมาธิ?A : อยู่ที่ว่าคิดปรุงแต่งแล้วกิเลสเพิ่มหรือลด ทั้งมิจฉามรรคหรือสัมมามรรคล้วนเป็นสังขตธรรม แต่ที่ไปคนละทาง สมาธิไม่ใช่ไม่คิดอะไรเลย มีลำดับขั้นของมัน Q : ศีล ศรัทธา ไม่ครบไม่มั่นคง จะเริ่มปฏิบัติได้อย่างไร?A : ศรัทธาจะเกิดเมื่อเห็นทุกข์ เห็นทุกข์ที่ควบคู่กับปัญญาจึงจะเห็นธรรม ควรมีกัลยาณมิตรแนะทางให้  Q : ใครเป็นอรหันต์ A : เป็นเรื่องยากที่ฆราวาสผู้ชุ่มอยู่ด้วยกามจะพึงรู้ จะดูแต่เพียงภายนอกไม่ได้ ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยวาจา กำลังจิตพึงรู้ได้เมื่อมีภัย ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการตอบ ที่สำคัญ คือ ตอบตัวเองได้หรือไม่ว่าเป็นอรหันต์หรือยัง  Q : เมื่อมีความกังวลใจ แล้วต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง จะมีวิธีพิจารณาอย่างไร?A : ความกังวลจะทำให้การตัดสินใจผิดพลาดได้ ควรมีศีล ศรัทธา สติตั้งไว้ พิจารณาปัจจุบัน ด้วยความเป็นของง่อนแง่น คลอนแคลน พอเราไม่กังวล เราจะละความยึดถือได้