Share

cover art for พุทธประวัติ ตอนหลังการตรัสรู้และแสดงธรรม [6621-4s]

4 คลังพระสูตร

พุทธประวัติ ตอนหลังการตรัสรู้และแสดงธรรม [6621-4s]

Season 67, Ep. 21

พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ # 4 หลังจากตรัสรู้แล้วทรงอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ต้นไทร มีเหตุการณ์ตามลำดับ ดังนี้ ทรงคิดหาที่พึ่งสำหรับพระองค์เอง ทรงมีความคิดว่า ธรรมใดที่ทรงตรัสรู้แล้ว พึงสักการะเคารพธรรมนั้น เข้าไปอาศัยธรรมนั้น ทรงถูกพวกพราหมณ์ตัดพ้อ ว่าไม่ทรงอภิวาท ไม่ลุกรับ พราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่า ทรงอธิบายธรรมที่ทำให้คนเราเป็นเถระ มารทูลให้นิพพาน ทรงตรัสว่า จะไม่ปรินิพพาน จนกว่า สาวกของพระองค์จะเป็นผู้ฉลาด ฯลฯ และศาสนานี้ตั้งมั่น รุ่งเรือง แผ่ไพรศาล ฯลฯ ทรงท้อพระทัยในการแสดงธรรม จิตน้อมไปเพื่อการขวนขวายน้อย พรหมอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม เพราะสัตว์ที่มีธุลีในดวงตาแต่เล็กน้อยมีอยู่ ทรงเห็นสัตว์ดุจดอกบัว 3 เหล่า คือ จมอยู่ในน้ำ ตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ และโผล่ขึ้นพ้นน้ำ ทรงแสดงธรรม เพราะเห็นความจำเป็นของสัตว์บางพวก คือ พวกที่เมื่อได้เห็น และได้ฟังธรรมจึงเข้ามาสู่คลองแห่งกุศลธรรมทั้งหลายได้ ทรงเห็นลู่ทางที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์ ซึ่งเป็นหนทางเครื่องไปทางเดียว เพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง คือ สติปัฏฐาน 4 ทรงระลึกหาผู้รับปฐมเทศนา คือ ปัญจวัคคีย์ ซึ่งอยู่ที่เมืองพาราณสี ทรงเสด็จพาราณสี พบอุปกาชีวก ทรงโปรดปัญจวัคคีย์ และแสดงปฐมเทศนา ทรงประกาศธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ครั้งนั้น ท่านโกณฑัญญะ ได้ดวงตาเห็นธรรม


More episodes

View all episodes

  • 24. แก่นแห่งพรมจรรย์- จูฬโคสิงคสูตร มหาโคสิงคสูตร [6724-4s]

    01:02:18
    สูตร 1 # จูฬโคสิงคสูตร พระผู้มีพระภาค เสด็จไปยังป่าโคสิงคสาลวัน ได้พบกับท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ได้ทรงสอบถามถึงความเป็นอยู่ ท่านทั้ง 3 อยู่กันด้วยความสามัคคี มีเมตตาให้กันทั้งต่อหน้า และลับหลัง ทั้งทางกาย วาจา และใจ พยายามที่จะเก็บจิตของตนเองแล้วทำตามจิตของผู้อื่น จึงสามารถอยู่เป็นสุขได้ พระผู้มีพระภาคทรงยกย่องพระเถระทั้ง 3 รูป สูตร 2 # มหาโคสิงคสูตร พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวันพร้อมด้วยพระเถระผู้เป็นสาวกที่มีชื่อเสียงหลายรูป คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระเถระผู้เป็นพระสาวกที่มีชื่อเสียงรูปอื่นๆ ได้พากันหาท่านพระสารีบุตรเพื่อฟังธรรม แต่ละท่านมีทรรศนะเรื่องป่าโคสิงคสาลวันว่าป่าจะงามด้วยภิกษุเช่นไรตามที่พระสารีบุตรสอบถาม และพระผู้มีพระภาคได้รับรองทรรศนะของพระเถระทั้งหมดว่าเป็นผู้งามสง่าด้วยความเพียร อ่าน “จูฬโคสิงคสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์อ่าน “มหาโคสิงคสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
  • 22. ข้อปฏิบัติเพื่อความสิ้นตัณหา - จูฬตัณหาสังขยสูตร และมหาตัณหาสังขยสูตร [6722-4s]

    57:19
    สูตร#1 จูฬตัณหาสังขยสูตร ทรงแสดงแก่ท้าวสักกะ ณ บุพพาราม กรุงสาวัตถี เพื่อตอบปัญหาของท้าวสักกะ ที่ได้ทูลถามว่า กล่าวโดยย่อ ข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ภิกษุจึงชื่อว่า ผู้หลุดพ้นด้วยธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ฯลฯ เป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงตรัสตอบและอธิบายถึงข้อปฏิบัติ ที่ว่า “ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่น “ ท้าวสักกะชื่นชมพระภาษิตและทูลลากลับขณะนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ นั่งฟังอยู่ไม่ไกล คิดว่า ท้าวสักกะจะไม่เข้าใจจริง จึงตามไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อถามว่า พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องความสิ้นตัณหาโดยย่อว่าอย่างไร ท้าวสักกะไม่ตอบ แต่ชวนไปชมเวชยันตปราสาท พระเถระจึงสำแดงฤทธิ์ให้เวชยันตปราสาทสั่นสะเทือน จึงยอมบอกตามที่ทรงได้ฟังมา พระเถระได้กลับมารายงานให้พระพุทธเจ้าทรงทราบ และทรงยืนยันว่าได้ตรัสอย่างนั้นจริงสูตร#2 มหาตัณหาสังขยสูตร (ข้อ396-403) ทรงแสดงแก่ภิกษุทั้งหลาย ณ เชตวัน โดยทรงปรารภความเห็นผิดของภิกษุชื่อสาติ ผู้เป็นบุตรชาวประมง ซึ่งมีความเห็นว่า “ วิญญาณนี้แลมิใช่อื่น ท่องเที่ยวไป แล่นไป” ซึ่งเป็นทิฏฐิที่ชั่ว แต่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า วิญญาณอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ถ้าไม่มีปัจจัย วิญญาณก็เกิดไม่ได้ แต่ภิกษุสาติไม่เชื่อ จึงทรงอาศัยเหตุนี้ กำราบท่านสาติ และสอบสวนความเข้าใจของภิกษุทั้งหลายในเรื่องนี้เพื่อสอนพระสาติ ทรงกล่าวถึง ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งวิญญาณ ,ปัจจัยเป็นเหตุเกิดแห่งขันธ์ 5 ,ปฏิจจสมุปบาทสายเกิด (ยังมีต่อ)พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
  • 18. พุทธประวัติ ตอนก่อนออกผนวช [6718-4s]

    56:52
    พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ เรื่องเริ่มแต่การเกิดแห่งวงศ์สากยะ การก้าวลงสู่ครรภ์ การประสูติ ประกอบด้วยมหาปุริสลักขณะ 32 บุพกรรมของการได้มหาปุริสลักขณะ ความรู้สึกที่ถึงกับทำให้ออกผนวช และออกผนวชเมื่อพระชนม์ 29 ปีอ่าน “อัจฉริยัพภูตธัมมสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๖ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์อ่าน “ลักขณสูตร” พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค