Share

cover art for ปฏิจจสมุปบาท–ธรรมชาติที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น (ตอนที่ 4) [6630-3d]

3 ใต้ร่มโพธิบท

ปฏิจจสมุปบาท–ธรรมชาติที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น (ตอนที่ 4) [6630-3d]

Season 66, Ep. 30

“ปฏิจจสมุปบาท” ธรรมอันเป็นธรรมชาติที่อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น คือ

เป็น ตถตา คือ ความเป็นอย่างนั้น,

เป็น อวิตถตา คือ ความไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนั้น,

เป็น อนัญญถตา คือ ความไม่เป็นไปโดยประการอื่น,

เป็น อิทัปปัจจยตา คือ ความที่เมื่อมีสิ่งนี้สิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

 

อาการของปฏิจจสมุปบาทแต่ละอาการ :-

 

“เพราะมีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป และเพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ”

วิญญาณ คือ การเข้าไปรับรู้การกระทบกันของสฬายตนะ

เปรียบกับไม้อ้อสองกำเอามาพิงกันเอาไว้ เมื่อหยิบกำหนึ่งออกย่อมตั้งอยู่ไม่ได้, เปรียบกับการตกกระทบของแสงกับวัถตุ ที่เมื่อแสงตกกระทบกับวัตถุย่อมเห็นว่ามีแสงและวัตถุ, เปรียบกับกฏของ Quantum mind คือ สิ่ง ๆ เดียวเป็นได้หลายสภาวะอยู่ที่เราจะสังเกตุมองมุมไหน วิญญาณ คือ ผู้สังเกตุ


“เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ และเพราะสังขารดับ วิญาณจึงดับ”

สังขาร คือ การปรุงแต่งทางกาย วาจา ใจ


“เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร และเพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ”

อวิชชา คือ ความไม่รู้

More episodes

View all episodes

  • 36. กถาวัตถุ 10 ประการ [6736-3d]

    58:44||Season 67, Ep. 36
    คำพูดเป็นสิ่งสำคัญ พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงบัญญัติไว้ถึง ‘กถาวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ควรพูด นอกเหนือจาก คำพูดที่เว้นขาดจากการพูดโกหก ส่อเสียด หยาบคาย และพูดเพ้อเจ้อและ ‘อักโกสวัตถุ 10’ คือ เรื่องที่ไม่ควรพูด เพราะไม่มีประโยชน์ และทำความเจ็บช้ำน้ำใจแก่ผู้อื่น ได้แก่ ชาติกำเนิด ชื่อ โคตร อาชีพ ศิลปะ (ฝีมือ) โรค รูปพรรณสัณฐาน กิเลส อาบัติ และคำสบประมาทอื่น ๆส่วน ‘กถาวัตถุ 10’ เรื่องที่สมควรพูด ได้แก่ ถ้อยคำให้เกิดความมักน้อย คือ ไม่โอ้อวด ความสันโดษ เกิดความสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร ให้ตั้งอยู่ในศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะซึ่งการพูด ‘กถาวัตถุ 10’ ให้ถูกคน ถูกที่ ถูกเวลาได้นั้น นอกจากจะเป็นสัมมาวาจาแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างสัมมาสติ สัมมาวายามะ และสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ ไปตามทางมรรค 8 พร้อมกันอีกด้วย
  • 35. ปัจจัย 24 ประการ [6735-3d]

    59:01||Season 67, Ep. 35
    คัมภีร์มหาปัฏฐาน เป็น 1 ใน 7 คัมภีร์ที่ใช้สวดในงานศพ ได้แก่ 1.ธัมมสังคณี 2.วิภังคปกรณ์ 3.ธาตุกถา 4. ปุคคลบัญญัติ 5. กถาวัตถุ 6.ยมกปกรณ์ และ 7.มหาปัฏฐาน โดยบทสวดมหาปัฏฐาน เป็นบทสวดที่กล่าวถึง ปัจจัย 24 ประการที่แสดงความเป็นไปของสภาวธรรมที่เป็นเหตุเป็นผลแก่กัน หรือเป็นองค์ประกอบที่ช่วยเอื้อ เกื้อหนุน ค้ำจุน เป็นเหตุ หรือเป็นเงื่อนไขให้สิ่งอื่น หรือสภาวธรรมอย่างอื่น เกิดขึ้น คงอยู่ หรือเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยปัจจัย 24 ประการได้แก่ 1.เหตุปัจจะโย (ปัจจัยโดยเหตุ) 2.อารัมมะณะปัจจะโย( ปัจจัยโดยเป็นอารมณ์) 3.อธิปะติปัจจะโย (ปัจจัยความเป็นใหญ่) 4.อนันตะระปัจจะโย (ปัจจัยโดยความต่อเนื่อง) 5.สะมะนันตะระปัจจะโย( ปัจจัยเป็นภาวะต่อเนื่องทันที ) 6.สะหะชาตะปัจจะโย( ปัจจัยที่เกิดร่วมกัน) 7.อัญญะมัญญะปัจจะโย (ปัจจัยที่อาศัยซึ่งกันและกัน) 8.นิสสะยะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นที่อาศัย) อาศัยอะไรจีงจะดีหรือชั่วขึ้นมาได้ 9.อุปะนิสสะยะปัจจะโย (ปัจจัยโดยเเป็นเครื่องหนุนให้เกิดอุปนิสัยที่อาศัยอย่างแรงกล้า) 10.ปุเรชาตะปัจจะโย (ปัจจัยที่เกิดก่อน) 11.ปัจฉาชาตะปัจจะโย (ปัจจัยที่เกิดทีหลัง) 12.อาเสวะนะปัจจะโย (ปัจจัยโดยการซ้ำบ่อยหรือทำให้ชิน) 13.กัมมะปัจจะโย (ปัจจัยโดยเป็นกรรมคือเจตจำนง) 14.วิปากาปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นวิบาก) 15.อาหาระปัจจะโย (ปัจจัยโดยเป็นอาหาร) คือเป็นเครื่องหล่อเลี้ยง 16.อินทริยะปัจจะโย (ปัจจัยโดยเป็นเจ้าของการเป็นใหญ่) 17.ฌานะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นภาวะจิตที่เป็นฌาน) 18.มัคคะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยเป็นมรรค) 19.สัมปะยุตตะปัจจะโย (ปัจจัยโดยประกอบกัน) เช่นความคิด อารมณ์ 20.วิปปะยุตตะปัจจะโย (ปัจจัยโดยแยกกันแตกต่างกัน) เช่นนามกับรูป 21.อัตถิปัจจะโย ( ปัจจัยโดยความมีอยู่ ) 22.นัตถิปัจจะโย ( ปัจจัยโดยความไม่มีอยู่) 23.วิคะตะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยปราศไปคือสิ้นไป) 24.อะวิคะตะปัจจะโย ( ปัจจัยโดยไม่ปราศไปคือไม่สิ้นไปยังมีเชื้ออยู่)
  • 34. อธิษฐาน4 พละ4 [6734-3d]

    58:09||Season 67, Ep. 34
    การจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เกิดความสำเร็จขึ้นได้ ต้องอาศัยความตั้งใจมั่นอย่างแรงกล้า ในทีฆนิกาย กล่าวถึง ‘อธิษฐาน’ ซึ่งไม่ใช่การร้องขอ แต่หมายถึง ธรรม 4 ประการ ที่ควรตั้งมั่นไว้ในใจ ได้แก่ ปัญญา (ใช้พิจารณา) สัจจะ (ทำให้เกิดขึ้นจริง) จาคะ (สละความเคยชินที่ไม่ดีออก) และอุปสมะ (ความสงบ) ซึ่งสัมพันธ์กับหมวดธรรมในอังคุตรนิกาย ที่กล่าวถึง ‘พละ 4’ คือ กำลัง ได้แก่ ปัญญาพละ (ปัญญา) วิริยพละ (ความเพียร) อนวัชชพละ (กรรมที่ไม่มีโทษ) และสังคหพละ (การสงเคราะห์)กล่าวคือ ‘อธิษฐาน 4’ และ ‘พละ 4’ นั้น เริ่มจากปัญญาเหมือนกัน อาทิ เห็นสิ่งที่เป็นกุศล-อกุศล คุณ-โทษ เกิด-ดับ เป็นต้น โดยสามารถตั้ง ‘อธิษฐาน’ เป็นวิริยพละ หรือนำ ‘พละ’ ไปเกื้อหนุนอธิษฐานในการทำสิ่งนั้น ที่เป็นกุศลด้วยกาย วาจา และใจ ให้สำเร็จเป็นจริงขึ้นมาได้ ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่มีพละ 4 นี้ จะทำให้ไม่หวั่นไหวต่อภัย 5 ประการในการดำเนินชีวิตอีกด้วย
  • 33. ปาฏิปุคคลิกทาน (6733-3d]

    57:27||Season 67, Ep. 33
    ปาฏิปุคคลิกทาน 14 อย่าง คือทานที่ให้จำเพาะบุคคล เรียงตามอานิสงส์ที่ได้จากน้อยไปหามากได้ดังนี้- ให้ทานแก่สัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐ เท่า- ให้ทานแก่ผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑,๐๐๐ เท่า- ให้ทานแก่บุคคลผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐,๐๐๐ เท่า- ให้ทานแก่บุคคลนอกศาสนาพุทธ ที่ปราศจากความกำหนัดในกาม พึงหวังผลทักษิณาได้ ๑๐๐,๐๐๐โกฏิ เท่า- ให้ทานแก่บุคคลที่จะทำโสดาบันให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้- ให้ทานแก่บุคลลที่เป็นโสดาบัน พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้- ให้ทานแก่บุคลลที่จะทำสกทาคามีให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้- ให้ทานแก่บุคลลที่เป็นสกทาคามี พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้- ให้ทานแก่บุคลลที่จะทำอนาคามีให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้- ให้ทานแก่บุคลลที่เป็นอนาคามี พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้- ให้ทานแก่บุคลลที่จะทำอรหันต์ให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้- ให้ทานแก่บุคลลที่เป็นอรหันต์ พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้- ให้ทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า พึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้- ให้ทานแก่พระพุทธเจ้าพึงหวังผลทักษิณาได้ นับประมาณไม่ได้ปาฏิปุคคลิกทานนั้น พระพุทธเจ้ากล่าวว่ามีผลไม่มากเท่าทานที่ให้ในหมู่สงฆ์ (สังฆทาน)สังฆทาน 7 ที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้คือรูปแบบของการให้ทานดังนี้1. ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย (ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข2. ให้ทานในสงฆ์ 2 ฝ่าย ในเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว3. ห้ทานในหมู่ภิกษุสงฆ์4. ให้ทานในหมู่ภิกษุณีสงฆ์5. ขอให้จัดตัวแทนภิกษุและภิกษุณี แล้วให้ทาน (ให้ทานโดยให้คณะสงฆ์เป็นผู้เลือกพระภิกษุและพระภิกษุณีที่จะรับถวายทานเอง)6. ขอให้จัดตัวแทนภิกษุ แล้วให้ทาน7. ขอให้จัดตัวแทนภิกษุณี แล้วให้ทาน
  • 32. บทสวดแด่ผู้ล่วงลับ [6732-3d]

    57:04||Season 67, Ep. 32
    บทสวดที่นิยมสวดในงานทำบุญบำเพ็ญกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับนั้น มักจะมีเนื้อหาที่กล่าวให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ให้เกิดการปล่อยวาง ให้เห็นถึงความสังเวช ปลงได้ ให้เห็นถึงความละเอียดลงไป ให้เห็นถึงอริยทรัพย์จะมีบทหลักๆที่สวดอยู่ประมาณ 3-4 บท ในที่นี้จะกล่าวถึงบทหลักๆ 4 บท โดยบทสวดทั้ง 4 นี้มีทั้งที่เป็นคาถาและพระสูตร คือปัพพโตปมคาถา เป็นคาถาที่กล่าวถึงภูเขาหินใหญ่ คาถาบทนี้อุปมาถึงภูเขาหินใหญ่ที่กลิ้งบดขยี้ทุกสิ่งอย่างมาทั้ง 4 ทิศ เราจะทำอย่างไรก็ไม่ได้ เปรียบกับความแก่ความตายที่ครอบงำเราอยู่ไม่เว้นผู้ใดเลย ผู้เป็นบัณฑิตเท่านั้นที่จะรู้ว่าต้องมีพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์เป็นที่พึ่งจึงจะผาสุกอยู่ได้แม้ภัยนี้มาถึงอริยธนาคาถา อริยทรัพย์อันประเสริฐเป็นบทสวดที่กล่าวถึงทรัพย์ 5 ประการ ได้แก่ ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญา ถ้าเราตายจากไปจะเอาทรัพย์อะไรติดตัวไปไม่ได้เลย ยกเว้นอริยทรัพย์ทั้ง 5 นี้ธัมมนิยามสุตตุง บทแสดงธรรมนิยามเป็นบทที่นำเอาพระสูตรที่มีชื่อว่าธัมมะนิยามะสุตตัง บทสวดที่แสดงถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสิ่งต่างๆ ของธรรมะต่างๆ ไม่ว่าพระพุทธเจ้าจะมาอุบัติขึ้นหรือไม่ จะมีคำสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ก็ตาม ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ อนัตตาก็มีอยู่ภัทเทกรัตตคาถา ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ เป็นบทสวดที่กล่าวถึงความที่เราไม่ควรคิดถึงอดีต อนาคต แต่ให้อยู่กับปัจจุบันถ้าจะมีชีวิตเหลืออยู่แค่วันเดียวถ้าได้ทำความดีก็ถือว่าคุ้มแล้วในชีวิตนี้
  • 31. อุนุปุพพิกถา เรื่องของ เนกขัมมะ การหลีกออกจากกาม [6731-3d]

    58:23||Season 67, Ep. 31
    เนกขัมมะ ธรรมข้อสุดท้ายในอนุปุพพิกถาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ตามลำดับเพื่อเป็นแนวทางให้ไปถึงโลกุตระได้‘เนกขัมมะ’ หมายถึง การหลีกออกจากกาม ได้แก่ ฌานสมาธิในขั้นต่างๆการจะทำให้จิตน้อมไปในทางหลีกออกจากกามได้นั้น ต้องฝึกจิตให้พิจารณาเห็นบ่อยๆ ถึงคุณและโทษของกามว่า มีคุณน้อยแต่โทษมากขนาดไหนเมื่อเทียบกับเนกขัมมะที่มีคุณมากแต่โทษน้อยนิดเดียวอย่างไรก็ตาม สมาธิแม้ว่าจะได้บ้างไม่ได้บ้าง การตั้งจิตดำริ ‘คิดที่จะหลีกออกจากกาม’ เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องตั้งไว้เสมอ“เนกขัมมะ” ทางสายกลาง เป็นหนึ่งในบารมี 10 ทัศ เป็นทางออกทางเดียว เพื่อการดับโทษของกาม เพื่อความสงบสุขจากในภายใน เพื่อความรู้ยิ่งรู้พร้อม ถึงสัมโพธิญาณได้ Timestamp[00:01] พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ทรงดำริออกจากกาม[08:58] เนกขัมมะ การหลีกออกจากกาม[10:44] เนกขัมมะ ทางสายกลาง[22:44] ความสุขจากกาม กับ เนกขัมมะ[25:27] ฌาน ๑[27:22] ทุกข์ของสมาธิ[30:19] อานิสงค์ของเนขขัมมะ[35:05] โยนิโสมนัสสิการ[48:14] ฌานที่ ๒-๓[50:34] ฌาน ๔ [52:39] ความดำริ คิดนึกที่จะออกจากกาม
  • 30. กามโภคีบุคคล : บุคคลผู้บริโภคกาม [6730-3d]

    58:07||Season 67, Ep. 30
    กามโภคีบุคคล:บุคคลผู้บริโภคกาม เป็นผู้ที่ยังอยู่ในกระแสโลกจะเป็นผู้ที่ถูกบีบคั้นด้วยกามเสมอ ในการกล่าวถึงเรื่องของทางโลกนั้นก็ใช้คำว่ากามมาอธิบายเป็นหลักโดยในที่นี้จะกล่าวถึง กาม 2 อย่าง กาม 5 อย่าง และกามโภคีบุคคล 10 อย่างกาม 2 อย่างได้แก่ 1.กิเลสกาม 2.วัตถุกาม กาม 5 อย่าง คือ กามคุณ 5 ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี 5 อย่างคือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่ น่าพอใจกามโภคี 10 แบ่งกลุ่มตามการแสวงหา ดังนี้กลุ่มที่แสวงหาโดยไม่ชอบธรรม 1.ได้ทรัพย์มาแล้วไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์ทำความดี 2.ได้ทรัพย์แล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุขแต่ไม่เผื่อแผ่จ่ายแบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 3. ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งเผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดี กลุ่มที่แสวงหาโดยชอบธรรมบ้าง ไม่ชอบธรรมบ้าง 4.ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 5.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขแต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 6.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุขทั้งเผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดี กลุ่มที่แสวงหาโดยชอบธรรม7.ได้ทรัพย์มาแล้ว ไม่เลี้ยงตนให้เป็นสุข ไม่เผื่อแผ่แบ่งและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 8.ได้ทรัพย์มาแล้ว เลี้ยงตนให้เป็นสุข แต่ไม่เผื่อแผ่แบ่งปันและไม่ใช้ทรัพย์นั้นทำความดี 9. ได้ทรัพย์มาแล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุข เผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์ทำความดี แต่ยังติดยังหมกมุ่น กินใช้ทรัพย์สมบัติโดยไม่รู้เท่าทันเห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะทำตนให้เป็นอิสระเป็นนายเหนือโภคทรัพย์ กลุ่มพิเศษ: แสวงหาชอบธรรม และกินใช้อย่างมีสติสัมปชัญญะ มิจิตใจเป็นอิสระ 10.ผู้ที่แสวงหาโภคทรัพย์โดยชอบธรรม ได้ทรัพย์มาแล้วเลี้ยงตนให้เป็นสุข เผื่อแผ่แบ่งปันและใช้ทรัพย์นั้นทำความดีไม่ลุ่มหลง ไม่หมกมุ่นมัวเมา กินใช้ทรัพย์สมบัติโดยรู้เท่าทัน เห็นคุณโทษทางดีทางเสียของมัน มีปัญญาทำตนให้เป็นอิสระ เป็นชาวบ้านชนิดที่เลิศ ประเสริฐ สูงสุด
  • 29. กามโภคีสุข 4 : สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี [6729-3d]

    55:20||Season 67, Ep. 29
    สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมีหรือความสุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ คือ กามโภคีสุข 4 ได้แก่1.อัตถิสุข : ความสุขเกิดจากความมีทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรงความขยันหมั่นเพียรของตน และโดยชอบธรรม2.โภคสุข : ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนได้ใช้ทรัพย์ที่ได้มาโดยชอบนั้น เลี้ยงชีพ เลี้ยงผู้ควรเลี้ยง และบำเพ็ญประโยชน์3.อนณสุข : ความสุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนเป็นไท ไม่มีหนี้สินติดค้างใคร4.อนวัชชสุข : ความสุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ คือ ความภูมิใจ เอิบอิ่มใจ ว่าตนมีความประพฤติสุจริต ไม่บกพร่องเสียหาย ใครๆ ติเตียนไม่ได้ ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจบรรดาความสุข 4 อย่างนี้ อนวัชชสุข มีค่ามากที่สุด การจะเกิดความสุขประการที่4 คืออนวัชชสุข นั้นมีธรรมอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ธรรมที่ว่าด้วยการค้าขายที่ไม่ควรค้าขาย 5 ประการตามนัยยะที่มาในวนิชชสูตร คือ 1.ค้าอาวุธ 2.ค้าสัตว์เป็น 3.ค้าเนื้อสัตว์ 4.ค้าสุรา 5.ค้ายาพิษ การค้าขาย 5 ประการนี้พระพุทธเจ้าบอกว่า เป็นอกรณียกิจ ไม่ควรทำนอกจากนี้ยังมีธรรมอีกหนึ่งหมวดที่นำมาปฏิบัติแล้วจะส่งเสริมให้เกิดสุขอันชอบธรรมแก่ผู้ครองเรือนได้ คือ กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 : หลักธรรมที่ทำให้ครอบครัวเจริญมั่งคั่งอยู่ได้นานได้แก่ 1.หาของที่หายไป 2.ซ่อมแซมของที่ชำรุดเสียหาย 3.ประมาณตนในการบริโภค 4.ดำรงชีพด้วยการมีศีลธรรม Time stamp [00:56] ปฏิบัติภาวนา อานาปานสติ และแผ่เมตตา[12:51] คฤหัสถ์ คือ ผู้ครองเรือน[13:29] กามโภคีสุข 4 : สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี[15:07] อัตถิสุข : สุขเกิดจากความมีทรัพย์[23:31] โภคสุข : สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์[29:05] อนณสุข : สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้[33:54] อนวัชชสุข : สุขเกิดจากความประพฤติไม่มีโทษ[41:51] กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 : หลักธรรมที่ทำให้ครอบครัวเจริญมั่งคั่ง[49:19] เปรียบเทียบความสุขของ คฤหัสถ์ กับ นักบวช
  • 28. วิมุตติสู่นิพพาน [6728-3d]

    53:17||Season 67, Ep. 28
    การที่จะนำธรรมะมาปฏิบัติจนเกิดเป็นผลขึ้นทางปัญญาได้นั้น มีขั้นตอน และกระบวนการในการปฏิบัติ โดยได้ยกหัวข้อธรรม “วิมุตติสูตร” มาอธิบายประกอบการปฏิบัติ เพื่อให้เห็นขั้นตอน และกระบวนการในการหยั่งลงสู่อมตธรรมในวิมุตติสูตรนั้นจะประกอบไปด้วยธรรม 5 ข้อ ที่แตกต่างกัน แต่มีลำดับขั้นตอนการปฏิบัติที่จะให้เกิดผลเป็นวิมุตติสู่นิพพานได้เหมือนกัน ธรรม 5 ข้อนั้นได้แก่ 1. การได้ฟังธรรม 2. การอธิบายบอกสอน 3. การสัชฌายะ 4. การใคร่ครวญธรรม 5. การทำสมาธิกระบวนการสู่การหลุดพ้น มีอยู่ 6 ขั้นตอน เริ่มจาก เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม แทงตลอดด้วยดี -> เกิดปราโมทย์ -> เกิดปีติ -> กายสงบระงับ -> เสวยสุข -> จิตย่อมตั้งมั่น (ฌาน) และเมื่อมาถึง 6 ขั้นตอนนี้แล้วก็เข้าสู่วิมุตติ คือ ความพ้นจากผัสสะ พ้นจากกิเลส เกิดความรู้เป็นวิชชา และวิมุตติ มีปัญญาปล่อยวาง สู่นิพพานTimestamp[00.22] ปฏิบัติภาวนา เจริญอานาปานสติ จาคานุสสติ สีลานุสสติ เทวตานุสสติ[12.37] ความสำคัญของสมาธิ[14.38] เหตุ 5 ประการ สู่ความหลุดพ้น[14.45] การได้ฟังธรรมะ[17.39] การอธิบาย บอกสอนข้อธรรมะ[17.59] การสัชฌายะ[19.15] การได้ไตร่ตรองข้อธรรมะ[20.01] การทำสมาธิ[42.58] วิชา วิมุตติ[45.38] นิพพาน