Share
1 สมการชีวิต
เครื่องหมายแสดงการได้สมาธิ [6748-1u]
Q1: เมื่อมรณภาพ ทรัพย์สินของพระสงฆ์ตกแก่ใคร
A: ของส่วนตัวของพระสงฆ์ ถ้ามีการระบุว่าให้แก่ใครก็เป็นไปตามนั้น แต่ถ้าไม่ระบุก็จะตกเป็นของพระอุปัฏฐาก ถ้าไม่มีพระอุปัฏฐากก็จะแบ่งกันในหมู่สงฆ์แล้วแต่ตกลงกัน
Q2: ฟังข่าวแล้วเกิดความคิดให้คนทำผิดได้ไม่ดี เป็นบาปหรือไม่
A: บาป เพราะมีจิตคิดประทุษร้าย
- เวลาที่เห็นคนอื่นทำไม่ดี ให้เราเรียนรู้ว่าความดีจะเกิดได้แบบไหน ความดีไม่อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการทำไม่ดีต่อ ทำร้ายต่อ หรือตอบโต้ด้วยสิ่งที่เป็นอกุศลธรรม เปรียบได้กับพื้นบ้านสกปรก ไม่อาจสะอาดได้ด้วยสิ่งปฏิกูลแต่ต้องใช้น้ำสะอาดมาชะล้าง ความสกปรกจึงจะหายไปได้ ดังนั้น ความดีจึงจะเอาชนะความไม่ดีได้
- สื่อควรจะลงข่าวดีๆ มากกว่าข่าวไม่ดี เพราะคนจะได้เอาไปเป็นตัวอย่างได้
Q3: เพ่งโทษผู้อื่น ปั่นให้คนอื่นเกลียดตาม
A: ลักษณะคนดี 4 อย่าง และคนไม่ดี 4 อย่าง
- คนพาล (คนไม่ดี)
1. เพ่งโทษ = เห็นแต่ความไม่ดีของผู้อื่น, โทษของผู้อื่นเพียงนิดเดียวแต่เอามาขยายความให้มาก
2. ลบหลู่คุณท่าน = ดูแคลนด้อยค่าสิ่งที่ผู้อื่นทำดี
3. ยกตน = ตนทำดีเพียงนิดเดียวแต่เอามาขยายความให้มาก
4. ปกปิดโทษของตน = ถ้าไม่มีใครถามก็ไม่พูด ถ้าถามก็จะพูดเพียงนิดเดียว
- คนดี (บัณฑิต)
1. ไม่เปิดเผยโทษผู้อื่น = ถ้าไม่มีใครถามก็จะไม่พูด ถ้าถามก็จะพูดเพียงนิดเดียว
2. เปิดเผยความดีผู้อื่น = แม้ไม่มีใครถาม
3. เปิดเผยความผิดของตนเอง
4. ปกปิดความดีของตน = ถ้าไม่มีใครถามก็จะไม่พูด ถ้าถามก็จะพูดเพียงนิดเดียว
- การเป็นศัตรูกับคนไม่ดี ไม่ค่อยฉลาด เพราะเขาจะทำชั่วกับเราได้ตลอด แต่การเปลี่ยนมิตรที่ไม่ดีให้เป็นคนดีจะดีกว่า ห้ามเขาเสียจากบาป ให้ตั้งอยู่ในความดี เราจะเป็นผู้มีอุปการะต่อผู้นั้น ต้องอาศัยเมตตาและปัญญา สังคมนั้นก็จะพัฒนาได้ การอยู่ร่วมกันแบบนี้ ได้ชื่อว่า รักษาตัวเราด้วยและรักษาผู้อื่นด้วย
Q4: เครื่องหมายที่แสดงถึงการได้สมาธิ
A: หากความคิดในทางอกุศลดับ ไม่คิดเรื่องกาม พยาบาท เบียดเบียน นั่นคือ จิตเป็นสมาธิแล้ว หากจิตเผลอไปคิดเรื่องเหล่านั้นก็ต้องตั้งสติขึ้นใหม่ โดยให้จิตกลับมาอยู่กับฐานที่ตั้ง (กรรมฐาน เช่น การฟัง ลมหายใจ พุทโธ) ยับยั้งจิตไม่ให้ไปในทางอกุศลด้วยอำนาจของสติ เมื่อมีสติแล้วสมาธิก็จะเกิดขึ้นได้
- สัมมาทิฏฐิ (รู้ว่า กาม พยาบาท เบียดเบียนเป็นสิ่งไม่ดี) สัมมาวายะ (ความพยายามระลึกถึงสิ่งที่ดี) และสัมมาสติ (ความระลึกถึงสิ่งที่ดีนั้น) ต้องประกอบกันจึงจะทำให้เกิดสมาธิขึ้นได้
- ระดับของสมาธิ
ฌาน 1 มีความคิดอยู่ แต่หลุดจากเรื่อง กาม พยาบาท เบียดเบียน
ฌาน 2 มีความคิดเพียงเรื่องเดียว
ฌาน 3 มีอุเบกขา ความวางเฉยในเรื่องเดียวนั้น
ฌาน 4 วางสุขที่เกิดจากอุเบกขา ให้เหลือแต่อุเบกขาล้วน ๆ
- การฝึกสมาธิ สามารถทำได้ทุกอิริยาบถ
Q5: สวดมนต์หรือนั่งสมาธิ เพียงอย่างเดียว
A: ได้ เพราะทางแห่งการบรรลุธรรมมี 5 ทาง ได้แก่ 1. ฟังธรรม 2. แสดงธรรม 3. ใคร่ครวญธรรม 4. สาธยายธรรม (สวดมนต์) และ 5. นั่งสมาธิ
Q6: อานุภาพของบทสวดมนต์
A: ให้ตรวจสอบก่อนว่าบทสวดมนต์นั้นมีในพระไตรปิฎก ตรงกับที่พระพุทธเจ้าสอนหรือไม่ ถ้าลงกันไม่ได้ เข้ากันไม่ได้ เทียบเคียงแล้วไม่มี ก็ให้ยกออกไป แต่ถ้าเทียบแล้วมี ก็นำเอามา
Q7: พระพุทธเจ้าทรงใช้ขันติกับเรื่องไหนมากที่สุด
A: ทุกรกิริยา เพราะอีกนิดเดียวจะเสียชีวิตแล้ว
Q8: การบวชชี
A: ภิกษุณีไม่มีในประเทศไทย แต่จะมีอุบาสิกาห่มชุดขาวประพฤติพรหมจรรย์
- สมาคมแม่ชีไทย ช่วยในการประพฤติพรหมจรรย์ของผู้หญิง
Q9: ขอหวยจากศาลพระภูมิที่บ้าน
A: พระพุทธเจ้าสอนว่า “ถ้าคนเราจะสำเร็จอะไรขึ้นมาสักอย่างใดอย่างหนึ่งได้ด้วยเหตุเพียงการอ้อนวอนขอร้อง ในโลกนี้จะไม่มีใครเสื่อมจากอะไร”
- การเล่นหวย เป็นความเมาในโภคทรัพย์ เมาในความหวัง ในสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เป็นการพนัน เป็นอบายมุขควรหลีกเลี่ยง
More episodes
View all episodes
2. แนวทางกำหนดจิตเพื่อสักการะพระเขี้ยวแก้ว [6802-1u]
54:08||Season 68, Ep. 2Q1: การสักการะพระเขี้ยวแก้วA: การอยู่ใกล้กับพระพุทธเจ้า = การปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า- หากจิตเป็นสมาธิ มีสัมมาทิฏฐิ มีความสงบ ไม่มีนิวรณ์ จิตเป็นอารมณ์อันเดียว ก็เหมือนอยู่ติดชายสังฆาฏิของพระพุทธเจ้า เพราะเสมอกันด้วยธรรมะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อันเดียวกันกับพระพุทธเจ้า- หากไม่สะดวกมาสักการะพระเขี้ยวแก้ว ก็สามารถตั้งจิตระลึกถึงพระพุทธเจ้าได้ ตามความหมายของบทสวดอิติปิโสฯ- การเดินประทักษิณเพื่อสักการะพระเขี้ยวแก้ว 3 รอบ ในแต่ละรอบจะวนไปทั้ง 4 ทิศ ให้เราตั้งจิตในการรู้อริยสัจทั้งสี่ แบบปัญญา รอบ 3 อาการ 12 กล่าวคือรอบที่ 1 (กำหนดรู้) = ทุกข์คืออะไรบ้าง สมุทัยคือตัณหา นิโรธคือความดับไม่เหลือของตัณหา มรรคคือองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่างรอบที่ 2 (ควรทำ) = ทุกข์ควรกำหนดรู้หรือยอมรับ สมุทัยควรละหรือกำจัด นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรทำให้เจริญหรือทำให้มากรอบที่ 3 (ทำได้แล้ว) = ทุกข์นั้นรู้แล้ว สมุทัยละได้แล้ว นิโรธทำให้แจ้งได้แล้ว มรรคทำให้เจริญได้แล้ว- การตั้งจิตในการสักการะพระเขี้ยวแก้วไว้ดี จะได้บุญทั้งจากการบูชาด้วยอามิส (สิ่งของ) และการบูชาด้วยการปฏิบัติ (สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินประทักษิณ)Q2: การเดินประทักษิณ เวียนขวา เวียนซ้ายA: เวียนขวา (ตามเข็มนาฬิกา) = ใช้แสดงความเคารพ งานมงคล งานถวายพระเพลิงของพระพุทธเจ้าหรือพระเจ้าจักรพรรดิเวียนซ้าย (ทวนเข็มนาฬิกา) = งานอวมงคลQ3: พิธีลอยอังคารA: การลอยอังคารเป็นความเชื่อ, พิธีกรรมของพราหมณ์- ไม่มีการลอยอังคารของพระพุทธเจ้าเพราะมีผู้เก็บไปบูชาหมดQ4: ทำความดีแต่อยากได้รับคำชมA: ความดีที่ทำ = เป็นความดีแน่นอน- ความอยากได้รับคำชม = เป็นความเศร้าหมอง บุญได้เต็มแต่มีความเศร้าหมอง- เจตนาประกาศความดีที่ทำ เพื่อให้ผู้อื่นร่วมทำความดีด้วย อันนี้ดีทวีคูณ จะได้ทั้งโภคสมบัติและบริวารสมบัติQ5: ทำบุญหวังผลA: ทำบุญต้องหวังผล - ผลที่หวัง คือ การกำจัดกิเลส เช่น ความตระหนี่ ก็จะได้บุญมากQ6: วันเด็กแห่งชาติA: เทคโนโลยีทำให้กระแสของตัณหาในยุคปัจจุบันพัดแรงมากขึ้น ผ่านมาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำให้เกิดกิเลสมาก จิตใจหวั่นไหวมาก มีปัญหาตามมามาก- เด็กสมัยนี้มีสิ่งกระตุ้นมากขึ้น กิเลสเกิดขึ้นในจิตใจมาก- ผู้ปกครองต้องสอนเด็กให้มีธรรมะมากขึ้น ให้มีความเมตตา มีสติ มีอุเบกขา มีระเบียบวินัย ให้มากขึ้น1. วิธีคลายทุกข์จากการสูญเสียคนรัก [6801-1u]
59:39||Season 68, Ep. 1สูญเสียคนในครอบครัวผู้ฟังท่านนี้สูญเสียคุณพ่อคุณแม่ มีความเสียใจ จิตใจเศร้าหมอง ไม่เป็นสุข ส่งผลให้มองเรื่องอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตไม่ดีไปด้วย- จิตใจแบบนี้ อุปมาเหมือนฝีกลัดหนอง โดนแผลนิดเดียวก็เจ็บ เมื่อมีผัสสะมากระทบนิดเดียวจะได้รับความกระเทือนใจมาก - จิตตริตรึกเรื่องไหน จิตจะน้อมไปทางนั้น จิตน้อมไปทางไหน สิ่งนั้นจะมีพลัง หากเศร้าหมอง เสียใจ จิตก็จะเห็นแต่สิ่งนั้น สิ่งนั้นก็จะมีกำลังให้จิตน้อมไปทางนั้นมากขึ้น ส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกาย อาจพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้าได้ - วิธีแก้ คือ ต้องมีอำนาจเหนือจิตความเคยชินของจิต กับ ลูกศรอาบยาพิษ- “ลูกศรอาบยาพิษ” เปรียบได้ดังนี้ หัวลูกศร = ความรัก ความเพลิน ตัณหา (รูป รส กลิ่น เสียง) ยาพิษที่เคลือบไว้ = อวิชชา ช่องทางที่แทงเข้ามา = ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตัวรับลูกศร = จิต - อำนาจเหนือจิต จะเกิดขึ้นได้ ต้องทวนกระแสให้ความเคยชินของจิตอ่อนลงวิธีแก้ลูกศรอาบยาพิษ- ตรวจว่าถูกแทงตรงไหน, เปิดปากแผลออกด้วยมีดที่คมและสะอาด, เอาหัวลูกศรออก, บีบหนองออกให้หมด, ทายา, สมานแผลปิดแผล, ไม่กินของแสลงโพชฌงค์ 7 - คือ องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ธรรม เพื่อให้จิตเกิดความรู้คือวิชชา เกิดความพ้นคือวิมุตติ เพื่อให้วิชชานั้นดับอวิชชา ก็จะพ้นจากความทุกข์ได้ - โพชฌงค์ 7 มีเหตุปัจจัย คือ 1. อุเบกขาสัมโพชฌงค์ = วางเฉยต่อสิ่งที่มากระทบ มีสมาธิเป็นเหตุ2. สมาธิสัมโพชฌงค์ = จิตที่ตั้งมั่นเป็นอารมณ์อันเดียว มีความระงับลงของจิตเป็นเหตุ 3. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ = ความระงับลงของจิต มีปีติเป็นเหตุ 4. ปีติสัมโพชฌงค์ = ความสุขอยู่ในภายในไม่ต้องพึ่งสิ่งภายนอก มีกุศลธรรมในจิตเพิ่ม อกุศลธรรมในจิตลดเป็นเหตุ 5. วิริยสัมโพชฌงค์ = กุศลธรรมในจิตเพิ่ม อกุศลธรรมในจิตลด มีการใคร่ครวญธรรมด้วยปัญญาเป็นเหตุ 6. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ = การใคร่ครวญธรรมด้วยปัญญา โดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) มีสติ เป็นเหตุ 7. สติสัมโพชฌงค์ = ความระลึกได้อำนาจเหนือจิต เริ่มด้วย “สติ”- การเผชิญหน้ากับสิ่งที่ไม่น่าพอใจ ต้องอาศัยความกล้าและความเพียร โดยมีอาวุธ คือ “สติ”- สติ ตั้งขึ้นได้ด้วยการระลึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งท่านมีความปรารถนาให้พวกเราพ้นทุกข์ แผ่ความเมตตากรุณาข้ามระยะทาง ข้ามเวลา ผ่านทางคำสอนมาถึงพวกเราทุกวันนี้ เรายังคงได้รับกระแสแห่งความเมตตากรุณาของพระพุทธเจ้าอยู่ ให้เราเอาตรงนี้เป็นหลักชัย เป็นหลักประกัน ใช้สติระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นชัยภูมิ เป็นฐานตั้งมั่น ในการเผชิญหน้ากับความจริงของชีวิตว่า ทุกคนมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา ไม่ใช่แค่คนในครอบครัวเรา โดยระลึกว่าหากท่านอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ จิตของท่านจะเป็นแบบใด ถ้าจิตของท่านยังดีอยู่ได้ในสถานการณ์ที่สูญเสียคนที่รัก เราจะเอาเสี้ยวส่วนของความสามารถในการรักษาจิตของท่านมาไว้ในจิตเรา - การระลึกถึงพระพุทธเจ้า ทำให้ความเพลิน ความเศร้าลดลง เปรียบได้กับฝนหนึ่งเม็ด เม็ดฝนแต่ละหยดสามารถทำให้น้ำทะเลพร่องหรือเต็มได้ สติแม้น้อยหนึ่งก็ทำให้มีอำนาจเหนือจิตได้เช่นกัน - สติเป็นเครื่องตรวจหาลูกศรว่าถูกแทงตรงไหน ทุกข์เรื่องไหนให้เอาจิตไปจ่อที่ตรงนั้น ตั้งสติตรงนั้น โดยสังเกตเฉย ๆ ว่าชอบใจหรือไม่ชอบใจ แล้วพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงว่าสิ่งใดเกิดขึ้นแล้ว มีความเปลี่ยนแปลงไปตามเงื่อนไขปัจจัยได้ เราต้องพลัดพรากจากสิ่งนั้นแน่นอน ปัญญาก็จะเกิด อวิชชาก็จะลดลง จิตมีความผ่องใสขึ้น ทำบ่อย ๆ ก็จะวางอุเบกขาในเรื่องนั้นได้ จิตก็จะพ้นจากทุกข์ได้- เรื่องที่ไม่น่าพอใจ หากพิจารณาด้วยสติที่มีกำลังมาก สิ่งนั้นจะมีอำนาจเหนือจิตลดลง เปรียบกับสัตว์หกชนิดถูกผูกไว้ที่เสาหลัก ดึงไปไหนไม่ได้ สุดท้ายก็จะอ่อนกำลังลง52. หลักในการฟังธรรม [6752-1u]
53:01||Season 67, Ep. 52Q1: ผลกรรมจากการสอนธรรมะผิดA: หลักการ = คำสอนของพระพุทธเจ้าต้องกลับไปที่แม่บทเสมอ ศาสนาพุทธมีผู้สอนคนเดียว คือ พระพุทธเจ้า คนอื่นสอนไม่ได้ ส่วนครูบาอาจารย์ญาติโยมไม่ใช่ผู้สอน แต่เป็นผู้กล่าวตามที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ด้วยหลักการนี้จะไม่ถูกหลอกได้ง่าย คำสอนจะไม่ผิดเพี้ยน เป็นการรักษาพระสัทธรรมให้ตั้งอยู่ได้นาน- ผู้ฟังธรรมแล้วเอามาเทียบเคียงกับแม่บท ตรวจสอบว่าตรงกับพุทธพจน์บทใด แล้วปฏิบัติตามคำสอน การฟังธรรมนั้นก็จะได้ประโยชน์ แม้ว่าคนสอนจะสอนผิด แต่ถ้าคนฟังปฏิบัติถูก ความถูกต้องก็จะเกิดขึ้นในจิตใจของคนฟังและออกจากสิ่งที่ผิดได้ ซึ่งแนวทางที่ถูกต้อง คือ มรรค 8- การกล่าวตู่พระพุทธเจ้า เช่น กล่าวตู่ว่าคำสอนนั้นเป็นของตน ตนเป็นผู้คิดค้นขึ้นใหม่ ทั้งที่เอามาจากคำสอนของพระพุทธเจ้า กล่าวตู่ว่าพระพุทธเจ้ากล่าวไว้ ทั้งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้กล่าวไว้ กล่าวตู่ว่าพระพุทธเจ้าไม่ได้กล่าวไว้ ทั้งที่พระพุทธเจ้าได้กล่าวไว้- ผู้กล่าวตู่พระพุทธเจ้า ได้รับผลกรรมแน่นอน มากน้อยแล้วแต่เจตนา- ทั้งนี้ เราไม่ควรมองกันด้วยสายตาที่คิดร้ายต่อกัน หากเขาทำผิดพลาดก็ควรชี้แนะบอกให้แก้ไขปรับปรุงให้ไปในทางที่ดีได้Q2: ความรู้ถึงขั้นแสดงธรรมได้A: คำสอนของพระพุทธเจ้ามีทุกระดับ เราสามารถเข้าถึงได้ในระดับที่เราอยู่ ตรงไหนที่เข้าใจและปฏิบัติได้ก็เอาตรงนั้นก่อน เพื่อเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติในระดับต่อ ๆ ไปQ3: ทำบุญปีใหม่A: บุญมากที่สุด คือ ทำให้เกิด “ปัญญา”- วิธีที่ 1 ให้ทาน (ใช้สิ่งของ)เช่น การใส่บาตร ให้ทาน โดยไม่ยึดถือหรือหวังในผล แต่หวังให้เกิดความบริสุทธิ์ทางใจ คือ ให้การให้ทานนั้นเป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้เกิดสมถวิปัสสนา โดยตั้งจิตเพื่อการสละออกซึ่งสิ่งของ ความตระหนี่ ความหวงกั้น ทำเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การตั้งจิตแบบนี้จะเกิดปัญญาจากการให้ทานได้- วิธีที่ 2 รักษาศีล (ใช้ร่างกาย)- วิธีที่ 3 ภาวนา (ใช้จิตใจ)เช่น ทบทวนตนเองในรอบปี ด้านอกุศลธรรมเพิ่มขึ้นหรือไม่ ที่มีอยู่จะปิดกั้นป้องกันได้อย่างไร ด้านกุศลธรรมเพิ่มขึ้นหรือไม่ ที่มีอยู่จะพัฒนาให้เพิ่มขึ้นได้อย่างไร หากไตร่ตรองได้ ปัญญาก็จะเกิด แล้ววางแผนต่อไปว่าปีใหม่จะทำกุศลธรรมให้เพิ่ม สร้างนิสัยใหม่ที่ดีอย่างไรQ4: อิริยาบถในการทำสมาธิA: ถ้าจิตไม่มีความกำหนัดในกาม ความง่วงซึม ความฟุ้งซ่าน ความเคลือบแคลงเห็นแย้ง ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ที่ใด ที่นั่นก็เป็นทิพย์Q5: คนรุ่นใหม่ยากจนกว่าคนรุ่นก่อนA: เหตุแห่งการมีโภคทรัพย์ คือ มีการให้ทานมาก่อน- การให้ผลของกรรมดีกรรมชั่วเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมด้วย เช่น อาหารทิพย์หรือไฟนรก ไม่อาจให้ผลในโลกมนุษย์ได้- หากในโลกมีคนทำดีน้อย ความชั่วมาก การให้ผลของกรรมก็จะผิดเพี้ยนไปตามกิเลสของมนุษย์ เศรษฐกิจของโลกไม่ดี การให้ผลด้านโภคทรัพย์ก็จะได้ไม่เต็มที่Q6: การกล่าวถึงคุณวิเศษA: อุตตริมนุสสธรรม = คุณวิเศษขั้นสมาธิขึ้นไปจนถึงปัญญาที่เหนือมนุษย์ เช่น ได้ฌานขั้นสูง อ่านจิตผู้อื่น เหาะเหินเดินอากาศ1. กรณีพูดถึงคุณวิเศษของตนเอง- หากไม่มีจริง แต่บอกว่ามี เพื่อให้คนอื่นเชื่อว่าตนเองมี = ผิดขั้นปาราชิก- หากไม่มีจริง แต่เข้าใจว่ามี = ไม่ผิด- หากมีจริง พูดว่ามี แต่ไม่ได้แสดง = ผิดเบา ๆ2. กรณีพูดถึงคุณวิเศษของผู้อื่น เพื่อให้เกิดลาภสักการะกับผู้อื่น- พระพุทธเจ้าเตือนว่าไม่ดี เป็นมหาโจรในระดับที่หลอกได้ทั้งเทวดาจนถึงพรหมโดยสรุป :- ปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า ให้ค้นพบด้วยตนเอง หากจะพูดก็ให้พูดในหลักธรรมที่ไม่น้อมเข้าสู่ตัว- ให้ยกย่องครูบาอาจารย์ในเหตุที่ท่านทำ เช่น มีศีล ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ อย่าไปยกย่องที่ผล- ความมักน้อย = ไม่ต้องการให้คนอื่นมารู้ถึงความดีของเราQ7: อยากให้ลูกเกิดมาเป็นคนดีA: หน้าที่ของพ่อแม่ คือ ให้ลูกตั้งอยู่ในความดี ห้ามเสียจากบาป ให้ศึกษาศิลปวิทยา มอบมรดกให้ตามสมควร หาคู่ครองให้เมื่อสมควร- วิธีสอนลูก ต้องไม่ใช่ด้วยการทำไม่ดีหรือทำบาป และอย่าโยนหน้าที่นี้ให้ครู- และต้องไม่ยึดถือมาก หากเกินขอบเขตจะกลายเป็นพ่อแม่รังแกฉันQ8: การพูดจาหยอกล้อกับญาติโยมA: พระพุทธเจ้ากำหนดว่า “จะไม่พูดจาหยอกล้อเพื่อให้หัวเราะกันเล่น”- การเทศน์ให้จิตใจญาติโยมเกิดความร่าเริง ชื่นมื่น แจ่มใส มีกำลัง มีความเบิกบาน ได้ แต่ไม่ควรเกินไปถึงขั้นหัวเราะกันเล่น51. วิธีวางจิตต่อคำพูดคนอื่น [6751-1u]
58:59||Season 67, Ep. 51คำพูดคนอื่นที่รับเอามากระทบจิต- คำพูดไม่ดีเหมือนฝีกลัดหนอง หนองที่ออกมาจากปาก เหม็นด้วย กระทบจิตผู้อื่นด้วย หากเราอยู่ใกล้คนประเภทนี้ เราก็จะโดนอยู่เรื่อยคำด่า คำชม เป็นสุดโต่งทั้งสองข้าง- การกล่าวหา คือ การกล่าวถึง- คำด่า คำชม สำหรับผู้ฟังไม่ได้ต่างกันเพราะเป็นสุดโต่งทั้งสองข้าง คือ ทำให้เกิดความพอใจหรือไม่น่าพอใจ เกิดเป็นกิเลส คือ ความลุ่มหลงยินดีพอใจหรือเกิดความขัดเคืองไม่พอใจ ซึ่งผู้ฟังไม่ควรให้เกิดกิเลส สำหรับผู้พูดจะเกิดกรรม หากเป็นคำด่าก็เกิดกรรมชั่ว ถ้าเป็นคำชมก็เกิดกรรมดี ซึ่งผู้พูดควรจะพูดแต่สิ่งที่เป็นกรรมดี- แม้ว่าการกล่าวหานั้นจะเป็น 1. เรื่องจริง 2. เป็นประโยชน์ 3. เป็นคำกล่าวที่อ่อนหวาน 4. พูดด้วยจิตเมตตา 5.เหมาะสมกับเวลา แต่ผู้ฟังก็อาจจะเกิดความไม่พอใจได้ เพราะการตีความหรือมุมมองของแต่ละคนไม่เหมือนกัน- หากผู้ฟังเกิดความโกรธจากสิ่งที่ได้รับฟัง ได้ชื่อว่ารับบาป, รับโทสะ, รับความโกรธตอบ, รับสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ นั้นต่อมาทันที จิตใจที่ประกอบด้วยความโกรธจะมีความหยาบอยู่ในภายในพระพุทธเจ้าสอนว่า“จิตต้องไม่แปรปรวน ต้องไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป ต้องมีจิตเอ็นดูเกื้อกูลประกอบด้วยเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน อันเป็นจิตใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ แผ่ไปถึงทุกคนโดยปรารภคนที่ด่าว่าเรา”วิธีวางจิตต่อคำพูดคนอื่น มี 2 ขั้นตอนขั้นตอนที่ 1 ทำจิตให้มีเมตตา ไม่ให้จิตติดลบไปในทางโกรธ- อุปมา 5 อย่าง(1) ทำจิตให้เหมือนแผ่นดิน = ไม่ว่าจะพยายามขุดแผ่นดินทั้งหมดให้เป็นทะเลสาบก็ไม่มีทางเป็นไปได้(2) ทำจิตให้เหมือนอากาศ = ไม่ว่าจะพยายามวาดรูปลงในอากาศอย่างไรก็ไม่มีทางเป็นไปได้(3) ทำจิตให้เหมือนน้ำ = ไม่ว่าจะพยายามต้มน้ำในแม่น้ำให้เดือดอย่างไรก็ไม่มีทางเป็นไปได้(4) ทำจิตให้เหมือนแผ่นหนังแมวป่าขนฟู = ซึ่งเกิดจากระบวนการทำที่ประณีต ไม่ว่าจะพยายามขึงแล้วตีให้มีเสียงดังกังวาลเหมือนกลองก็ไม่มีทางเป็นไปได้เพราะหนังมีความอ่อนนุ่มไปแล้ว(5) ทำจิตให้เหมือนโจรที่เลื่อยตนเองเหมือนต้นไม้ให้หมดไปด้วยเลื่อยที่มีด้ามจับสองข้าง = ย่อมไม่มีทางเป็นไปได้- ให้พิจารณาว่าตัวเราประกอบด้วยธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ เช่นเดียวกันกับอุปมาข้างต้น คำชมคำด่าที่เกิดกับเราเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อเทียบกับ แผ่นดิน ผืนน้ำ อากาศ กระบวนการเกิดของร่างกาย ต้นไม้ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นมีเยอะกว่ามาก ดังนั้น เรื่องไม่จริง ไม่เป็นประโยชน์ คำหยาบคาย จิตที่มีโทสะ ไม่ถูกเวลา ย่อมไม่เป็นสาระแต่เป็นเรื่องเล็กน้อย เมื่อสนใจสิ่งหนึ่ง สิ่งอื่นที่ไม่สนใจจะอ่อนกำลังลง เรื่องเล็กก็จะไม่กลายเป็นเรื่องใหญ่- จิตใจที่กว้างขวาง ไม่เห็นแก่สั้นไม่เห็นแก่ยาว ให้ได้ไม่มีประมาณ คือ “พรหมวิหาร” (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) ความโกรธก็จะระงับไปได้ และช่วยเพิ่มความอดทน ทำให้จิตไม่แปรปรวนขั้นตอนที่ 2 แผ่เมตตาไปยังผู้ที่กล่าวหา- ด้วยจิตที่เปรียบกับความรักที่แม่มีต่อลูกฉันใด ให้เรามีความรักความปรารถนาดีด้วยจิตที่กว้างขวางกับบุคคลนั้นฉันนั้น เอาบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแผ่ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย- อย่าไปกล่าวเรื่องที่จะต้องทุ่มเถียงกัน เพราะจะทำให้ต้องพูดมาก จิตฟุ้งซ่าน ไม่สำรวม จิตเหินห่างจากสมาธิ มารก็จะได้ช่องตรงนี้- เปลี่ยนศัตรูให้เป็นมิตร ต่อให้เขามองเราเป็นศัตรู ก็ให้เรามองเขาเป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย มองด้วยสายตาแห่งคนที่รักใคร่- ในชีวิตประจำวัน ก่อนออกจากบ้านให้แผ่เมตตากรุณามุทิตาอุเบกขาด้วยจิตแบบนี้ ทุกทิศทุกทาง โดยไม่มีประมาณ จะเป็นทางออกที่ยั่งยืน เป็นทางสายกลาง ไม่สุดโต่งทั้งสองข้าง อยู่ในที่ใดกับใคร ที่แห่งนั้นก็จะมีความผาสุก ความผาสุกนี้จะเป็นที่พึ่งแก่เราได้ และจะทำให้เกิดปัญญา ไม่คิดเบียดเบียนใคร ได้ประโยชน์ทั้งตนเอง และผู้อื่น- ควรตั้งจิตต่อคำพูดผู้อื่น ด้วยจิตที่มีเมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา รักษาจิตอย่างนี้ให้ได้ตลอดทั้งวันและในเวลาต่อ ๆ ไป ก็จะทำให้เกิดชัยชนะในชีวิตของเราได้50. ฆราวาสสอนธรรม และการวิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์ [6750-1u]
55:47||Season 67, Ep. 50Q1: วิธีระงับผลของกรรมชั่วA: การทำให้ “สิ้นกรรม” ในทางพระพุทธศาสนาสามารถทำได้ เช่น กรณีพระองคุลีมาล- ปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม คือ การบรรลุธรรม บรรลุพระนิพพาน ไม่ต้องเกิดอีก- ยิ่งมีเงื่อนไขในความสุขมาก ยิ่งมีความทุกข์มาก ยิ่งมีเงื่อนไขในความสุขน้อย ยิ่งมีความสุขที่เหนือกว่าสุขเวทนามาก เพราะมีความทุกข์น้อย- แนวทางที่จะทำให้มีเงื่อนไขในความสุขน้อยลง จนถึงไม่มีเงื่อนไขให้ทุกข์เลย ประกอบด้วย องค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง (มรรค 8) - เมื่อเจอเส้นทางแห่งมรรค 8 แล้ว ให้เดินตามเส้นทางนี้ไปจนสุดทางแล้วจะเจอที่หมาย คือ ความพ้นทุกข์ ความสิ้นกรรมอย่างแท้จริง- แต่ในระหว่างทางที่เดินตามมรรค 8 อาจเจอสุขบ้าง เจอทุกข์บ้าง ก็ต้องใช้ปัญญาเห็นความไม่เที่ยง ใช้ปัญญาเห็นด้วยปัญญา จะยิ่งทำให้การเดินทางบนเส้นทางสายกลางนี้ยิ่งดี ยิ่งเร็ว มีอินทรีย์แก่กล้า ไปถึงจุดหมายคือความสิ้นกรรมได้อย่างรวดเร็วQ2: บวชแก้กรรมA: “บัญชีบุญ” กับ “บัญชีบาป” เป็นคนละบัญชีกัน- “กรรม” กับ “ผลของกรรม” คนละอย่างกัน- เปรียบได้กับ เกลือ (กรรมชั่ว) ผสมกับน้ำ (กรรมดี) ได้ความเค็ม (ผลของกรรมชั่ว) ความเค็มจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณของเกลือและน้ำ- การบวชแก้กรรม เปรียบได้กับการเพิ่มปริมาณน้ำ อาจทำให้ผลของกรรมชั่วเบาบางลงได้- ไม่ควรประมาทในการทำความชั่ว = กรรมชั่วแม้เพียงนิดเดียวก็ให้ผล ไม่ควรทำ - ไม่ควรประมาทในการทำความดี = ควรหมั่นทำความดีอย่างสม่ำเสมอ (ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา) จะได้ไม่ร้อนใจในภายหลัง เมื่อถึงคราวที่กรรมชั่วให้ผล ก็อาจจะทำให้ได้รับผลกรรมเบาบางลงได้ Q3: ฆราวาสสอนธรรมA: ศาสนาพุทธไม่ได้เป็นของพระสงฆ์อย่างเดียว แต่ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จะต้องช่วยกันรักษาศาสนา คือ รักษาคำสอนของพระพุทธเจ้าและนำมาปฏิบัติต่อไปจากสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน- เราสามารถฟังธรรมได้จากทุกคน และท่านผู้ฟังเองก็ควรจะแสดงธรรมต่อไปด้วย- การแสดงธรรมต้องเป็นคำพูดที่ชาวเมืองใช้พูดกัน ฟังแล้วรื่นหู ไม่หยาบคาย หากไม่เป็นดังนี้ การแสดงธรรมนั้นก็อาจจะพอสำหรับคนบางกลุ่ม อาจไม่ใช่สำหรับคนทุกกลุ่ม จึงอาจถูกติเตียนได้ Q4: การวิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์A: ความเจริญก้าวหน้าในธรรมวินัยนี้ อยู่ที่ว่าเหล่าภิกษุ (รวมถึงทุกคนในศาสนา) คอยที่จะตักเตือนกัน รับฟังกัน ให้ออกจากอาบัติ (ความผิดต่าง ๆ)- เจตนารมณ์ของการชี้อาบัติ ก็เพื่อให้เกิดความเจริญกับบุคคลนั้น ไม่ใช่การเพ่งโทษหรืออยากให้เขาได้ไม่ดี เพราะหากให้เขาถืออาบัติต่อไปเรื่อย ๆ กุศลธรรมก็จะลดลง ความไม่ดีความเศร้าหมองในจิตจะเพิ่มขึ้น การชี้อาบัติเพื่อให้เกิดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี- ถ้าเราทำไม่ถูก แล้วมีคนเตือนเรา แล้วเราแก้ไข อันนี้จะดีขึ้นได้ - เมื่อบุคคลใดทำไม่ถูก แล้วมีคนเตือน แล้วรับฟังคำตักเตือนนั้นด้วยความเคารพหนักแน่น หากเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรมแล้ว บุคคลนั้นจะมีความเจริญ- พระพุทธเจ้าได้กำหนดระเบียบขั้นตอนการปฏิบัติเรื่องการเตือนกันของพระสงฆ์ไว้แล้ว เช่น ช่วงออกพรรษา มีระบบปวารณา เปิดโอกาสให้พระสงฆ์เตือนซึ่งกันและกันได้ หรือมีระบบการปลงอาบัติ โดยจะเรียกมาพูดกันตรง ๆ ต่อหน้า พร้อมหน้ากันในที่ประชุมสงฆ์ ว่าได้กระทำจริงหรือไม่ แก้ไขแล้วหรือไม่ เรื่องก็จะระงับได้- การวิพากษ์วิจารณ์พระสงฆ์ทำได้ต่อเมื่อมีการประชุมสงฆ์กันเรียบร้อยแล้ว ไม่ใช่ว่าต่างคนต่างพูดโดยที่ยังไม่ได้มีการพิจารณาว่าถูกต้องหรือไม่อย่างไร เป็นการข้ามขั้นตอน ทำให้เกิดความวุ่นวาย- ในธรรมวินัยนี้ การตักเตือนกันและกัน การยอมรับ การเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดการออกจากอาบัติ การรับฟังคำตักเตือนด้วยความเคารพหนักแน่น การไม่เพ่งโทษติเตียน การให้ผู้อื่นชี้ขุมทรัพย์ แล้วเกิดการพัฒนา นั่นเป็นความเจริญในธรรมวินัยนี้ Q5: การภาวนากับการสวดมนต์A: การภาวนา คือ การพัฒนาจิต- การสวดมนต์เป็นหนึ่งในรูปแบบที่จะพัฒนาจิตได้- การฟังธรรม ใคร่ครวญธรรม เป็นการภาวนาอย่างหนึ่ง- ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นการพัฒนาการภาวนา เป็นไปเพื่อให้เกิดปัญญา นำไปสู่การบรรลุธรรม49. การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า [6749-1u]
56:13||Season 67, Ep. 49เหตุปัจจัยแห่งความตาย- เหตุปัจจัยแห่งการตายมีมาก เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ไม่ใช่เรื่องยาก ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคนแน่นอน- การรักหรือพอใจในสิ่งใดมาก หากไม่ได้สิ่งนั้นมา “จะตาย” ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่การตาย แต่ปัญหาอยู่ที่ “ความอยาก (ตัณหา)”- เพราะมีตัณหา จึงมีอุปาทาน (ความยึดถือ)เพราะมีอุปาทาน จึงมีภพ (สภาวะ)เพราะมีภพ จึงมีความเกิดเพราะมีความเกิด จึงมีความตายความตายไม่ใช่เครื่องมือให้พ้นจากทุกข์- ความตายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา ความตายไม่ใช่ตัวแก้ปัญหา เพราะปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความตาย แต่ปัญหาอยู่ที่ความอยาก ดังนั้น แม้จะตายแต่ถ้ายังมีตัณหาหรืออวิชชาอยู่ ก็เป็นเหตุให้ไปเกิดใหม่ เมื่อเกิดใหม่ก็ต้องเจอปัญหาอีก ต้องเจอสิ่งที่เป็นทุกข์อีก ต้องตายอีก ซึ่งความทุกข์ที่จะต้องไปเจอปัญหาใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน- ความตายเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่เครื่องมือให้พ้นจากความทุกข์ ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ คือ ให้รู้ว่าเหตุปัจจัยของความตายคือการเกิด การเกิดมาจากภพ ภพมาจากอุปาทาน อุปาทานมาจากตัณหา ถ้ามีตัณหามากมีอุปาทานมาก ความทุกข์ก็จะมาก- การฆ่าตัวตายเป็นบาป (ยกเว้นบางกรณีในสมัยพุทธกาล) การฆ่าตัวตายด้วยทิฏฐิที่ไม่ถูกต้องอาจต้องไปเกิดในนรก ซึ่งเป็นภพที่มีความทุกข์มาก ความสุขน้อยผู้ที่เกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้มีบุญ- ภพของมนุษย์มีทั้งสุขทั้งทุกข์ปนกันไป ไม่ใช่มีแต่ทุกข์เพียงอย่างเดียว ต้องมีสุขบ้างอย่างแน่นอน อยู่ที่เราจะมองเห็นหรือไม่- การเห็นความจริงเพียงครึ่งเดียวว่าชีวิตมีแต่ความทุกข์เท่านั้น แล้วรับความจริงไม่ได้ จิตใจก็จะตกต่ำลง แต่หากจิตมีกำลังพอ จะมองเห็นอีกด้านหนึ่งของสุขและทุกข์ การคิดวนแต่เพียงด้านเดียวจะมองไม่เห็น ต้องเงยหน้าขึ้นมามองไปรอบ ๆ ถึงคนที่ยังมีความรักในเราอยู่ เช่น คนในครอบครัว ให้ตั้งสติไว้ ก็จะค่อย ๆ เห็นทางออกของปัญหาในโลกนี้- ปัญหาในโลกนี้มีทางออกหลายทาง ซึ่งความตายไม่ใช่ทางออกของปัญหา- “หากลำพังเพียงการตายแล้วจะทำให้ปัญหาจบลงตรงนั้น โลกนี้จะไม่มีปัญหาอะไร” แต่ความจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น ปัญหาในโลกนี้ยังคงมีอยู่- ตัณหา (ความอยาก) คือ ต้นเหตุของปัญหาต่าง ๆ จึงต้องกำจัดตัณหา- จิตใจเราต้องมีเมตตา ให้อภัย ทั้งต่อตัวเราและผู้อื่น จิตใจจะเริ่มเบาขึ้นเรื่อย ๆ จะเห็นตามความเป็นจริงของชีวิตว่า สุขก็มี ทุกข์ก็มี ความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ เรื่องดี ๆ ในชีวิต ยังมีอยู่- หากไม่เหลือใครในชีวิต ก็ยังมีพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ยังมีคำสอนของท่านอยู่การมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า- การมีชีวิตอยู่ด้วยความดี ด้วยความเมตตากรุณา ด้วยการให้อภัย ด้วยความเห็นตามความเป็นจริงว่าสุขก็มีทุกข์ก็มี วินาทีนั้นการมีชีวิตอยู่ของเราก็จะมีคุณค่า มีความหมาย- ชีวิตเรามีค่า ตรงที่เราสามารถใส่ปัญญา ใส่ความดี ความเมตตากรุณา ความอดทน ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเห็นตามความเป็นจริงในสุขทุกข์ ลงไปในชีวิตได้ การที่เราใส่สิ่งใดลงไปในชีวิต ชีวิตเราก็จะมีค่ามีราคาตามสิ่งนั้นขึ้นมา ชีวิตเรา เราเลือกได้ การเลือกได้นั้นคือการตั้งสติ ระลึกให้ได้ มองให้เห็น ทำความเข้าใจชีวิต ชีวิตในโลกนี้ยังมีโอกาสอยู่เสมอ- เหตุการณ์ในชีวิตต่าง ๆ เป็นเครื่องเตือนสติ ให้เราตั้งสติเห็นว่าชีวิตมีสองด้านทั้งสุขและทุกข์ แล้วตัดสินใจดำรงชีวิตของเราให้มีคุณค่า มีราคา ด้วยปัญญา ด้วยความดี ด้วยเมตตากรุณา ด้วยการให้อภัย ด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ด้วยการเห็นตามความเป็นจริง ด้วยการเข้าใจชีวิต ให้ทำในขณะที่มีชีวิตอยู่ ทำชีวิตของเราให้มีคุณค่าด้วยสิ่งเหล่านี้47. ความสันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน [6747-1u]
56:54||Season 67, Ep. 47ช่วงไต่ตามทาง: เล่นโทรศัพท์มากเกินไปA: ผู้ฟังท่านนี้ใช้เวลาไปกับการเล่นโทรศัพท์มากเกินไป จึงแก้ไขด้วยการแบ่งเวลาทำงานกับการเล่นโทรศัพท์ให้ชัดเจน หรือปิดโทรศัพท์แล้วไปทำอย่างอื่น เช่น ไปหลีกเร้น ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: สันโดษกับการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน วิธีเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน มีดังนี้1. ทำความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง- “สันโดษ” หมายถึง ความพอใจ ความยินดีตามมีตามได้ในสิ่งที่เรามี พระพุทธเจ้าให้มีทั้งสันโดษและไม่สันโดษ คือ = ให้สันโดษ (รู้จักอิ่มจักพอ) ในปัจจัยสี่ สิ่งของภายนอก กาม = ไม่สันโดษ (ไม่รู้จักอิ่มจักพอ) ในกุศลธรรมทั้งหลาย เช่น อิทธิบาท 4- เมื่อมีความเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้องแล้ว จะสามารถแยกแยะเรื่องอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้ 2. เจริญอิทธิบาท 4 (1) ฉันทะ = มีความพอใจในการทำงาน (2) วิริยะ = ความเพียร ความอุตสาหะ (3) จิตตะ = ความเอาใจใส่ จดจ่อ (4) วิมังสา = การไตร่ตรองพิจารณาทดลองค้นคว้า- ประสิทธิภาพในงานจะเกิดขึ้นตรงที่มีสมาธิจดจ่อ การที่เจริญอิทธิบาท 4 ข้อใดข้อหนึ่ง สามารถเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้ เมื่อจิตเกิดสมาธิแล้วก็จะสามารถทำงานนั้นให้สำเร็จได้ 3. ความคงไว้ซึ่งสมาธิ - "สมาธิ" เป็นจุดสำคัญ ในการจะทำอะไรก็ตามให้เกิดความสำเร็จ สมาธิไม่จำเป็นต้องอยู่ในอิริยาบถนั่งหลับตา- “สติ” เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดสมาธิ จึงต้องทำให้สติมีกำลัง เพื่อให้สมาธิไม่เสื่อม- “นิวรณ์ 5” เป็นเครื่องกั้น เครื่องขวาง การมุ่งหน้าไปสู่ความสำเร็จ นิวรณ์ 5 เกิดขึ้นตรงไหน สมาธิตรงนั้นจะเสื่อมทันที ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จึงต้องละนิวรณ์ 5 อันได้แก่ (1) กามฉันทะ = ความพอใจในกาม สิ่งของภายนอก (2) พยาบาท = ความคิดอาฆาต ปองร้าย ให้เขาได้ไม่ดี (3) ถีนมิทธะ = ความง่วงซึม ความหดหู่ ท้อแท้ท้อถอย (4) อุทธัจจกุกกุจจะ = ความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ วิตกวิจารณ์ (5) วิจิกิจฉา = ความเคลือบแคลง ไม่ลงใจ 4. ลดความเครียดในการทำงาน - วิธีสังเกตว่ามีความเครียดในการทำงาน คือ มีนิวรณ์ 5 เกิดขึ้น- วิธีคลายความเครียด เช่น เปลี่ยนอิริยาบถ พักผ่อนสายตา ออกกำลังกาย สวดมนต์ นอน เดิน - วิธีที่ไม่ใช่การคลายความเครียด คือ ไปหากาม เช่น การเล่นโทรศัพท์ - “การเจริญฉันทะเพื่อละฉันทะ” คือ การนำธรรมฉันทะมาเพื่อละกามฉันทะ - เราต้องมีวิธีการลด ละความเครียดในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยสรุป: “ทุกคนมีศักยภาพในการทำงานให้สำเร็จและสามารถดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้ได้ โดยต้องเข้าใจเรื่องสันโดษที่ถูกต้อง เจริญอิทธิบาท 4 คงไว้ซึ่งสมาธิ และลดความเครียดในการทำงาน ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้”46. การเตรียมความพร้อมเพื่อตั้งรับความทุกข์ [6746-1u]
56:02||Season 67, Ep. 46Q1: ชีวิตที่พลิกผันกรณี The iconA: เรื่องราวที่เกิดขึ้นทำให้เห็น1. เห็นโลกธรรม ความไม่เที่ยง คือ สุขทุกข์ ได้ลาภเสื่อมลาภ สรรเสริญนินทา2. เห็นการตั้งอยู่ในความประมาท เมื่อมีสุข ไม่ได้สังเกตเห็นความไม่เที่ยงของความสุขนั้น เมื่อความสุขนั้นเปลี่ยนแปลงไปก็จะเกิดทุกข์มาก3. ค่านิยมของคนสมัยนี้ คือ ความสำเร็จทางวัตถุ ทางกายภาพ แต่ค่านิยมของคนสังคมที่ควรจะมี คือ ความเป็นผู้มีศีล ซึ่งเครื่องหมายของผู้มีศีลคือ ดูว่าเมื่อถูกกระทำ แนวความคิด การกระทำทางกาย คำพูด เป็นไปในทางที่ดี แต่ทั้งนี้ ก็มีโจรเสื้อนอก คือ สร้างภาพภายนอกว่าเป็นคนดีแต่ความจริงกำลังหลอกคนอื่นอยู่ เราจึงต้องป้องกันตัวเราเอง ด้วยการเข้าใจความไม่เที่ยงของสุขทุกข์ เราก็จะออกจากทุกข์ได้เร็ว ถือเป็นบทเรียน ไม่ลืมสิ่งที่เกิดขึ้นแต่ก็ไม่อาฆาตใคร Q2: การเทศน์ของพระสงฆ์A: ด้านภายนอก: ไม่เทศน์ให้ผู้ที่ยังไม่พร้อมในการฟังธรรม เช่น ถืออาวุธในมือ สวมหมวก สวมรองเท้า อยู่ในที่สูงกว่า หรือแสดงถึงความไม่เคารพ- ด้านเนื้อหาในการเทศน์: ไม่พูดเรื่องโลก ให้พูดเรื่องอริยสัจ 4 - การประทุษร้ายสกุล เป็นอาบัติของพระข้อหนึ่งหากมีคนมาโจทก์ คือ การทำให้บุคคลนั้นมาศรัทธาในตัวเองคนเดียวมากกว่าศรัทธาในระบบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์- ปัจจุบันมีการตัดคลิปบางช่วงของการเทศน์ จึงควรฟังเทศน์ทั้งหมด ไม่ฟังฉาบฉวย เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดQ3: ฆราวาสติเตียนพระสงฆ์ได้หรือไม่A: ไม่ว่าจะเป็นฆราวาสหรือพระสงฆ์ก็ตาม ให้ “ยกย่อง” บุคคลที่ควรยกย่อง ในสิ่งที่ควรยกย่อง และ “ติเตียน” บุคคลที่ควรติเตียน ในสิ่งที่ควรติเตียน - คนเราไม่ได้ดีหรือชั่วโดยส่วนเดียวทั้งหมด มีทั้งเรื่องที่ทำดีและทำไม่ดี ดังนั้น จะเหมาว่าเขาดีหรือไม่ดีไม่ได้ จึงต้องแยกแยะแต่ละเรื่อง- การติเตียนไม่ใช่การด่าบริภาษ (ด่าด้วยคำหยาบคาย จิตอาฆาต ต้องการให้เขาได้ไม่ดี) การติเตียนจะดูไปตามแต่ละสถานการณ์ ด้วยจิตเมตตา ชี้โทษให้เห็นว่าไม่ตรงตามคำสอนอย่างไร- การยกย่องไม่ใช่การสรรเสริญเยินยอ การยกย่อง คือ การพูดถึงอานิสงส์ในสิ่งที่เขาทำดีนั้นQ4: การทำคุณไสยA: พระพุทธเจ้าห้ามไม่ให้พระสงฆ์ทำคุณไสย เพราะจะเป็นการหลอกผู้อื่นให้ไปทางสุดโต่งทั้งสองข้างที่ไม่ใช่ทางสายกลาง (มรรค) ทำให้หลุดออกจากทางไปสู่นิพพานอันเป็นทางที่จะทำให้พ้นทุกข์ได้จริง Q5: การเลี้ยงสัตว์A: การเลี้ยงสัตว์อย่าเบียดเบียนเขา อย่าต่อว่าเขา อย่าทำร้ายเขา ส่วนสัตว์จะได้รับการเลี้ยงดูได้ดีแค่ไหนก็เป็นไปตามกรรมของเขา Q6: เตรียมความพร้อมเพื่อตั้งรับความทุกข์A: พระพุทธเจ้าเปรียบตัวเราเป็นเมือง ที่มี “จิต” เป็นเจ้าเมือง เพื่อการรักษาเมืองไว้ ต้องกระทำดังนี้1. มียามเฝ้าไว้หน้าประตู = เปรียบได้กับ “สติ” เป็นนายทวารเฝ้าไว้ เพื่อระวังบาปอกุศลธรรม ที่จะผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันเกิดจากผัสสะที่น่าพอใจ (ความเพลินความลุ่มหลง) และผัสสะไม่น่าพอใจ2. มีเสบียง = เปรียบได้กับ “สมาธิ” เพื่อเลี้ยงดูในเมืองให้เหมาะสม3. มีกองกำลัง = เปรียบได้กับ “ความเพียร”4. มีอาวุธ = เปรียบได้กับ “การฟังธรรม”- เมื่อเตรียม 4 อย่างข้างต้นไว้แล้ว เราจะมีความกล้า ไม่กลัวต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเข้ามา- โดยสรุป : เราต้องรักษาจิตใจของเราให้เหมือนเมืองกายเมืองใจ เพื่อเตรียมพร้อมรับสิ่งที่จะเข้ามา ผู้ที่มีชีวิตอย่างนี้เรียกว่าเป็น “ผู้ไม่ประมาท” Q7: นิพพาน กับการไม่แต่งงาน ไม่มีลูกA: เหตุปัจจัยที่จะไปนิพพาน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา- ชีวิตความเป็นอยู่ในโลกไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม หากมีศีล สมาธิ ปัญญา ก็สามารถไปนิพพานได้