Share

cover art for การเชื่อมจิต [6720-1u]

1 สมการชีวิต

การเชื่อมจิต [6720-1u]

Season 67, Ep. 20

Q1: การเชื่อมจิต

A: ปาฏิหาริย์มี 3 อย่าง

1) อิทธิปาฏิหาริย์ = การเหาะเหินเดินอากาศ ทะลุกำแพง

2) อาเทศนาปาฏิหาริย์ = รู้วาระจิต ลักษณะนิสัย ความคิด

3) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = คำสอนของพระพุทธเจ้าที่สามารถทำตามได้และเกิดผลตามนั้นได้จริง เช่น สมาทานศีลแล้วผู้นั้นรักษาศีลห้าได้ เกิดความสบายใจ ไม่ร้อนใจ การทำสมาธิแล้วเกิดความสงบขึ้นในใจ นี่คือปาฏิหาริย์

- “การเชื่อมจิต” อยู่ในหมวดอาเทศนาปาฏิหาริย์ มี 3 แบบ

1) พระพุทธเจ้าสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ จะรู้สังเกตดูจากชั้นเชิงของมหาชน = รู้ว่าคนนี้เป็นคนธรรมดา ควรกับสิ่งนี้ รู้ว่าคนนี้เป็นคนพิเศษ ควรกับสิ่งนี้ รู้ว่าคนนี้เหมาะสมกับงานอะไร ต้องการอะไร รู้อุปนิสัย การกระทำ สิ่งที่เขาชอบ ซึ่งสามารถรู้ได้โดยอาศัยการสังเกต

2) รู้วาระจิตของคนอื่น (เจโตปริยญาณ) = รู้ว่าในใจเขาคิดอะไร ทั้งก่อนหน้าและปัจจุบัน ไม่ว่าอยู่ใกล้หรือไกลกัน

3) หูทิพย์ = ได้ยินเสียงในที่ไกล เสียงทิพย์หรือเสียงของมนุษย์

- พระพุทธเจ้าเตือนไว้ว่าอิทธิปาฏิหาริย์และอาเทศนาปาฏิหาริย์ไม่ให้แสดง เพราะจะเกิดประโยชน์น้อย โทษมาก แต่ทรงสนับสนุนให้แสดงอนุสาสนีปาฏิหาริย์

- ดังนั้น เวลาที่ได้ยินเรื่องราวปาฏิหาริย์เหนือมนุษย์ ก็ให้ฟังไว้ มีทั้งจริงและไม่จริง สิ่งที่ควรสนใจคือคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ทำให้เราหลุดพ้นได้จริง (อนุสาสนีปาฏิหาริย์) จึงจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเรา

Q2: ผู้ที่ไม่นับถืออะไรเลย

A: คนมี 3 ประเภท

1) คนไม่มีที่พึ่ง = ไม่สนใจใคร อยากทำร้ายใครก็ทำ

2) คนที่มีที่พึ่งที่ไม่เกษม = มีที่พึ่งแต่ยังไม่ถูกต้อง ยังไม่สามารถทำให้พ้นทุกข์ได้จริง เช่น พึ่งภูเขา ท้องฟ้า ผ้ายันต์ เครื่องรางของขลัง จะมีความยับยั้งชั่งใจบ้าง มีความกลัวละอายต่อบาปตามที่ที่พึ่งนั้นเขาบัญญัติขึ้นมา แต่ก็เป็นสิ่งที่ไม่ได้ทำให้พ้นทุกข์ได้จริง หรือผู้ที่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง แต่ไม่ได้ทำให้เกิดความรู้อริยสัจสี่ (สีลัพพตปรามาส)

3) คนที่มีที่พึ่งอันเกษม = มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง และเห็นอริยสัจสี่ด้วยปัญญาที่ชัดเจน พ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง

- ดังนั้น แนวทางแก้ปัญหา คือ ต้องให้ปัญญากับสังคม เพื่อปรับทัศนคติให้เกิดความเข้าใจอันถูกต้องให้มาในหนทางอันเกษม เช่น บอกต่อธรรมะที่ได้ยินได้ฟังมา

Q3: บรรลุธรรมจากการฟังธรรมเพียงอย่างเดียว

A: ได้ เพราะจุดที่จะบรรลุธรรม มีเหตุปัจจัย คือ มีสมาธิ (เจโตวิมุตติ) และปัญญา (ปัญญาวิมุตติ) มีลักษณะที่อาสวะจะตั้งอยู่ไม่ได้ ซึ่งสมาธิและปัญญาเกิดขึ้นได้จาก 5 สาเหตุ 1 ในนั้น คือ การฟังธรรม

- เหตุ 5 ประการที่ทำให้เกิดการบรรลุธรรม

1) เกิดเมื่อได้ฟังธรรม

2) เกิดเมื่อนั่งเงียบๆ แล้วนำสิ่งที่เคยได้ยินได้ฟังมาใคร่ครวญพิจารณา

3) เกิดขณะกำลังสอนคนอื่น แล้วตนเกิดความเข้าใจเอง

4) เกิดเมื่อได้ท่องธรรมะที่เคยได้ฟังมา (สวดมนต์) จิตใจมีความสงบ

5) เกิดเมื่อได้ตรึกตรองตามธรรมะที่เคยได้ฟังมา

- ถ้าเหตุแห่งการบรรลุธรรมมีอยู่ ผลแห่งการบรรลุธรรมก็ต้องมี เว้นแต่ ได้ทำอนันตริยกรรม 5 อย่าง ก็จะบรรลุธรรมไม่ได้

Q4: การไม่เกิดดีสุด แต่ยังมีการขอพรให้เกิดชาติหน้าเป็นสิ่งที่ดีกว่าชาตินี้ เช่น เทวดา เศรษฐี

A: พระพุทธเจ้าสอนว่า การเกิดเป็นทุกข์ (ชาติปิทุกขา) แต่เป็นเพราะความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ทำให้คิดว่าความเกิดเป็นสุข การเกิดไม่ได้มีสุขอย่างเดียว แต่มีทุกข์มาด้วย ทุกข์จะมาตอนที่ความเกิดแปรเปลี่ยนเป็นความตาย ดังนั้น ทุกข์ที่มาในสุข จึงไม่ใช่สุข

- เหรียญมีสองด้านเสมอ “เวลาเจอ ก็ต้องจาก” “เวลาได้ ก็ต้องเสีย” “เวลาสุข ก็ต้องทุกข์” “เวลาเกิด ก็ต้องตาย” วันหนึ่งเราจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก, สุขเวทนาวันหนึ่งจะแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น

- ถ้าเข้าใจทุกข์ได้อย่างถูกต้อง ก็จะอยู่เหนือความทุกข์ได้

- ต้องปฏิบัติตามมรรค 8 เมื่อเวลาที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งเปลี่ยนแปลงไป ก็จะยังเป็นผู้ที่มีความผาสุกอยู่ได้ เป็นผู้อยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ได้

Q5: วิธีกำหนดจิตให้เข้มแข็ง

A: เมื่อเจอผัสสะที่ไม่น่าพอใจ การรักษาจิตให้มีความผาสุกอยู่ได้ ต้องมี “สติ และสมาธิ” เปรียบเหมือนกับเยื่อบาง ๆ ที่หุ้มดอกบัวหรือใบบัว แม้โดนโคลนตมก็ไม่เปื้อนเพราะมีเกราะป้องกัน จิตของเราก็เช่นกันต้องมีเกราะป้องกันด้วย “สติ และสมาธิ”

More episodes

View all episodes

  • 26. ความอดทน vs การนิ่งเฉย [6726-1u]

    55:11
    Q1: วิธีทำให้สติอยู่เหนืออารมณ์A: พระพุทธเจ้าแบ่งไว้ 3 ระดับ 1) สัตว์เดรัจฉาน: ทำตามอารมณ์ ไม่สนใจผิดชอบชั่วดี2) มนุษย์: มนุษย์ที่มีพฤติกรรมแบบสัตว์เดรัจฉาน มีการผิดศีล ทำตามความพอใจ หรืออารมณ์ของตนเป็นหลัก ไม่สนใจว่าอะไรถูกหรือผิด และมนุษย์ที่มีศีล “ศีล” คือ ความปกติของความเป็นมนุษย์ แม้จะมีอารมณ์ขึ้น-ลงอยู่บ้าง ก็ไม่ผิดศีล 3) เหนือมนุษย์: จิตใจมั่นคง ไม่โกรธ มีเมตตา อุเบกขา อยู่ตลอดเวลา เป็นจิตใจเทวดา เหนือมนุษย์ (อุตตริมนุสสธรรม) - ธรรมะที่ทำให้เป็นคนเหนือคน 1) รักษาศีล 5-ทางกาย ทางวาจา2) มีสติสัมปชัญญะ-รู้ผิดชอบชั่วดี3) ทำศีล-สติ ให้ละเอียดและมีกำลังมากขึ้น-เพื่อเอาไปใช้ทางด้านจิตใจ ทำให้แยกอารมณ์ออกจากจิตใจได้ จิตจะมีความเข้มแข็งขึ้น- คนที่รู้ตัวว่าจิตใจกำลังแปรปรวน นั่นคือ มีสติแล้ว รู้ตัวแล้ว หากฝึกให้มีสติบ่อย ๆ สติก็จะมีกำลังมากขึ้น Q2: การนิ่งเฉย VS ความอดทนA: คนอื่นคิดอย่างไร ไม่สำคัญเท่ากับว่าเราคิดอย่างไร ไม่ควรให้น้ำหนักกับคำพูดของคนอื่น แต่ให้น้ำหนักกับความคิดหรือสภาวะจิตของเราจะดีกว่า เช่น เมื่อถูกคนอื่นบอกว่าเราเป็นคนโง่ แต่เรารู้ตัวเองว่าเราไม่ได้โง่ เรากำลังมีความอดทนอยู่ ความอดทนนี้เป็นปัญญา เราเป็นผู้มีปัญญา ดังนั้น คำกล่าวหาว่าเราโง่ จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีน้ำหนักเลย อย่างไรก็ตาม เราต้องทบทวนตัวเองด้วยว่าเรามีข้อบกพร่องจริงหรือไม่ ถ้าจริงก็ต้องแก้ไข- เราต้องอาศัยความอดทนต่อผัสสะที่ไม่น่าพอใจ จึงจะสามารถรักษากุศลธรรมให้เกิดขึ้นได้ ทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้น จึงจะถือเป็นกำไรที่เกิดมาในโลก Q3: จดจำบุญที่เคยทำไว้ไม่ได้A: ความจำมี 2 ส่วน คือ สติ และความระลึกได้ ความระลึกได้เรียกว่าสติ ถ้านึกถึงเรื่องไม่ดี ก็เป็นมิจฉาสติ ถ้านึกถึงเรื่องดี ก็เป็นสัมมาสติ การกระทำอะไรลงไปก็ตาม ไม่ว่าด้วยกาย วาจา ใจ การกระทำนั้นจะทิ้งร่องรอยเอาไว้แน่นอน จิตของเราก็เช่นกัน ไม่ว่าทำอะไรด้วยกาย วาจา ใจ ก็จะทิ้งร่องรอยไว้ ร่องรอยนั้นเป็นบารมี เป็นอาสวะที่สะสมไว้ในจิตของเรา จนกลายออกมาเป็นนิสัยของเรา- ให้ชำระอาสวะที่มีอยู่ในจิต ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เดินทางสายกลาง ปฏิบัติตามมรรค 8 จะเป็นสิ่งที่อยู่เหนือบุญ เหนือบาปได้ แต่ก่อนที่จะอยู่เหนือบุญ เหนือบาปได้ ก็ต้องมาทางบุญก่อนQ4: การกรวดน้ำอุทิศบุญกุศลA: สิ่งที่สำคัญ คือ “การตั้งจิต” ว่าจะอุทิศส่วนบุญกุศลให้ ส่วนบทสวดมนต์กรวดน้ำ เป็นรูปแบบที่ครูบาอาจารย์คิดขึ้นมาเพื่อให้เราสามารถตั้งจิตขึ้นได้ Q5: พิธีลอยอังคารA: แม้ไม่มีสิ่งที่จับต้องได้เหลืออยู่ การระลึกถึงผู้ล่วงลับไปแล้ว ให้นึกถึงคุณความดี ระลึกถึงได้โดย “ตั้งจิต” ระลึกถึง
  • 25. มองโลกแง่ดี-แง่ร้าย กับ “ทางสายกลาง” [6725-1u]

    57:33
    ช่วงไต่ตามทาง: คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว - คุณแม่เลี้ยงเดี่ยว เจอปัญหาสูญเสียรายได้ช่วงโควิดและลูกป่วย แต่เลือกที่จะอยู่กับปัจจุบัน ไม่ส่งจิตออกนอก ไปนึกถึงอดีตหรืออนาคตที่ยังมาไม่ถึง แล้วค่อย ๆ ทำงานที่มีอยู่ ด้วยกำลังใจเต็มที่ ไม่ให้จิตไหลไปในทางอกุศล- ในสถานการณ์เดิมเดียวกัน เมื่อจิตใจถูกปลอบประโลมด้วยธรรมะ จะทำให้เกิดความเข้าใจสถานการณ์ มองโลกในอีกมุมหนึ่ง ความเข้าใจสถานการณ์นี้ทำให้ความยืดถือในจิตใจน้อยลงและวางได้ จึงไม่หนัก แม้ปัญหาจะยังไม่ได้หายไป แต่ก็ไม่ทำให้จิตใจเกิดความท้อแท้ ท้อถอย เมื่อจิตใจมีความคลี่คลายลง เบาลง (หมายถึง จิตใจมีความหนักแน่นมากขึ้น ไม่สะดุ้งสะเทือนไปตามการเปลี่ยนแปลงภายนอก) จะสามารถอยู่กับสถานการณ์นั้น ๆ ได้ และมองเห็นช่องได้ว่าควรทำอย่างไรกับปัญหาที่เจอ แล้วค่อย ๆ แก้ปัญหาไป ปัญหาก็จะค่อย ๆ คลี่คลายลงได้- คนที่ประสบทุกข์อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่มีธรรมะอยู่ในจิตใจ อยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ มีมากมายทั้งในสมัยพุทธกาล และในยุคปัจจุบัน เมื่อเข้าใจธรรมะแล้ว เราจะเห็นทุกข์ และอยู่กับทุกข์ได้โดยไม่ทุกข์ นั่นเอง ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ: มองโลกแง่ดี – แง่ร้าย กับ ทางสายกลาง- การมองโลกในแง่ดี การมองโลกในแง่ร้าย และการมองโลกตรงกลางระหว่างแง่ดีกับแง่ร้าย มีข้อดี และข้อเสียในตัวเอง ข้อเสีย (แง่ร้าย) = กังวลใจ อิจฉาริษยา หวาดกลัว ระแวง เคลือบแคลง ไม่พอใจ เกิดโทสะข้อเสีย (แง่ดี) = ประมาทเลินเล่อ ลุ่มหลง เพลิดเพลิน พอใจ มีโมหะ มีราคะข้อดี (แง่ร้าย) = รอบคอบ ไม่ถูกหลอก-ถูกโกง ปลอดภัยจากสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งข้อดี (แง่ดี) = จิตใจเย็น มีเมตตา มีความเห็นอกเห็นใจข้อดี-ข้อเสีย (ตรงกลางระหว่างแง่ดีกับแง่ร้าย) = ต้องพ่วงทั้งข้อดีและข้อเสียของการมองโลกแง่ดี-แง่ร้ายมาด้วย- ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ได้ยกทางสุดโต่งสองข้าง คือ ทำตัวให้ลำบากชนิดต้องทรมานตนเอง สุดโต่งอีกข้างหนึ่ง คือ เสพกามอย่างมาก ชุ่มไปด้วยกาม ส่วนตรงกลางมีหลายแบบ แบบแรก คือ ทรมานตนเองบ้าง แล้วก็ไปชุ่มอยู่ด้วยกามบ้าง แบบที่สอง คือ ไม่ถึงขั้นทรมานตนเองหรือชุ่มไปด้วยกาม แต่ยังคงกินข้าว ทรมานนิดหน่อย เสพกามบ้างนิดหน่อย ซึ่งไม่ใช่ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา)- ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) เป็นตรงกลางแบบที่สาม ที่ไม่ได้อยู่ระหว่างทางสุดโต่งซ้ายหรือขวา แต่มองครอบคลุมทั้งหมดออกมาจากทางสุดโต่งทั้ง 2 ด้าน โดยพิจารณาสภาวะ 7 อย่าง ของแต่ละสิ่ง - ฐานะ 7 ประการ (สัตตัฏฐานะ) = สิ่งที่ต้องรู้ 7 อย่าง ในแต่ละแง่มุมของแต่ละสิ่ง1. สิ่งนั้นคืออะไร 2. สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เหตุเกิดจากอะไร 3. ความดับของสิ่งนั้นคืออะไร 4. ปฏิปทาที่ให้ถึงความดับของสิ่งนั้นเป็นอย่างไร (ข้อปฏิบัติ ขั้นตอน วิธีการ)5. คุณประโยชน์ของสิ่งนั้นคืออะไร6. โทษของสิ่งนั้นคืออะไร7. เครื่องสลัดออกจากสิ่งนั้นคืออะไร - “โลกธรรม 8” เป็นของที่อยู่คู่กับโลก เป็นธรรมดาของโลก ได้แก่ สุข-ทุกข์, ได้ลาภ-เสื่อมลาภ, สรรเสริญ-นินทา, มียศ-เสื่อมยศ ดังนั้น จะหวังให้เกิดแต่สิ่งดี ๆ หรือจะคิดว่าสิ่งแย่ๆ จะอยู่ไปตลอด ไม่ได้ - เมื่อโลกเป็นอย่างนี้ บางทีก็ดี บางทีก็ไม่ดี พระพุทธเจ้าจึงเสนอทางออกไว้ คือ มรรค 8 (ศีล สมาธิ ปัญญา) ให้จิตของเราอยู่ในมรรค 8 เห็นตามความเป็นจริงในเรื่องของโลกธรรม 8 ซึ่งเป็นปัญญา เป็นส่วนหนึ่งของทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) เมื่อเจอเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ สะเทือนใจ กังวลใจ จิตเริ่มคิดไปในทางแง่ร้าย ให้หยุดด้วยสติ ซึ่งสติมีศีลเป็นพื้นฐาน เมื่อจิตเป็นสมาธิ ก็จะเกิดปัญญาเห็นได้ว่าเรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เมื่อเราเข้าใจโลกธรรม 8 ก็จะไม่เป็นคนมองโลกในแง่ดี-แง่ร้าย แต่จะเป็นคนที่เข้าใจสถานการณ์ สามารถอยู่กับสุข-ทุกข์ได้ โดยไม่เผลอเพลิน ประมาทเลินเล่อ เป็นราคะ เป็นโมหะ กังวลใจ แต่มีความรอบคอบ มีความระมัดระวัง- โดยสรุป ทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) เป็นทางที่ประกอบด้วยองค์ประกอบอันประเสริฐ 8 อย่าง (มรรค 8) ไม่ใช่ทางที่อยู่ระหว่างทางสุดโต่งซ้ายหรือขวา แต่เป็นทางที่สาม ที่ทำให้เราอยู่ในโลกนี้ได้ไม่ว่าจะเจอสุขหรือทุกข์ก็ตาม เมื่อเข้าใจสถานการณ์แล้ว เกิดสุข สุขนี้จะเป็นสุขที่อยู่เหนือกว่าสุขเวทนา เป็นสุขที่ยั่งยืน สามารถรักษาตนให้พ้นจากภัยในวัฏฏะนี้ได้
  • 24. บุญจากการนั่งสมาธิ [6724-1u]

    54:08
    Q1: บุญจากการนั่งสมาธิA: แต่ละคนมองเห็นคุณค่าของของแต่ละอย่างไม่เท่ากัน และสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะมีค่า ขึ้นอยู่กับเวลา สถานการณ์ และเงื่อนไขต่างๆ ส่วนความเห็นของใครจะถูกหรือผิด ขึ้นอยู่กับประโยชน์มากหรือน้อย การนั่งสมาธิทำให้จิตมีความสงบ เกิดความสุขจากในภายใน ก็จะได้บุญมากกว่า เพราะวัดจากความสุขและประโยชน์ที่เกิดขึ้น - ประโยชน์จากการนั่งสมาธิ 4 ประการ1) คนอื่นเอาไปจากเราไม่ได้ = ไม่เป็นสาธารณะกับคนอื่น2) ยิ่งใช้ยิ่งเพิ่ม = การนั่งสมาธิ แผ่เมตตา ไม่มีจำกัด3) ประโยชน์ที่จะเกิดในเวลาต่อๆ ไป = เมื่อจิตเป็นสมาธิ ทุกข์ที่ตามมามีน้อย เห็นทางออกของปัญหา ทำให้ตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เทียบกับการอิ่มท้อง ซึ่งยังมีทุกข์อยู่ ต้องไปถ่ายออก มีทุกข์ตามต่อมาอีก4) ทำให้ถึงนิพพานได้ = เมื่อจิตเป็นสมาธิ เห็นทางออก ปฏิบัติตามมรรค ปล่อยวาง เห็นความไม่เที่ยง จิตสว่าง หลุดพ้น ซึ่งประโยชน์ข้อนี้มีมาก ทั้งในเวลาปัจจุบันและในเวลาต่อมา ๆ อีก- โดยสรุป บุญจากการให้ทาน ได้อยู่ แต่ได้น้อย เมื่อเทียบกับการรักษาศีล เจริญภาวนา ที่เกิดประโยชน์ 4 ข้อ ข้างต้น อันเป็นความเห็นของพระพุทธเจ้า เป็นความเห็นของคนฉลาด การที่เราฟังคนฉลาดที่ทำมาแล้ว พิสูจน์มาแล้วว่ามีประโยชน์อย่างนี้ เราก็ต้องพิสูจน์ว่าเกิดประโยชน์เช่นนั้นจริงหรือไม่ ด้วยการนั่งสมาธิทำจิตให้สงบเป็นสมาธิ ซึ่งเป็นประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ด้วยตัวเอง Q2: บุญจากการให้ทาน VS บุญจากการนั่งสมาธิA: การให้ทานที่ต่อชีวิตผู้อื่น เช่น การใส่บาตร ต้องให้ทุกวัน ไม่จบ ให้แล้วยังต้องให้อีก ประโยชน์จึงเกิดขึ้นแค่วันเดียว แต่การนั่งสมาธิ เมื่อจิตสงบเป็นสมาธิแล้ว ตัวเราได้ชื่อว่ารักษาคนอื่น ทั้งทางกาย วาจา ใจ เพราะจะไม่เบียดเบียน มีเมตตา อดทน มีความรักให้กัน ไม่คิดประทุษร้าย - ใจเป็นหลัก ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน - ถ้าจิตเราดี วาจากับการกระทำก็จะดีไปด้วย- การให้ทาน (ทางกาย) และการนั่งสมาธิ (ทางใจ) สามารถไปด้วยกันได้ เช่น พระอรหันต์ ต้องกำจัดกิเลสออกให้หมด เป็นเรื่องสภาวะจิต แต่ถ้าไม่ได้ให้ทานมาก่อน ก็จะมีลาภสักการะน้อย ส่วนพระอรหันต์ที่เคยให้ทานมามากในกาลก่อน ก็จะมีลาภสักการะมาก Q3: การทำบุญโดยการปล่อยสัตว์น้ำA: พระพุทธเจ้าเน้นว่า การไม่ฆ่า = เจตนาไม่ทำลายชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป การซื้อและการขายสัตว์เป็น เป็นอาชีพที่ไม่ควรทำ และเป็นกิจที่ไม่ควรทำของอุบาสก อุบาสิกา- วงจรของบาปจากการฆ่าสัตว์ 1) ลงมือฆ่าเอง 2) สั่งให้ผู้อื่นฆ่า 3) ชักชวนให้ผู้อื่นฆ่า- การไปซื้อเนื้อสัตว์ที่ตลาด เป็นการส่งเสริมการเบียดเบียน ส่งเสริมให้ฆ่า เข้าลักษณะชักชวนให้ผู้อื่นฆ่า อยู่ในวงจรของบาปจากการฆ่าสัตว์แล้ว ควรหลีกเลี่ยง การซื้อปลาหน้าเขียงเพื่อช่วยสัตว์ให้พ้นจากความตายเฉพาะหน้า เป็นการผิดหลักการข้างต้น- ให้พัฒนาจิตของเรา ให้หลุดออกจากวงจรของสังสารวัฏที่มีโทษของวัฏฏะ ทำให้ต้องเบียดเบียนกัน ให้ทำสมาธิ ปล่อยวาง บรรลุนิพพาน หรือบรรลุเป็นพระอริยบุคคลขั้นใดขั้นหนึ่งให้ได้ เพื่อลดปริมาณการเบียดเบียนให้ได้มากที่สุด Q4: E-donationA: ความง่ายกับความสะดวกในการทำบุญไม่เหมือนกัน การทำบุญ (การให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา) มีความง่ายมาแต่เดิม ไม่ต้องเตรียมการอะไรให้ยุ่งยาก ส่วนสมัยนี้มี E-donation เป็นการอำนวยความสะดวกในการทำทาน Q5: บูชาพระพุทธรูปด้วยดอกไม้ธูปเทียนA: การบูชา เป็นการกระทำเพื่อทำจิตของเราให้มีความละเอียด เป็นการสละออก- รูปแบบการบูชา ได้แก่ 1) อามิสบูชา = บูชาด้วยสิ่งของ เช่น ดอกไม้ ของหอม แสงสว่าง ยานพาหนะ ที่ดิน2) ปฏิบัติบูชา = บูชาพระพุทธเจ้าด้วยการปฏิบัติ คือ รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นวิธีบูชาที่พระพุทธเจ้าทรงสนับสนุน Q6: กรรมเก่า กับ การมีคู่A: พระพุทธเจ้าเห็นว่า “การประพฤติพรหมจรรย์” มีประโยชน์มากกว่าการมีคู่ เพราะไม่ใช่แค่ให้ประโยชน์ในปัจจุบัน แต่ยังให้ประโยชน์ต่อไปข้างหน้าชาติหน้าภพหน้า ส่วนการหาความสุขทางกาม ให้ประโยชน์สั้นๆ แค่ชาตินี้ภพนี้ โทษมีมาก- หากจะมีคู่ ก็ต้องมี “ศีล ศรัทธา จาคะ ปัญญา” เสมอกัน จึงได้เจอกัน พบกัน รักกัน และเป็นคุณธรรมที่จะทำให้อยู่ด้วยกันได้ รักษาตนได้ และต้องใช้หลักธรรม “ทิศ 6” ประกอบด้วย อีกทั้ง ต้องดำเนินชีวิตไปในทางมรรค 8 เพื่อไม่เป็นการผูกปมกันไปเรื่อย ๆ- การอยู่คนเดียว (คนโสด) เช่น พระสงฆ์ ก็สามารถหาความสุขที่เหนือจากกาม (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ได้
  • 23. "ระวังความคิด" เพื่อให้ถึงความสำเร็จ [6723-1u]

    55:01
    ช่วงไต่ตามทางคุณแชมป์สังเกตตนเองว่า ยังมีทิฎฐิที่ว่าการปฏิบัติธรรมของตนดีกว่าคนอื่น เก่งกว่าคนอื่น คนอื่นทำผิดหมด จิตใจกระด้าง มีความเศร้าหมอง พูดจาไม่รักษาน้ำใจคนอื่น ทำให้เสียเพื่อน เกิดการเบียดเบียนคนอื่น แต่เมื่อได้ฟังธรรมะแล้ว เกิดปัญญา จิตใจมีความนุ่มนวลอ่อนลง มีความเมตตากรุณา มีปัญญาเข้าใจประวัติพุทธศาสนา ที่มาของคำสอน เข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน มีความมั่นคงในธรรมะในกระบวนการของมรรค 8 คนรอบข้างได้รับกระแสแห่งปัญญาและเมตตา นี่เป็นตัวอย่างของคำสอนที่ว่า “อยู่คนเดียวให้ระวังความคิด อยู่กับมิตรให้ระวังวาจา” ช่วงปรับตัวแปรแก้สมการ : อยู่คนเดียวให้ระวังความคิดการปรุงแต่งมีได้ 3 ทาง ได้แก่ ทางกาย (การกระทำ) ทางวาจา (คำพูด) และทางใจ (ความคิด)เมื่อมีการตั้งเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้องมีการ “พัฒนาทักษะ” เกิดขึ้นเพื่อทำสิ่งนั้นให้เกิด “ความสำเร็จ” ซึ่งจุดที่การพัฒนาทักษะเกิดขึ้นจะเป็นจุดที่ “อุปสรรค” เกิดขึ้นเช่นกัน เปรียบกับเครื่องบิน หากไม่มีลมต้านก็จะไม่มีแรงยกให้บินได้, มรรค หากไม่มีสิ่งมาทดสอบให้หลุดจากมรรคก็จะไม่รู้ว่ากำลังเดินตามทางมรรคอยู่หรือไม่, จะรู้สุขได้ ต้องมีทุกข์เสียก่อน เป็นต้นความคาดหวังว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะสำเร็จด้วยความราบรื่น ปราศจากอุปสรรค เป็นการเข้าใจผิด แต่ควรปรารถนาให้ทักษะ, ความรู้, ความเข้าใจในเรื่องนั้นเกิดขึ้นกับเราอย่างง่ายดาย เพื่อใช้ทักษะนั้นก้าวผ่านอุปสรรคไปได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย วิธีพัฒนาทักษะ คือ นำวิธีการของคนที่เขาเคยทำสำเร็จแล้ว มาใช้เป็นแผนพัฒนาทักษะของตัวเรา อย่างนี้เรียกว่า “การกระทำโดยแยบคาย” เช่น คนที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ, คนที่เคยสอบผ่านแล้ว, คนที่เคยลดน้ำหนักได้แล้ว“ความคิดของเรา” บางทีก็เป็นตัวที่ขัดขวางสิ่งที่เราต้องการทำให้สำเร็จ เช่น คิดว่าทำไม่ได้ ไม่มั่นใจ แต่ไม่ว่าจะมีความคิดว่าทำได้ (มั่นใจ) หรือทำไม่ได้ (ไม่มั่นใจ) ก็ตาม ความคิดเหล่านี้ไม่ได้มีประโยชน์อะไรเลย ที่สำคัญคือ จะลงมือทำอย่างไรโดยแยบคายต่างหาก “โดยแยบคายนี้” เป็นความคิดอย่างหนึ่งที่เราเรียกว่า “โยนิโสมนสิการ” = ทำในใจโดยแยบคายถ้าความคิดว่าทำไม่ได้เกิดขึ้นมาแต่แรก ทำให้ไม่เกิดการลงมือทำโดยแยบคาย ก็เป็นลักษณะที่ความคิดของตัวเราเองมาขัดขวางการกระทำของตัวเราเอง ไม่ว่าทางกาย ทางวาจา หรือทางใจ ส่วนความคิดว่าทำได้ แต่ไม่ได้ลงมือทำโดยแยบคาย แม้จะได้ผลอยู่บ้าง แต่ก็จะได้ไม่เต็มที่ตามที่ต้องการ  อิทธิบาท 4 กับการระวังความคิด“ระวังความคิด” ต้องระวังทั้งสองด้าน คือ ด้านที่คิดว่าจะสำเร็จ (คิดว่าตนเก่ง ไม่ฟังใคร) และด้านที่คิดว่าจะไม่สำเร็จ โดยให้เดินทางสายกลาง เจาะจงลงไปในเรื่อง “อิทธิบาท 4” เพื่อพัฒนาวิธีการโดยแยบคายให้เกิดขึ้น เพื่อให้ถึงความสำเร็จของเป้าเหมายที่ตั้งไว้ กล่าวคือ1) ฉันทะ = ความคิดที่มั่นใจว่าเราต้องทำได้2) วิริยะ = ใช้ความเพียร กำจัดสิ่งที่เป็นอกุศล ที่ไม่ได้เกิดประโยชน์ในเรื่องนี้ออกไป และพัฒนาสิ่งที่เป็นกุศล สิ่งที่เป็นประโยชน์ให้เกิดขึ้นมา3) จิตตะ = การใส่ใจเป้าหมายอยู่เรื่อย ๆ เป็นการเหนี่ยวนำทักษะที่นำไปสู่ความสำเร็จให้เกิดขึ้นมา4) วิมังสา = ถ้าทักษะ, โดยแยบคายยังไม่เต็มที่ก็ต้องพัฒนาปรับปรุงทักษะ เมื่อนำอิทธิบาท 4 มาจับในการงานที่จะต้องทำให้สำเร็จ มันจึงเป็นตัวที่จะระมัดระวังความคิดของเราได้ โดยสรุป วิธีระวังความคิด คือ ให้มีธรรมเครื่องปรุงแต่ง (เป้าหมายที่ให้ชีวิตของเราตั้งอยู่ได้) ให้มีอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาวิธีการให้เกิดความแยบคาย เพื่อให้ถึงความสำเร็จของเป้าหมายที่ตั้งไว้ พัฒนาให้เกิดความก้าวหน้าในชีวิตของเรา 
  • 22. เพื่อนร่วมงานกับความเป็น "มิตร" [6722-1u]

    52:51
    หลักธรรมเกี่ยวกับ “มิตร”- มิตรมี 2 ประเภท 1) กัลยาณมิตร = เพื่อนดี มี 4 ลักษณะ(1) มิตรมีอุปการะ = คอยให้ประโยชน์ รักษาเราเมื่อประมาท คอยตักเตือน รักษาทรัพย์ให้ เมื่อเราประมาท เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้ เมื่อมีเหตุจำเป็นเดือดร้อน เป็นที่พึ่งได้เป็นสองเท่าจากที่เคยออกปากไว้(2) มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข = มิตรที่บอกความลับของตนแก่เพื่อน ปิดความลับของเพื่อน ไม่ละทิ้งในยามอันตราย แม้ชีวิตก็สละให้กันได้(3) มิตรแนะประโยชน์ = ห้ามจากความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี ให้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง บอกทางสวรรค์ให้(4) มิตรมีความรักใคร่ = ไม่ยินดีในความเสื่อมของเพื่อน ยินดีในความเจริญของเพื่อน ห้ามคนที่กล่าวโทษเพื่อน สนับสนุนคนที่สรรเสริญเพื่อน2) ปาปมิตร = เพื่อนชั่วที่จะนำความไม่ดีมาให้ มี 4 ลักษณะ (1) มิตรปอกลอก = เอาแต่ได้ฝ่ายเดียว เวลาจะเสีย ให้นิดเดียว (2) มิตรดีแต่พูด = เอาสิ่งที่ล่วงไปแล้วมาพูด อ้างสิ่งที่ยังมาไม่ถึง สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ เมื่อมีกิจเกิดขึ้น แสดงความขัดข้อง (3) คนหัวประจบ = เราจะทำดี ก็คล้อยตาม เราจะทำชั่ว ก็คล้อยตาม ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา (4) มิตรที่ชักชวนไปในทางชิบหาย = ชวนดื่มเหล้า ชวนไปเที่ยวตามตรอกซอกซอยในเวลากลางคืน ชวนไปดูมหรสพ ชวนเล่นการพนัน Q1: เพื่อนร่วมงานที่มั่นใจในตัวเองสูงมาก ไม่ฟังคนอื่นA: คนแบบนี้ไม่ใช่คนไม่ดี (ปาปมิตร) เพียงแต่เขาไม่มีทักษะในการทำงานกับผู้อื่น เราอาจต่างคนต่างอยู่กับเขาก็ได้ หรืออาจเป็นมิตรแนะประโยชน์ก็ได้1) ต้องไม่ทำตนเป็นคนไม่ดีเสียเอง ไม่หงุดหงิด ไม่พอใจเขา2) แนะนำวิธีให้เขาทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี 3) ทำตนให้เป็นเพื่อนที่ดีสำหรับเขา ให้เขามีศรัทธาในตัวเรา พูดแนะนำอะไรไปเขาก็จะรับฟัง - ถ้าหากว่าเราสามารถนำธรรมะ เข้าไปสู่องค์กรได้ พฤติกรรม และทัศนคติของคนในองค์กรที่มีศีล สมาธิ ปัญญา จะมีจิตใจที่นุ่มนวลลง จะเป็นวิธีที่เอาชนะได้อย่างถาวร Q2: ลูกน้องลางานบ่อยA: หน้าที่ของเจ้านายอย่างหนึ่ง คือ ให้ลูกน้องทำงานตามกำลัง เมื่อประสิทธิภาพการทำงานของลูกน้องลดลง เจ้านายก็ต้องปรับงานในสิ่งที่เขาทำได้ ให้ทำงานลดลงตามความสามารถ และให้เงินเดือนลดลงตามความสามารถนั้น, ให้พูดคุยทำความเข้าใจกับลูกน้องว่ามีปัญหาอื่นหรือไม่ Q3: ลูกน้องดื้อรั้นA: ลูกน้องหากไม่ทำตามหน้าที่ จะเป็นภัยต่อองค์กรทันที และจะมีการกระทบกระเทือนกันตามมาอย่างแน่นอน ก็ต้องให้เขาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับงานของลูกน้องไม่ให้กระทบกระเทือนกับคนอื่น ให้ลูกน้องคนนั้นออกจากงาน- คนที่มีจิตใจที่แข็งกระด้าง จะทำให้มีจิตใจนุ่มนวลอ่อนลงได้ ต้องมีการฝึกสมาธิ ฝึกจิตให้เป็นอารมณ์อันเดียว บางบริษัทจึงมีการให้พนักงานไปฝึกสมาธิปีละครั้ง จัดกิจกรรมฟังเทศน์ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม Q4: ลูกน้องมีปัญหาส่วนตัวมาก ส่งผลต่อการทำงานA: ดูก่อนว่าพื้นฐานจิตใจเขาเป็นคนดีหรือไม่ (เทวดา พรหมโลก สัตว์นรก) เกิดมามืดหรือสว่าง หากเราจะเป็นมิตรมีอุปการะ แนะประโยชน์ให้เขาไปทางดี ทำได้โดย- ทางกาย – ให้ทรัพย์ - ทางวาจา - พูดดีด้วย- ทางใจ – มีกรุณา (ปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์) และอุเบกขา Q5: กรรมของผู้ที่ชอบนินทาว่าร้ายคนอื่นA: การพูดที่มีเจตนายุยงให้เขาแตกกัน ถ้าทำมาก ๆ ก็จะไปตกนรก โทษเบา ก็จะทำให้เป็นคนที่แตกจากมิตร ไม่มีใครคบด้วย อย่าไปแช่งเขา เพราะโทษจะเกิดกับเราเอง อย่าไปนินทาตอบ ให้อดทน เอาชนะคำไม่จริงด้วยคำจริง เอาชนะคำนินทาลับหลัง ด้วยการพูดอ่อนโยน จะเป็นการเอาชนะได้อย่างยั่งยืน Q6: เด็กเส้นในที่ทำงานA: อย่ามีอคติกับเขา จะเป็นการไม่ปฏิบัติตามธรรม จะมีช่องให้มารเข้ามาได้ บาปกรรมก็จะให้ผลกับเรา ควรรักษาความดีของเราไว้ แนะนำให้เขาไปในทางดี องค์กรก็จะพัฒนาไปในทางที่ดีได้
  • 21. ทำชีวิตให้รุ่งเรืองด้วย “จักร 4” [6721-1u]

    57:47
    วิธีแก้ปัญหาทะเลาะกับเพื่อนบ้าน - ผู้ฟัง 2 ท่าน ทะเลาะกับเพื่อนบ้าน แต่เมื่อได้ฟังธรรมะ ได้ฝึกแผ่เมตตาให้กับเพื่อนบ้าน และตนเอง ได้ฝึกกรุณา และอุเบกขา อยู่ 6 ปี สถานการณ์ก็ดีขึ้น ไม่มีการเพ่งโทษกัน มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน- ถ้าเรามีธรรมะอยู่ในจิตใจแล้ว ลักษณะการแก้ปัญหาจะเป็นไปในลักษณะที่ไม่สุมความแค้นให้กันและกันมากขึ้น วิธีการที่พระพุทธเจ้าแนะนำ คือ ให้เราแผ่เมตตา และวางอุเบกขาเมื่อเขาทำอะไรให้เราไม่พอใจ นั่นประกอบด้วยธรรม โดยไม่ต้องใช้อาชญาศาตราในการแก้ปัญหา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม จิตใจคนเรามันเปลี่ยนแปลงกันได้ เรียกว่า เป็นการแก้ปัญหาโดยธรรม ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน และเป็นผลดีทั้งสองฝ่าย- เมื่อถูกทำร้ายหรือถูกเบียดเบียน ให้ตอบโต้ด้วยวิธีการ 4 อย่าง ดังต่อไปนี้ จะเป็นการรักษาทั้งตนเอง และผู้อื่นด้วย 1) อดทน 2) มีเมตตาจิต 3) มีความรักใคร่เอ็นดู 4) ด้วยความไม่เบียดเบียน “จักร 4” ธรรมที่ทำให้ชีวิตเจริญรุ่งเรือง- จักร 4 เป็นธรรมะ ที่จะทำให้เรารักษาตนในชีวิตประจำวัน ให้มีธรรมะที่ประกอบไปด้วยสัมมาอาชีวะ รักษาให้จิตให้ดีอยู่ได้ หากการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เดือน ปี ของเรา วนอยู่กับ 4 เรื่องดังต่อไปนี้ ชีวิตจะดีขึ้นอย่างแน่นอน - “จักร 4” เหตุ 4 ประการ ที่จะทำให้คนที่ประกอบถึงธรรมพร้อมแล้ว หมุนไปเรื่อย ๆ ถึงความเป็นใหญ่ ถึงความไพบูลย์ เจริญรุ่งเรืองในโภคะทั้งหลาย (ทรัพย์สินเงินทอง) ต่อกาลไม่นานนัก ได้แก่1) การอยู่ในถิ่นที่ดี2) การสมาคมกับคนดี3) การตั้งตนไว้ชอบ4) ความเป็นผู้ทำความดีไว้ก่อนแล้ว
  • 19. นิสัย 22 อย่าง ที่ควรละ [6719-1u]

    59:28
    อุปนิสัยของคนที่เคยบวชแล้วสึกออกไป (ทิด)- หลังจากสึกแล้ว ออกไปอยู่ครองเรือน จะมีความรับผิดชอบขึ้น ใจเย็นขึ้น มีอุปนิสัยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นกว่าก่อนบวช แต่อุปนิสัยดี ๆ เหล่านั้น อาจจืดจางได้ ขึ้นอยู่กับว่าได้สร้างเหตุเพื่อรักษาความดีนั้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เช่น นั่งสมาธิ การคบเพื่อน เป็นต้น นิสัย 22 อย่าง ที่ทำให้ชีวิตตกต่ำลง 1) ไม่ยอมตื่น–นอนในเวลาที่ไม่ควรจะนอน2) เสพความบันเทิงมากเกินไป3) ไม่เข้าหาบัณฑิต 4) แวดล้อมด้วยคนเทียมมิตร–เอาแต่ได้ มีภัยไม่ช่วย ปอกลอก ต่อหน้าอย่างลับหลังอย่าง หัวประจบ ชักชวนไปในทางไม่ดี5) อยู่กับศพ–อยู่กับคนไม่มีศีล6) ไม่เปิดทางน้ำเข้า–ปิดกั้นไม่ให้มีทรัพย์สินเข้า ไม่ขยันทำมาหากิน ไม่หาแหล่งรายได้อื่น7) ไม่ปิดทางน้ำออก–เปิดทางให้ทรัพย์สินไหลออก, อบายมุข 6 (ดื่มสุรา เที่ยวกลางคืน ดูการละเล่น การพนัน คบคนชั่วเป็นมิตร เกียจคร้านในการทำงาน)8) ไม่ทำงบประมาณ–ไม่มีสมชีวิตา ไม่รู้รายรับรายจ่าย ทำให้ไม่รู้จักสมดุล ไม่รู้จักการใช้จ่ายทรัพย์ใน 4 หน้าที่ (ใช้จ่ายในครัวเรือน รักษาทรัพย์ สงเคราะห์ผู้อื่น ให้)9) ไม่ฝังทรัพย์–ไม่ทำบุญให้ทาน ไม่บริจาคในเนื้อนาบุญ10) ไม่จ่ายหนี้–ไม่ดูแลบำรุงเลี้ยงบิดามารดา11) ไม่ให้คนยืม–ไม่สงเคราะห์ผู้อื่น12) เติมเนื้อไม้ใหม่–ไม่ศึกษาหาความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของตน ศึกษาหาความรู้ที่ไม่ถูกทาง 13) มีตาเดียว–หาแต่ทรัพย์อย่างเดียว โดยไม่สนวิธีการได้มา (ตั้งอยู่ในศีลธรรมหรือไม่ เป็นกุศลธรรมหรือไม่ วิญญูชนติเตียนหรือไม่ ไม่มองเห็นอนาคตทางตรงด้วยสองตาขึ้นไป)14) หวั่นไหวในโลกธรรม–ทำให้เกิดทุกข์ (ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์)15) คำนึงถึงแต่สิ่งที่ล่วงไปแล้ว–จมอยู่กับความผิดพลาดในอดีต16) มุ่งหวังในสิ่งที่ยังไม่มาถึง–กลัวผิดพลาดในสิ่งที่ยังไม่เกิด ทำให้ไม่ทำอะไร (ต่างกับการตั้งเป้าหมายที่จะต้องใช้สองตา) 17) ไม่รับภาระ–ไม่สนใจใคร อยู่ใน comfort zone ไม่รู้จักพัฒนาตนด้วยการออกจาก comfort zone ทำให้ไม่เกิดความเจริญก้าวหน้า18) ไม่สนทนาธรรมตามกาล–ไม่ทำข้อปฏิบัติที่ทำให้เกิดปัญญา ไม่หาฟังสิ่งที่ดีดี เช่น ธรรมะ และไม่สอบถามคำถาม ชีวิตก็จะพัฒนาได้ยาก19) ไม่รู้ว่าวันนี้ชีวิตจะทำอะไร–ไม่มีแผนในการดำเนินชีวิตในแต่ละวัน เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายชีวิตที่ตั้งไว้20) คิดลบอยู่เรื่อย–มองโลกในแง่ร้าย (อิจฉาริษยา ระแวง เคลือบแคลง ขี้เกียจ)21) มีข้ออ้างทุกอย่าง–(ผัดวันประกันพรุ่ง) ชีวิตจะไม่สำเร็จ ก้าวหน้าไปไม่ได้22) ไม่รู้ประมาณในการบริโภค–ไม่รักษาสุขภาพ ไม่ออกกำลังกาย จิตใจจะดีได้ก็ต้องอาศัยร่างกาย บทสรุป : นิสัยที่ไม่ดี 22 ข้อนี้ ถ้ามีแล้ว ชีวิตจะเสื่อมลง ต่ำลง ถดถอย แต่ถ้าปรับปรุงตัว ละนิสัยไม่ดี 22 ข้อนี้ได้ ชีวิตจะเจริญก้าวหน้า รุ่งเรือง เป็นมงคล มีแสงสว่าง อย่างแน่นอน
  • 18. การบรรลุโสดาบันในโลกปัจจุบัน [6718-1u]

    47:09
    Q1: โสดาบันA: โสดาบัน หมายถึง ผู้ที่จะไปถึงกระแส อยู่บนกระแส อยู่บนทาง เปรียบเหมือนกับการล่องแม่น้ำให้ออกไปสู่ทะเล คือ ทางที่จะไปสู่พระนิพพาน - คุณสมบัติของโสดาบัน (โสตาปัตติยังคะ 4)(1)–(3) มีศรัทธาอย่างลงมั่นไม่หวั่นไหวในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ (อจลศรัทธา): โดยศรัทธาจะเต็มได้ต้องควบคู่ไปกับการมีปัญญาพอสมควร รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรไว้ ไม่ทำในสิ่งที่ท่านไม่ได้สอน ไม่งมงาย ตั้งมั่นในเรื่องของกรรม จิตใจจะไม่เคลื่อนคล้อยไปทางอื่น เช่น การอ้อนวอนบูชาขอร้อง เสี่ยงเซียมซี ดูหมอดู แก้เคล็ด เป็นต้น หากไม่สบายใจก็จะหาคำตอบจากในคำสอนของพระพุทธเจ้า ไม่ไปหาคำตอบนอกคำสอนของพระพุทธเจ้า(4) มีศีล 5 ชนิดที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย - ความเป็นโสดาบัน (โสตาปัตติผล) (1) จะมีศีล ชนิดที่ไม่ใช่สีลัพพตปรามาส-จะไม่งมงาย ไม่ใช่สายมู ทุกอย่างมีเหตุมีผล(2) จะละสักกายทิฏฐิได้-เข้าใจว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเป็นของไม่เที่ยง(3) จะละวิจิกิจฉาได้-ละความเคลือบแคลง เห็นแย้ง ไม่ลงใจไปได้- ประเภทของโสดาบัน 1. เอกพีชี (เกิดอีก 1 ชาติ) 2. โกลังโกละ (เกิดอีก 2-3 ชาติ) 3. สัตตักขัตตุงปรมะ (เกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ) - การบรรลุโสดาบันในยุคปัจจุบัน แม้คุณสมบัติการเป็นโสดาบันจะไม่ง่าย แต่หากเราใช้ ความเพียรในการสร้างเหตุ ความเป็นโสดาบันก็จะเกิดขึ้นได้ ให้ตั้ง “ความเพียร” ในการสร้างเหตุที่จะเป็นโสดาบัน ก็จะได้โสตาปัตติผลอย่างแน่นอน แม้จะยาก แต่ผลที่จะได้มันมาก ความทุกข์จะลดลงไปอย่างมาก ผู้ที่เป็นโสดาบันแล้ว ท่านเปรียบกับเศษฝุ่นที่ติดปลายเล็บกับปริมาณหินดินบนเทือกเขาหิมาลัย ปริมาณความทุกข์ของโสดาบันที่จะหมดสิ้นไปมากเท่านั้น ที่เหลืออยู่มีเพียงนิดเดียว- การเป็นโสดาบันจะรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยจะมีเครื่องทดสอบให้ทำผิดศีล ให้ออกนอกเส้นทางที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ ก็จะทำไม่ได้ จิตใจจะไม่น้อมไป เมื่อคุณสมบัติโสดาบันครบตอนไหน ก็เป็นโสดาบันได้ตอนนั้น กรณีที่จะเป็นโสดาบันไม่ได้ คือ ได้ทำอนันตริยกรรม (ฆ่าพ่อแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกกัน ทำพระพุทธเจ้าให้ห้อเลือด) Q2: ความเห็นไม่ตรงกับคู่ครองA: เป็นปัญหาของการใช้ชีวิตคู่ เป็นเรื่องยุ่งของการครองเรือน วิธีการป้องกันไม่ให้วุ่นวายไปกว่านี้ คือ อย่าทำผิดศีลและมีสัมมาวาจา หรือประพฤติพรหมจรรย์ Q3: ให้ทานมากจนไม่เหลือไว้ใช้จ่ายA: การห้ามไม่ให้ผู้อื่นให้ทาน ไม่ใช่มิตรแท้แต่เป็นคนพาล และการให้ทานแล้วเบียดเบียนตนเองหรือผู้อื่นก็ไม่ถูกต้อง- คนฉลาดในการให้ทาน 1) ด้วยศรัทธา 2) ด้วยความเคารพ 3) ในเวลาที่เหมาะสม 4) มีจิตอนุเคราะห์ 5) ไม่กระทบตนและผู้อื่น หากขาดข้อใดข้อหนึ่ง บุญก็จะเศร้าหมองลง- วิธีแก้ปัญหาการให้ทานมากเกินไป ให้จัดทำงบประมาณกันเงินไว้สำหรับการทำทาน เพื่อไม่ให้กระทบตนและเพื่อผู้อื่น